Recent Posts

Pages: 1 ... 6 7 [8] 9 10
71
เราหาจุด Sweet Spot ของเลนส์ได้อย่างไร: คำแนะนำการทำให้ภาพคมชัดสำหรับผู้เริ่มต้น

โพสโดย Dena Haines แปลโดย Topstep07

เว็ปไซต์ต้นฉบับเพื่อดูภาพประกอบคำบรรยาย
http://digital-photography-school.com/how-to-find-your-len…/

คุณรู้สึกเหนื่อยกับภาพที่มันเบลอไหม?
มันได้เวลาที่ต้องเรียนรู้ว่าทำอย่างไรในการถ่ายภาพให้คมชัดโดยการค้นหาจุด sweet spot (จุดที่กำลังดี) นี้คือสิ่งที่เชื่อถือได้ ประหยัดเวลาและช่วยให้คุณถ่ายภาพได้ดีขึ้นกว่าเดิม

ในบทความนี้คุณจะได้เรียนถึง
-การค้นหาจุด sweet spot ของเลนส์อย่างไร (สำหรับทำให้ภาพคมชัด)
-ทำไมคุณควรถ่ายภาพในโหมด Aperture Priority (และใช้มันอย่างไร)
-ทำอย่างไรในการทดสอบให้ได้ความคมชัดที่สุดของภาพในทุกๆ ครั้ง
-มันสำคัญอย่างไรกับ sweet spot ในเลนส์ของคุณ? สังเกตความแตกต่าง

(ดูภาพประกอบคำบรรยายในเว็ปไซต์ต้นฉบับ...ในภาพนาฬิกาด้านบนนี้ ภาพทางด้านขวามือมีความคมชัดกว่า ลองดูตัวอักษรใกล้ที่อยู่บนตัวนาฬิกา ภาพที่ถ่ายด้วยรูรับแสง f/9 คมชัดกว่าเพราะว่ามันถ่ายที่จุด sweet spot ของเลนส์ ในขณะที่รูรับแสง f/3.5 มันไม่ใช่

สิ่งแรกให้ดูที่เลนส์ของคุณ

ในคำแนะนำสำหรับผู้เริ่มต้นใหม่ เราจะใช้เลนส์ในระดับเริ่มต้นที่เป็นเลนส์ซูมเป็นตัวอย่าง เลนส์คิทส่วนใหญ่ (เลนส์พื้นฐานที่มากับกล้อง DSLR) จะถ่ายภาพได้คมชัดที่สุดที่ค่ากึ่งกลาง ของการตั้งค่ารูรับแสง การที่จะเข้าใจเรื่อง ค่ากึ่งกลางของเลนส์ คุณต้องรู้ความกว้างสุด (หรือมากที่สุด)ของรูรับแสง มันแสดงอยู่ด้านข้างของเลนส์ หรือปลายเลนส์ซึ่งมีลักษณะแบบนี้ 1:3.5-5.6
สำหรับตัวอย่าง นี้คือเลนส์ซูม Canon 18-55mm ของฉัน (ดูภาพตัวอย่างประกอบคำบรรยายในเว็ปไซต์ต้นฉบับ)
มันหมายความว่า เมื่อเลนส์ของฉันซูมออกไป ความกว้างสุดของรูรับแสงคือ f/3.5 ขณะเมื่อเลนส์ซูมเข้ามาความกว้างสุดของรูรับแสงจะเท่ากับ f/5.6
กฎของการหาค่ากึ่งกลางที่เป็นจุด sweet spot คือ ให้นับเพิ่มไปอีก 2 f-stop (นับเต็ม) (ค่ารูรับแสงถูกเรียกว่า f-stop) จากค่ารูรับแสงที่กว้างสุด ในเลนส์ของฉัน ค่ารูรับแสงกว้างสุดคือ f/3.5 ถ้านับไปอีก 2 stop จากนี้มันจะได้ค่าจุดกึ่งกลางราวๆ f/7
(ดูภาพประกอบคำบรรยายในเว็ปไซต์ต้นฉบับ...ในตารางด้านล่างนี้การนับ f-stop) ภาพโดย Robin Parmar
มันยังมีค่าแกว่งไปมาในช่วงกึ่งกลางด้วย ดังนั้นค่าที่ได้จะอยู่ประมาณ f/7 ถึง f/10 ที่จะทำให้ภาพคมชัด เมื่อคุณได้รู้ถึงค่ากึ่งกลางของเลนส์คุณแล้ว คุณสามารถลองทดสอบอย่างง่ายๆ เพื่อให้ได้ภาพคมชัดที่สุด การทดสอบคุณจะต้องถ่ายด้วยโหมด Aperture Priority

