Author Topic: เจ็ดแบบฝึกหัดประจำวันที่จะช่วยให้คุณเป็นช่างภาพที่ดีกว่า  (Read 6720 times)

Offline topstep07

  • PS:C
  • Full Member
  • *
  • Posts: 108
    • View Profile
 เจ็ดแบบฝึกหัดประจำวันที่จะช่วยให้คุณเป็นช่างภาพที่ดีกว่า

โพสโดย Jeff Meyer แปลโดย Topstep07

เว็ปไซต์ต้นฉบับบ เพื่อดูภาพประกอบคำบรรยาย
http://petapixel.com/2014/04/22/7-daily-exercises-will-help-make-better-photographer/?utm_source=Lightroom+Photography+Newsletter&utm_campaign=3ad02d301d-Lightroom_Newsletter_1_9_20141_16_2014&utm_medium=email&utm_term=0_a76e40aaeb-3ad02d301d-332389065

คำพูดที่ว่า “การฝึกฝนทำให้มีความสมบูรณ์แบบ” คือสิ่งที่มีเหตุผลสำหรับการถ่ายภาพเท่ากับการกระทำอื่นๆ ดังนั้นเราได้รวบรวมแบบฝึกหัดที่จะช่วยให้คุณกลายเป็นช่างภาพที่ดีขึ้นกว่าเก่า

1. การวัดค่าที่เป็นจุด

ระบบวัดค่าแสงในสมัยใหม่จะมีโหมดที่หลากหลายวัตถุประสงค์ บางครั้งก็เรียกว่า Evaluating, Matirx หรือ Multi-area ซึ่งมันทำหน้าที่ได้ดีเยี่ยมในการประมวลผลภาพและการตั้งค่าเฉลี่ยของการวัดแสงในหลายๆ สถานการณ์ อย่างไรก็ดีมันก็ไม่ร้อยเปอร์เซนต์ในการวัดค่าเหล่านั้น และถ้ามันมืดมาก หรือ แสงมาก หรือแสงจากด้านหลังก็จะหลอกระบบเหล่านั้นให้ตั้งเป็นค่าที่ over หรือ under ได้ มันไม่ใช่ฟิสิกข์ และไม่รู้ว่าคุณกำลังมองเห็นอะไรในหัวเมื่อคุณถ่ายภาพนั้น
เปลี่ยนมาใช้ระบบวัดแสงแบบเฉาพะจุด เพื่อจะควบคุมให้กล้องวัดค่าแสงเฉาะจุดและช่วยให้คุณพัฒนาความเข้าใจเกี่ยวกับช่วงของโทนแสงได้ดียิ่งขึ้น ระบบการวัดแสงเฉพาะจุดที่เป็นมาตรฐานจะให้คุณสามารถวัดแสงได้ในส่วนเล็กๆบนภาพและมันจะแนะนำว่าค่าที่ได้เพื่อให้ได้ค่าเท่ากลางคืออะไร ในเวลาเดียวกันคุณต้องรักษาตำแหน่งของจุดที่มันตั้งไว้ ลองดูในภาพให้ดีๆ และตัดสินใจว่าจะใช้พื้นที่ไหนในภาพในการวัดแสงเฉพาะจุดได้ดีที่สุด มันจะช่วยได้มากถ้าหากคุณใช้การวัดแสงเฉพาะจุดร่วมกับการล๊อคค่า AE ซึ่งมันจะจับค่านั้นไว้ (หลังจากวัดแล้ว) ขณะที่คุณจัดองค์ประกอบภาพ

