Recent Posts

Pages: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 10
51
Activity / Re: NXT:LS10 "CaveScape-ถ้ำธารลอด"
« Last post by Nextopia on September 04, 2018, 01:54:17 PM »
มาโครช่วงกลางคืน ถ้าโชคดีก็จะได้เจอ "จั๊กจั่นงวง" สีสันน่ารักแบบนี้ครับ
52
Activity / NXT:LS10 "CaveScape-ถ้ำธารลอด"
« Last post by Nextopia on September 04, 2018, 12:15:30 PM »
NXT:LS10 "CaveScape-ถ้ำธารลอด" จ.กาญจนบุรี

ที่นั่งเต็ม ปิดรับสมัครครับ!

คงมีหลายท่านที่นึกภาพจากเหตุการณ์ดังของบ้านเราเกี่ยวกับการเข้าถ้ำเมื่อไม่นานมานี้แล้วก็คงจะขยาดกลัวไปเลย... ;D

อย่าเพิ่งหลอนขนาดนั้นครับ ในถ้ำเนี่ยมีอะไรให้ถ่ายภาพเยอะมาก และก็มักจะเป็นภาพที่ยังมีไม่มากเพราะคนทั่วไปเค้าก็กลัวหรือไม่รู้วิธีถ่ายภาพในถ้ำว่าต้องทำอย่างไร และแบบไหนถึงจะได้ภาพสวยๆ?

ก็รอบนี้ละครับที่ผมจะพาเข้าไปเผยเทคนิคสารพัดของการถ่ายภาพในถ้ำ และบางทีคุณก็อาจจะได้ภาพที่น้อยคนจะได้น้อยคนจะมีกลับออกมาด้วย

กลัวติดถ้ำเหรอครับ? ฮ่าๆ ไม่ต้องกลัวครับ เพราะถ้ำนี้ระยะทางไม่ยาวมากนักแต่ก็สวยงามอยู่ไม่น้อย ที่สำคัญก็คือมันเป็นถ้ำที่ทะลุเข้าออกได้สองทาง เดินสบายไม่ต้องมุดต้องคลานอะไรให้ลำบาก ในถ้ำนี้มีลำธารไหลผ่านริกๆ แต่ไม่ต้องเดินลุย ซึ่งก็ด้วยลักษณะเช่นนี้แหละครับมันจึงได้ชื่อว่า "ถ้ำธารลอด"

ภายในมีหินงอกหินย้อย รวมไปถึงลักษณะทางธรรมชาติอันสวยงาม ไม่ได้มีความน่ากลัวแต่อย่างใด ไม่ใช่ถ้ำมืดมิดเพราะเค้าเดินไฟฟ้าเอาไว้ภายใน เรามีโอกาสถ่ายภาพค้างคาวหน้ายักษ์และค้างคาวบุญส่งได้ด้วย (ดังนั้นหากท่านใดมีเลนส์ซูเปอร์เทเลก็น่าสนใจอย่างยิ่งเชียวครับ) และมันไม่เหม็นอับเพราะก็อย่างที่บอกว่าเป็นถ้ำทะลุ ไม่ใช่ถ้ำตัน ลมจึงพัดผ่านตลอดเวลา ดังนั้นรับรองได้ว่าไม่มีการติดถ้ำจนต้องโทรเรียกหน่วยซีลเข้าไปรับแน่นอน

และเมื่อเดินทะลุออกไปแล้วก็จะพบกับป่าที่มีสภาพสมบูรณ์มากๆ เราจะเดินเลาะลำห้วยสายเล็กนั้นย้อนขึ้นไป ระหว่างทางอันร่มรื่นตามสภาพของป่าจริงก็จะมีสารพัดโลกมาโครให้ถ่ายภาพกันไม่หวาดไม่ไหว โดยมีปลายทางเป็นน้ำตกชั้นเล็กแต่น้ำใสไหลเย็นเลยทีเดียว

นอกจากภาพโถงถ้ำ, มาโคร หรือภาพค้างคาว (รวมไปถึงนกด้วย) แต่ภาพสำคัญที่ผมอยากให้คุณได้เข้าไปถ่ายกันก็คือ มาโครแบบเจาะลึก "หินย้อย" ชนิดที่เห็นผลึกของปลายหินย้อยกันเลยทีเดียว ลองดูจากภาพตัวอย่างที่ผมเข้าไปถ่ายมาจากที่นี่ดูได้ครับครับ วิธีการและเทคนิคเป็นอย่างไรเดี๋ยวเรามาถ่ายด้วยกัน ผมจะเป็นพี่เลี้ยงให้คุณเอง

เกริ่นมายาวมาก รีบสมัครเสียก่อนเถอะครับ ไม่งั้นเดี๋ยวมันเต็มขึ้นมาละก็เสียดายแย่เลยทีเดียว

รายละเอียดทริปนี้:

เดินทางวันเสาร์ที่ 29 กันยายน 2018 ค้างหนึ่งคืนที่บ้านพักของอุทยานฯ กลับถึง กทม. ค่ำๆ วันอาทิตย์ที่ 30 กันยายน

วันเสาร์ขอออกแต่เช้าตรู่สักหน่อยนะครับ เราจะได้มีเวลาถ่ายภาพกันมากๆ โดยนัดแนะกันที่ลานจอดรถ BTS หมอชิต ออกเดินทาง 7.00 น. มุ่งหน้าสู่ จ.กาญจนบุรี โดยใช้เส้นทางพุทธมณฑล-นครปฐม-ราชบุรี-กาญจนบุรี
แวะระหว่างทางหนึ่งครั้ง ซึ่งอาจจะเป็นแถวตัวเมืองกาญจน์ แล้วตรงไปถ้ำธารลอดเลย

ไปถึงอุทยานแห่งชาติเฉลิมรัตนโกสินทร์แล้วก็เข้าที่พัก เก็บกระเป๋าเสื้อผ้าแล้วเตรียมนำกล้องออกไปลุย โดยในวันแรกผมจะพาเดินเข้าถ้ำแล้วทะลุออกไปเก็บเส้นทางในป่าก่อน ถ้ำนี้อยู่ใกล้บ้านพักครับ มีลำห้วยสายไหลเย็นชื่นใจไหลผ่านเลย

ย้อนกลับมาแล้วก็เก็บภาพในถ้ำด้วยเทคนิควิธีการต่างๆ ใครอยากเล่นอะไรก็ว่าไป จะขลุกอยู่ในถ้ำถ่ายจัดองค์ประกอบมุมโน้นมุมนี้หรือจะเก็บค้างคาวก็ได้ จะเดินออกไปแช่น้ำในลำห้วยแถวที่พักก็ได้ หรือออกไปอาบน้ำที่บ้านแล้วกลับเข้ามาใหม่ก็ยังไหว เพราะมันใกล้นิดเดียว

ตกเย็นเรากะจะมีปาร์ตี้พูดคุยรอบกองไฟกันครับ (แต่เค้าคงไม่ให้จุดไฟจริงๆ หรอกนะ) ผมว่าจะหาพวกลูกชิ้นหรือบาบีคิวไปปิ้งทานเล่นกันหน่อย (แต่มีข้าวให้ทานนะ)

ท่านใดจะลองประสบการณ์ถ่ายภาพมาโครตอนกลางคืนก็ครั้งนี้แหละครับ มันจะมีแมลงแปลกๆ ออกหาอาหารอยู่ไม่น้อยเหมือนกัน

ตื่นเช้ามาอีกวันนึงก็อาบน้ำล้างหน้าล้างตา แล้วเราจะกลับเข้าถ้ำกันอีกรอบ คราวนี้จะเน้นไปที่การเจาะ "หินย้อย" โดยตรงเลย

บ่ายๆ เราก็เดินทางกลับกัน แค่นี้ก็แฮปปี้จะแย่อยู่ละ

อย่าลืมว่าอันนี้คือการไปเรียนถ่ายรูปครับ ดังนั้นเราจะเน้นที่การถ่ายรูปเป็นหลัก ความสะดวกสบายเป็นเรื่องรอง แต่รับรองว่าไม่ลำบากลำบนและไม่มีการติดถ้ำให้โด่งดังแน่นอน  ;D

งานนี้ได้รับสนับสนุนงบประมาณบางส่วนจากทาง Canon ครับ แถมไม่จำกัดยี่ห้อกล้องของสมาชิกทริปด้วย เราเลยเบาภาระค่าใช้จ่ายลงมาหน่อย ไม่งั้นราคานี้รับรองว่าไม่มีทางแน่ๆ และงานนี้เค้ายังเตรียมกล้องและอุปกรณ์บางส่วนมาให้ได้ทดลองใช้ และท่านใดที่ใช้แคนนอนก็จะมีของที่ระลึกพิเศษมาให้อีกต่างหาก ต้องขอบคุณทาง Canon ด้วยครับ