ควบคุมโหมด Aperture Priority

การถ่ายด้วย Aperture Priority จะทำให้คุณเลือกค่ารูรับแสงที่ต้องการ ซึ่งมันช่วยให้คุณควบคุมได้ดีกว่าการใช้โหมด Automatic โดยการควบคุมค่ารูรับแสง มันง่ายมากกว่าที่ทำให้ภาพคมชัดและเพราะว่ากล้องของคุณยังคงเลือกค่า ISO (ถ้าคุณตั้งค่าใช้ Auto ISO) และความเร็วชัตเตอร์แบบอัตโนมัติ มันง่ายในการใช้งานมาก
คุณคงเคยได้ยินค่ารูรับแสงที่ f/16 และ f/22 เป็นค่าที่ดีที่สุดเพื่อให้ทุกอย่างที่ถ่ายอยู่ในโฟกัส มันอาจเป็นความจริง การโฟกัสไม่ได้ทำทุกอย่างคมชัดเท่ากัน การเลือกค่ากึ่งกลางของรูรับแสงจะให้ความชัดกว่าของภาพทั้งหมด คุณสามารถพัฒนาสิ่งเหล่านี้ได้โดยการลดอาการสั่นของกล้องโดยใช้ขาตั้งกล้องและตัวรีโมทชัตเตอร์ (หรือใช้การตั้งเวลาถ่ายในกล้องของคุณ)
นี้คือตัวอย่างการถ่ายด้วยจุด sweet spot อย่างไรที่ทำให้ภาพของคุณคมชัด
(ดูภาพประกอบคำบรรยายในเว็ปไซต์ต้นฉบับ....ในสภาพด้านบนที่แบ่งออกเป็นสองภาพ ภาพที่ถ่ายด้วยรูรับแสง f/9 มีความคมชัดมากกว่า f/22 ปลายสนและเงาไม่นุ่มหรือเบลอเท่ากับค่ารูรับแสง f/22 ( ลองดูที่ความคมและประกายของหิมะด้วย)

เปลี่ยนจากโหมด Automatic มาเป็นโหมด Aperture Priority

เพื่อให้กล้องของเราไม่ใช้โหมด Automatic และให้ปรับมาเป็นโหมด Aperture Priority แทน เพียงแค่หมุนปุ่มโหมดมาที่ Aperture Priority นี้คือหน้าตาของปุ่มโหมดบนกล้อง Canon ของฉัน (บนกล้อง Nikon หรือยี่ห้ออื่นๆ จะใช้ ตัวอักษร A) (ดูภาพประกอบคำบรรยายในเว็ปไซต์ต้นฉบับ) ตัวโหมด Automatic จะมีเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีเขียว ส่วนโหมด Aperture Priority คือคำว่า Av (หรือ A บนกล้อง Nikon) เมื่อกล้องของคุณได้ถูกตั้งเป็น Aperture Priority โหมดแล้ว ให้หมุนปุ่มเล็กกว่า (ที่แสดงอยู่ด้านบนของกล้อง Canon) เพื่อปรับเลือกค่า f-stop ของคุณ ขณะที่คุณหมุน คุณจะเห็นค่า f-number เปลี่ยนบนหน้าจอแสดงในภาพถัดไป มันถูกตั้งค่าไว้ที่ f/9.5 (ดูภาพประกอบคำบรรยายในเว็ปไซต์ต้นฉบับ)

การทดสอบจุด Sweet Spot ของเลนส์

เมื่อกล้องของคุณได้ตั้งอยู่บนขาตั้งกล้องแล้วการทดสอบจุด sweet spot ของเลนส์ ก็ใช้เวลาไม่กี่นาที เริ่มต้นโดยการปรับกล้องของคุณไปใช้โหมด Aperture Priority จากนั้นก็จัดองค์ประกอบในกาถ่ายและลองถ่ายภาพด้วยค่ารูรับแสงที่ต่างกัน เริ่มจากค่ารูรับแสงที่กว้างที่สุดและถ่าย และหมุนปรับค่าไปเรื่อย (หมุนไปทางขวา) ทำไปเรื่อยๆ จนกระทั่งได้ภาพมาสักเจ็ดหรือแปดภาพ
โหลดภาพที่ได้ของคุณลงไปที่เครื่องคอมฯ แล้วซูมภาพพวกนั้นมาดู คุณจะเห็นได้อย่างรวดเร็วเลยว่าค่ารูรับแสงไหนที่คุณใช้มันทำให้ภาพคมชัดมากที่สุดจากภาพทั้งหมด
(ดูภาพประกอบคำบรรยายในเว็ปไซต์ต้นฉบับ....ภาพถ่ายถัดไปเป็นภาพลูกสาวของฉันที่ถ่ายโดยใช้แสงธรรมชาติ ถ่ายด้วยเลนส์ของฉันที่ใช้จุด sweet spot ที่ทำให้ภาพดูสวยงามคมชัด แม้ว่าจะมีสภาพแสงที่น้อยก็ตาม
เมื่อดึงภาพรูปแก้วชาเข้ามาใกล้ๆ แสดงให้เห็นข้อดีของการถ่ายภาพด้วยจุด sweet spot เมื่อไรก็ตามที่คุณต้องการให้แน่ใจว่าคุณได้ภาพที่คมชัดที่สุดที่เป็นไปได้ ให้ถ่ายที่ค่ากึ่งกลาง f/7, f/8, f/9 และ f/10
ถ่ายภาพให้คมชัดที่สุด ....เวลานี้คุณรู้เกี่ยวกับจุด sweet spot ในเลนส์ของคุณแล้ว ตอนนี้ก็ได้เวลาฝึกฝน ฉันหวังว่าคุณจะได้ในสิ่งที่คุณชอบจากผลลัพท์ที่ได้
ฉันรักที่จะได้ด้วยแสงธรรมชาติ และเรียนรู้ว่าจะเก็บภาพให้คมชัดอย่างไรในสภาพแสงน้อยที่ทำให้มีความสุขมากในภาพถ่ายของฉัน

คำแนะนำในการถ่ายภาพให้คมชัดที่สุด:

