Author Topic: ถ่ายภาพทางช้างเผือกอย่างไร กับการแนะนำที่ครอบคลุม  (Read 9290 times)

Offline topstep07

  • PS:C
  • Full Member
  • *
  • Posts: 108
    • View Profile
ถ่ายภาพทางช้างเผือกอย่างไร กับการแนะนำที่ครอบคลุม

โพสโดย Gavin Hardcastle แปลโดย Topstep07

เว็ปไซต์ต้นฉบับเพื่อดูภาพประกอบคำบรรยาย
http://digital-photography-school.com/how-to-do-milky-way-…/

คุณกำลังหมุนผ่านระบบสุริยะจักรงาลบนลูกหินอ่อนสีฟ้าขนาดใหญ่(โลก)ซึ่งนำเสนอวิวสภาพแวดล้อมอวกาศที่เราเรียกว่า ทางช้างเผือก คอยจนกระทั่งลูกหินอ่อนของเราตั้งตรงในทิศทางที่ถูกต้อง คุณจะได้มีโอกาสสร้างภาพที่สมบูรณ์โดยควบคุมโคมไฟระย้าของกาแลคซี่ที่ห้อยอยู่เหนือศีรษะของเรา
 นักเรียนของผมมีความปลื้มที่ได้เรียนการเก็บภาพทางช้างเผือกแบบง่ายๆ คุณรู้เพียงเคล็ดลับสำคัญไม่กี่ข้อ การวางแผนว่าเมื่อไร และที่ไหนที่เราจะไปถ่าย การถ่ายภาพทางช้างเผือกมีความสำคัญเท่ากับเทคนิคและอปกรณ์ที่คุณกำลังใช้มันด้วย
 ถ้าคุณต้องได้ภาพทางช้างเผือกที่น่าเกรงขามยิ่งใหญ่ คุณต้องพิจารณาถึงสถานที่และเวลา ผมจะรับมือกับสิ่งแรก ก่อนที่ผมจะพูดเรื่องเทคนิคการถ่ายภาพในเรื่องต่อไป

