Author Topic: สอบถามครับ! ว่าด้วยเรื่องการเซ็ตค่ากล้องโหมดต่างๆ เพื่อการถ่ายนกให้คมชัดเห็นขน  (Read 9564 times)

Offline snobbird

  • Newbie
  • *
  • Posts: 34
    • View Profile
    • Snob bird Flickr
สอบถามครับ! ว่าด้วยเรื่องการถ่าย นก ให้คมชัดเห็นขน และการใช้ AF Operation & Metering Mode
อุปกรณ์มีดังนี้ครับ Canon EOS 70D + EF 70-200mm f/2.8 L IS II USM + Extender EF 2x III
(ต่อ 2x III แล้วแสงดร๊อปไปเยอะเลยครับ ชดเชยแสงเพิ่มไป 3 stop ยังไม่ค่อยช่วยเท่าไหร่ครับ)

ตามที่ผมพอจะเข้าใจแต่ไม่ชัวร์  ;D
- ISO ขึ้นกับสภาพแสง กับกล้อง ถ้ากล้องดันได้เยอะ ก็ดันขึ้นไปเลย (ปล่อย Auto จะโอเคมั้ยครับ)
- F ใช้ตั้งแต่ต่ำสุดของเลนส์ 2.8 หรือ 4 หรือ 5.6 ไม่ควรเกิน 8 เพราะจะทำให้หลังชัดไปด้วย นกจะไม่เด่น
- สปีดชัตเตอร์ ให้สูงเท่าที่สภาพแสงไหวอยู่ที่ 1/250 -1/500 แต่ถ้าถ่ายนกบินต้องว่ากันที่ 1/1000 วินาที
(ทำทังหมดนี้ ภาพที่ได้ยังไม่จบเลยครับ เลยอยากถามเพิ่มเติมครับ)

? การถ่ายนกแบบกำลังเกาะกิ่งไม้ หรือว่าอยู่กับที่แต่ไม่ค่อยนิ่ง ควรใช้ AI Focus น่าจะพอไหวมั้ยครับ
? การถ่ายนกแบบกำลังบิน ควรใช้ AI Servo ใช่มั้ยครับ


การเลือกระบบการวัดแสงในการถ่ายนก
? ควรใช้การวัดแสงแบบ Spot metering (ระบบวัดแสงเฉพาะจุด) ใช่มั้ยครับ



การเลือกจุดโฟกัสในการถ่ายนก
? ควรเลือกแบบไหนดีครับ




อยากได้ชัดแบบของน้ากิ๊กเนี๊ยะครับ  ;)



Offline khuntu2001

  • PS:A:B
  • Jr. Member
  • *
  • Posts: 68
    • View Profile
ท่าจะยากจริงๆ ดีนะผมอยู่ชมรม "เห็ดกับหิน".... (แค่เห็ดกับหิน ผมก็ยังไม่รอดเลย) ...ปูเสื่อ รออ่านดีกว่า....
;)  ;D

Offline Nextopia

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • Posts: 967
    • View Profile
    • PhotoNextor XT eMagazine
ที่พี่เบิร์ดสอบถามมานี้โดยความเห็นของผมแล้วก็คือ ไม่มีวิธีไหนที่ถูกต้องที่สุด แล้วก็ไม่มีวิธีไหนผิดที่สุด
เพราะผมคิดว่าอยู่ที่การฝึกฝนตามแนวทางและระบบกล้องต่างๆ ของตัวเอง ยิ่งฝึกมากเท่าไหร่ก็จะยิ่งถนัดกับแบบนั้นมากที่สุด

ก่อนอื่นเราจะต้องทำความเข้าใจลักษณะหนึ่งของ Extender 2X นี่เสียก่อนครับ มันช่วยยืดระยะได้แต่ก็จะเสียแสงไปด้วย
ซึ่งในการเสียแสงนี้ไม่ใช่เฉพาะแค่เพียงในภาพถ่ายเท่านั้น แต่หมายถึงตอนช่วงที่กล้องใช้เพื่อจับโฟกัสด้วย
ดังนั้นความแม่นยำและรวดเร็วก็อาจจะลดลงไปอีกเมื่อเราใช้ระบบออโต้ประเภทต่างๆ

มาถึงคำถามแบบเป็นข้อๆ อันนี้ตามความเห็นของผมนะครับ มันอาจจะไม่ถูกก็ได้

- ISO ขึ้นกับสภาพแสง กับกล้อง ถ้ากล้องดันได้เยอะ ก็ดันขึ้นไปเลย (ปล่อย Auto จะโอเคมั้ยครับ)?