• สิ่งที่ต้องเตรียมไป

- กล้อง
- เลนส์ รอบนี้ใช้เลนส์ได้หลากหลายครับ ไวด์ เทเล มาโคร มีอะไรก็ขนไปให้หมดคลังแสงเลย
- ขาตั้งกล้อง
- สายลั่นชัตเตอร์ ถ้าไม่มีก็ไม่เป็นไร แต่มีก็จะดีมากถึงมากที่สุด
- ไฟฉาย
- แต่งกายแบบเดินป่า รัดกุม รพินทร์ ไพรวัลย์ ยังไงยังงั้น


ชำระค่าทริป :

2 วันหนึ่งคืน ราคา 3,000 บาท/ท่าน

สำหรับท่านที่จะนำรถไปเอง "ไม่มีส่วนลด" นะครับ เพราะผมต้องเหมารถตู้ตามจำนวนที่นั่ง ไม่ได้ซื้อตั๋วเป็นใบๆ ถึงอย่างไรก็ต้องจ่ายค่ารถเค้าเท่าเดิมอยู่ดี เห็นใจผมด้วยนะครับ  :)

โอนเงินมาที่:

ปิยะฉัตร แกหลง
ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด สาขาถนนเชิดวุฒากาศ (ดอนเมือง)
เลขที่บัญชี : 105-272835-9


โอนแล้วถ่ายสลิปหลักฐานส่งมาบอกใน chat ทาง Facebook ของผมครับ (Piyachat KIK Kaelong) เขียนชื่อ-นามสกุลพร้อมเบอร์โทรศัพท์ลงในสลิป
ระบุว่า "NXT/LS10" เพื่อเป็นหลักฐานยืนยันในการจองที่นั่ง


หลังจากนั้นผมจะนำท่านเข้ากลุ่มใน FB ที่จะตั้งขึ้นมาสำหรับกิจกรรมนี้ และเราจะบอกรายละเอียดนัดแนะสถานที่และวันเวลาในการขึ้นรถลงรถกันในนั้นเพื่อป้องกันผู้แอบอ้างครับ

รับสมัครเพียง 25 ที่นั่งเท่านั้น เต็มแล้วเต็มเลยจ้า

******* ไม่รับจองด้วยวาจานะครับ โอนเงินเพื่อจองที่นั่งเท่านั้น *********

จากสถิติการจัดทริปที่ผ่านมา ปรากฏว่าที่นั่งเต็มเร็วมากครับ อย่าได้ชะล่าใจเด็ดขาด!

และขอย้ำว่าให้ตัดสินใจให้ดีนะครับ อย่ากลับไปกลับมา ไม่อย่างนั้นผมจะมีปัญหาแน่ๆ โอนแล้วโอนเลยครับ พิจารณาให้ดีก่อนนะ นี่พูดกันตรงๆ ครับ :)

ผมจะลงชื่อท่านที่โอนเงินเข้ามาพร้อมส่งเมลหลักฐานยืนยันเรียบร้อยแล้วในโพสต์นี้ครับ  :)

ปล. ท่านใดเป็นเสือปืนไว เดี๋ยวผมมีของที่ระลึกพิเศษให้ด้วยนา :D

จำนวนที่นั่งคงเหลือ : 0 ปิดรับสมัคร!

---------------------------------------------------------------------------------------

รายชื่อผู้ร่วมทริป NXT/LS10

1. Ben Panuwat
2. จุรี ชัยรุ่งภาคย์พิสิฐ
3. Achavadee Srisa-an
4. Chitisan Lerklunkanankun
5. Jajah Jantakarn
6. Walaiphan Charoendej
7. Nattalino​ Boon
8. Vissarud Wamphukhom
9. Dang Happyday
10. Monthian Pathaweekarnjanawaree
11. Ramza Belouf
12. Waraporn GimKo
13. Siroratn Suthasuwan
14. Siroratn Suthasuwan
15. Bimxd Natchavakorn Songpracone
16. Ratapak Chulaluxsananukul
17. Pathompong Mongkolpornpiroj
18. Amarisa Mangkadanara
19. Vawravit Kongthon
20. Ton Kittiwat
21. Kriangsak Tawee
22. น้าชิตเอง ครับ
23. Cheetah Natara
24. Torpong Loharungsikul
25. Wuttichai Suraphaiboon
53
Activity / NXT:LS9 "ล่าพลุเมืองเพชร 2018"
« Last post by Nextopia on January 20, 2018, 10:05:09 AM »
NXY:LS9 : ถ่าย/โปรเซสภาพพลุแห่งเขาวัง

อัพเดท เต็มทั้งสองรอบแล้วครับ ปิดรับสมัคร!

ผมคงจะไม่ชักแม่น้ำทั้งห้าละครับ เราว่างเว้นจากทริปเรียนรู้เรื่องการถ่ายภาพพลุมาแล้วหนึ่งปีเต็ม (เกินด้วย) คราวนี้เราจะไปกันในเดือน กพ.2018 นี่แหละ

การถ่ายภาพพลุไม่ใช่เรื่องยากแต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายมากนัก แต่ผลของการไปนี้ผมว่าเราจะไม่ใช่เพียงแค่ได้ภาพถ่ายอย่างเดียว แต่เรายังจะได้ประสบการณ์ ได้เพื่อนใหม่ และได้สลับฉากให้กับชีวิตอันเคร่งเครียดกันบ้าง ไปสูดกลิ่นท้องไร่ท้องนาพร้อมกับตะวันลับฟ้ากันบ้าง

...เมื่อมืดลงเราก็จะเก็บภาพพลุไฟกระจายท้องฟ้าอันน่าตื่นตาตื่นอารมณ์

รอบนี้นอกจากเรียนรู้เรื่องการถ่ายภาพพลุแล้ว ผมจะพาทุกท่านมาเรียนรู้เรื่องการโปรเซสภาพพลุด้วยว่าต้องทำยังไงให้มันสวย วิธีการซ้อนภาพพลุหลายๆ ลูกตามแบบฉบับของผมที่ต้องไม่ยากแต่ได้ผลดี กลับไปก็จะได้ลองทำภาพพลุเจ๋งๆ ที่ถ่ายด้วยตัวคุณเองออกมาให้โลกตะลึงไปเลย!

ปีนี้ผมจะเปิดสองรอบนะครับ นั่นก็คือในวันเสาร์ที่ 17 และอาทิตย์ที่ 18 กุมภาพันธ์ 2561 ***รอบวันอาทิตย์เต็มแล้วครับ***

รายละเอียดตามนี้ :

เราจะออกเดินทางจาก กทม. กันในเวลา 12:00
เข้าที่เรียนเรื่องการถ่ายภาพพลุและการโปรเซสภาพ (ไม่ต้องเอาคอมมาครับ)
กินข้าวเย็นร่วมกันในบรรยากาศสนุกสนานเฮฮา
จากนั้นเราจะเข้าตำแหน่งถ่ายภาพกันก่อนมืด
ถ่ายพลุประมาณ 21:00
กลับถึง กทม. ประมาณห้าทุ่ม-เที่ยงคืน

ขอบอกเอาไว้เลยครับว่าไปกับผมนี่คุณต้องลุยหน่อย อึดหน่อย ถ้าอยากได้ภาพดีๆ เพราะที่สบายๆ น่ะคนเค้าไปถ่ายภาพกันหมดแล้ว จริงไหมล่ะ?
คุณต้องอดทนรอคอยได้ นั่งกลางดินกินกลางทรายได้ ไม่ได้เข้าห้องน้ำเลย 5-6 ชั่วโมงเพื่อวัตถุประสงค์แห่งการรอคอยถ่ายภาพเด็ด คุณต้องทำได้

• สิ่งที่ต้องเตรียมไป

- กล้อง
- เลนส์ ผมแนะนำเป็นช่วงสัก 24mm - 120mm ครับ จะกำลังดีสำหรับกล้อง FF ส่วนตัวคูณก็ประมาณเดียวกัน
- ขาตั้งกล้อง
- สายลั่นชัตเตอร์ ถ้าไม่มีก็ไม่เป็นไร แต่มีก็จะดีมากถึงมากที่สุด


ชำระค่าทริป :