1 – ที่ไหน และเมื่อไรที่จะเห็นแกนของกาแลคซี่

แกนของกาแลคซี่แบบเต็มเราสามารถเห็นได้ในเดือนที่แน่นอน กับสถานที่ที่แน่นอน คุณสามารถเห็นทางช้างเผือกทั้งหมดได้ตลอดปี แต่ในความจริงผลจากสิ่งที่เห็นด้วยตามันคือแกนของกาแลคซี่ที่คุณกำลังตามล่า ลองมาพิจารณาดูเวลาที่ดีที่สุดของปีที่จะเห็นสิ่งเหล่านี้ทั้งหมด
 ซึกโลกเหนือ
 ส่วนหนึ่งของเส้นทางช้างเผือกสามารถเห็นได้ทั้งปีแต่แกนของกาแลคซี่ซึ่งแสดงให้เห็นจากกลางค่อนปลายเดือนเมษายนถึงกลางค่อนปลายเดือนกรกฎาคม และสามารถเห็นในทิศตะวันออกเฉียงใต้ กับตะวันตกเฉียงใต้บนท้องฟ้า ซึ่งเมื่อคุณมองเห็นอะไรก็ตามที่ผมเรียกมันว่า BIG C (ดูภาพในเว็ปไซต์ต้นฉบับประกอบคำบรรยาย) ในช่วงฤดูร้อน คุณจะเห็นแกนเคลื่อนไปทางตะวันตกเมื่อจบฤดูร้อนมันจะปรากฎสูงขึ้นในทิศตะวันตกเฉียงใต้บนท้องฟ้า คุณไม่มีโอกาสที่จะมองเห็นแกนของกาแลคซี่ในช่วงฤดูหนาว
 ซึกโลกใต้
 ช่างภาพที่อาศัยอยู่ในเขตซีกโลกใต้โชคดีเพราะว่าพวกเขาเห็นแกนของกาแลคซี่จากเดือนกุมภาพันธ์ไปจนถึงเดือนตุลาคมเลย ซึ่งการเห็นที่มากสุดคือเดือนมิถุนายนและกรกฎาคม ผมนี้อิจฉามากๆ
 อย่าลืมเรื่องช่วงเวลาของดวงจันทร์
 สำหรับภาพทางช้างเผือกที่ชัดเจนมากๆคุณต้องการแสงที่มารบกวนให้น้อยที่สุดซึ่งหมายถึงคุณจะต้องหลีกเลี่ยงในช่วงที่ดวงจันทร์สว่างเต็มดวง อย่างไรก็ตาม ผมได้ถ่ายภาพดีๆของทางช้างเผือกแม้ว่ามันจะเป็นช่วงต้นของการปรากฎของดวงจันทร์ในท้องฟ้า (ดังนั้นอย่าไปรู้สึกว่ามันไม่มีค่าอะไรถ้าถ่ายเมื่อมีดวงจันทร์ปรากฎอยู่ด้วย) แต่อย่างไรก็ดีช่วงดวงจันทร์เต็มดวงควรจะหลีกเลี่ยง
 อีกสิ่งหนึ่งที่ต้องพิจารณาคือ ตำแหน่งของดวงจันทร์ที่สัมพันธ์กับทางช้างเผือก ตัวอย่างเช่น ช่วงต้นของการปรากฎดวงจันทร์ไม่มีปัญหาถ้ามันขึ้นในทางทิศตะวันตกขณะที่ทางช้างเผือกปรากฎในทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ แต่ถ้าดวงจันทร์อยู่ในตำแหน่งเส้นตรงกลางของทางช้างเผือก มันจะทำให้สว่างมากซึ่งคุณไม่ต้องการมัน
 คุณรู้ได้อย่างไรว่าทางช้างเผือกกำลังจะปรากฎขึ้นที่ไหน?
มีโปรแกรมบนโทรศัพท์หรือเครื่องคอมฯ มากมายที่สามารถช่วยคุณวางแผนการถ่ายภาพทางช้างเผือก แต่โปรแกรมที่ผมชื่นชอบคือพวกโปรแกรมฟรีที่เรียกว่า Stellarium มันมีให้ทั้งบนโทรศัพท์และบนเครื่องคอมฯ ซึ่งผมใช้มันในการวางแผนถ่ายภาพ
 คุณสามารถใส่สถานที่และเวลาที่คุณมองเห็นว่าเมื่อไรและที่ไหนที่คุณกำลังจัดการ คุณมองเห็นที่ซึ่งแกนของกาแลคซี่จะปรากฎระหว่างช่วงที่มืดที่สุดของดวงจันทร์ Stellarium จะแสดงภาพของทางช้างเผือก และตำแหน่งของมัน และเวลาที่แน่นอน คุณสามารถเห็นว่าที่ไหนและความสว่างของดวงจันทร์ที่จะปรากฎด้วย
 ลองดูโปแกรมยอดนิยมอื่นๆ ด้วยเช่น The Photograhers Ephemeris และ Starwalk

2 – มองหาสถานที่ที่มืดสนิท

ความพิถีพิถันจะพูดกับคุณว่า คุณต้องหาท้องฟ้าที่มืดสนิทและแน่นอนมันจะทำให้การถ่ายภาพที่ชัดเจนมาก แต่อย่าให้แสงรบกวนเพียงเล็กน้อยที่อยู่ห่างไกลมาหยุดการถ่ายภาพทางช้างเผือกของคุณ ถ้าคุณเห็นมัน คุณยังถ่ายได้อยู่ ภาพที่อยู่ด้านล่างใน Death Valley ได้แสดงให้เห็นแสงรบกวนจากเมืองใหญ่สองเมืองและผมคิดว่ามันช่วยเพิ่มความต่างของภาพได้ ซึ่งแสงในแนวนอนแบบนี้ช่วยเพิ่มการแยกแยะของโลกและท้องฟ้าได้ดีทีเดียว (ดูภาพตัวอย่างประกอบในเว็ปไซต์ต้นฉบับ)
ถ้าคุณต้องการค้นหาสถานที่ที่มีท้องฟ้ามืดสนิท ลองเข้าไปดูที่เว็ปไซต์ International Dark Sky Places ดูครับมันเป็นแหล่งข้อมูลที่เยี่ยมมาก http://www.darksky.org/night-sky-conservati…/dark-sky-places