-ถ่ายด้วยโหมด Aperture Priority
-เลือกค่ากึ่งกลางของค่ารูรับแสง (ประมาณ f/7 to f/10)
-ใช้ขาตั้งกล้องและสายลั่นชัตเตอร์ (หรือตั้งเวลาถ่ายภาพในกล้องของคุณ) เพื่อลดการสั่นของกล้อง
-ถ่ายภาพมาหลายภาพกับค่ารูรับแสงตั้งแต่ f/7 ไปถึง f/10 เมื่อการถ่ายภาพที่ต้องการความคมชัดเป็นสิ่งสำคัญ

แต่อย่าหยุดแค่นั้น ลองเล่นกับการตั้งค่า Aperture Priority ไปเรื่อยๆ มันน่าทึงมากที่ได้ภาพที่คมชัดทั่วภาพ
เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับค่ารูรับแสงและค่าชัดตื้นชัดลึก
คุณมีคำแนะนำอื่นๆ เกี่ยวกับจุด sweet spot ของเลนส์ที่อยากจะแบ่งปันอีกไหม? ถ้ามีโปรดนำมาแบ่งปันในช่องแสดงความคิดเห็นด้านล่างนี้
72
กล้องและอุปกรณ์ / Re: กล้อง Canon
« Last post by keroro on March 02, 2016, 12:19:00 PM »
แวะมาดูครับ
73
ยี่สิบสิ่งที่ควรทำ และไม่ควรทำ สำหรับการถ่ายดวงจันทร์

โพสโดย Bruce Wunderlich แปลโดย Topstep07

เว็ปไซต์ต้นฉบับเพื่อดูภาพประกอบคำบรรยาย

http://digital-photography-school.com/20-dos-donts-shooting-moon/

(ดูภาพประกอบคำบรรยาย....The April moon called the “Pink Moon” rose over Marietta, Ohio. The setting sun lit the city in a warm glow)

ดวงจันทร์เป็นตัวแบบที่ได้รับความนิยมในการถ่ายภาพสำหรับช่างภาพในทุกระดับ แต่ถ้าคุณเคยลองถ่ายภาพดวงจันทร์ คุณได้ค้นพบว่ามันไม่ง่ายที่ทำให้สำเร็จ ในบทความนี้ลองดูบางสิ่งที่ควรทำ และไม่ควรทำเมื่อคุณถ่ายภาพดวงจันทร์แบบเก็บภาพธรรมดาไปถึงระดับงานศิลปะ
ก่อนจะเริ่ม สิ่งแรกและสิ่งสำคัญสำหรับสิ่งที่ไม่ควรทำคือ อย่าคิดว่าการถ่ายภาพดวงจันทร์มันเป็นของง่ายๆ

#1 ใช้ขาตั้งกล้อง

สิ่งสำคัญชิ้นแรกของอุปกรณ์สำหรับการถ่ายภาพที่มีแสงน้อยคือใช้ขาตั้งกล้องดีๆ เมื่อดวงจันทร์อยู่ห่างไกลมาก มันสำคัญมากที่จะต้องมั่นคงแม้การเคลื่อนไหวเพียงเล็กน้อยของกล้องจะมีผลทำให้ภาพเบลอได้ คุณอาจจะคิดว่าถ้าเราใช้ความเร็วชัตเตอร์เพียงพอในการถือกล้องถ่ายละ แต่คุณต้องตระหนักใด้ดีว่าดวงจันทร์นั้นอยู่ห่างจากโลก 238,900 ไมล์และเมื่อมีการเคลื่อนไหวเพียงนิดเดียวก็ไม่ดูพูดเกินความเป็นจริงใช่ไหมครับ

#2 อย่าใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ช้า

ดวงจันทร์มีการเคลื่อนไหวรอบโลกที่เร็วมากด้วยความเร็ว 2,288ไมล์ต่อชั่วโมง (3,683กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ดวงจันทร์อยู่ห่างไกล มันดูเหมือนเคลื่อนที่ไม่เร็วเมื่อมองด้วยตาเปล่า เนื่องจากความเร็วของดวงจันทร์และระยะความยาวโฟกัสจำเป็นในการจัดภาพของดวงจันทร์ คุณต้องการความเร็วชัตเตอร์ที่เร็วกว่าเท่าที่เป็นไปได้ กฎที่ดีของการถ่ายภาพดวงจันทร์ให้ชัดคือความเร็วชัตเตอร์ต้องไม่ช้ากว่า 1/125 วินาที

#3 ใช้เลนส์เทเลโฟโต้

เพื่อความสำเร็จในการถ่ายภาพดวงจันทร์ในทุกรายละเอียด คุณต้องการเลนส์เทเลฯ ที่มีความยาวอย่างน้อย 300mm สำหรับกล้อง full frame คุณต้องการเลนส์ประมาณ 800mm

#4 อย่าใช้ ฟิลเตอร์ใด

เอาฟิลเตอร์ทุกชนิดออกจากเลนส์ เพื่อป้องกันโอกาสการเบี้ยว อย่าใช้ฟิลเตอร์อะไรเลย ใช่แล้ว...แม้แต่ตัว UV ฟิลเตอร์ก็ต้องเอาออก ฟังดูแล้วน่ากลัวถ้าคุณไม่เคยเอา UV ฟิลเตอร์ออกจากเลนส์เลย แต่มันจะดีที่สุดถ้าคุณเอามันออกไปในกรณีนี้ บางครั้งมีการแนะนำให้ใช้ฟิลเตอร์ ND สำหรับการถ่ายภาพดวงจันทร์เพื่อไปตัดส่วนที่แสงสว่างของดวงจันทร์ แต่การทำแบบนี้จะทำให้คุณต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ต่ำลงและคุณต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่เร็วเท่าที่เป็นไปได้เพื่อให้ได้ภาพที่คมชัด

