Author Topic: คำแนะนำแต่ละขั้นตอนในการเปิดค่ารับแสงที่นานในการถ่ายภาพ  (Read 3911 times)

Offline topstep07

  • PS:C
  • Full Member
  • *
  • Posts: 108
    • View Profile
คำแนะนำแต่ละขั้นตอนในการเปิดค่ารับแสงที่นานในการถ่ายภาพ

โพสโดย Francesco Gola แปลโดย Topstep07

เว็ปไซต์ต้นฉบับ เพื่อดูภาพประกอบคำบรรยาย
http://digital-photography-school.com/step-by-step-guide-to-long-exposure-photography/

ในหลายปีที่ผ่านมา ต้องขอบคุณอุปกรณ์ตัวกรองแสงที่เป็นอุปกรณ์ที่มีประโยชน์ในการกรองแสงเพื่อการถ่ายภาพที่ได้คุณภาพที่ดีและราคาถูก เทคนิคการตั้งค่ารับแสงที่นานกลายเป็นสิ่งที่นิยมมากขึ้นในการถ่ายภาพ แม้ว่าเทคนิคนี้สามารถใช้ได้ทั้งในสตูดิโอ และสภาพแวดล้อมในเมือง แต่สิ่งที่เหมาะสมที่สุดในการเปิดค่าการรับแสงที่นานคือการถ่ายภาพวิวทิวทัศน์
โชคไม่ดีเท่าไรบ่อยครั้งเมื่อมันได้ผลลัพท์ที่ไกลเกินกว่าที่ตั้งใจไว้ และเราจบมันด้วยว่าการเปิดค่ารับแสงที่นานกลายเป็นเทคนิคเหมือนคนถูกผีสิง อย่างไรก็ดีลองดูคำแนะนำแต่ละขั้นตอนในการถ่ายภาพด้วยการเปิดค่ารับแสงที่นาน คุณจะเห็นว่ามันง่ายแค่ไหนที่จะได้ผลลัพท์ที่ดีในการพยายามครั้งแรก (หรือเกือบจะทุกครั้ง)

ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพดินฟ้าอากาศ

วันที่ปราศจากเมฆบนท้องฟ้าเป็นช่วงเวลาที่ดีที่จะนั่งดื่มเบียร์กับเพื่อนๆ ไม่เหมาะกับการถ่ายภาพแบบเปิดค่ารับแสงนานๆ ยิ่งกว่านั้นมันไม่มีฝนอีกด้วย ดังนั้นอย่างเพิ่งยกเลิก คุณควรจะศึกษาภาพถ่ายจากดาวเทียมมากกว่าในเว็ปไซต์กรมอุตุนิยมฯ ลองดูว่ามันจะมีพายุเข้ามา หรือถ้ามันเป็นฝนห่าใหญ่ในที่สุด

ขั้นตอนที่ 2 ควรไปยังสถานที่ที่ต้องการถ่ายภาพก่อนล่วงหน้า

การสังเกตการณ์ในสถานที่ก่อนเวลามันทำให้คุณต้องการเวลาที่จะค้นหาองค์ประกอบภาพที่เหมาะ หรืออย่างน้อยก็ใช้เวลาที่มากกว่าในการถ่ายภาพแบบเปิดค่ารับแสงสั้นๆ  ในความเป็นจริงในการเปิดค่ารับแสงที่นานคือสิ่งที่แตกต่างจากที่คุณมองเห็นด้วยตาเปล่าของคุณ คุณต้องพยายามมองเห็นมันด้วยความคิด ค้นหาองค์ประกอบภาพที่เข้ากันได้ดีที่รวมถึงตัวแบบที่เคลื่อนไหว พยายามคาดเดาทิศทางของเมฆ หรือกระแสคลื่นของทะเล พยายามอย่าเอาดวงอาทิตย์เข้ามาในองค์ประกอบภาพเพราะว่าการเคลื่อนไหวของมันจะทำให้ภาพได้รับค่าแสงที่มากเกินไปที่เราไม่สามารถดึงมันกลับมาได้ ถ้าไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ก็ให้รอจนดวงอาทิตย์ถูกซ้อนอยู่หลังก้อนเมฆ

ขั้นตอนที่ 3 ใช้ขาตั้งกล้อง

ติดตั้งกล้องบนขาตั้งกล้องและติดตั้งอุปกรณ์อื่นๆ เช่นตัวรีโมทชัตเตอร์และตัวจับฟิวเตอร์ (ถ้าคุณใช้ฟิวเตอร์แบบแผ่นที่ต้องเสียบ) อย่างไรก็ตาม คอยจนกว่าจะได้มีการติดตั้งฟิวเตอร์ที่แน่นอนแล้ว สำคัญมาก

ขั้นตอนที่ 4 ปรับตำแหน่งการวางองค์ประกอบภาพและล๊อคการโฟกัส

ปรับแต่งองค์ประกอบภาพของคุณ โฟกัสไปที่ตัวแบบและล๊อคการโฟกัส ถ้าคุณใช้โหมด แมนนวลในการโฟกัส ต้องทำมันทันที ถ้าคุณกำลังใช้โหมด ออโต้โฟกัส คุณควรจะโฟกัสโดยการกดปุ่มชัตเตอร์ไปครึ่งทาง จนกระทั่งโฟกัสได้ล๊อคไว้แล้ว ขณะที่กดปุ่มค้างไว้ครึ่งทาง ก็ให้ปรับค่าจาก ออโต้โฟกัส มาเป็นแมนนวล ในเวลานี้กล้องของคุณจะรักษาการโฟกัสไว้ (หรืออีกทางเลือกคือคุณสามารถใช้ปุ่มด้านหลังกล้องในการโฟกัสได้)