3 – คอยจนกว่าสภาพอากาศเปิดโล่ง

ช่างภาพวิวทิวทัศน์ส่วนใหญ่ชอบเมฆและเกลียดท้องฟ้าที่เป็นสีฟ้าอย่างเดียว ครั้นเมื่อคุณถ่ายภาพในตอนกลางคืนคุณจะมีความคิดที่ตรงกันข้ามทีเดียว
(ดูภาพประกอบในเว็ปไซต์ต้นฉบับ) ในภาพถ่ายของ Mono Lake มีเมฆเล็กน้อยเพิ่มความน่าสนใจเข้ามา โดยปราศจากการบดบังที่มากมายในแกนกาแลคซี่
 ช่วงที่เมฆปกคลุมคือข่าวร้ายถ้าคุณต้องการให้การถ่ายภาพทางช้างเผือกที่โล่ง แต่อย่าเพิ่งถอดใจกับสถานที่ที่มีเมฆปกคลุมเล็กน้อย บางครั้งเมฆบางส่วนสามารถเพิ่มเรื่องราวและกรอบให้กับการถ่ายภาพทางช้างเผือกได้ ถ้าเมฆไม่ได้ปกคลุมไปทั่วท้องฟ้า

4 – ทางช้างเผือกคือครึ่งทางของการถ่ายภาพ

สำหรับผมแล้ว ภาพทางช้างเผือกที่น่าประทับใจมากคือการได้แสดงถึงแกนของกาแลคซี่ที่เชื่อมกับสถานที่บนโลกและตัวแบบอื่นๆ บางสิ่งที่เท่ากับคนธรรมดานั่งบนเก้าอี้แคมป์สามารถทำให้ภาพดูมีเรื่องราวเมื่อรวมเข้าไปกับปรากฎการณ์ของทางช้างเผือก (ดูภาพในเว็ปไซต์ต้นฉบับเพื่อประกอบคำบรรยาย)
คิดให้เยอะเกี่ยวกับว่าอะไรที่คุณชอบที่อยากให้รวมอยู่ในฉากหน้าของการถ่ายภาพทางช้างเผือก ถ้าคุณได้สภาพแวดล้อมที่สมบูรณ์แบบและมีเทคนิคที่สมบูรณ์คุณก็ยังคงได้ภาพที่ดูน่าเบื่อถ้าคุณไม่ได้ใส่บางสิ่งในภาพให้คนดูภาพได้เห็น เลือกฉากหน้าที่น่าสนใจและลองใช้เทคนิค ระบายภาพด้วยแสง (light painting) ที่ทำให้ภาพทางช้างเผือกของคุณดูน่าอัศจรรย์
 สิ่งที่น่าสนใจเหล่านั้นเริ่มได้จาก รูปทรงของก้อนหินที่น่าสนใจเหมือน หินในทะเลที่ซ้อนกันหรือหินรูปโค้ง เรื่อยไปจนถึง สิ่งที่ถูกทิ้งร้าง หรือต้นไม้ที่น่าสนใจ คิดถึงสถานที่ที่มีจุดน่าสนใจและพิจารณาดูว่ามันเป็นที่ที่สามารถเป็นเส้นนำสายตาไปถึงกลุ่มดาวทางช้างเผือกหรือไม่