#5 พยายามใช้กฎ Looney 11

กฎ Looney 11 คือคล้ายกับกฎ Sunny 16 โดยการตั้งค่ารูรับแสงที่ f/11 แล้วให้จับคู่กับความเร็วชัตเตอร์กับค่า ISO ตัวอย่างเช่น ถ้าค่า ISO ของคุณคือ 100  ก็ให้ตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์เป็น 1/125 วินาที (นี้ไม่ใช่กฎทางวิทยาศาสตร์ที่แน่นอน แต่มันเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีเท่านั้น)

#6 อย่าจับกล้องในการเริ่ม

อย่ากดปุ่มชัตเตอร์ด้วยมือหรือแตะขาตั้งกล้องเมื่อเริ่มถ่ายภาพดวงจันทร์ จำไว้ว่าการจับเพียงเล็กน้อยก็เป็นการเพิ่มการสั่นไหวที่ทำให้ภาพเบลอได้ ให้ใช้สายลั่นชัตเตอร์ หรือตัวรีโมทแบบไร้สายเป็นหนทางที่ดีที่สุดในการเริ่มถ่ายภาพ ถ้าคุณไม่มีพวกมัน ใช้การตั้งเวลาถ่ายภาพบนตัวกล้องของคุณแทน

#7 ใช้การล๊อคกระจก Mirror Lock-up

ถ้ากล้องของคุณให้ตัวเลือกในการล๊อคกระจกได้ นี้คือสิ่งที่สามารถช่วยเพิ่มโอกาสที่คุณจะได้ภาพที่คมชัด แม้ว่าจะมีการสั่นเพียงนิดหน่อยที่ตัวกระจกก็ทำให้ภาพออกมาเบลอได้เช่นกัน ถ้ากล้องของคุณมีตัวเลือกแบบนี้ ใช้มันซะ...การล๊อคกระจกและคอยเพียงไม่กี่วินาทีจะยอมให้การสั่นไหวนิ่งอยู่ก่อนที่จะเริ่มถ่ายภาพ

#8 อย่าใช้ตัวระบบกันสั่น

กล้อง Canon คือ IS (Image Stabilization) หรือ Nikon คือ VR (Vibration Reduction) ต้องปิดสิ่งเหล่านี้ซะเมื่อคุณต้องกล้องอยู่บนขาตั้งกล้อง การเปิดระบบกันสั่นไหวกับกล้องของคุณที่ตั้งอยู่บนขาตั้งกล้องจะทำให้ภาพเบลอได้

#9 รู้จักวงจรของดวงจันทร์

ใช้โปรแกรม The Photographer’s Ephemeris เพื่อคาดการณ์ล่วงหน้าสำหรับตำแหน่งการขึ้นของดวงจันทร์ ใน29.5 วันระหว่างที่ดวงจันทร์เต็มดวง มีโปรแกรมออนไลน์มากมายและโปรแกรมบนโทรศัพท์มือถือที่ช่วยติดตามช่วงเวลาของดวงจันทร์ และยังแสดงตำแหน่งว่าที่ไหน เมื่อไรที่ดวงจันทร์จะปรากฎบนท้องฟ้า นี้คือสิ่งที่มีประโยชน์มากเมื่อวางแผนการถ่ายภาพดวงจันทร์ล่วงหน้า แต่การถ่ายภาพโดยรวมแล้วคือ ดวงจันทร์เต็มดวง ซึ่งมันสว่างไสวและยากที่จะได้ค่ารับแสงที่ถูกต้อง แสงด้านช้างของส่วนนูนจะให้เงาที่น่าสนใจซึ่งยอมให้คุณเก็บภาพปล่องภูเขาไฟ และภูเขา ช่วงดวงจันทร์เสี้ยว แน่นอนว่ามันเป็นช่วงที่มืดที่สุด แต่มันสร้างความน่าสนใจเมื่อเพิ่มภาพวิวทิวทัศน์ในตอนกลางคืนได้

#10 อย่าวางดวงจันทร์ไว้กลางภาพ

ขณะที่คุณสามารถใช้กฎของการวางองค์ประกอบภาพในการถ่ายภาพดวงจันทร์ อย่ากลัวที่จะแหกกฎถ้ามันใช่ อย่าวางดวงจันทร์ไว้กลางภาพโดยที่ไม่มีอะไรเลย มันเกิดขึ้นหลายล้านครั้งก่อนและไม่มีอะไรน่าตื่นเต้น ลองเอาตัวแบบอื่นๆ เข้ามาอยู่ในกรอบกับดวงจันทร์ด้วย
(ดูภาพประกอบคำบรรยาย อย่าวางดวงจันทร์ในท้องฟ้าที่ว่างเปล่า ให้รวมเอาตัวแบบฉากหน้าเพื่อให้ภาพดูมีชีวิตชีวา)