ขั้นตอนที่ 5 ตั้งค่ารับแสง

ในเวลานี้เองการตั้งค่ากล้องของคุณเป็นโหมด M (แมนนวล) หรือโหมด A/Av ให้ตั้งค่ารูรับแสงในค่าที่เหมาะสมกับวิวที่เห็น (สำหรับการถ่ายภาพวิวทิวทัศน์ ผมแนะนำว่าใช้ค่า f/8 และ f/11) และทดลองถ่ายภาพ การทดสอบจะสมบูรณ์เมื่อคุณตั้งค่ารับแสงที่ถูกต้อง การที่จะดูว่าการตั้งค่ารับแสงที่ถูกต้องนั้นก็ให้ตรวจสอบในค่าฮิสโตแกรม (อย่าเชื่อในจอภาพบนกล้อง มันจะสว่างเกินไป) มันเป็นความจริงที่ว่าไม่มีค่าฮิสโตแกรมที่ถูกต้องแน่นอน แต่ค่าฮิสโตแกรมก็ไม่ได้เป็นสิ่งที่ถูกต้องไปซะทั้งหมด ไม่ว่าค่าจะเอนไปข้างขวาหรือข้างซ้าย (หมาความว่าภาพที่ได้รับค่าแสงมากไป หรือ ได้รับแสงน้อยไป ตามลำดับ) เมื่อการทดสอบประสบความสำเร็จ ให้เขียนเอาไว้ว่าค่าความเร็วชัตเตอร์เป็นเท่าไรในการถ่าย

ขั้นตอนที่ 6 ใส่ตัวกรองแสง

เวลานี้ให้คุณใส่ตัวกรองแสง ND (Neutral Density) ถ้าตัวกรองแสงเข้มมาก ตัวอย่างเช่น 10 สต๊อป คุณจะมองไม่เห็นภาพอะไรผ่านช่องมองภาพของกล้อง หรือผ่านตัวจอ live view ไม่ต้องกังวล ถ้าคุณทำตามขั้นตอนจากด้านบนจนถึงตอนนี้คุณจะสังเกตว่าเราได้จัดองค์ประกอบภาพและการโฟกัสไว้แล้ว คุณตาบอดตอนนี้แต่กล้องของคุณจะเห็นทุกๆ สิ่งอย่างสมบูรณ์แบบ

ขั้นตอนที่ 7 ให้คุณเปลี่ยนเป็นโหมด B (Bulb)

ตั้งค่าการถ่ายภาพเป็นโหมด B (Bulb) เพื่อที่จะถ่ายภาพที่เกินกว่า 30 วินาทีที่เป็นข้อจำกัดของกล้อง อย่าไปปรับเปลี่ยนอะไรอย่างอื่น (ค่า ISO และค่ารูรับแสง) เพื่อใช้ในการทดสอบการถ่ายภาพ

ขั้นตอนที่ 8 ลองถ่ายภาพที่เปิดค่ารับแสงที่นาน

มันเป็นสิ่งสุดท้ายในการถ่ายภาพในการเปิดค่ารับแสงที่นาน แต่จะปล่อยให้มันยาวนานแค่ไหนละ? มันยากที่จะคาดการณ์ สิ่งแรกคือ ลองเก็บค่าความเร็วชัตเตอร์ที่คุณจดไว้จากการทดสอบที่คุณทำไว้ในขั้นตอนที่ 5 ดังนั้นเวลานี้คุณต้องชดเชยค่า สต๊อปที่ถูกแนะนำไว้ของตัวฟิวเตอร์ ตัวอย่างเช่น ถ้าค่าการทดสอบของคุณเป็น 1/15 วินาที เพิ่มเข้าไปอีก 10 สต๊อป คุณจะได้ค่าความเร็วชัตเตอร์โดยประมาณคือ 60 วินาที (1นาที) นั้นคือค่าความเร็วชัตเตอร์ของคุณ ไม่ต้องไปติดอยู่การคำนวณทางคณิตศาสตร์ ในอินเตอร์เน็ทคุณจะพบค่าเหล่านี้ได้ง่ายๆ เช่น ตารางการเปลี่ยนแปลงค่า (http://capturingthelandscape.files.wordpress.com/2012/05/neutraldensityfilterchartbystephendickey.jpg)  และโปรแกรมการปรับค่ารับแสงในมือถือ ซึ่งมันจะช่วยแปลงค่าต่างๆ ให้คุณเอง

ขั้นตอนที่ 9 ให้ตรวจสอบค่าฮิสโตแกรมอีกครั้ง

ครั้นเมื่อคุณได้ถ่ายภาพจากสิ่งที่คำนวณค่าความเร็วชัตเตอร์แล้ว ลองตรวจสอบค่าฮิสโตแกรม ถ้าค่าอิสโตแกรมอันใหม่มีค่าประมาณที่เท่ากับค่าการทดสอบ แสดงว่าภาระกิจสำเร็จ แต่ถ้าค่าที่ได้มันเคลื่อนไปทางขวาหรือทางซ้ายของกราฟ ลองถ่ายใหม่อีกครั้งเพื่อที่จะได้ค่าชัตเตอร์ที่ถูกต้อง
มันง่ายใช่ไหมละ เวลานี้ก็เป็นเวลาที่คุณสามารถเก็บของพร้อมกับกล้องและฟิวเตอร์และออกไปทดสอบกัน สำหรับข้อสงสัยหรือต้องการความช่วยเหลือ อย่าลังเลที่จะถามคำถามด้านล่างนี้ ลองเอาภาพการถ่ายที่เปิดค่ารับแสงนานๆ มาให้ชมกันด้วยนะครับ