ราคารอบละ 1,800 บาท/ที่นั่ง


คุณอาจจะรู้สึกว่าแพงสำหรับการไปถ่ายพลุ แต่นี่คือ "คอร์ส" เรียนถ่ายภาพครับ ไม่ใช่พาไปปล่อยแล้วต่างคนต่างถ่ายตัวใครตัวมัน มันคือค่าวิชานั่นแหละครับ และอีกอย่างหนึ่งคุณก็จะได้สนับสนุนให้ผมได้มีแรงเดินต่อไปในเส้นทางสายเผยแพร่ความรู้ในกรอบสี่เหลี่ยมนี้ด้วย ...ได้บุญนะขอบอก  ;)

ปล. รอบนี้ผมดัมพ์ราคาค่าทริปลงมาต่ำกว่าครั้งที่แล้วด้วย เพื่อความมันส์ ใจใจกันไปเลย ;D

สำหรับท่านที่จะนำรถไปเอง "ไม่มีส่วนลด" นะครับ เพราะผมต้องเหมารถตู้ตามจำนวนที่นั่ง ไม่ได้ซื้อตั๋วเป็นใบๆ ถึงอย่างไรก็ต้องจ่ายค่ารถเค้าเท่าเดิมอยู่ดี เห็นใจผมด้วยนะครับ  :)

โอนเงินมาที่:

ปิยะฉัตร แกหลง
ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด สาขาถนนเชิดวุฒากาศ (ดอนเมือง)
เลขที่บัญชี : 105-272835-9


โอนแล้วถ่ายสลิปหลักฐานส่งมาบอกใน chat ทาง Facebook ของผมครับ (Piyachat KIK Kaelong) เขียนชื่อ-นามสกุลพร้อมเบอร์โทรศัพท์ลงในสลิป
ระบุในเมล์ว่า "NXT/LS9" เพื่อเป็นหลักฐานยืนยันในการจองที่นั่ง
และสำคัญมากครับ กรุณาระบุรอบที่ต้องการด้วย แค่บอกผมว่า "รอบ 1" หรือ "รอบ 2" เท่านั้น
***รอบสองเต็มแล้วครับ***

หลังจากนั้นผมจะนำท่านเข้ากลุ่มใน FB ที่จะตั้งขึ้นมาสำหรับกิจกรรมนี้ และเราจะบอกรายละเอียดนัดแนะสถานที่และวันเวลาในการขึ้นรถลงรถกันในนั้นเพื่อป้องกันผู้แอบอ้างครับ

รับสมัครเพียง 29 ที่นั่งต่อรอบเท่านั้น

******* ไม่รับจองด้วยวาจานะครับ โอนเงินเพื่อจองที่นั่งเท่านั้น *********


จากสถิติการจัดทริปที่ผ่านมา ปรากฏว่าที่นั่งเต็มเร็วมากครับ อย่าได้ชะล่าใจเด็ดขาด!

และขอย้ำว่าให้ตัดสินใจให้ดีนะครับ อย่ากลับไปกลับมา ไม่อย่างนั้นผมจะมีปัญหาแน่ๆ โอนแล้วโอนเลยครับ พิจารณาให้ดีก่อนนะ นี่พูดกันตรงๆ ครับ :)

ผมจะลงชื่อท่านที่โอนเงินเข้ามาพร้อมส่งเมลหลักฐานยืนยันเรียบร้อยแล้วในโพสต์นี้ครับ  :)

ท่านใดใจถึงไปสองรอบนี่เดี๋ยวผมมีของพิเศษให้ครับ  ;)

-----------------------------------------------------------------------------

รอบที่ 1 เสาร์ที่ 17 กพ. จำนวนที่นั่งคงเหลือ : 0 เต็มแล้วครับ

1.Pratilop Boom
2. Chaiyaporn Meekham
3. Chaiporn Sukthamruksa
4. Thanaporn Pichitphan
5. โกเมน เอี่ยมสอาด
6. Siroratn Suthasuwan
7. Ying Ying Luo
8. Thanyarat Siri
9. Nobytas Wealthy
10. Arthit Thurdsuwarn
11. Maneerat Supatpitak
12. Supachai Boonsomchuer
13. Purin Thongnueim
14. Appiiez Li
15. Sikarin Kanoksikarin
16. Patipon Wongsrikul
17. Ongsa Kub
18. Louis Nina
19. Chadchai Na Bangplee
20. Ramza Belouf
21. Tanavatt Bhanijkasem
22. Apichart Nay Netcharussaeng
23. Chinook Auscharanuwat
24. พีระพงษ์ ศรีจันทร์
25. Chatree Lertsintanakorn
26. Auddy Tri
27. Sopha Changaroon
28. Kitti Thanapaisankij
29. Pathikorn Sinlamat


รอบที่ 2 อาทิตย์ที่ 18 กพ. จำนวนที่นั่งคงเหลือ : 0
รอบที่ 2 เต็มแล้วครับ
54
Activity / NXT LS7, LS8 : Macro Reunion
« Last post by Nextopia on July 01, 2017, 10:51:40 PM »
*******ที่นั่งเต็มทั้งสองรอบแล้วครับ ปิดรับสมัครครับ!!******

"ทุกความรู้ที่ผมมี รับรองว่าไม่มีปิดบัง"

ใครที่รู้จักคุ้นเคยกับผมต่างก็รู้ในข้อนี้ดีอยู่แล้ว เราเป็นเพื่อนเป็นพี่น้องกันทั้งนั้นนี่นา

ไม่รู้จักใครเลย...กลับไปคุณจะมีเพื่อนเพิ่มอีกเป็นโหลครับ คนที่เคยไปเค้าการันตีได้ ทริปเราอบอุ่นที่สุดดดด  ;)

คราวนี้ผมจะเพิ่มการบรรยายอย่างที่หลายๆ คนพลาดตามสถานที่ต่างๆ เวลาที่ผมไปบรรยายเข้ามาด้วยครับ
เราจะพูดคุยกัน ปรึกษากันที่ร้านข้าวริมชายขอบป่าเลย เอาให้รู้เรื่องกันก่อนที่จะไปเจอของจริง
เพราะผมหวังที่จะให้ทุกท่านได้เรียนรู้จริงและได้ภาพเจ๋งๆ กลับบ้านไป

รวมไปถึงจะเผยเคล็ดลับวิธีการโปรเซสภาพอีกเล็กน้อยใน Photoshop ในแบบของผมให้ฟังกันด้วย

สิ่งที่คุณจำเป็นต้องรู้ก่อนที่จะตัดสินใจไปกับผมนะครับ บอกเลยว่านี่คือ "สายลุย" อย่าได้ถามหาความสะดวกสบาย อย่าได้ถามหาความอร่อย อย่าได้ถามหาความไม่เลอะเทอะเปรอะเปื้อน
ผมจะพยายามอำนวยให้เท่าที่จะเป็นไปได้ เราเน้นกันที่ประสบการณ์ในการถ่ายภาพมาโครในป่าเป็นหลัก เรื่องเที่ยวเล่นสบายๆ เป็นรอง ไปกับผมอย่าได้หวังความสบายครับ

...นี่ ต้องขู่กันให้รู้เรื่องก่อนแบบนี้ แมนๆ กันไป
(ผมก็ขู่ไปงั้นแหละ พวกที่เคยไปแล้วรู้ดีว่ามันหนุกซะจนเซ็งตอนที่โดนตามให้กลับบ้าน)

ใช้แฟลชแยกตัวเดียวถ่ายมาโครยังไงให้สวย? รับรองว่า "เป็นงาน" กลับบ้านไปแน่นอน

ลุยเลอะนะครับ ย้ำกันอีกที แต่รับรองว่าสนุกจนต้องฉุดกระชากลากกันกลับออกมาจากป่าแน่ๆ (เป็นแบบนี้ทุกรอบไปสิน่า  ;D )

กำหนดการ :

รอบที่ 1 "LS7" วันเสาร์ที่ 19 สิงหาคม 2560
รอบที่ 2 "LS8" วันอาทิตย์ที่ 27 สิงหาคม 2560


7:00 พบกันที่ลานจอดรถสถานี BTS "หมอชิต" ออกเดินทางสู่ "ศูนย์ศึกษาธรรมชาติ เจ็ดคต-โป่งก้อนเส้า" สระบุรี โดยรถตู้
แวะกินข้าวเช้าระหว่างทางที่ "ข้าวแกงบ้านสวน" จัดกันเองตามอัธยาศัย

- ช่วงเช้า เรียนพื้นฐานการถ่ายภาพมาโครเพื่อทำความเข้าใจกับมัน, เทคนิควิธีการถ่ายภาพมาโครขั้นเซียนในแบบของผม
จะนำมาเปิดเผยถ่ายทอดให้ฟังกันในวันนี้แหละ เรียนไปทำไป ซ้อมมือกันก่อนลุยเข้าไปในป่าจริง สนุกสนานบานเบิก รับรอง  :D