5 – ใช้อุปกรณ์ที่ถูกต้องเหมาะสม

เลือกเลนส์ ที่นำมาถ่ายภาพ
 มีบางสิ่งที่อยากจะพูดสำหรับการใช้อุปกรณ์ที่คุณมีอยู่แล้ว การถ่ายภาพตอนกลางคืนคือสิ่งที่ท้าทายเพราะว่ามันมีแสงที่น้อย คุณต้องการเลนส์ที่เร็วและมีรูรับแสงต่ำสุดคือ f/2.8 หรือกว้างกว่านั้นคือ f/1.4 เลนส์มุมกว้างมากๆคือสิ่งที่ดีในการถ่ายภาพวิวกลางคืนเพราะว่าพวกมันจะไม่สร้างโบเก้มาก ผมหมายถึงว่าเมื่อเราเปิดรูรับแสงกว้างสุดที่ f/1.4 คุณจะยังคงได้ภาพของคุณอยู่ในโฟกัส ถ้าคุณโฟกัสถูกต้อง สิ่งสุดท้ายคือคุณต้องการความคมชัดในการโฟกัสทางช้างเผือกกับฉากหน้าที่เบลอเล็กน้อย มีโบเก้หน่อยๆ ดังนั้นลองใช้เลนส์ Sigma 85mm f/1.4
อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญคือการใช้เลนส์มุมกว้างมากๆ ทำให้คุณสามารถถ่ายภาพทางช้างเผือกทั้งหมดอยู่ในกรอบภาพได้ มันจะมีการขยายภาพเล็กน้อยซึ่งยอมให้คุณเปิดค่าความเร็วชัตเตอร์ได้ยาวขึ้นก่อนที่ดวงดาวจะเริ่มหมุนขณะที่คุณถ่ายภาพ
 มันไม่ใช่จุดจบของโลกนี้ถ้าคุณมีเพียงเลนส์พื้นฐาน ใช้ได้เอนกประสงค์ แลพวกเลนส์คิทซึ่งมันไม่เร็วมาก คงยังคงถ่ายภาพทางช้างเผือกได้เพราะคุณเปิดค่ารับแสงที่ยาวและใช้ค่า ISO ที่สูงที่กล้องคุณรับได้
(ดูภาพในเว็ปไซต์ต้นฉบับเพื่อประกอบคำบรรยายา.....ทางด้านซ้ายคือเลนส์ Rokinon/Samyang 24mm f/1.4 ในราคา 549 เหรียญสหรัฐ ซึ่งราคาเป็นแค่หนึ่งในสามของเลนส์ Canon 24mm f/1.4 ที่มีราคา 1,549 เหรียญสหรัฐ)
ถ้าคุณเป็นคนที่ถ่ายภาพวิวตอนกลางคืน คุณจะรู้สึกยินดีที่ได้เรียนรู้ว่าเลนส์มุมกว้างยอดนิยมสำหรับการถ่ายภาพกลางคืนนั้นหาได้ไม่ยาก
 เลนส์ Rokinon (AKA Samyang/Bower) ได้นำเสนอเลนส์สองแบบสำหรับคนสองกลุ่มที่ถ่ายภาพตอนกลางคืนคือ เลนส์ 14mm f/2.8 และเลนส์ 24mm f/1.4 คุณภาพการผลิดดูมันแย่มาก แต่ถ้าคุณใช้มันอย่างระมัดระวัง ทะนุถนอม พวกมันก็ให้คุณภาพที่ดีทีเดียว
 พวกมันเป็นเลนส์ยอดนิยมเพราะว่าพวกมันให้ความคมชัด ความเร็ว และมุมที่กว้าง และมีความพร่าของแสงน้อยกว่าเลนส์ที่มีราคาแพง โคม่า คือ ปริมาณของความเบี่ยงเบนของวงรีรอบๆ ดวงดาวในมุมของภาพ เลนส์แพงๆ บางตัวเหมือนกับ Canon 16-35mm f/2.8 จะมีโคม่าที่แย่มากบนดวงดาวในมุมของภาพซึ่งมันก็ไม่ได้ใช้จุดจบแต่มันก็ไม่ได้ดีที่สุด