ดันขึ้นไปเลยครับ ภาพมี Nosie ก็ยังดีกว่าภาพไม่ชัด แก้ Noise ง่ายกว่าแก้โฟกัสครับ แต่ไม่ควรปล่อย Auto

- F ใช้ตั้งแต่ต่ำสุดของเลนส์ 2.8 หรือ 4 หรือ 5.6 ไม่ควรเกิน 8 เพราะจะทำให้หลังชัดไปด้วย นกจะไม่เด่น

มีส่วนถูกค่อนข้างมากครับ เรื่องฉากหลังชัดไปด้วยก็ต้องดูว่าระยะห่างฉากหลังมีมากน้อยแค่ไหน ยิ่งไกลก็ยิ่งเบลอต่อให้ F/8 ก็ตาม
รูรับแสงกว้างๆ ก็จะช่วยให้เราได้สปีดชัตเตอร์สูงขึ้นด้วย แต่ก็ต้องพิจารณาความคมชัดสูงสุดของเลนส์ตัวนั้นๆ ในแต่ละช่วง F ด้วยนะครับ

- สปีดชัตเตอร์ ให้สูงเท่าที่สภาพแสงไหวอยู่ที่ 1/250 -1/500 แต่ถ้าถ่ายนกบินต้องว่ากันที่ 1/1000 วินาที

อันนี้คงจะหมายถึงเรื่องการหยุดนกเพื่อให้ภาพคม ถ้าอย่างนั้นก็เห็นด้วย แต่อย่าลืมเรื่องที่มันมีผลต่อการตัดปริมาณแสงแวดล้อมด้วยนะครับ
อันนี้ต้องพิจารณาความเหมาะสมดู ยิ่งเร็วมากแสงก็จะยิ่งเข้าน้อยตามไปด้วย

- การถ่ายนกแบบกำลังเกาะกิ่งไม้ หรือว่าอยู่กับที่แต่ไม่ค่อยนิ่ง ควรใช้ AI Focus น่าจะพอไหวมั้ยครับ

ช่วยได้เยอะครับ แต่ระบบแบบนี้จะหวังผลได้มากก็ต่อเมื่อเป็นประสิทธิภาพของเลนส์ที่รูรับแสงกว้างสุดตามสเปคปกติ การต่อ 2X เข้าไป
ก็จะมีผลต่อความเร็วอย่างที่บอกไปครับ

- การถ่ายนกแบบกำลังบิน ควรใช้ AI Servo ใช่มั้ยครับ

เหตุผลอย่างที่บอกไปครับ มันช่วยได้มากแต่ก็ต้องดูที่เลนส์ด้วย ต่อให้เป็น L F/2.8 ตัวนี้เมื่อต่อ 2X เข้าไปแล้วมันก็จะลดความเร็วเรื่องการจับโฟกัสลงในระบบโดยรวมอันเนื่องมาจากแสงที่ผ่านเข้าสู่ระบบของกล้องมีน้อยลงครับ

- ควรใช้การวัดแสงแบบ Spot metering (ระบบวัดแสงเฉพาะจุด) ใช่มั้ยครับ

แล้วแต่ถนัดครับถ้าหากว่าใช้ระบบอัตโนมัติหรือกึ่งอัตโนมัติในการถ่ายภาพ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับความแม่นยำของกล้องและสิ่งที่เราจะให้มันมองด้วย หากสภาพแสงโดยรวมมีความใกล้เคียงกันและตัวแบบก็กลมกลืนก็ใช้แบบเฉลี่ยทั้งภาพหรือเฉลี่ยกลางภาพก็ไม่มีปัญหา ส่วนถ้าตัวแบบ (นก) กับสภาพแวดล้อมหรือฉากหลังมีปริมาณแสงต่างกันการวัดเฉพาะจุดก็จะแม่นยำขึ้นถ้าเราวัดเป็นและรู้จักการชดเชยหรือเฉลี่ยค่าแสงเอง