12:00 พักทานข้าวเที่ยงในบรรยากาศแบบชายขอบป่า มื้อนี้เลี้ยงครับ  ;D
- ช่วงบ่าย ลงพื้นที่ป่าจริง ก้มๆ เงยๆ ค้นหาตัวแบบจริงโดยมีผมดูแล ใช้ความรู้ที่เรียนในช่วงเช้าถ่ายภาพจากสถานการณ์จริง

16:00 เดินทางกลับ แวะที่ "ข้าวแกงบ้านสวน" กินน้ำกินข้าวพูดคุยเฮฮากันรอบส่งท้าย ซื้อขนมของฝากก็จัดกันเสียตรงนี้ มื้อนี้ดูแลตัวเองครับ  ;D
18:00 ถึงจุดสตาร์ทที่ BTS "หมอชิต" แยกย้ายกันกลับบ้านอย่างมีความสุข

การเตรียมตัว :

อุปกรณ์ถ่ายภาพ
- กล้อง
- เลนส์มาโคร (ถ้าไม่มี ผมแนะนำเป็น "ท่อมาโคร" แทนครับ ราคาประหยัดหน่อย พอใช้ได้อยู่เหมือนกัน)
- แฟลชแยก (แนะนำเป็นแบบไร้สายครับ)
- ถ้ามีไฟฉายก็เตรียมไปด้วยครับ นี่ล่ะอีกหนึ่งเคล็ดลับเลย
- อุปกรณ์นอกจากนี้ก็ว่ากันไปตามถนัดของแต่ละท่าน ผมแนะนำว่าให้น้อยชิ้นเพื่อความคล่องตัวที่สุดครับ

นอกจากอุปกรณ์ถ่ายภาพแล้วผมขอให้ใช้รองเท้าผ้าใบ แต่งตัวรัดกุมนิดนึง มียาฉีดกันยุงก็เตรียมมา
ที่นี่ไม่มี "ทาก" ครับ ไม่ต้องเป็นห่วง นอกนั้นก็เป็นการเตรียมตัวทั่วไป อาจเตรียมอุปกรณ์กันฝนมาด้วยครับ
ห้องเรียนนี้ยังไม่ค่อยลำบากอะไรเท่าไหร่นัก ห้องน้ำห้องท่ามีพร้อม ไม่ได้ลุยป่าหนักสมบุกสมบัน (แต่ก็ลุยแหละ) เน้นเรียนรู้นะ

ชำระค่าทริป :

ท่านละ 1,800 บาทเท่านั้น โดยโอนเงินมาที่

ปิยะฉัตร แกหลง
ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด สาขาถนนเชิดวุฒากาศ (ดอนเมือง)
เลขที่บัญชี : 105-272835-9


โอนแล้วถ่ายภาพส่งสลิปหลักฐานมาที่ chat box (messenger) facebook ของผม เขียนชื่อ-นามสกุลพร้อมเบอร์โทรศัพท์ลงในสลิป
ระบุในเมล์ว่า "LS7" หรือ "LS8" ตามรอบที่ต้องการ เพื่อเป็นหลักฐานยืนยันในการจองที่นั่งครับ
หรือจะส่งทางอีเมล์ก็ที่ xtc@xtemag.com ก็ได้ครับ เลือกช่องทางที่ท่านสะดวกที่สุดก็แล้วกัน แต่ไม่ต้องมาทั้งสองทางนะครับ เดี่ยวจะงง

ไม่รับจองปากเปล่านะครับ ไม่ใช่ไม่ไว้ใจกันแต่เพื่อความเป็นธรรมกับทุกคนครับ

**รางวัลพิเศษ**

• ท่านแรกที่โอนค่าทริปเข้ามาจะได้รับภาพถ่ายขนาด A3 จากฝีมือของผมไปเป็นที่ระลึก ลงลายเซ็นกำกับให้ไปเลยด้วย  ;)
• และอีกหนึ่งภาพจากการเล่นสนุกจับสลากกันในทริป มีสิทธิ์ลุ้นทุกท่าน ได้จากข้างบนแล้วก็ยังมีสิทธิ์ได้อีกครั้งด้วย
• ท่านที่ไปทั้งสองรอบผมจะมีของสมนาคุณพิเศษให้ครับ (จะมีใครบ้าพอมั๊ย  ;D )

"เจ็ดคตน่ะไปเองก็ได้ แต่ไปแบบมีผมคอยโค้ชให้น่ะก็ต้องรอบนี้ล่ะ"

รับสมัครรอบละ 20 ที่นั่งเท่านั้น

ผมจะ add ท่านเข้ากลุ่มใน facebook สำหรับทริปนี้ในแต่ละรอบครับ

จำนวนที่นั่งคงเหลือ "LS7" (19 ส.ค.) : 0 : ปิดรับสมัคร
-------------------------------------------------------------------------------------------------

จำนวนที่นั่งคงเหลือ "LS8" (27 ส.ค.) : 0 : ปิดรับสมัคร
55
เราหาจุด Sweet Spot ของเลนส์ได้อย่างไร: คำแนะนำการทำให้ภาพคมชัดสำหรับผู้เริ่มต้น

โพสโดย Dena Haines แปลโดย Topstep07

เว็ปไซต์ต้นฉบับเพื่อดูภาพประกอบคำบรรยาย
http://digital-photography-school.com/how-to-find-your-lens-sweet-spot-a-beginners-guide-to-sharper-images/