6 – การเลือกกล้อง

การถ่ายภาพตอนกลางคืน คุณจะต้องเปิดค่า ISO ที่สูงระหว่างการเปิดค่ารับแสงที่ยาวนาน ดังนั้น สิ่งสำคัญกล้องคุณจะต้องสามารถเปิดค่า ISO ได้ถึง 3200 หรือสูงกว่า แต่ที่สำคัญมากคือมันยังคงให้ผลลัพท์ภาพที่มีคุณภาพที่ดีด้วย ไม่ว่าคุณจะใช้กล้องอะไรก็ตาม คุณภาพของภาพเป็นสิ่งสำคัญลำดับต้นๆเมื่อคุณเริ่มที่จะหมุน ISO เพิ่มขึ้น ซึ่งมันหลีกเลี่ยงไม่ได้
 ตัวเซนเซอร์กล้องก็มีการพัฒนามาอย่างยาวนานในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา ดังนั้นถ้ากล้องของคุณไม่ได้อยู่ในอันดับต้นของกล้องคุณภาพสูง คุณอาจจะพบกับสิ่งประหลาดใจในคุณภาพของภาพถ่ายเมื่อคุณใช้ค่า ISO ที่สูง
 กล้อง Sony A7S กลายเป็นสิ่งที่ช่างภาพดวงดาวเลือกใช้ แต่มันไม่ถูกเลย
 กล้องที่มีประสิทธิภาพสูงในช่วงสองสามปีที่ผ่านมาก็มีกล้อง Sony A7R, Nikon D810 และแน่นอนกล้อง Sony A7S ซึ่งรู้จักกันดีสำหรับการถ่ายภาพที่มีความสามารถที่น่าอัศจรรย์ ในการถ่ายภาพสภาพแสงน้อย ทั้งหมดนี้เป็นกล้อง Full Frame และมันจะให้คุณภาพของภาพที่ดีที่สุดซึ่งมีค่านอยส์ดีกว่า แต่ถ้าคุณถ่ายภาพด้วยกล้อง MFT (Micro Four Thirds) หรือ APS-C sensor อย่าหยุดที่จะออกไปและเก็บภาพทางช้างเผือก
 อย่าให้คุณรู้สึกว่าต้องมีกล้องราคาแพงๆ ทำงานกับสิ่งที่คุณต้องทำและทำการ upgrade เมื่อคุณกลายเป็นคนเสพติดในการถ่ายภาพ และไม่สามารถต่อต้านความพยายามที่อยากจะอวดรวย
 สิ่งหนึ่งที่คุณต้องการสำหรับกล้องของคุณคือมีจอ Live view หรือ EVF (Electronic Viewfinder) คุณจะใช้ในการโฟกัสและจัดองค์ประกอบในภารถ่ายภาพ

7 – คุณต้องการขาตั้งกล้อง

เมื่อมันมืด คุณก็ต้องเปิดค่ารับแสงนาน และนั้นหมายถึงคุณต้องใช้ขาตั้งกล้อง ให้อ่านในบทความเหตุผลว่าทำไมต้องมีขาตั้งกล้องที่ดีเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการถ่ายภาพนอกสถานที่ การถ่ายภาพกลางคืนขาตั้งกล้องเป็นสิ่งที่ควรปฎิบัติเป็นหลัก
 เทคนิคการถ่ายภาพ
 โอเค คุณได้วางแผนทุกอย่างไว้แล้ว ทางช้างเผือกก็กำลังลอยอยู่เหนือหัวคุณ และคุณก็จัดองค์ประกอบภาพ กับฉากหน้าที่ดูน่าสนใจ มันเป็นเวลาที่คุณจะต้องตั้งค่ากล้องสำหรับการถ่ายทางช้างเผือก นี้คือสิ่งที่ผมเริ่ม
 คำเตือน....ในเวลานี้คุณจะต้องปิดระบบในกล้องของคุณ สำหรับ noise reduction ซึ่งถ้าคุณไม่ปิดมันจะทำให้คุณช้าในการ process ภาพเมื่อคุณเริ่มทดลองถ่าย

8 – ถ่ายในโหมด M (Milky Way Mode)และถ่ายเป็นภาพไฟล์ RAW

คุณต้องการควบคุมกล้องเองทั้งหมดโดยให้ตั้งค่ากล้องไปที่โหมด Manual สิ่งนี้จะยอมให้คุณควบคุมค่า ISO ความเร็วชัตเตอร์ ค่ารูรับแสงและค่าไวท์บาลานซ์ และให้ถ่ายภาพเป็นไฟล์ RAW เสมอ

9 – ใช้Use Live View หรือ the EVF (ถ้ากล้องของคุณมี)

นี้คือหนทางที่คุณจะตั้งโฟกัส ให้แน่ใจว่าสวิทช์ auto-focus ถูกปิดขณะที่คุณกำลังโฟกัส ก่อนที่คุณจะทำสิ่งนี้คุณต้องปรับค่า ISO ให้สูงขึ้นเช่นปรับไปที่ค่า 5000 เพื่อให้เซนเซอร์ของกล้องไวต่อการรับแสง