#11 เปลี่ยมาใช้การโฟกัสแบบแมนนวล

มีกระบวนที่แตกต่างกันหลายอย่างที่คุณสามารถโฟกัสไปที่ดวงจันทร์ อันดับแรก ลองให้กล้องของคุณใช้ออโต้โฟกัส และเมื่อคุณได้การโฟกัสที่พอใจแล้ว ปิดการออโต้โฟกัสและปรับเป็นโฟกัสแบบแมนนวล อีกทางเลือกหนึ่ง คุณสามารถตั้งให้กล้องโฟกัสแมนนวลกับตัว live view ที่เปิดใช้งาน ซูมเข้าไปที่ดวงจันทร์และหมุนวงแหวนโฟกัสจนกระทั่งดวงจันทร์คมชัด และไม่ต้องไปแตะที่วงแหวนอีก

#12 อย่าถ่ายดวงจันทร์ในตอนกลางคืน

เวลาที่ดีที่สุดสำหรับการถ่ายภาพดวงจันทร์คือหลังจากที่มันขึ้นหรือก่อนที่มันจะตกเมื่อมันอยู่ในระดับต่ำบนท้องฟ้า  เมื่อดวงจันทร์อยู่ใกล้เส้นแนวนอน มันจะอยู่ใกล้โลกที่สุดและจะทำให้ได้ภาพที่ใหญ่ ขณะที่ดวงจันทร์เต็มดวงขึ้นดวงอาทิตย์จะตกเช่นกัน และขณะที่ดวงจันทร์เต็มดวงตก ดวงอาทิตย์ก็จะขึ้น  นี้คือสิ่งที่ทำให้ได้แสงที่ดีเยี่ยมหรือฉากหน้าเด่น หรือตัวแบบของวิวทิวทัศน์โดดเด่นเช่นกัน การถ่ายภาพในช่วงวันจะทำให้มีโอกาสรวมเอาตัวแบบในฉากหน้าเข้าไปด้วย และคุณอาจจะเก็บภาพพื้นผิวของดวงจันทร์อีกด้วย
(ดูภาพประกอบคำบรรยาย....ภาพดวงจันทร์เต็มดวงในช่วงเดือนมิถุนายน เรียกว่า “Honey Moon” เก็บภาพขณะที่ตกและดวงอาทิตย์กำลังขึ้น)

#13 ใช้การคร่อมแสง (Bracket)

ครั้นเมื่อคุณพบว่าค่ารับแสงที่คุณถ่ายทำให้คุณรู้สึกมีความสุข มันจะดีที่สุดในการใช้การคร่อมแสง การดูภาพในที่มืดด้านหลังกล้องของคุณบ่อยครั้งจะหลอกตาคุณ ในที่มืด ภาพจะดูสว่างกว่าที่ควรจะเป็นบนจอภาพ LCD ของกล้องเมื่อคุณไปเปิดภาพบนคอมพิวเตอร์ หลังจากที่คุณพอใจกับค่ารับแสงที่คุณได้หมุนไว้ ให้ตั้งการคร่อมแสง under ไป 2 stops และให้ over ไปอีก 2 stops เพื่อให้แน่ใจว่าคุณได้ค่ารับแสงที่คุณพอใจ

#14 อย่าใช้ Auto White Balance

การใช้ auto white balance จะให้ค่าผลลัพท์ที่ไม่คงที่ อะไรคือแหล่งของแสงดวงจันทร์ ใช่แล้ว..มันคือดวงอาทิตย์ ดังนั้นพยายามใช้ daylight white balance แต่ถ้าคุณกำลังมองหาผลลัพท์ที่แตกต่างลองตั้งเป็น tungsten หรือไม่ก็ cloudy ดูครับ อย่ากลัวที่จะทดลองใช้ แต่จำไว้ว่าถ้าคุณถ่ายภาพแบบไฟล์ RAW คุณสามารถเปลี่ยนค่า white balance ในการปรับแต่งภาพทีหลังได้

#15 อย่ายึดติดกับค่าที่วัดได้จากกล้อง

ส่วนใหญ่ค่าแสงของกล้องจะดูเขลาๆโดยปริมาณของแสงที่ตกกระทบของดวงจันทร์ สิ่งที่สำคัญที่ต้องจดไว้คือ ขณะที่ดวงจันทร์ขึ้น ค่ารับแสงจะเปลี่ยนอย่างต่อเนื่อง มันจะสว่างขึ้นๆขณะที่มันกำลังขึ้น ดังนั้นคุณต้องปรับค่าความเร็วชัตเตอร์ตามไปด้วย

#16 ให้ถ่ายภาพเป็นแบบไฟล์ RAW

การถ่ายภาพแบบ RAW ไฟล์จะยอมให้คุณเก็บรายละเอียดของพื้นผิวดวงจันทร์ได้มากกว่า และยังให้ละติดจูดของการปรับแต่งภาพที่มากกว่าด้วย ดังนั้น ถ้าปราศจากการที่คุณไม่คุ้นเคยกับการใช้ซอฟท์แวร์ ที่ปรับแต่ง RAW ไฟล์ ให้ถ่ายภาพดวงจันทร์เป็นแบบ RAW ไฟล์ไว้ก่อน

#17 อย่ากลัวที่จะตัดกรอบภาพ

ถ้าปราศจากการถ่ายด้วยเลนส์เทเลโฟโต้ขนาดใหญ่ คุณจะตัดกรอบของภาพที่แสดงดวงจันทร์ให้มีขนาดที่เล็กลงได้ แต่จำไว้ว่ายิ่งคุณตัดกรอบภาพมากแค่ไหน ภาพสุดท้ายก็จะเล็กกว่าที่จะพิมพ์ในขนาดความละเอียดสูง