คุณรู้สึกเหนื่อยกับภาพที่มันเบลอไหม?
มันได้เวลาที่ต้องเรียนรู้ว่าทำอย่างไรในการถ่ายภาพให้คมชัดโดยการค้นหาจุด sweet spot (จุดที่กำลังดี) นี้คือสิ่งที่เชื่อถือได้ ประหยัดเวลาและช่วยให้คุณถ่ายภาพได้ดีขึ้นกว่าเดิม
ในบทความนี้คุณจะได้เรียนถึง
•   การค้นหาจุด sweet spot ของเลนส์อย่างไร  (สำหรับทำให้ภาพคมชัด)
•   ทำไมคุณควรถ่ายภาพในโหมด Aperture Priority (และใช้มันอย่างไร)
•   ทำอย่างไรในการทดสอบให้ได้ความคมชัดที่สุดของภาพในทุกๆ ครั้ง
•   มันสำคัญอย่างไรกับ sweet spot ในเลนส์ของคุณ? สังเกตความแตกต่าง
(ดูภาพประกอบคำบรรยายในเว็ปไซต์ต้นฉบับ...ในภาพนาฬิกาด้านบนนี้ ภาพทางด้านขวามือมีความคมชัดกว่า ลองดูตัวอักษรใกล้ที่อยู่บนตัวนาฬิกา ภาพที่ถ่ายด้วยรูรับแสง f/9 คมชัดกว่าเพราะว่ามันถ่ายที่จุด sweet spot ของเลนส์ ในขณะที่รูรับแสง f/3.5 มันไม่ใช่
สิ่งแรกให้ดูที่เลนส์ของคุณ
ในคำแนะนำสำหรับผู้เริ่มต้นใหม่ เราจะใช้เลนส์ในระดับเริ่มต้นที่เป็นเลนส์ซูมเป็นตัวอย่าง เลนส์คิทส่วนใหญ่ (เลนส์พื้นฐานที่มากับกล้อง DSLR) จะถ่ายภาพได้คมชัดที่สุดที่ค่ากึ่งกลาง ของการตั้งค่ารูรับแสง การที่จะเข้าใจเรื่อง ค่ากึ่งกลางของเลนส์ คุณต้องรู้ความกว้างสุด (หรือมากที่สุด)ของรูรับแสง มันแสดงอยู่ด้านข้างของเลนส์ หรือปลายเลนส์ซึ่งมีลักษณะแบบนี้ 1:3.5-5.6
สำหรับตัวอย่าง นี้คือเลนส์ซูม Canon 18-55mm ของฉัน (ดูภาพตัวอย่างประกอบคำบรรยายในเว็ปไซต์ต้นฉบับ)
มันหมายความว่า เมื่อเลนส์ของฉันซูมออกไป ความกว้างสุดของรูรับแสงคือ f/3.5 ขณะเมื่อเลนส์ซูมเข้ามาความกว้างสุดของรูรับแสงจะเท่ากับ f/5.6
กฎของการหาค่ากึ่งกลางที่เป็นจุด sweet spot คือ ให้นับเพิ่มไปอีก 2 f-stop (นับเต็ม) (ค่ารูรับแสงถูกเรียกว่า f-stop) จากค่ารูรับแสงที่กว้างสุด ในเลนส์ของฉัน ค่ารูรับแสงกว้างสุดคือ f/3.5 ถ้านับไปอีก 2 stop จากนี้มันจะได้ค่าจุดกึ่งกลางราวๆ f/7
(ดูภาพประกอบคำบรรยายในเว็ปไซต์ต้นฉบับ...ในตารางด้านล่างนี้การนับ f-stop) ภาพโดย  Robin Parmar
มันยังมีค่าแกว่งไปมาในช่วงกึ่งกลางด้วย ดังนั้นค่าที่ได้จะอยู่ประมาณ f/7 ถึง f/10 ที่จะทำให้ภาพคมชัด เมื่อคุณได้รู้ถึงค่ากึ่งกลางของเลนส์คุณแล้ว คุณสามารถลองทดสอบอย่างง่ายๆ เพื่อให้ได้ภาพคมชัดที่สุด การทดสอบคุณจะต้องถ่ายด้วยโหมด Aperture Priority
ควบคุมโหมด Aperture Priority
การถ่ายด้วย Aperture Priority จะทำให้คุณเลือกค่ารูรับแสงที่ต้องการ ซึ่งมันช่วยให้คุณควบคุมได้ดีกว่าการใช้โหมด Automatic โดยการควบคุมค่ารูรับแสง มันง่ายมากกว่าที่ทำให้ภาพคมชัดและเพราะว่ากล้องของคุณยังคงเลือกค่า ISO (ถ้าคุณตั้งค่าใช้ Auto ISO) และความเร็วชัตเตอร์แบบอัตโนมัติ มันง่ายในการใช้งานมาก
คุณคงเคยได้ยินค่ารูรับแสงที่ f/16 และ f/22 เป็นค่าที่ดีที่สุดเพื่อให้ทุกอย่างที่ถ่ายอยู่ในโฟกัส มันอาจเป็นความจริง การโฟกัสไม่ได้ทำทุกอย่างคมชัดเท่ากัน การเลือกค่ากึ่งกลางของรูรับแสงจะให้ความชัดกว่าของภาพทั้งหมด คุณสามารถพัฒนาสิ่งเหล่านี้ได้โดยการลดอาการสั่นของกล้องโดยใช้ขาตั้งกล้องและตัวรีโมทชัตเตอร์ (หรือใช้การตั้งเวลาถ่ายในกล้องของคุณ)
นี้คือตัวอย่างการถ่ายด้วยจุด sweet spot อย่างไรที่ทำให้ภาพของคุณคมชัด
(ดูภาพประกอบคำบรรยายในเว็ปไซต์ต้นฉบับ....ในสภาพด้านบนที่แบ่งออกเป็นสองภาพ ภาพที่ถ่ายด้วยรูรับแสง f/9 มีความคมชัดมากกว่า f/22  ปลายสนและเงาไม่นุ่มหรือเบลอเท่ากับค่ารูรับแสง f/22 ( ลองดูที่ความคมและประกายของหิมะด้วย)
เปลี่ยนจากโหมด Automatic มาเป็นโหมด Aperture Priority
เพื่อให้กล้องของเราไม่ใช้โหมด Automatic และให้ปรับมาเป็นโหมด Aperture Priority แทน เพียงแค่หมุนปุ่มโหมดมาที่ Aperture Priority นี้คือหน้าตาของปุ่มโหมดบนกล้อง Canon ของฉัน (บนกล้อง Nikon หรือยี่ห้ออื่นๆ จะใช้ ตัวอักษร A) (ดูภาพประกอบคำบรรยายในเว็ปไซต์ต้นฉบับ) ตัวโหมด Automatic จะมีเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีเขียว ส่วนโหมด Aperture Priority คือคำว่า Av (หรือ A บนกล้อง Nikon) เมื่อกล้องของคุณได้ถูกตั้งเป็น Aperture Priority โหมดแล้ว ให้หมุนปุ่มเล็กกว่า (ที่แสดงอยู่ด้านบนของกล้อง Canon) เพื่อปรับเลือกค่า f-stop ของคุณ ขณะที่คุณหมุน คุณจะเห็นค่า f-number เปลี่ยนบนหน้าจอแสดงในภาพถัดไป มันถูกตั้งค่าไว้ที่ f/9.5 (ดูภาพประกอบคำบรรยายในเว็ปไซต์ต้นฉบับ)
การทดสอบจุด Sweet Spot ของเลนส์
เมื่อกล้องของคุณได้ตั้งอยู่บนขาตั้งกล้องแล้วการทดสอบจุด sweet spot ของเลนส์ ก็ใช้เวลาไม่กี่นาที เริ่มต้นโดยการปรับกล้องของคุณไปใช้โหมด Aperture Priority จากนั้นก็จัดองค์ประกอบในกาถ่ายและลองถ่ายภาพด้วยค่ารูรับแสงที่ต่างกัน เริ่มจากค่ารูรับแสงที่กว้างที่สุดและถ่าย และหมุนปรับค่าไปเรื่อย (หมุนไปทางขวา) ทำไปเรื่อยๆ จนกระทั่งได้ภาพมาสักเจ็ดหรือแปดภาพ
โหลดภาพที่ได้ของคุณลงไปที่เครื่องคอมฯ แล้วซูมภาพพวกนั้นมาดู คุณจะเห็นได้อย่างรวดเร็วเลยว่าค่ารูรับแสงไหนที่คุณใช้มันทำให้ภาพคมชัดมากที่สุดจากภาพทั้งหมด
(ดูภาพประกอบคำบรรยายในเว็ปไซต์ต้นฉบับ....ภาพถ่ายถัดไปเป็นภาพลูกสาวของฉันที่ถ่ายโดยใช้แสงธรรมชาติ ถ่ายด้วยเลนส์ของฉันที่ใช้จุด sweet spot ที่ทำให้ภาพดูสวยงามคมชัด แม้ว่าจะมีสภาพแสงที่น้อยก็ตาม
เมื่อดึงภาพรูปแก้วชาเข้ามาใกล้ๆ แสดงให้เห็นข้อดีของการถ่ายภาพด้วยจุด sweet spot เมื่อไรก็ตามที่คุณต้องการให้แน่ใจว่าคุณได้ภาพที่คมชัดที่สุดที่เป็นไปได้ ให้ถ่ายที่ค่ากึ่งกลาง f/7, f/8, f/9 และ f/10
ถ่ายภาพให้คมชัดที่สุด ....เวลานี้คุณรู้เกี่ยวกับจุด sweet spot ในเลนส์ของคุณแล้ว ตอนนี้ก็ได้เวลาฝึกฝน ฉันหวังว่าคุณจะได้ในสิ่งที่คุณชอบจากผลลัพท์ที่ได้
ฉันรักที่จะได้ด้วยแสงธรรมชาติ และเรียนรู้ว่าจะเก็บภาพให้คมชัดอย่างไรในสภาพแสงน้อยที่ทำให้มีความสุขมากในภาพถ่ายของฉัน
คำแนะนำในการถ่ายภาพให้คมชัดที่สุด:
•   ถ่ายด้วยโหมด Aperture Priority
•   เลือกค่ากึ่งกลางของค่ารูรับแสง (ประมาณ f/7 to f/10)
•   ใช้ขาตั้งกล้องและสายลั่นชัตเตอร์ (หรือตั้งเวลาถ่ายภาพในกล้องของคุณ) เพื่อลดการสั่นของกล้อง
•   ถ่ายภาพมาหลายภาพกับค่ารูรับแสงตั้งแต่ f/7 ไปถึง f/10 เมื่อการถ่ายภาพที่ต้องการความคมชัดเป็นสิ่งสำคัญ
แต่อย่าหยุดแค่นั้น ลองเล่นกับการตั้งค่า Aperture Priority ไปเรื่อยๆ มันน่าทึงมากที่ได้ภาพที่คมชัดทั่วภาพ
เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับค่ารูรับแสงและค่าชัดตื้นชัดลึก
คุณมีคำแนะนำอื่นๆ เกี่ยวกับจุด sweet spot ของเลนส์ที่อยากจะแบ่งปันอีกไหม? ถ้ามีโปรดนำมาแบ่งปันในช่องแสดงความคิดเห็นด้านล่างนี้
56
คุณใช้ Teleconverter สำหรับการถ่ายภาพนกหรือเปล่า? มีอยู่ห้าข้อสำคัญที่คุณควรพิจารณา

โพสโดย Prathap แปลโดย Topstep07

เว็ปไซต์ต้นฉบับเพื่อดูภาพประกอบคำบรรยาย
http://www.naturephotographysimplified.com/bird-photography/use-teleconverters-bird-photography-5-key-factors-consider/