2. ตรวจสอบฮิสโตแกรม

เหมือนกับกราฟที่แสดงระดับสูงต่ำในการแก้ไขภาพบนตัวซอฟท์แวร์ เช่น Adobe Photoshop ตัวฮิสโตแกรมในกล้องที่แสดงผลก็คือกราฟที่อ้างอิงถึงความสว่างของพิกเซลที่เกิดขึ้นบนภาพ ค่าสเกลจะวิ่งจากด้านสีดำสุดคือค่า 0 ทางด้านซ้ายมือไปถึงสีขาวที่มีความสว่างคือค่า 255 ทางด้านขวา
จุดสูงสุดของฮิสโตแกรมจะบ่งชี้ถึงจำนวนของพิกเซลที่สว่างและความสูงที่มากหมายถึงค่าพิเซลที่มีความสว่าง อีกความหมายคือ ถ้าภาพมีความมืด ยอดแหลมของกราฟจะเอียงไปทางด้านซ้าย ขณะที่ภาพมีความสว่างกราฟจะเอียงไปทางขวา ในการจะมีค่าที่ถูกต้องในภาพ มันจะต้องมีฮิสโตแกรมที่ยอดแหลมอยู่กึ่งกลาง ซึ่งมีความสว่างและมืดของพิกเซลที่ไม่มากนัก

การตรวจสอบค่าฮิสโตแกรมทุกๆ การถ่ายภาพจะเพิ่มเข้าใจให้กับคุณถึงความสว่างที่กระจายอยู่ทั่วภาพ มันจะช่วยให้คุณคำนึงถึงภาพที่ under หรือ over ของแสงซึ่งแสดงเป็นกลุ่มของพิกเซลที่อยู่ด้านซ้าย หรือ ขวาของกราฟในฮิสโตแกรมตามลำดับ

3. ใช้เลนส์ฟิกซ์

การใช้เลนส์พื้นฐาน หรือเลนส์ฟิกซ์ระยะโฟกัส สามารถทำให้คุณลืมเกี่ยวกับสิ่งรบกวนในการซูมเข้าและออก แทนที่คุณจะเดินตรงไปที่ตัวแบบ มองผ่านช่องมองภาพและถ่ายภาพ หรือเคลื่อนที่อีกครั้งเพื่อหาจุดใหม่ หรือจุดที่ดีกว่า มันทำให้คุณต้องสำรวจตัวแบบอย่างดีซึ่งคุณจะเข้าใจมุมของเลนส์ ถ้าคุณใช้เลนส์ตัวเดียวกับการถ่ายภาพ หรือออกไปถ่ายภาพกับกล้องของคุณ คุณจะรู้จักระยะโฟกัสและในอนาคตคุณจะสามารถตัดสินใจได้ว่าเลนส์ไหนที่ใส่กับกล้องแล้วทำให้คุณมองเห็นภาพและเฟรมภาพที่อยู่ในใจของคุณ

4. การตั้งค่าไวท์บาลานซ์ที่เจาะจง

ระบบไวท์บาลานซ์สมัยใหม่จะมีความสามารถสูง แต่มันก็ไม่ได้ดีเสมอไปเพราะว่ามันสามารถให้ความหมายเหมือนกับคุณถ่ายภาพด้วยความคิดของคุณ นี้อาจจะดีเป็นส่วนใหญ่ แต่ถ้ากล้องให้ผลลัพท์ในสิ่งที่คุณไม่ชอบ คุณอาจจะพบว่าคุณติดอยู่กับคำตอบที่ไม่ตรงใจ คำตอบคือให้เราข้ามผ่านของการตั้งค่าไวท์บาลานซ์แบบ auto และการตั้งค่าไวท์บาลานซ์แบบล่วงหน้าสำหรับสภาพแสงที่เหมาะสมในสภาพแวดล้อมนั้นๆ
คุณอาจพบว่า ค่าไวท์บาลานซ์แบบ Daylight หรือ Sunny จะให้ผลลัพท์ที่ดีที่สุดเป็นส่วนใหญ่ แต่สิ่งที่มีค่าคือมันต้องทดสอบกับสิ่งอื่นๆ ในสภาพแวดล้อมต่างๆ กับผลกระทบที่เกิดขึ้น เพื่อว่าคุณจะรู้ว่าเมื่อไรต้องใช้พวกมัน

