Author Topic: เริ่มต้นมองการถ่ายภาพในหกขั้นตอนง่ายๆ  (Read 4348 times)

Offline topstep07

  • PS:C
  • Full Member
  • *
  • Posts: 108
    • View Profile
เริ่มต้นมองการถ่ายภาพในหกขั้นตอนง่ายๆ

โพสโดย Valerie Jardin แปลโดย Topstep07

เว็ปไซต์ต้นฉบับ เพื่อดูภาพประกอบคำบรรยาย
http://digital-photography-school.com/start-see-photographically-5-easy-steps/

เราอาศัยอยู่ในช่วงเวลาที่จำกัดในกดปุ่ม shutter มันมีทั้งข้อดีและข้อเสียสำหรับคุณในฐานะช่างภาพ ในทางหนึ่ง วิธีการเรียนรู้ที่เร็วกว่า ง่ายกว่าและถูกกว่า อีกทางหนึ่งช่างภาพหลายคนมีนิสัยถ่ายภาพโดยไม่ได้ใส่ใจเกี่ยวกับการวางองค์ประกอบภาพและพึ่งอยู่กับความโชคดีในการถ่ายภาพ
หยุดการถ่ายแบบสุ่มไปเรื่อยๆ และเริ่มถ่ายภาพอย่างตั้งใจ ก่อนที่คุณจะกดปุ่ม shutter ลองถามตัวเองว่า “จะสื่ออะไร” “ต้องการจะเล่าเรื่องอะไร” มีหลายหนทางที่จะประสบความสำเร็จในเรื่องเหล่านี้ และนี้คือบางขั้นตอนง่ายๆ ที่จะช่วยให้คุณก้าวเข้าไปสู่เกมส์ของคุณ ไม่ว่าคุณจะมีกล้องชนิดไหน หรือเลนส์อะไรที่คุณใช้
1. ดูสภาพแสง
ลองดูสภาพแสงและเงา ระวังในเรื่องคุณภาพของแสงรอบๆตัวคุณ (แสงแข็งกับแสงนุ่ม) และมันมีผลกับตัวแบบ อาคาร หรือสิ่งอื่นๆ ยิ่งคุณให้ความระมัดระวังเกี่ยวกับคุณภาพและปริมาณของแสงมากเท่าไร ยิ่งทำให้คุณควบคุมมันและให้มันทำงานให้คุณได้ดีเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นช่วงเวลาใดของวัน
ลองดูแสง มันมีผลกับตัวอาคารและตัวแบบรอบๆตัวคุณ  (ดูภาพประกอบในเว็ปไซต์)