แน่นอนสำหรับคำถามในหัวข้อนี้ คุณอาจตอบว่าใช่ เพราะว่า การถ่ายภาพนกที่ใหญ่กว่าคือการเข้าใกล้ ไม่ว่าเลนส์ที่มีทางยาวโฟกัสอะไรก็ตามที่คุณมีอยู่ มันไม่เคยเพียงพอต่อความต้องการ จริงไหม?
Teleconverter ส่วนต่อขยายความยาวโฟกัสที่มีอยู่ในเลนส์ของคุณให้ขยายขึ้นไปถึง 1.4 เท่า , 1.7 เท่า หรือ 2.0 เท่า ซึ่งหมายความว่า ถ้าคุณใส่ตัว 1.4x Teleconverter กับตัวเลนส์ความยาว 300mm เลนส์ฟิกส์ กับกล้องเซนเซอร์ฟลูเฟรม คุณจะได้ความยาวโฟกัสที่ 300mm คูณ 1.4 เท่ากับความยาว 420mm ถ้าคุณใส่ตัว 1.7x Teleconverter เข้าไปแทน มันจะเป็น 300mm คูณ 1.7 เท่ากับ 510mm และถ้าใช้ 2.0x Teleconverter คุณจะได้ความยาวที่ 600mm (300mm x 2.0) ตามลำดับ มันช่างน่าทึ่ง ใช่ไหมครับ? และราคาของตัว Teleconverter ก็น้อยกว่าเลนส์
สิ่งสำคัญ ถ้าคุณซื้อเลนส์ Nikon 300 f/2.8 ที่ราคา 5,000 เหรียญสหรัฐ และซื้อตัว Nikon 2.0x III teleconverter ที่ราคา 500 เหรียญสหรัฐ คุณจะได้ค่าความยาวของเลนส์ตัวนี้เป็น 600mm ที่ f/5.6 (เราจะพูดเกี่ยวกับ f-stop ทีหลัง)  รวมทั้งหมดแล้วเท่ากับราคา 5,500 เหรียญสหรัฐ
มันมีราคาที่คุ้มค่าไม่ใช่หรือ? ในขณะที่เลนส์ Nikon 600mm f/4 (รุ่นใหม่สุด) อยู่ที่ราคาราวๆ 12,000 เหรียญสหรัฐ
ไม่จริง ถ้ามันมีค่าเท่ากับ 600mm  โรงงานผลิตเลนส์คงจะไม่ใช้เงินหลายล้านเหรียญสหรัฐในการสร้างเลนส์เหล่านี้  แล้วมันดูสมเหตุผลไหมที่ต้องซื้อในราคาแพงขนาดนั้น เมื่อช่างภาพสามารถใช้เลนส์ 300mm f/2.8 บวกกับตัว 2.0x teleconverter?

และนี้คือที่มาของข้อความข้างล่างนี้ สำหรับห้าข้อสำคัญเมื่อคุณกำลังใช้ตัว teleconverter ลองมาพิจารณากันว่ามีอะไรบ้าง

ห้าข้อหลักในการพิจารณาขณะที่ใช้ teleconverter
นี้คือสิ่งที่มองดูอย่างเร็วๆ ว่าอะไรคือตัวหลักที่มีผลกับความสามารถของเลนส์เมื่อคุณใช้ teleconverter
________________________________________
1. การสูญเสียแสง
คุณจะสูญเสียแสงที่ 1 stop, 1.5 stop และ 2 stop เมื่อคุณใช้ teleconverter 1.4x, 1.7x และ 2.0x ตามลำดับ สำหรับตัวอย่างคือ เลนส์ 300mm f/2.8 ของคุณกลายเป็น 420mm f/4, 510mm f/4.5 และ 600mm f/5.6 เมื่อคุณเลือกใช้ Teleconverter 1.4x, 1.7x และ 2.0x ตามลำดับ
ถ้าคุณไม่คุ้นเคยกับคำว่า stops หรือ f-stops ผมแนะนำให้คุรอ่านบทความ Photography Basic- Aperture http://www.naturephotographysimplified.com/tips-and-tutorials/understanding-aperture-f-stops-dslr-photography-basics/  ก่อนที่อ่านบทความนี้ต่อ
นี้คือการแปลความง่ายๆ ของการสูญเสียแสงเมื่อใช้ตัว Teleconverter
300mm f/2.8 + 1.4x teleconverter = 420  mm f/4 (1-stop loss)
300mm f/2.8 + 1.7x teleconverter = 510  mm f/4.5 (1.5-stop loss)*
300mm f/2.8 + 2.0x teleconverter = 600  mm f/5.6 (2-stop loss)
* เครื่องหมายดอกจันในข้อความที่สอง....ในทางทฤษฏีแล้ว 1.5 stops จาก f/2.8 ควรเป็น f/4.8 ไม่ใช่ f/4.5  แต่ขณะที่ผู้ผลิตเลนส์ใช้ 1/3 stope เป็นค่ากลางของ f-stops เบอร์ของ f-number เราจึงได้เป็น f/4.5 ถ้ามันเป็นความจริง เราจะสูญเสียแสง 1.33 stops ผมไม่เคยลองใช้ 1.7x teleconverter ดังนั้นผมไม่สามารถทดสอบมันได้ผมแค่สมมติฐานเท่านั้นในกรณีนี้
การสูญเสียแสงสามารถทำให้ความสามารถในการออโต้โฟกัสลดลงและมีผลทำให้ความเร็วชัตเตอร์ช้าลงด้วยซึ่งจะพูดต่อในหัวข้อถัดไป
2. ความสามารถ ออโต้โฟกัสลดลง
การสูญเสียแสงมีผลกับความสามารถของออโต้โฟกัสโดยตรง จำไว้ว่าออโต้โฟกันขึ้นอยู่กับแสงที่เข้ามาที่ตรวจจับความเปรียบต่าง และการตรวจจับตัวแบบและการเคลื่อนไหว ตามลำดับ
ขึ้นอยู่กับตัว Teleconverter ที่คุณใช้ คุณอาจมีประสบการณ์เมื่อออโต้โฟกัสเคลื่อนที่ช้า สิ่งนี้เกิดขึ้นโดยเฉพาะเมื่อคุณใช้ 2.0x teleconverter และเสียไป -2-stops
นี้คือปัญหาหนักขณะที่นกเคลื่อนที่รวดเร็วซึ่งหมายถึงว่าการประสบความสำเร็จในออโต้โฟกัสให้เร็วเท่าที่เป็นไปได้เพื่อเก็บภาพที่ดีที่สุด การสูญเสียในความสามารถของออโต้โฟกัสเป็นเรื่องที่แย่มาก
Teleconverter ที่เล็กกว่าจะมีผลถึงการด้อยประสิทธิภาพที่น้อยกว่าตามไปด้วย ตัวอย่างเช่น 1.4x teleconverter ไม่ทำให้ด้อยประสิทธิภาพเหมือนกับ 2.0x teleconverter ซึ่งง่ายในการสังเกตเห็น

3. ข้อจำกัดในจุดของออโต้โฟกัส หรือไม่มีเลย
กล้องระดับ entry level ส่วนใหญ่ไม่มีความสามารถในการออโต้โฟกัสที่เกินกว่า f/5.6 ซึ่งหมายถึง ถ้าคุณใช้ตัว 2.0x teleconverter กับเลนส์ 600mm f/4 คุณไม่สามารถใช้ออโต้โฟกัสได้เลย นั้นเป็นเพราะตัว 2.0x teleconverter มีค่าสูงสุดของรูรับแสงที่ 600mm f/4 แต่กลายเป็น f/8 สมมุติว่าคุณมีกล้องกึ่งโปร หรือโปรเหมือนเช่น Nikon D5, D4, D750, D800, D7200 Canon 1DX Mark II, 5D Mark III, 7D Mark II และอื่นๆ  คุณจะมีความสามารถในการใช้ออโต้โฟกัสได้ที่ f/8 เท่านั้น
เมื่อค่าสูงสุดของรูรับแสงของเลนส์อยู่ที่ f/8 (ขึ้นอยู่กับการใช้ตัว teleconverter) คุณสามารถใช้จุดโฟกัสที่จำกัดลง บางทีเพียงแค่จุดตรงกลางของออโต้โฟกัสเท่านั้นที่ใช้งานได้เมื่อเลนส์มีค่ารูรับแสงสูงสุดที่ f/8
หมายเหตุ....อย่าสับสนกับการตั้งค่ารูรับแสงของเลนส์ที่ f/8 เมื่อเทียบกับการใช้ teleconverter ไม่ว่าคุณทำการตั้งค่าเลนส์ให้ใช้รูรับแสงที่สูงสุด หรือ ค่าต่ำสุด คุณจะต้องใช้จุดออโต้โฟกัสทั้งหมด เพราะว่าเลนส์ของคุณมันทำงานที่ค่าสูงสูดของรูรับแสงจนกระทั่งคุณปรับค่าชัตเตอร์ลง ประหลาดใจใช่ไหมว่าเป็นไปได้อย่างไร เดี๋ยวเราไปคุยต่อทีหลัง
ให้ตรวจสอบความเจ้ากันได้ของเลนส์และขอจำกัดออโต้โฟกัสในแผนผังของกล้อง Nikon และCanon
Lens + Teleconverter Combination Autofocus Compatibility Chart for Nikon. https://www.nikonusa.com/Assets/Common-Assets/Images/Teleconverter-Compatibility/EN_Comp_chart.html
Lens + Teleconverter Combination Autofocus Compatibility Chart for Canon.
http://www.wexphotographic.com/blog/canon-teleconverter-compatibility-chart