5. ตั้งค่าไวท์บาลานซ์ด้วยตัวเอง

มันง่ายมากในการตั้งค่าไวท์บาลานซ์ในกล้องด้วยตัวเอง เพียงแต่คุณตั้งค่าให้ถูกต้อง (การตั้งแบบ manual จะช่วยอธิบายว่าคุณจะพบมันได้อย่างไร) และถ่ายภาพ สีขาวหรือค่าบนกระดาษสีเทากลางในสภาพแสงที่เหมือนกับตัวแบบ นั่นเป็นเพียงทฤษฎี ในการฝึกฝนมันมีเคล็ดลับนิดหน่อย เพราะว่าองศาของการถือแผ่นสีเทากลางจะมีผลกระทบมากกับผลลัพท์ที่ได้มา
ตัวอย่างเช่น ถ้าแสงหลักมาจากด้านบนที่ตรงเข้าหาตัวแบบ และถ้าคุณถือการ์ดที่เลือนต่ำลงมาเล็กน้อยบนพื้นที่สีที่อยู่ใต้ตัวแบบ คุณจะพบว่าผลลัพท์ที่ได้จะแตกต่างจากการที่คุณถือแผ่นการ์ดที่เลือนขึ้นไปด้านบน
เรียนรู้การตั้งค่าไวท์บาลานซ์ด้วยตัวเองกับกล้องของคุณและทดสอบการถือแผ่นการ์ดไวท์บาลานซ์ในมุมที่แตกต่างเพื่อดูผลที่ได้และเรียนรู้จากสิ่งที่ได้มา ถ้าคุณพบว่าคุณไม่ชอบภาพแบบธรรมชาติที่กล้องให้ผลลัพท์ในโหมดนั้น ลองเปลี่ยนการควบคุมจนกระทั่งคุณพบว่ามันใช่สำหรับคุณ

6. ใช้โหมด manual

แม้ว่าการตั้งค่าแบบโหมดรูรับแสงเป็นหลัก หรือความเร็วชัตเตอร์เป็นหลักมันจะมีประโยชน์มาก พวกมันจะละเลยการตัดสินใจเกี่ยวกับความสว่างและมืดบนภาพที่จะปรากฎบนกล้อง
สำหรับโหมด Manual จะให้คุณควบคุมและมันจะบังคับให้คุณต้องคิดถึงความสว่างของตัวแบบและสิ่งที่อยูล้อมรอบมัน และมันยังทำให้คุณต้องคิดถึงค่าชัดตื้นชัดลึกและการหยุดนิ่งหรือการเคลื่อนไหวที่มีความเบลอ มันจะมีประโยชน์มากเมื่อนำเอาแบบฝึกหัดของการวัดแสงเฉพาะจุดมาผสมผสานกับมัน ซึ่งมันจะสามารถช่วยให้คุณเลือกค่าที่เหมาะสมกับสิ่งที่เฉพาะเจาะจงในภาพถ่าย

7. ทำการโพสภาพวันละภาพทุกวัน

การถ่ายภาพเป็นระยะและโพสภาพบน Facebook Twitter Flickr Instagram หรือในโลกสังคมออนไลน์อื่นๆ หรือ การแบ่งปันภาพใน web site หรือเมื่อไรที่คุณชอบมัน ลองตั้งเงื่อนไขว่าจะถ่ายภาพอย่างน้อยหนึ่งภาพและโพสเพียงหนึ่งภาพทุกวัน
นี้คือสิ่งที่จะกระตุ้นให้เกิดพลังสร้างสรรค์ในตัวคุณ ช่วยให้คุณค้นพบกับตัวแบบใหม่และการสำรวจพื้นที่ใหม่ๆหรือรูปแบบการถ่ายภาพแบบใหม่ มันยังมีความหมายว่าคุณต้องตรวจสอบภาพทุกๆ ภาพเพื่อพิจารณาการถ่ายที่ดีที่สุดจากวันนั้นในการโพสลงไป
ไม่ว่าที่ไหนก็ตามที่คุณโพสภาพของคุณ ทำให้มันรู้ว่านี้คือสิ่งที่คุณกำลังทำภายใต้เงือนไขที่ตั้งใจเอาไว้ของคุณ มันเป็นความคิดที่ดีที่จะร้องขอถึงคำวิจารณ์ในเชิงสร้างสรรค์เพื่อจะช่วยให้คุณได้เห็นสิ่งที่คุณได้ถ่ายจากจุดนั้นและช่วยพัฒนาให้เป็นช่างภาพที่ดีกว่า...

Offline khuntu2001

  • PS:A:B
  • Jr. Member
  • *
  • Posts: 68
    • View Profile
 ;D ขอบคุณครับพี่ต๊อป....
;)                     ;)                     ;D