10 – โฟกัสไปที่ดวงดาว

ตั้งค่ารูรับแสงให้กว้างที่สุด เร็วสุดมันจะทำให้สามารถสำเร็จได้ (ค่าตัวเลขที่เล็กที่สุด เช่น f/2.8) ค่ารูรับแสงที่กว้างจะเปิดให้เซนเซอร์รับแสงในปริมาณที่มากสุด
 ใช้ตัว Live View หรือ EVF ของกล้อง เล็งไปที่ดวงดาวที่สว่างที่สุดที่คุณสามารถเห็นได้จนกระทั่งจุดเล็กของแสงปรากฎในกึ่งกลางของภาพที่เห็น ซูมเข้าไป (ขายภาพใน Live View ไม่ใช่การซูมที่เลนส์นะครับ) ดังนั้นคุณเห็นจุดเล็กๆที่ใหญ่ขึ้นเท่าที่เป็นไปได้ เวลานี้ก็ให้หมุนวงล้อโฟกัสที่เลนส์จนกระทั่งดวงดาวจุดเล็กๆ ชัดขึ้น ลองหมุนโฟกัสให้ผ่านจุดนี้จนกระทั่งภาพดวงดาวเบลออีกครั้ง และคุณจะเลยมันไปจนกระทั่งกลับมาเห็นภาพดวงดาวชัดอีกครั้งและเล็กเท่าที่เป็นไปได้ อย่ารีบใช้เวลาและทำให้มันถูกต้อง
 ถ้ากล้องของคุณมีตัวที่เรียกว่า Focus Peaking หรือ Focus Assist ซึ่งบางครั้งมันช่วยคุณให้โฟกัสดวงดาวได้สมบูรณ์แบบ ถ้าคุณใช้การคำนวณระยะ Hyperfocal คุณสามารถทำได้เช่นกัน แต่ผมเสนอว่าใช้วิธีนี้
 ไม่ว่าอะไรที่คุณได้ทำ อย่าตั้งค่าโฟกัสไปที่ค่า infinity โดยการหมุนวงล้อโฟกัสจนกระทั่งมันเป็น infinity คุณจะจบด้วยการได้ภาพที่ไม่คมชัดเลย

11 – การจัดองค์ประกอบในการถ่ายภาพ

เวลานี้คุณได้โฟกัสเลนส์ของคุณไปที่ดวงดาวที่สว่างไสวแล้วมันเป็นช่วงเวลาที่จัดองค์ประกอบภาพ ใช้ไฟฉายคาดหัวเพื่อแสดงถึงฉากเพื่อให้คุณสามารถเห็นอะไรก็ตามที่คุณกำลังมองใน Live View ของคุณ ถ้ากล้องของคุณมีตัววัดระดับระนาบแนวนอนให้ตรงขอให้ใช้มัน ถ้าไม่มีคุณอาจจะลงทุนซื้อตัววัดระดับน้ำติดไว้ที่หัวกล้องของคุณ
 ตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์ไปที่ 10 วินาที (ที่ ISO 5000 ถ้าคุณตั้งได้) และลองถ่ายภาพดู ในจุดนี้ทั้งหมดที่คุณกำลังทำเป็นเพียงการทดสอบคราวๆ ในการถ่ายกับการวางองค์ประกอบภาพ ดังนั้นไม่ควรตั้งการถ่ายที่ 30 วินาที และต้องการสิ่งรอบๆ ขณะที่คุณถ่ายภาพทดสอบหลายภาพ
 ครั้นเมื่อคุณเสร็จจากการทดสอบถ่ายภาพแล้วและปรับแต่งตำแหน่งขาตั้งกล้องสุดท้ายสำหรับองค์ประกอบที่สมบูรณ์แล้ว มันเป็นเวลาที่คุณต้องปรับหมุนตั้งค่ากล้อง

