คำแนะนำและเทคนิคการถ่ายภาพแสงเทียน
โพสโดย Ziv Haparnas แปลโดย Topstep07
เว็ปไซต์ต้นฉบับเพื่อดูภาพประกอบคำบรรยาย
http://www.picturecorrect.com/…/candlelight-photography-ti…/
เทียนเป็นแหล่งกำเนิดแสงที่มีเอกลักษณ์ของตัวเองซึ่งมีผลในภาพถ่ายแสงเทียนที่ทำให้ดูภาพแล้วต้องหายใจลึกๆ อุณหภูมิของแสงเทียนจะแตกต่างจาก แสงแฟลช แสงตอนกลางวัน หรือ แสงจากหลอดไฟทั่วไป การใช้แสงเทียนเป็นสิ่งที่ยากและต้องการประสบการณ์ ในบทความนี้จะเผยให้คุณเห็นความคิดพื้นฐานซึ่งคุณสามารถเริ่มต้นทดลองทำได้
(ดูภาพประกอบคำบรรยายในเว็ปไซต์ต้นฉบับ....“Candle” captured by Leland Francisco)
เทียนสามารถนำไปใช้ได้ในหลายทาง
1. เทียนสามารถสร้างแหล่งกำเนิดแสงที่ส่องแสงให้กับวัตถุในภาพแต่ไม่ปรากฎตัวมันเองอยู่ในภาพ
2. เทียนสามารถถูกใช้เป็นแหล่งกำเนิดแสง และมีส่วนร่วมกับตัวแบบในภาพถ่ายได้
3. เทียนสามารถเป็นตัวแบบหลักของภาพถ่ายได้
จำไว้ว่าต้องกำจัดแหล่งกำเนิดแสงอื่นๆ....เป้าหมายของแสงเทียนในภาพคือ ความสำเร็จที่สร้างผลงานในลักษณะเฉพาะตัวที่แสงเทียนทำได้ เช่น แสงอุ่นๆ เพื่อให้สำเร็จในขั้นสูงสุดคุณควรจะแน่ใจว่าไม่มีแหล่งกำเนิดแสงอื่นๆเข้ามารบกวนในการถ่ายภาพของคุณ การทดสอบง่ายๆคือ เป่าเทียนให้ดับและให้แน่ใจว่ามันมืดสนิท ซึ่งมันหนีไม่พ้นที่จะต้องบอกว่า คุณต้องแน่ใจว่าคุณได้ปิดแฟลชของคุณแล้ว ในบางสถานการณ์ แสงเสริมจากแหล่งกำเนิดแสงเล็กๆ สามารถนำมาใช้ได้ หลังจากทดลองและได้รับประสบการณ์กับการถ่ายภาพแสงเทียนแล้วคุณจะได้รับรู้ว่าเมื่อไรควรให้มีแสงอื่นๆเข้ามารวมอยู่ในภาพซึ่งอยู่ในมุมและความเป็นจริงเป็นจัง
แสงเทียนจะไม่แรงเหมือนกับแหล่งกำเนิดแสงอื่นๆ มันอ่อนกว่าแสงแฟลช สำหรับเหตุผลนี้ การถ่ายภาพแสงเทียนจะอยู่ในสภาพแสงที่น้อย การใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ช้าในการถ่ายภาพ ดังนั้นมันได้รับการแนะนำว่าคุณต้องใช้รูรับแสงที่กว้างสุดและใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่น้อย ซึ่งมันก็จบลงด้วยการใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ช้า
(ดูภาพประกอบคำบรรยายในเว็ปไซต์ต้นฉบับ...“Red” captured by Alberto Roseo (Click Image to See More From Alberto Roseo)
มีบางสิ่งที่คุณควรจะพิจารณา
• การสั่นของกล้อง นี้คือสิ่งที่สามารถกำจัดได้ด้วยการใช้ขาตั้งกล้อง โดยให้วางกล้องอยู่บนที่พื้นมั่นคงและใช้ตัวตั้งเวลาในการถ่ายภาพ