#18 ทำการดึงบิด และทำให้คมชัด

ภาพถ่ายดวงจันทร์ส่วนมากก็ต้องผ่านกระบวนการปรับแต่งในโปรแกรม Photoshop หรือโปรแกรมปรับแต่งภาพอื่นๆ การเพิ่ม Clarity และ Contrast จะช่วยดึงรายละเอียดขึ้นมาซึ่งจะเพิ่มพวกภูเขาไฟและภูเขาของดวงจันทร์ เหมือนที่ได้แนะนำไว้ข้างต้น ค่า white balance ค่ารับแสงจะช่วยดึงให้ภาพดูดี และทั้งสองแบบมันทำแบบเบ็ดเส็จสมบูรณ์ในกล้องไม่ได้
(ดูภาพประกอบคำบรรยาย.....สร้างสรรค์....สองภาพถูกรวมเข้าไว้ด้วยกันเพื่อสร้างภาพสุดท้ายดั่งที่เห็น)

#19 อย่ากลัวในการที่จะสร้างสรรค์

อย่ากลังในการคิดสร้างสรรค์กับภาพดวงจันทร์ของคุณ ภาพดวงจันทร์ที่เยี่ยมยอดมีการปรับให้เหมาะสมในขบวนการปรับแต่งภาพเนื่องจากมันยากที่จะเก็บภาพดวงจันทร์ที่ดีที่สุดในภาพเดียว HDR หรือการผสมค่ารับแสงเป็นกระบวนการที่ดีในการเพิ่มภาพซึ่งดูเป็นภาพดวงจันทร์ที่เป็นไปไม่ได้ กระบวนการที่ได้รับความนิยมของช่างภาพหลายๆท่านคือการรวมสองภาพที่มีค่ารับแสงที่ต่างกันเข้าด้วยกัน ภาพหนึ่งคือภาพที่มีฉากหน้าวิวทิวทัศน์ที่ดีที่สุด และภาพที่สองคือภาพดวงจันทร์ที่ดีที่สุด เมื่อรวมสองภาพเข้าด้วยกัน พยายามขยายภาพดวงจันทร์เล็กน้อยเพื่อให้ภาพที่ดูมีชีวิตชีวา แต่อย่าทำมากเกินไปที่ทำให้ดูไม่เหมือนจริง  มันต้องทำให้ดูน่าเชื่อถือถ้าปราศจากการทำเป็นแบบพวกแนวเรื่องนวนิยายวิทยาศาสตร์ (ซึ่งเป็นความคิดที่ไม่เลว พูดแบบเชิงสร้างสรรค์นะครับ)
(ดูภาพประกอบคำบรรยาย....ค่ารับแสงสองภาพที่นำมารวมกันเป็นภาพสุดท้าย ภาพหนึ่งคือค่าแสงสำหรับวิวทิวทัศน์และอีกภาพหนึ่งดวงจันทร์ ดวงจันทร์ถูกขยายให้ใหญ่ขึ้นเล็กน้อยเพื่อให้ดูมีชีวิตชีวา)

 #20 ฝึกฝน ฝึกฝน แล้วก็ฝึกฝน

เวลานี้ให้ออกไปและถ่ายภาพดวงจันทร์ จำไว้ว่ามันไม่ง่ายเหมือนที่เห็น ลองพยายามไปเรื่อยๆถ้าผลลัพท์ครั้งแรกไม่ได้ดั่งที่คาดหวังไว้
ถ้าคุณมีภาพดวงจันทร์หรือสิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำในการทำงานของคุณ นำมาแบ่งปันกันในช่องคำแนะนำด้านล่างนี้ได้ครับ
74
 การวางองค์ประกอบภาพขั้นพื้นฐาน. สิ่งที่คุณต้องเรียนรู้

โพสโดย Autumn Lockwood แปลโดย Topstep07

เว็ปไซต์ต้นฉบับเพื่อดูภาพประกอบคำบรรยาย
http://www.picturecorrect.com/…/photo-composition-basics-w…/

สิ่งหนึ่งที่สำคัญมากของช่างภาพที่สามารถพกติดตัวไว้ในกระเป๋าของพวกเขาคือการเข้าใจพื้นฐานการถ่ายภาพ ภาพไม่ใช่ชิ้นส่วนของรูปภาพกระดาษแต่เกิดจากผลของชิ้นส่วนเล็กๆ จำนวนหลายพันมารวมเข้าด้วยกัน การเข้าใจในความแตกต่างของชิ้นส่วนนั้น และการใช้มันอย่างไรเพื่อให้ภาพที่ดีกว่าคือจุดวิกฤตของความสำเร็จในการเป็นช่างภาพ หนึ่งของจุดวิกฤตของการถ่ายภาพคือ การจัดองค์ประกอบภาพ
(ดูภาพในเว็ปไซต์ต้นฉบับเพื่อประกอบคำบรรยาย....“A Break In The Clouds” captured by Dave Murray (Click image to see more from Murray.)