13 – ค่า White Balance

ในการถ่ายภาพทางช้างเผือกผมเสนอให้คุณถ่ายภาพกับค่าไวท์บาลานซ์ของผม คือ ตั้งเป็น Incandescnet (aka Tungsten) ซึ่งผมเชื่อถือกับ Tungsten ของกล้อง Sony ผมชอบสีฟ้าที่อิ่มตัวและมันแสดงถึงค่าเปรียบต่างในตัว EVF ของกล้อง เพื่อว่าคุณสามารถเห็นทางช้างเผือกได้อย่างชัดเจน เมื่อคุณปรับแต่งภาพทีหลังคุณสามารถปรับเปลี่ยนค่าไวท์บาลานซ์ไปเป็น Auto (AWB) ได้ เพื่อให้ได้ค่าที่มีอุณหภูมิสีที่เป็นธรรมชาติมากที่สุด
(ดูภาพในเว็ปไซต์ต้นฉบบับเพื่อประกอบคำบรรยาย)
ในไฟล์ RAW การถ่ายโดยใช้ค่าไวท์บาลานซ์เป็น Incandescent คุณสามารถเห็นว่ามันดูต่างอย่างไรในตัว Adobe Camera RAW เมื่อเปลี่ยนเป็นค่า Auto
ผมแนะนำคุณให้ทดลองกับค่าไวท์บาลานซ์ที่ต่างกันในการตั้งค่าเพื่อให้ได้อุณหภูมิสีที่คุณชอบที่สุด การถ่ายโดยใช้ค่า Incandescent/Tungsten จะให้ผลลัพท์ที่ดี เป็นธรรมชาติซึ่งคุณสามารถเปลี่ยนมันที่หลังได้ในโปรแกรม Ligthroom หรือ Adobe Camera RAW

14 – ตั้งค่า ISO ของคุณ

คุณใช้ค่า ISO 5000 สำหรับการทดสอบการถ่ายภาพ ดังนั้นคุณสามารถปรับแต่งองค์ประกอบการถ่ายได้อย่างรวดเร็ว แต่สำหรับการถ่ายภาพทางช้างเผือกจริงๆ คุณต้องใช้ค่า ISO ที่ต่ำกว่านั้นโดยการปรับหมุนมันลงไปที่ค่า ISO 2000 และดูผลลัพท์ว่ามันให้ผลที่ดีหรือเปล่า ถ้าคุณสามารถเพิ่มได้ก็ให้เพิ่มเป็นค่า ISO 3200 หลังจากได้ทดสอบการถ่ายมาแล้ว โดยส่วนตัวผมจะไม่ตั้งไว้สูงกว่า 3200 ซึ่งภาพไฟล์ RAW มันจะเริ่มลดคุณภาพจากจุดนี้

15 – ความเร็วชัตเตอร์ กับ ค่า ISO

จากจุดนี้คุณได้ตบตาค่าความเร็วชัตเตอร์และค่า ISO เพื่อให้ความไวในการรับแสงดีที่สุด ขณะที่ความเร็วชัตเตอร์เร็วพอที่หลีกเลี่ยงการหมุนของดวงดาว การหมุนของดวงดาวเป็นผลกระทบที่กำลังเกิดกับภาพของคุณ (อ่านในบทความการถ่ายภาพดวงดาวของผมในเว็ปไซต์ที่นี้ http://digital-photography-school.com/how-to-shoot-a-star-…/ )แม้แต่ดาวดวงเล็กๆมีการหมุนก็ทำให้ผลของภาพทางช้างเผือกขาดความชัดเจน มันอาจจะดูโอเคสำหรับภาพในเว็ปไซต์ แต่สำหรับงานพิมพ์แล้วคุณจะต้องทำให้มันคมชัดกว่านี้ ลองพยายามจำกัดค่าความเร็วชัตเตอร์เป็น 15 วินาทีเพื่อว่าคุณสามารถทำให้ดวงดาวคมและปราศจากการหมุน