เมื่อคุณเห็นแสง จากตัวแบบธรรมดาไม่มีอะไรมันจะกลายเป็นตัวแบบที่น่าทึ่งทันที (ดูภาพประกอบในเว็ปไซต์)
2. ใช้ทัศนวิสัยที่ชัดเจนกับกฎการวางองค์ประกอบภาพพื้นฐาน
มีอยู่หลายหนทางที่จะกระตุ้นแนวคิดของคุณและมันก็จะเป็นจุดเริ่มต้นการตัดสินใจก่อนที่คุณจะกดปุ่ม shutter
ใช้จุดโฟกัสและความชัดตื้นชัดลึก
ทางที่ชัดเจนในการนำสายตาผู้ชมก็คือการโฟกัสไปที่ตัวแบบและใช้ค่าชัดตื้นชัดลึกที่ถูกต้อง เพื่อจะได้ไม่มีความผิดพลาดที่สายตาของผู้ชมจะจับจ้อง มันใช้เวลาเพียงไม่กี่วินาทีในการล๊อคโฟกัสและจัดองค์ประกอบใหม่ คุณต้องใส่ความคิดเข้าไปและทันใดนั้นคุณก็ต้องตัดสินใจอย่างรวดเร็วเพื่อจะทำให้ภาพของคุณมีพลัง
ใช้จุดโฟกัสและความชัดตื้นชัดลึกเป็นตัวนำสายตาของผู้ชมไปยังตัวแบบ  ©Valérie Jardin (ดูภาพประกอบในเว็ปไซต์)
เส้นนำสายตา
บ่อยครั้งที่ละเลยการใช้เส้นต่างๆเป็นเครื่องมือที่ทรงพลังในการนำสายตา
ใช้เส้นนำสายตาในการจัดองค์ประกอบภาพ ©Valérie Jardin (ดูภาพประกอบในเว็ปไซต์)
กฎสามส่วน
ตำแหน่งของตัวแบบที่อยู่กรอบภาพของคุณเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่ต้องตัดสินใจที่จะวางมันในองค์ประกอบภาพ คุณไม่สามารถที่ใช้กฎสามส่วนมากเกินไป แต่มันก็ไม่แปลกที่จะละเมิดกฎตามที่คุณต้องการ
กฎสามส่วนมันใช้ได้...ดังนั้นใช้ซะ ©Valérie Jardin (ดูภาพประกอบในเว็ปไซต์)
การละเมิดกฎสามส่วนทำได้เรื่อยๆตามที่ต้องการ ทำได้นานๆตามที่คุณรู้ว่าคุณละเมิดมันทำไม ©Valérie Jardin (ดูภาพประกอบในเว็ปไซต์)
การใช้สี
ก็เหมือนกับการใช้จุดโฟกัสเป็นตัวนำสายตา การใช้สีก็เป็นเครื่องมือการวางองค์ประกอบภาพที่ทรงพลังเช่นกัน เพราะสีก็ช่วยการนำสายตา มันเป็นอีกเหตุผลหนึ่งในการที่เปลี่ยนภาพสีของคุณไปเป็นภาพขาวดำ เพื่อกำจัดสีที่ไม่ดึงดึงออกไปและทำให้ภาพมีพลัง
เนกาตีฟ สเปซ
การใช้เนกาตีฟ สเปซที่ชาญฉลาดจะทำให้ภาพมีพลังและเป็นการเน้นตัวแบบ (โพสิทีฟ สเปซ)
การใช้เนกาตีฟ สเปซให้อิทธิพลมากับภาพของคุณ ©Valérie Jardin (ดูภาพประกอบในเว็ปไซต์)
ลวดลายที่เป็นแบบแผน
ลองดูและใช้แบบแผนที่ซ้ำๆ หรือถ้าให้ดีกว่า มองหาสิ่งที่จะแยกจากแบบแผน
ภาพตัวอย่างที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น ©Valérie Jardin (ดูภาพประกอบในเว็ปไซต์)
ดังนั้นคุณจะเห็นภาพที่ทรงพลังในการรวมเอาองค์ประกอบต่างๆ ข้างต้นเข้าไว้ด้วยกัน เช่น ลวดลายแบบแผนที่ซ้ำๆ เส้นนำสายตา กฎสามส่วนและสี ที่จะนำสายตาของคุณไปยังตัวแบบ ©Valérie Jardin (ดูภาพประกอบในเว็ปไซต์)
3. น้อย คือ มาก
เรียนรู้ที่จะปล่อยสิ่งที่ไม่จำเป็นออกจากเฟรมภาพเพื่อให้ได้ภาพที่ทรงพลัง สิ่งหนึ่งที่ฉันสังเกตเหตุเห็นทุกๆครั้งเมื่อฉันมองดูที่ลูกศิษย์ของฉัน คือพวกเขาจะพยายามรวมเอาทุกๆอย่างไว้ในเฟรมภาพ อะไรก็ตามที่ที่คุณตัดสินใจที่ปล่อยมันออกจากเฟรมภาพระหว่างที่คุณวางองค์ประกอบมันจะทำให้ภาพมีพลัง  ทำให้มันง่ายเข้าไว้ เรียนรู้ที่จะมองและตัดมันจากตัวกล้อง
คุณไม่ต้องการตัวแบบที่เห็นเต็มทั้งหมดเพื่อสร้างภาพที่ทรงพลัง ฝึกฝนการ
น้อยคือมาก คิดถึงสิ่งเล็กและให้ผลกระทบที่มากในภาพของคุณ ©Valérie Jardin (ดูภาพประกอบในเว็ปไซต์)
4. เข้าใกล้และจัดให้เต็มกรอบภาพ
ตัวแบบ ที่บางครั้งดูเป็นสิ่งธรรมดาทั่วไป มันจะดูน่าสนใจถ้าคุณจัดให้มันอยู่เต็มกรอบภาพ เข้าใกล้...คุณคิดว่าใกล้พอหรือยัง? คุณต้องเข้าไปใกล้อีก
เต็มกรอบภาพ ©Valérie Jardin (ดูภาพประกอบในเว็ปไซต์)
เข้าใกล้ และเข้าไปใกล้อีก ©Valérie Jardin (ดูภาพประกอบในเว็ปไซต์)
5. เล่นกับกรอบภาพ
พยายามลองถ่ายภาพจากมุมที่แตกต่าง ถ่ายจากมุมสูง มุมต่ำ เอียงกล้องเพื่อให้ได้ภาพที่มีพลัง
การเล่นกับกรอบภาพ ถ่ายจากมุมสูง ต่ำ บางสิ่งมองดูแล้วไม่น่าสนใจหากถ่ายในระดับสายตา... ©Valérie Jardin (ดูภาพประกอบในเว็ปไซต์)
6. ดูฉากหลัง
มันใช้เวลาไม่กี่วินาทีในการกวาดสายตาในกรอบภาพและตรวจสอบฉากหลังของคุณเพื่อกำจัดสิ่งรบกวน ยังคงใช้เวลาไม่กี่วินาทีอย่างรวดเร็วที่จะปรับเปลี่ยนทิศทางในการกำจัดสิ่งรบกวน หรือหลีกเลี่ยงกิ่งไม้ที่เข้ามาในหูของบางคน
ภาพนี้จะถูกทำลายหากผมไม่เคลื่อนตัวไปทางขวาเพื่อหลีกเลี่ยงกระถางต้นไม้ที่ตรงกับหัวของผู้ชายคนนี้ ©Valérie Jardin (ดูภาพประกอบในเว็ปไซต์)
ครั้งต่อไปเมื่อคุณออกไปข้างนอกพร้อมกับกล้องของคุณ ลองใจเย็นๆ และคิดให้ดีว่าคุณต้องการจะสื่ออะไรในภาพของคุณ ถ้าคุณไม่ได้ไปถ่ายนก ถ่ายเด็กกำลังหัดเดิน หรือถ่ายกีฬา ลองกด shutter แบบนับจำนวน..
ในไม่ช้ากฎการวางองค์ประกอบภาพจะกลายเป็นเรื่องรองโดยธรรมชาติ คุณจะมองพวกมันโดยปราศจากการคิดเกี่ยวกับมัน คุณจะเรียนรู้การมองการถ่ายภาพและงานของคุณจะพัฒนาขึ้น
ขอให้สนุก