• การเคลื่อนไหวของตัวแบบ... ถ้าตัวแบบเคลื่อนไหวในช่วงเวลาหนึ่งซึ่งชัตเตอร์ได้เปิดขึ้น ภาพจะปรากฎเป็นรอยเปื้อน ให้แน่ใจว่าตัวแบบที่คุณกำลังถ่ายภาพไม่เคลื่อนไหวและไม่มีคนมารบกวน สิ่งอื่นๆของการเคลื่อนไหว คือการเคลื่อนไหวของตัวแสงเอง
• เปลวไฟริบหรี่ แม้ว่ามันจะยากในการกำจัดปรากฎการณ์นี้ให้หมดไป และบางครั้งการริบหรี่ของแสงจะน่ายินดีที่ทำให้ได้ภาพแสงเทียนที่ดี มันถูกแนะนำว่าให้คุณป้องกันการเกิดแสงริบหรี่ สิ่งนี้สามารถทำโดยให้แน่ใจว่าไม่มีลมพัดเข้ามา ซึ่งเทียนอยู่ในตำแหน่งที่มั่นคงและเทียนก็ส่องแสงและไหม้อยู่อย่างนั้นสักระยะหนึ่ง
พิจารณาถึงความเร็วชัตเตอร์ที่ถูกต้องเป็นสิ่งที่ยาก เมื่อแสงของเทียนสว่างอยู่ แต่ก็ยังต้องให้ความสนใจกับพื้นที่เล็กๆและอ่อนไหวที่อยู่ไกลไปจากเทียน การวัดแสงโดยรอบของกล้องส่วนใหญ่และการใช้ความเร็วชัตเตอร์แบบออโต้จะผิดพลาด ลองถ่ายภาพสองสามภาพกับความเร็วชัตเตอร์ที่ช้าและเร็วและตรวจดูผลลัพท์ที่ได้
ปริมาณของแสงในภาพขึ้นอยู่กับจำนวนของเทียนที่ใช้ เมื่อเทียนไม่ใช่แหล่งกำเนิดแสงที่แรง คุณควรจะเทียนสักสองสามเล่ม บางครั้งคุณอาจจะใช้เทียนจำนวนเล็กน้อยให้ปรากฎในภาพแต่คุณยังคงต้องการแสงเทียนที่มากในการถ่ายภาพ ในบางกรณีคุณสามารถใช้เทียนพิเศษเพื่อให้เพิ่มแสงเข้าไปในภาพแต่ให้เทียนเหล่านั้นไม่อยู่ในการวางองค์ประกอบภาพ เมื่อคุณทำแบบนี้ต้องแน่ใจเทียนที่เพิ่มเข้ามาต้องวางในทางที่สมเหตุสมผล ตัวอย่างเช่น ให้แน่ใจว่าพวกมันไม่สร้างเงาโดยไม่ปรากฎอยู่กับเทียนที่อยู่ในภาพ
แสงคือศิลปะ การใช้แสงเทียนเป็นแหล่งกำเนิดแสงคือศิลปะโดยตัวมันเองและต้องการประสบการณ์ มีกฎพื้นฐานสำหรับการวางตำแหน่งของเทียน ตัวอย่างเช่น มันควรจะวางเทียนให้ใกล้กับกล้องมากกว่าตัวแบบ ไม่เช่นนั้นภาพที่ได้จะเป็นภาพเงาดำของตัวแบบ มุมของแสงที่แตกต่างสามารถสร้างเงาและผลที่แตกต่างด้วย ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณกำลังถ่ายภาพคนและเทียนถูกวางไว้ในตำแหน่งที่ต่ำกว่าใบหน้า คุณจะได้ภาพคนที่ดูแล้วน่ากลัว ในอีกทางหนึ่ง ถ้าวางเทียนไว้ในมุมที่สูงระดับเดียวกับใบหน้า คุณจะได้ภาพที่ดูอบอุ่นและนุ่มนวล มันเป็นการยากที่จะกำหนดกฎการวางตำแหน่งของเทียนและตำแหน่งที่ดีเยี่ยมขึ้นอยู่กับผลที่คุณกำลังมองหา เทียนมากกว่าหนึ่งเล่มสามารถนำมาใช้แต่ละตำแหน่งที่แตกต่างเพื่อสร้างความซับซ้อน และกำจัดเงาที่ไม่ต้องการ คำแนะนำที่ดีที่สุดคือ ถ่ายมาหลายๆภาพและทดลองกับตำแหน่งและมุมของเทียนที่แตกต่างกัน
(ดูภาพประกอบคำบรรยายในเว็ปไซต์ต้นฉบับ... “Keeper of the Light” captured by Roy Chan)