4. ความเร็วชัตเตอร์ช้าลง หรือ มีน้อยส์มากขึ้น
เมื่อเราได้พูดถึงในจุดแรกการใช้ตัว teleconverter ทำให้สูญเสียแสง การสูญเสียแสงทำให้สูญเสียค่า f-stops การสูญเสียในค่ารูรับแสงนี้สามารถชดเชยได้โดยการลดความเร็วชัตเตอร์ให้ช้าลง หรือเพิ่มค่า ISO
ลองไปอ่านเกี่ยวกับ ความเข้าใจสามเหลี่ยมการตั้งค่าแสงที่มี รูรับแสง ความเร็วชัตเตอร์ และ ISO ที่ให้ได้ค่าแสงที่เหมาะสมตามเว็ปไซต์นี้
http://www.naturephotographysimplified.com/tips-and-tutorials/understanding-exposure-aperture-shutter-speed-and-iso-photography-basics/
ขณะที่ตัวความเร็วชัตเตอร์เล่นบทบาทที่เรื่องการหยุดความเคลื่อนไหว บ่อยครั้งที่คุณไม่สามารถทำให้มันช้าลงไปกว่านี้ ดังนั้นคุณเหลือเพียงหนทางเดียวคือการเพิ่มค่า ISO การเพิ่มค่า ISO อะไรก็ตามมีผลกับน้อยซ์ ถ้าคุณใช้กล้องที่ไม่ใช่ฟูลเฟรมเซนเซอร์ (APS-C หรือ DX) ดังนั้นค่าน้อยซ์สามารถเกิดขึ้นได้มากและทำให้ภาพใช้ไม่ได้ เรียนเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเลือกตัวกล้องที่ดีที่สุดสำหรับการถ่ายภาพนกจากเว็ปไซต์นี้  http://www.naturephotographysimplified.com/bird-photography/choosing-camera-body-bird-photography/

5. ภาพที่ดูนุ่มนวล
ตัว teleconverter ทำให้ภาพดูอ่อนนุ่มมากกว่าการใช้เลนส์โดยไม่มีตัว teleconverter เป็นเพราะเนื่องจากการสูญเสียแสงเมื่อใช้ตัว teleconverter การสูญเสียแสงนำไปถึงการสูญเสียค่าเปรียบต่างซึ่งมีผลของการสูญเสียความคมชัดซึ่งเป็นผลทำให้ภาพดูนุ่มนวล
ข้อเสียนี้มีผลกระทบเมื่อใช้เลนส์ที่ให้ภาพนุ่มนวล พูดได้ว่าเมื่อคุณกำลังใช้ตัว 1.4x teleconverter กับเลนส์ 80-400mm f/4.5-5.6G เทียบกับเลนส์ฟิกซ์ เลนส์นี้ไม่มีความคมชัดเมื่อเปิดค่ารูรับแสงกว้างสุดแล้วก็ตาม เมื่อคูณกับตัว 1.4x teleconverter มันทำให้แย่ลงไปอีก ในความเป็นจริง เลนส์ซูมส่วนใหญ่มีความด้อยในเรื่องของคุณภาพและความคมชัด
ภาพที่ดูนุ่มนวลสามารถเพิ่มความนุ่มนวลได้อีกเมื่อใช้ตัว 2.0x teleconverter นั้นเป็นเพราะมันสูญเสียแสงไป 2 stop มันเป็นเรื่องน่ารำคาญและรบกวนใจสำหรับช่างภาพหลายคนที่รู้สึกผิดหวัง มันยังคงเป็นอย่างนั้น
ผมเคยใช้เลนส์ 300mm f/2.8 กับตัว 2.0x teleconverter ที่ประสบความสำเร็จ ในความจริง คุณสามารถพบภาพมากมายในหนังสือ eBook ของการถ่ายภาพนกของผมที่ผมใช้เลนส์กับตัว teleconverter ตัวนี้ร่วมกัน และนี้คือสองภาพจากสิ่งที่ผมได้พูดไป (ดูภาพประกอบคำบรรยายในเว็ปไซต์ต้นฉบับ)
________________________________________
เอาละ...เมื่อพิจารณาถึงห้ากุญแจสำคัญข้างต้นก่อนที่เริ่มใช้ตัว teleconverter ที่ดูน่ากลัว แต่พวกมันก็มีข้อดีอยู่ นี้คือข้อดีของการใช้ Teleconverter

1. ทำให้เข้าไปใกล้มากขึ้น
แน่นอน นี้คือเหตุผลที่คุณซื้อตัว teleconverter ไม่ใช่หรือ?
ช่างภาพถ่ายนกมองหาสิ่งที่ทำให้เข้าไปใกล้ได้มากๆ ถ้ามีเลนส์ขนาดทางยาวโฟกัส 200mm  ช่างภาพถ่ายนกทุกคนหลงรักมัน การเข้าไปใกล้ เข้าไปใกล้ๆ เป็นสิ่งเดียวที่นักถ่ายภาพเริ่มต้นคิดถึง พวกเขาอาจพูดว่า “ถ้าคุณให้เลนส์ที่ทางยาวโฟกัสเพียงพอกับผม ผมจะถ่ายภาพนกได้ดีที่สุดแน่นอน”  จริงหรือ? คุณแน่ใจอย่างนั้นหรือ?
Teleconverter คือสิ่งสำคัญสำหรับช่างภาพถ่ายนกที่เอาจริงเอาจัง แต่มันไม่ควรพิจารณาถึงการแทนที่ แม้ว่า เลนส์ 400mm f/2.8 กับตัว 2.0x teleconverter (เทียบกับเลนส์ 800mm f/5.6) มันไม่เหมือนกันกับเลนส์ 800mm f/5.6 ทำไมหรือ? อ่านห้าข้อกุญแจสำคัญด้านบนที่ผมเขียนไว้
ถ้าคุณได้อ่านหนังสือ eBook ของผมเรื่อง Bird Photography Simplified – A Virtual Masterclass eBook  http://www.naturephotographysimplified.com/ebook-bird-photography-simplified-ultimate-practical-guide/  คุณจะรู้ว่ามีหนทางที่แตกต่างในการถ่ายภาพนก มันมีกุญแจสู่ความสำเร็จในการถ่ายภาพนก ในความเป็นจริง มันไม่มีช่วงความยาวของเลนส์ที่เพียงพอนั้นคือความสวยงามของภาพ มันเป็นสิ่งที่ท้าทายอย่างหนึ่ง
ส่วนใหญ่คุณใช้เลนส์จริงในการถ่ายภาพ แต่บางครั้งคุณอาจทำบางสิ่งให้เป็นไปได้แต่ยังคงต้องการการเข้าใกล้ให้มากที่สุด เมื่อคุณใช้ตัว teleconverter สถานการณ์เหล่านั้นจะเรียกกลับมาอีก
ความสวยงามคือ สิ่งที่คุณตัดสินใจว่าใช้ตัว 1.4x, 1.7x หรือ 2.0x teleconverter คุณมีทางเลือก มันสำคัญมากเมื่อคุณตัดสินใจว่าคุณต้องการลดความสามารถลงไปเท่าไรที่คุณสามารถรับได้ และตามที่ผมได้พูดไว้ก่อนหน้านี้ว่า 1.4x ดีกว่า 1.7x ซึ่งมันดีกว่า 2.0x teleconverter




