Author Topic: การแนะนำเรื่องรูรับแสงในการถ่ายภาพดิจิตอล  (Read 3634 times)

Offline topstep07

  • PS:C
  • Full Member
  • *
  • Posts: 108
    • View Profile
การแนะนำเรื่องรูรับแสงในการถ่ายภาพดิจิตอล

โพสโดย Daren Rowse แปลโดย Topstep07

เว็ปไซต์ต้นฉบับ เพื่อดูภาพประกอบคำบรรยาย
http://digital-photography-school.com/aperture/

เมื่อหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ผมได้เขียนบทความที่เป็นเรื่องต่อหนื่องที่ช่างภาพดิจิตอลต้องการที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับการถ่ายภาพที่ไม่ใช้โหมดออโต้ และเรียนรู้ว่าจะตั้งค่าที่เป็นแบบแมนนวลในการถ่ายภาพของพวกเขา ผมได้เน้นไปที่สามส่วนของ สามเหลี่ยมการตั้งค่าแสง ค่าความไวแสง ISO ค่าความเร็วชัตเตอร์ Shutter Speed และค่ารูรับแสง Aperture  ผมได้เขียนบทความสองเรื่องไปก่อนหน้านี้แล้วและวันนี้จะหันมาพูดถึงเรื่อง รูรับแสง
ก่อนที่ผมจะเริ่มกับการอธิบายเรื่องนี้ ลองให้ผมพูดแบบนี้  ถ้าคุณสามารถใช้ค่ารูรับแสงในการเก็บภาพที่มีการควบคุมเชิงสร้างสรรค์บนกล้องของคุณ ในความคิดของผม รูรับแสง คือ สิ่งที่น่าอัศจรรย์เกิดขึ้นมากมายในภาพถ่ายและเหมือนกับสิ่งที่เราเห็นด้านล่างนี้ การเปลี่ยนแปลงสามารถทำให้เกิดความแตกต่างระหว่างมิติเดียวและหลายมิติในการถ่ายภาพ
รูรับแสงคืออะไร?
คำจำกัดความง่ายๆ รูรับแสงคือ “การเปิดเลนส์”
เมื่อคุณกดปุ่มชัตเตอร์บนตัวกล้อง รูรับแสงจะเปิดขึ้นเพื่อให้ภาพผ่านเข้ามาที่ตัวเซนเซอร์ที่คุณต้องการเก็บภาพนั้น รูรับแสงจะมีผลกับขนาดของรูที่เปิด ยิ่งรูรับแสงเปิดกว้างแสงก็จะเข้ามามาก ถ้ารูรับแสงเปิดแคบแสงก็จะเข้ามาน้อย
รูรับแสงจะถูกวัดด้วยค่า f-stops บ่อยๆ ที่คุณเห็นพวกมันถูกอ้างถึงใน Digital Photography School เกี่ยวกับ f/number ตัวอย่างเช่น f/2.8, f/4, f/5.6, f/8, f/22 และอื่นๆ การเปลี่ยนค่าจาก หนึ่ง f-stop ไปยังค่าอื่นที่ทวีคูณ หรือ ครึ่งหนึ่งของขนาดที่เปิดค่ารูรับแสงบนตัวเลนส์ (และปริมาณของแสงที่วิ่งผ่านเข้ามาในกล้อง) คิดไว้ในใจว่าการเปลี่ยนความเร็วชัตเตอร์จากหนึ่งสตอป์ไปเป็นทวีคูณหรือครึ่งหนึ่งของปริมาณแสงที่เข้ามา หมายถึงคุณเพิ่มหรือลดส่วนอื่นที่คุณปล่อยให้แสงวิ่งผ่านเข้ามา...
สาเหตุหนึ่งที่ช่างภาพมือใหม่หลายคนสับสนกับความกว้างของรูรับแสง (ที่ซึ่งแสงผ่านเข้ามา) คือการให้ค่า f/stop ที่มีตัวเลขน้อย และรูรับแสงที่เล็ก (ที่ซึ่งแสงผ่านเข้ามาน้อย) คือค่า f/stop ที่มากกว่า ดังเช่น f/2.8 ในความจริงจะมีค่ารูรับแสงที่ใหญ่กว่า f/22 มันดูเหมือนผิดทางเมื่อคุณได้ยินครั้งแรกแต่คุณจะชินไปเอง