ที่สำคัญก็คือต้องดูครับว่าเราใช้โหมดถ่ายภาพแบบไหน ถ้าระบบอัตโนมัติหรือกึ่งอัตโนมัติค่าการเปิดรับแสงมันก็จะดิ้นไปได้เรื่อยๆ ตามหน้ากล้องที่เรากวาดไปหรือสภาพแสงที่เปลี่ยนไป และอย่าลืมเรื่องแสงสีความสว่างของนกแต่ละชนิด/ตัว ด้วยครับ

- การเลือกจุดโฟกัสในการถ่ายนก ควรเลือกแบบไหนดีครับ

ถ้าเราจะใช้ AI Focus หรือ AI Servo ก็ควรจะใช้ทุกจุดที่มีครับเพื่อให้มันช่วยกันจับการเคลื่อนไหว ซึ่งก็แน่นอนว่าระบบของกล้องจะทำงานการคำนวณอย่างมากมายมหาศาล กล้องเร็วๆ ก็จะได้เปรียบครับ

 :)
« Last Edit: August 02, 2014, 02:24:05 PM by Nextopia »

Offline Nextopia

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • Posts: 967
    • View Profile
    • PhotoNextor XT eMagazine
ส่วนภาพของผมภาพนี้จะเล่าให้ฟังครับว่า ผมไม่ได้ใช้ระบบอัตโนมัติหรือกึ่งอัตโนมัติเลย ยกเว้นเรื่องออโต้โฟกัสที่จุดกลางจุดเดียว

ผมใช้โหมด M ในการถ่ายภาพนี้ เพราะวัดแสงในพื้นที่จนได้ค่าทดสอบถ่ายภาพที่พอใจแล้ว ช่วยให้ไม่ต้องมาพะวงกับเรื่องของการวัดแสง ระบบวัดแสงนู่นนี่นั่นอีกต่อไป ใส่ใจเรื่องการจับจังหวะอย่างเดียว (ถ้าสภาพแสงไม่เปลี่ยน แต่ถ้าเปลี่ยนก็วัดใหม่)

โฟกัสจุดกลางจุดเดียวเพราะผมต้องการให้กล้องและเลนส์จับอยู่แค่ส่วนที่ผมต้องการ (ซึ่งก็คือดวงตา) เท่านั้นโดยไม่ต้องสนใจการเคลื่อนไหวที่ส่วนอื่น ซึ่งนกของผมในภาพนี้มันอยู่นิ่งจึงไม่ค่อยยากมากนัก

เมื่อจะถ่ายภาพ ผมจะย้ำชัตเตอร์ครึ่งทางสอง-สามครั้งให้โฟกัสคอนเฟิร์มเพื่อให้นิ้วชี้ของเราแม่นต่อจังหวะในการกดปุ่มชัตเตอร์มากยิ่งขึ้นก่อนจะลั่นไกออกไป อันนี้อาจจะเรียกว่าเทคนิคก็ได้
เชื่อเถอะครับว่าการคอนเฟิร์มครั้งเดียวแล้วลั่นชัตเตอร์เลยเพื่อแสดงความเหนือหรืออะไรก็แล้วแต่มักจะไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร เพราะจากสายตาไปยังสมองแล้ววิ่งไปที่นิ้วมันจะใช้เวลานานมากสำหรับการถ่ายภาพ การย้ำชัตเตอร์จะลดเวลาตรงนั้นให้สั้นลงและแม่นยำยิ่งขึ้นครับ

ลองดูนะ เผื่อจะได้ผลครับ

ปล. อย่างที่บอกนะว่าขึ้นอยู่กับความถนัดและชำนาญของแต่ละคนด้วย ดังนั้นคำตอบของผมอาจจะไม่ถูกต้องที่สุดก็ได้ครับ  :D

Offline kon_isan

  • Newbie
  • *
  • Posts: 3
    • View Profile
เห็นด้วยทุกเรื่องครับ โดยเฉพาะเรื่องวัดแสงเอาไว้ก่อนแล้วใช้โหมด M เพราะนกเคลื่อนที่บ่อย อาจจะไปอยู่ในมุมฉากหลังมืดหรือสว่าง ซึ่งถ้าใช้ระบบ Auto ความสว่างของตัวนกมักจะแกว่งตามสภาพฉากหลังด้วย