2. คุณจะได้ค่าความยาวโฟกัสที่แตกต่าง
ไม่ใช่แค่ได้ค่าความยาวโฟกัสที่หลากหลายจากเลนส์ตัวเดียวกัน  โดยการใช้ตัว teleconverter คุณสามารถมีค่าความแตกต่างของความยาวโฟกัสถึง 2 หรือ 3 ชนิดกับเลนส์ตัวเดียว มันเยี่ยมมาก เช่นคุณมีเลนส์ 300mm f/2.8 ซึ่งเป็นเลนส์ที่ความคมน่าทึ่งมากและเป็นเลนส์ที่มีความสามารถรอบตัว และเมื่อคุณใช้ตัว teleconverter แบบ 1.4x, 1.7x และ 2.0x คุณสามารถเพิ่มความยาวของเลนส์ตัวนี้ได้มากขึ้นคือ 420mm, 510mm และ 600 ตามลำดับ ถ้าคุณระมัดระวังในห้ากุญแจสำคัญที่มีผลกับความสามารถของเลนส์และสามารถทำงานกับข้อจำกัดเหล่านี้ได้ ดังนั้นคุณมีการรวมตัวที่เยี่ยมยอดของเลนส์กับ teleconverter  กุญแจสำคัญของข้อนี้คือ ทำงานกับข้อจำกัด จำไว้ว่าคุณมีข้อจำกัดในการสูญเสียแสง การออโต้โฟกัสที่ต่ำลง ความเร็วชัตเตอร์ที่ช้าลง ภาพดูนุ่มเกิน และข้อจำกัดของจุดออโต้โฟกัส (ที่ f/8) กับกระบวนความคิดข้างต้นนี้ คุณมีความเชื่อที่มีผลต่อพฤติกรรมที่ดีกว่าในการไตร่ตรองหรือการสู้กับข้อดีและข้อเสียของตัว teleconverter ไม่เช่นนั้นมันก็เปล่าประโยชน์

3. การรวมกันของเลนส์และตัว teleconverter ให้น้ำหนักที่เบากว่า
สำหรับบางคน การทำงานร่วมกันต้องดีกว่าและมันต้องเบากว่า เลนส์ 300mm f/2.8 กับตัว 2.0x teleconverter สามารถถือด้วยมือได้ เมื่อเทียบกับเลนส์ 600mm เลนส์ 600mm มันทั้งหนักและเป็นไปไม่ได้ที่จะถือด้วยมือเปล่ามากกว่าหนึ่งนาทีในการถ่ายภาพ
ดังนั้นมันต้องตั้งอยู่บนขาตั้งกล้องที่มีหัวในการปรับมุมซึ่งเหมาะกับเลนส์ 600mm ซึ่งต้องแลกมาด้วยราคาที่แพงเป็นพิเศษและต้องแบบของที่หนักกว่า
ในบางกรณี คุณอาจต้องการตัดสินใจไปกับตัวที่เบากว่า แต่จำไว้ว่าข้อจำกัดก็ตามไปด้วย มีเหตุผลกับความคาดหวังของคุณ และสิ่งที่สำคัญมากที่สุด ขอให้มีความสุขไม่ว่าคุณเลือกสิ่งใดก็ตาม
4. ตัว teleconverter เป็นเพียงทางเลือกเท่านั้น
ในบางกรณี ตัว teleconverter เป็นเพียงแค่ทางเลือกเท่านั้น ในความจริงคุณไม่มีเลนส์ 1200mm ดังนั้นเลนส์ 600mm f/4 กับตัว 2.0x teleconverter ก็เป็นเพียงแค่ทางเลือกเท่านั้น แน่นอนของจริงย่อมดีกว่า คุณรู้แล้วนิว่าทำไม? เพราะว่าเราไม่รู้ถึงคุณภาพของเลนส์ 1200mm ดังนั้นอะไรที่คุณมีอยู่มันคือสิ่งที่ดีที่สุด คุณเห็นไหมละผมมองโลกในแง่ดี
ในความเป็นจริง ประสบการณ์ของช่างภาพหลายท่านดูเหมือนว่าใช้ตัว 1.4x teleconverter อยู่กับตัวเลนส์ 600mm f/4 ของพวกเขา มันแปลกแต่จริง เหมือนกันในความจริงที่เลนส์ 800mm f/5.6 กับ 1.4x teleconverter คุณได้ทางยาวโฟกัสเป็น 1200mm f/8 มันคือทางเลือกที่ดีทีเดียว
มันไม่ได้ทำให้คุณเจ็บปวดอะไรในการใช้ตัว teleconverter สิ่งที่จำเป็นสำหรับคุณคือเข้าใจว่าคุณต้องทำงานกับข้อจำกัด
โดยส่วนตัว ผมใช้ตัว teleconverter เพียงเมื่อสถานการณ์ที่มีความต้องการ ผมรู้สึกมีความความสุขกับคุณภาพของภาพถ่ายกับเลนส์ที่ใช้อยู่ที่ไม่ได้ต่อ teleconverter ผมเกลียดมันเมื่อมันทำให้สูญเสียการออโต้โฟกัส สำหรับผม มันเป็นคลื่นกระทบฝั่ง ลองไปดูว่าทำไมผมพูดว่าระบบออโต้โฟกัสเป็นสิ่งที่สำคัญในบทความของผมที่ชื่อว่า
Choosing the Camera Body for Bird Photography. http://www.naturephotographysimplified.com/bird-photography/choosing-camera-body-bird-photography/
ปัจจุบันนี้ ผมมีตัว Nikon 1.4x III teleconverter และ Nikon 2.0x III teleconverter ผมใช้มันทั้งสองตัวกับเลนส์ Nikon 600mm f/4 Prime Lens (ตัว version เก่า)
อย่างไรก็ดี ลองไปดูโอกาสทองในการร่วมทริปตามเว็ปไซต์นี้ รอบ Rajasthan ในประเทศอินเดีย คุณต้องไม่พลาดในการแนะนำกับโบนัสที่จะหมดอายุก่อนวันที่ 5 สิงหาคม 2016 http://www.naturephotographysimplified.com/massive-18-day-photography-trip-covering-iconic-locations-around-rajasthan/

โดยสรุป
มันเป็นบทความที่ยาว แต่ผมคิดว่ามันมีค่า ผมหวังว่าคุณได้อ่านมันตั้งแต่ต้นจนจบ ถ้าไม่ผมขอให้คุณอ่านมันอีกครั้ง
นี้คือสิ่งที่ผมได้สรุปอย่างเร็วๆถึงข้อดีข้อเสียของตัว teleconverter
ห้ากุญแจสำคัญในการพิจารณาเลือกใช้ตัว teleconverter:
1.   การสูญเสียแสง
2.   ความสามารถในการออโต้โฟกัสลดลง
3.   ข้อจำกัดของจุดโฟกัสในออโต้โฟกัสในบางกรณี
4.   ความเร็วของชัตเตอร์ช้าลง หรือ มีน้อยส์มากขึ้น
5.   สูญเสียความเปรียบต่างและความคมชัด มีผลทำให้ภาพดูนุ่มนวล
และนี้คือข้อดีของการใช้ตัว teleconverter
1.   คุณจะเข้าใกล้ได้มากขึ้น
2.   คุณจะมีค่าความยาวโฟกัสที่แตกต่าง
3.   การใช้ตัว teleconverter ร่วมกับเลนส์ทำให้มีน้ำหนักที่เบากว่า
4.   ตัว teleconverter เป็นเพียงทางเลือกเท่านั้น
สำหรับวันนี้คงพอแค่นี้ ผมหวังคุณมีความสุขกับการอ่านบทความนี้ หวังเป็นอย่างยิ่งว่ามันช่วยให้คุณเข้าใจในข้อดีข้อเสียของการใช้ teleconverter อย่างดีในตอนนี้
ผมยินดีที่จะได้ฟังประสบการณ์ของคุณกับการใช้ teleconverter เขียนข้อความกับการใช้ตัว teleconverter กับเลนส์ที่คุณใช้บ่อยๆ ในการถ่ายภาพนกให้เราฟังบ้าง  มีคำถามอื่นๆไหม แล้วค่อยมาคุยกันใหม่ครับ
57
ใครพอแนะนำให้ได้บ้างครับเอาราคาไม่เกิน 25000 ครับ
58
After the Shot / Re: รูปภาพ
« Last post by Jaturat on August 01, 2016, 06:32:03 PM »
อยากได้ภาพเคลื่อนไหวสวยๆ ต้องหาที่ไหนครับ
59
Gallery Studio / Re: ขึ้นเหนือ
« Last post by cocore on June 03, 2016, 09:08:40 PM »
ภาพสวยมากเลยครับท่าน
60
 ;D ;D แต่ละตัวสวยดีครับ
Pages: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 10