การชัดตื้นชัดลึกและรูรับแสง

จำนวนของผลจากการเปลี่ยนค่ารูรับแสงในการถ่ายภาพของคุณซึ่งคุณต้องคิดไว้ในใจเหมือนกับคุณพิจารณาเรื่องการตั้งค่าแต่ให้สังเกตสิ่งหนึ่งคือ ความชัดตื้นชัดลึกที่คุณได้จากภาพถ่าย
ค่าชัดตื้นชัดลึก (DOF) คือปริมาณของการถ่ายภาพที่อยู่ในโฟกัส ถ้าค่าชัดตื้นชัดลึกมากหมายถึงภาพส่วนใหญ่ของคุณอยู่ในโฟกัสไม่ว่ามันจะอยู่ใกล้กับตัวกล้องหรือห่างจากตัวกล้อง (เหมือนกับภาพทางด้านซ้ายทั้งฉากหน้าและฉากหลังส่วนใหญ่อยู่ในโฟกัส ถ่ายด้วยค่ารูรับแสง f/22)
ค่าชัดตื้นชัดลึกที่เล็ก (หรือตื้น) หมายถึงบางส่วนของภาพจะอยู่ในโฟกัสและส่วนที่เหลือจะเลือนลาง (เหมือนภาพดอกไม้ด้านบนที่ผมโพสไว้ (ลองคลิ๊กเพื่อขยายภาพ)) ดูภาพประกอบในเว็ปไซต์ต้นฉบับ  คุณจะเห็นว่าบนสุดของยอดเกสรสีเหลืองอยู่ในโฟกัส ถึงแม้ว่าพวกมันมีขนาดแค่ 1 เซนติเมตรเท่านั้นแต่ส่วนที่อยู่ด้านหลังพวกมันไม่ได้อยู่ในโฟกัสเลย นี้คือชัดตื้นและมันถูกถ่ายด้วยค่ารูรับแสง f/4.5)
รูรับแสงมีผลกระทบที่ยิ่งใหญ่กับชัดตื้นชัดลึก ค่ารูรับแสงที่ใหญ่ (จำไว้ว่ามันคือตัวเลขที่น้อย) จะลดค่าชัดตื้นชัดลึกในขณะที่ ค่ารูรับแสงที่เล็ก (ตัวเลขมาก) จะให้ค่าชัดตื้นชัดลึกที่มากกว่า มันสามารถสร้างความสับสนในตอนต้นๆ แต่วิธีที่ผมจำคือ ถ้าตัวเล็กน้อยหมายถึง ค่าชัดตื้นชัดลึกน้อย และถ้าตัวเลขมากหมายถึง ค่าชัดตื้นชัดลึกมาก  ลองให้ผมอธิบายด้วยภาพถ่ายสองภาพที่ผมถ่ายมาเมื่อต้นสัปดาห์ในส่วนดอกไม้ของผม
ภาพแรกด้านล่าง (คลิ๊กเพื่อขยาดูภาพ) (ดูภาพประกอบในเว็ปไซต์ต้นฉบับ) ทางด้านซ้ายมือถ่ายด้วยค่ารูรับแสง f/22 และภาพที่สองถ่ายด้วยค่ารูรับแสง f/2.8 ความแตกต่างของสองภาพนี้เห็นได้ชัดเจน ภาพที่ถ่ายด้วย f/22 ทั้งดอกและใบจะอยู่ในโฟกัสและคุณจะเห็นรูปร่างของรั้วที่อยู่ด้านหลังได้
ภาพที่สอง ถ่ายด้วย f/2.8 ดอกไม้ทางด้านซ้ายอยู่ในโฟกัส (หรือบางส่วน) แต่ความชัดตื้นชัดลึกค่อนข้างตื้นมากและฉากหลังก็หลุดออกจากโฟกัสและตัวหน่อของดอกด้านขวาอยู่ในโฟกัสเพียงเล็กน้อยเนื่องจากมันอยู่ห่างจากตัวกล้องเมื่อมันถูกถ่าย
ทางที่ดีที่สุดคือให้หัวของคุณมีค่ารูรับแสงเพื่อจะให้กล้องของคุณมองเห็นและทดลอง ออกไปข้างนอกและค้นหาจุดที่คุณคิดว่าเข้าใกล้วัตถุนั้นได้ดีเท่ากับสิ่งที่อยู่ไกลและถ่ายภาพออกมาเป็นชุดๆกับค่ารูรับแสงที่แตกต่างจากเล็กที่สุดถึงใหญ่ที่สุด คุณจะเห็นผลกระทบที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและประโยชน์ของการควบคุมค่ารูรับแสง
ภาพถ่ายบางประเภทต้องการความชัดตื้นชัดลึกที่มาก (และค่ารูรับแสงที่เล็ก)
ตัวอย่างเช่น การถ่ายภาพวิวทิวทัศน์ คุณจะเห็นการตั้งค่ารูรับแสงที่เล็ก (ตัวเลขมาก) ถูกเลือกใช้โดยช่างภาพ นี้คือสิ่งที่ต้องแน่ใจว่า ฉากหน้าจนถึงเส้นขอบฟ้าอยู่ในระยะโฟกัส ในอีกทางหนึ่งการถ่ายภาพบุคคลมันเป็นสิ่งที่ง่ายที่จะให้ตัวแบบอยู่ในโฟกัสแต่ฉากหลังมันจะเบลอสวยงาม เพื่อให้แน่ใจว่าตัวแบบอยู่ในระยะโฟกัสเป็นหลักและส่วนอื่นๆ ไม่ดึงดูดความสนใจในลักษณะนี้คุณต้องเลิก รูรับแสงที่ใหญ่ (ตัวเลขน้อย) ให้ได้ความชัดตื้น
ช่างภาพมาโครเป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่ใช้รูรับแสงกว้างเพื่อให้มั่นใจว่าวัตถุต่างๆที่พวกเขากำลังโฟกัสนั้นมีส่วนทำให้ผู้ชมภาพเพ็งไปที่จุดสนใจของภาพในขณะที่ส่วนที่เหลือไม่อยู่ในโฟกัสเลย