ความหมายของการวางองค์ประกอบภาพ

ทำให้ง่ายเข้าไว้...การวางองค์ประกอบภาพคือหนทางในการวางตัวแบบในภาพของคุณที่มีความสัมพันธ์กับอีกตัวแบบหนึ่ง คุณสามารถคิดถึงสิ่งนี้เป็นเรื่องแรกว่าที่ซึ่งแต่ละตัวแบบที่ปรากฎขึ้นในภาพ อย่างไรก็ตาม การวางองค์ประกอบภาพสามารถขยายความไปถึงเรื่องอื่น เช่น การโฟกัส ความชัดตื้นชัดลึก และการซูม
(ดูภาพในเว็ปไซต์ต้นฉบับเพื่อประกอบคำบรรยาย...“What?” captured by Jeff Tebbutt (Click image to see more from Tebbutt.)

สิ่งสำคัญ...ภาพถ่ายที่มีการวางองค์ประกอบภาพที่ดีเยี่ยมจะเล่าเรื่องราวได้ชัดเจน ขณะที่ภาพที่มีการวางองค์ประกอบภาพที่แย่คือการมองเห็นภาพที่น่าเบื่อหรือไม่มีสิ่งไหนน่าสนใจเลย
ส่วนประกอบของการวางองค์ประกอบภาพ
มีกฎของการวางองค์ประกอบภาพสองสามอย่างที่เป็นประโยชน์ หนึ่งคือ การเรียนรู้ สิ่งมหัศจรรย์ด้านบวกที่มีผลในธรรมชาติของการถ่ายภาพ ขณะที่กฎเหล่านี้ไม่มีความหมายในรูปธรรม และในการแหกกฎคือสิ่งที่น่าสนุกมากกว่าทำตามกฎเหล่านั้น พวกกฎเหล่านี้น่าจะช่วยในเรื่องของการเข้าใจพื้นฐานของการวางองค์ประกอบภาพที่มีผลกระทบในการถ่ายภาพของคุณ

กฎสามส่วน

กฎสามส่วนเป็นพื้นฐานของงานศิลปะซึ่งธรรมชาติของมนุษย์มีแนวโน้มในการมองไปที่จุดของภาพที่ตกอยู่ในช่วงสองส่วนสามจากบนลงล่าง ถ้ารูปภาพของคุณถูกแบ่งออกเป็นเก้าส่วนเท่าๆกัน คุณต้องให้ตัวแบบของคุณวางอยู่ใกล้เส้นหนึ่งที่ตัดกันเท่าที่เป็นไปได้ เมื่อไรก็ตามที่คุณถ่ายภาพ ให้จินตนาการเส้นที่ตัดไปมาในกรอบภาพและพยายามและวางเส้นที่จะถ่ายภาพตามที่ได้บอกไว้ (ภาพแนวนอนจะให้ผลดีที่สุด)
(ดูภาพในเว็ปไซต์ต้นฉบับเพื่อประกอบคำบรรยาย..“Daylight on Loch Earn” captured by Dave Murray (Click image to see more from Murray.)

ความสมดุลของภาพ

นี้ไม่ใช่กฎอย่างเป็นทางการ มันยังคงเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ที่เก็บไว้ในใจเมื่อกำลังถ่ายภาพ ตำแหน่งของตัวแบบของคุณไม่ได้อยู่กลางภาพและใช้กฎสามส่วน แต่ต้องระมัดระวังว่าต้องไม่เปิดพื้นที่โดยไม่ตั้งใจมากเกินไปรอบๆ ตัวแบบ พยายามทำให้สมดุลในส่วนที่สำคัญของภาพกับส่วนที่ไม่สำคัญเหมือนกับตัวแบบวิ่งไปยังจุดหมายปลายทางแทนที่จะเป็นเพียงภาพของตัวแบบ
(ดูภาพในเว็ปไซต์ต้นฉบับเพื่อประกอบคำบรรยาย..“Iceland 2014″ captured by Clifford Briggin (Click image to see more from Briggin.)

พลังของเส้น

มีบางสิ่งที่เป็นลวดลายของเส้นในธรรมชาติที่นำสายตาของเรา ในความคิดของเราตามธรรมชาติจะมองตามลวดลายของเส้น คุณสามารถใช้สิ่งนี้เป็นข้อดีในการถ่ายภาพของคุณ เมื่อคุณกำลังถ่ายภาพที่มีเส้นเป็นตัวนำลองค้นหาเส้นในภาพของคุณและถามตัวคุณเองว่า เส้นเหล่านี้จะนำไปถึงส่วนที่สำคัญของภาพหรือไม่ ถ้าเส้นไม่ได้นำไปในส่วนนั้นสายตาของผู้ชมภาพจะวิ่งตามเส้นไปถึงสิ่งที่ไม่พึงพอใจซึ่งเส้นนั้นไม่ได้นำไปไหนเลย
(ดูภาพในเว็ปไซต์ต้นฉบับเพื่อประกอบคำบรรยาย..“Arches” captured by Mark Duncan (Click image to see more from Duncan.)
พลังของการตัดส่วนภาพ
บางครั้งอะไรที่เราตัดออกจากภาพของเราก็มีความสำคัญเท่ากับสิ่งที่เราปล่อยมันเอาไว้ในภาพ คุณจะต้องตัดส่วนภาพในความคิดของคุณทุกๆ ครั้งที่คุณวางกล้องบนเส้นแบ่งสำหรับการถ่าย ให้กำจัดสิ่งที่พิเศษที่ดึงความสนใจออกจากตัวแบบและใส่สิ่งที่คุณต้องการให้อยู่ภาพแทน คุณสามารถแก้ไขการตัดส่วนภาพที่แย่ได้กับตัวซอฟท์แวร์ แต่ถ้าให้ดีกว่านั้นคุณควรจะพัฒนาการตัดส่วนภาพตั้งแต่ตอนคุณถ่ายภาพเลย