(ดูภาพตัวอย่างในเว็ปไซต์ต้นฉบับเพื่อประกอบคำบรรยาย....ขณะที่คุณสามารถเห็นในช่วงเวลา 30 วินาทีของการเปิดรับแสงทางด้านซ้ายในภาพจะเห็นการเคลื่อนที่ของดวงดาวแต่ละดวง ถ้า 15 วินาทีในการเปิดรับแสงทางด้านขวา ดวงดาวจะคมชัด แม้ว่ามันจะมืดสนิท)
การความเร็วชัตเตอร์ 15 วินาทีให้ดูการวัดแสงที่กล้องที่คุณอ่านได้ ถ้ามันบอกคุณว่าภาพจะโอเวอร์ คุณอาจจะหมุดลดค่า ISO ลงเล็กน้อย หรือให้ความเร็วชัตเตอร์ช้าลงเป็น 10 วินาที
 บางครั้งผมชอบแบบโอเวอร์ในภาพและละเลยกับค่าแสงที่ผมอ่านได้ เมื่อการถ่ายทางช้างเผือก ผมจะแนะนำจากสิ่งที่ผมเห็นในการทดสอบของผมมากกว่าการวัดแสงที่มันบอกผม กับกล้อง Sony ของผม ผมใช้โหมด Multi metering หลังที่คุณได้ถ่ายภาพเสร็จแล้ว และให้คุณตรวจสอบภาพให้แน่ใจโดยการซูมเข้าไปดูรายละเอียดว่าเป็นอย่างไร

16 – ลองใช้ค่าการเปิดรับแสงที่ 30 วินาที

ผมรู้ผมเพิ่งได้พูดว่าให้คุณใช้ค่าความเร็วชัตเตอร์ที่ 15 วินาทีสูงสุด แต่ผมชอบที่จะเพิ่มการถ่ายภาพด้วยค่าเปิดรับแสงที่ 30 วินาทีเพื่อเก็บภาพความสว่างไสวของทางช้างเผือก ผมทำสิ่งนี้ถ้าผมวางแผนว่าผมจะนำภาพไปแชร์บนเว็ปไซต์เท่านั้น (ภาพที่มีความละเอียดต่ำ) เพราะว่า การเคลื่อนตัวของดาวเพียงเล็กน้อยเนื่องจากการเปิดค่ารับแสงที่นาน จะไม่ปรากฎชัดเจนในภาพที่มีความละเอียดต่ำบนเว็ปไซต์ ดวงดาวต่างๆ ยังคงมองเห็นความคมชัด แต่มันจะสว่างกว่าภาพที่เปิดค่ารับแสงที่ 15 วินาที สำหรับงานพิมพ์ ผมจะใช้ค่ารับแสงที่ 15 วินาทีสำหรับความคมชัดที่พิเศษขึ้นมาหน่อย
 ตัวลดค่าน้อยส์ภายในกล้อง
 กล้องบางตัวทำงานในการปรับแก้ไขภาพและลดค่าน้อยส์ได้ดีเยี่ยม แต่นี้คือเวลาที่เพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวในการถ่ายภาพหนึ่งครั้ง ดังนั้นเป็นความคิดที่ดีที่จะปิดระบบนี้ลง อย่างน้อยก็เพียงชั่วคราว ถ้าคุณต้องการลดค่าน้อยส์ลงในกล้องคุณก็เพียงแค่เปิดการใช้งานกลับมาอีกครั้ง เมื่อคุณเสร็จจากการทดสอบการถ่ายภาพ
 โดยส่วนตัวของผม ผมชอบที่จะทำการลดค่าน้อยส์เองในโปรแกรม Adobe Camera Raw และตัวโปรแกรม Photoshop ก็ให้ผมควบคุมได้มากและยอมให้ผมถ่ายภาพได้เร็วขึ้นเมื่อผมอยู่ในที่ที่กำลังถ่ายภาพ
 เวลานี้...เป็นช่วงเวลาของคุณแล้ว

 โอเค เวลานี้คุณรู้ว่าจะถ่ายภาพทางช้างเผือกให้คมชัดเจนได้อย่างไรแล้ว ผมหวังว่าคุณจะได้ผลลัพท์ออกมาที่เยี่ยมยอดและสนุกกับมันเหมือนกับผมเมื่อกำลังถ่ายภาพในสิ่งที่มองเห็นอย่างน่าอัศจรรย์ ถ้าคุณอยากเรียนรู้ว่าผมปรับแต่งภาพทางช้างเผือกอย่างไร โปรดเขียนสิ่งที่คุณต้องการลงในช่องแสดงความคิดเห็นและถ้ามีคนสนใจมากๆ ผมยินดีที่จะแบ่งปันเทคนิคของผมให้พวกคุณทราบ