ความเห็นเพิ่มเติมของผมนะครับ เรื่องจุด Focus (เป็นประสบการณ์ตรงที่เคยพลาด เพราะไว้ใจจุดโฟกัสแบบกลุ่ม)

ถ้านกตัวใหญ่ เช่นนกยูง ไก่ฟ้า ไก่ต๊อก หรือหงส์ และถ่ายได้ในระยะใกล้ ใช้ F กว้างๆ ต้องระหวังเรื่องการใช้จุดโฟกัสเป็นกลุ่มครับ เพราะมันอาจจะโฟกัสตรงตัวนกแล้วหัวนก หรือตานกหลุดโฟกัส ถ้าในกรณีแบบนี้ ใช้โฟกัสเฉพาะจุดเล็งไปที่ตานกดีกว่า ถ้านกตัวเล็ก อยู่ไกล โฟกัสเป็นกลุ่มที่ตัวชัดถึงหัวและตาได้อยู่ครับ  ;D

Offline Nextopia

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • Posts: 967
    • View Profile
    • PhotoNextor XT eMagazine
เห็นด้วยทุกเรื่องครับ โดยเฉพาะเรื่องวัดแสงเอาไว้ก่อนแล้วใช้โหมด M เพราะนกเคลื่อนที่บ่อย อาจจะไปอยู่ในมุมฉากหลังมืดหรือสว่าง ซึ่งถ้าใช้ระบบ Auto ความสว่างของตัวนกมักจะแกว่งตามสภาพฉากหลังด้วย

ความเห็นเพิ่มเติมของผมนะครับ เรื่องจุด Focus (เป็นประสบการณ์ตรงที่เคยพลาด เพราะไว้ใจจุดโฟกัสแบบกลุ่ม)

ถ้านกตัวใหญ่ เช่นนกยูง ไก่ฟ้า ไก่ต๊อก หรือหงส์ และถ่ายได้ในระยะใกล้ ใช้ F กว้างๆ ต้องระหวังเรื่องการใช้จุดโฟกัสเป็นกลุ่มครับ เพราะมันอาจจะโฟกัสตรงตัวนกแล้วหัวนก หรือตานกหลุดโฟกัส ถ้าในกรณีแบบนี้ ใช้โฟกัสเฉพาะจุดเล็งไปที่ตานกดีกว่า ถ้านกตัวเล็ก อยู่ไกล โฟกัสเป็นกลุ่มที่ตัวชัดถึงหัวและตาได้อยู่ครับ  ;D

จริงอย่างที่พี่อั๋นว่ามานี้ครับ จุดโฟกัสหลายจุดต้องพิจารณาตัวแบบด้วย สมมุติวาานกขนาดใหญ่หันข้างให้แล้วมันยกปีกขึ้นมานี่มันอาจจะวิ่งไปโฟกัสตรงปีกทำให้ตาหลุดโฟกัสได้เหมือนกัน แบบนี้ล่ะครับเค้าถึงทำมาให้เราเลือกได้ ไม่งั้นก็คงจะบังคับใช้แบบกลุ่มใหญ่ๆ ไปเลยถ้ามันเจ๋งต่อทุกสถานการณ์

ขอบคุณพี่อั๋นที่มาช่วยเพิ่มเติมครับ

Offline khuntu2001

  • PS:A:B
  • Jr. Member
  • *
  • Posts: 68
    • View Profile
อ่านเพลินๆ อัดแน่นด้วย ความรู้....ขอบคุณมากครับ

Offline snobbird

  • Newbie
  • *
  • Posts: 34
    • View Profile
    • Snob bird Flickr
ขอบคุณทุกคำแนะนำที่ให้ไว้ในกระทู้นี้ครับ
ผมจะนำไปฝึกฝนวิชาให้แก่กล้า แล้วจะเอาภาพสวยๆ มาฝากครับ

หวังว่าผู้ที่มาอ่านกระทู้นี้คงได้รับประโยชน์และความรู้ไม่มากก็น้อยนะครับ

Offline TanatornSuksit

  • Newbie
  • *
  • Posts: 2
    • View Profile
ได้รับความรู้ไปเต็มๆเลย ผมว่าจริงๆมันอยู่ที่ชั่วโมงบินเลย ผมชั่วโมงบินน้อยต้องมาคอยดูพวกพี่ๆสอนนี่แหละ