การวางองค์ประกอบภาพคือหนึ่งในองค์ประกอบการถ่ายภาพที่ใช้เวลาหลายปีที่จะเรียนรู้ การวางองค์ประกอบภาพคือการรวมเอาความแตกต่างขององค์ประกอบหลายอย่างเข้าด้วยกัน มันจะแสดงถึงความท้าทายที่มั่นคงกับความรู้ของช่างภาพส่วนใหญ่ การทำตามกฎพื้นฐานจนกระทั่งคุณเข้าใจว่าพวกมันทำงานอย่างไรดังนั้นมันทำให้คุณเองเริ่มที่จะแหกกฎ
75
 การเข้าใจในเรื่องชัดตื้นชัดลึกสำหรับมือใหม่

โพสโดย Bruce Wunderlich แปลโดย Topstep07

เว็ปไซต์ต้นฉบับเพื่อดูภาพประกอบคำบรรยาย

http://digital-photography-school.com/understanding-depth-…/

คุณอาจจะเคยได้ยินเกี่ยวกับการชัดตื้นชัดลึก (DoF)มาบ้าง แต่ถ้าคุณเพิ่งถ่ายรูปใหม่ๆ คุณอาจจะไม่ได้ใช้ข้อดีของชัดตื้นชัดลึกว่าช่วยเพิ่มให้ภาพของคุณดีขึ้นอย่างไร ความหมายพื้นฐานของชัดตื้นชัดลึกคือ บริเวณของส่วนที่มีความคมชัดในภาพที่อยู่ในโฟกัส ในทุกๆภาพถ่ายมันมีพื้นที่แน่นอนในภาพของคุณที่อยู่ด้านหน้า และด้านหลังของตัวแบบที่ปรากฎในการโฟกัส พื้นที่นี้จะผันแปลจากภาพสู่ภาพ บางภาพอาจจะมีพื้นที่เล็กของการโฟกัสซึ่งจะเรียกว่า ชัดตื้น อีกแบบหนึ่งคือมีพื้นที่กว้างในการโฟกัสซึ่งจะเรียกว่า ชัดลึก องค์ประกอบสามส่วนหลักๆที่จะมีผลในการควบคุมชัดตื้นชัดลึกในภาพของคุณคือ รูรับแสง (f-stop) ระยะทางจากตัวแบบถึงตัวกล้อง และระยะทางความยาวของเลนส์ที่อยู่กับกล้อง นี้คือคำอธิบายและคำตอบที่จะตอบคำถามทั่วๆไป เกี่ยวกับการชัดตื้นชัดลึก

รูรับแสงควบคุมการชัดตื้นชัดลึกอย่างไร?

รูรับแสงจะหมายถึงการยอมให้แสงผ่านจากเลนส์เข้าไปถึงตัวเซนเซอร์ของกล้อง ขนาดของรูรับแสงของคุณ (ช่องที่เกิดจากแผ่นเปิดรับแสงที่แสงผ่านเข้ามาในกล้อง) ควบคุมปริมาณของแสงที่วิ่งผ่านเลนส์เข้ามา การใช้รูรับแสง (f-stop) ของเลนส์คือทางที่ง่ายที่สุดในการควบคุมชัดตื้นชัดลึกของคุณในการถ่ายภาพ
รูรับแสงกว้าง เท่ากับ ค่าตัวเลข f น้อย เท่ากับ ชัดตื้น (พื้นที่คมชัดแคบ)
รูรับแสงแคบ เท่ากับ ค่าตัวเลข f มาก เท่ากับ ชัดลึก (พื้นที่คมชัดกว้าง)
มันจะมีวิธีที่ง่ายกว่าในการจำสิ่งเหล่านี้ ตัวเลขยิ่งน้อยของค่า f เท่ากับชัดตื้น ในอีกทางหนึ่ง ค่าตัวเลขมากของค่า f เท่ากับชัดลึกกว่า ตัวอย่างเช่น การใช้ f/2.8 จะให้ความชัดตื้นขณะที่ f/11 จะให้การชัดลึก
(ดูภาพประกอบคำบรรยายในเว็ปไซต์ต้นฉบับ)
ภาพทางด้านซ้ายถ่ายด้วยความเร็วชัตเตอร์ 250 ต่อวินาที ที่ค่า f/5.0 ซึ่งผลของมันคือชัดตื้น เนื่องจากว่าตัวฉากหลังไม่ได้อยู่ในโฟกัสจึงทำให้ตัวแบบโดดเด่นขึ้นมา ภาพทางด้านขวาถ่ายที่ความเร็ว 1/5 วินาที ที่ f/32 ซึ่งทำให้เกิดชัดลึก และฉากหลังก็ชัดด้วย

ระยะทางควบคุมการชัดตื้นชัดลึกอย่างไร?

ยิ่งใกล้ตัวแบบมากเท่าไร ชัดตื้นก็จะมีมากเท่านั้น ในทางกลับกันการออกห่างจากตัวแบบจะทำให้เกิดการชัดลึก

ระยะช่วงความยาวของเลนส์ควบคุมการชัดตื้นชัดลึกอย่างไร?

ระยะช่วงความยาวหมายถึง ความสามารถของเลนส์ที่จะขยายภาพตัวแบบ สิ่งนี้สามารถสร้างความสลับสับซ้อน แต่คำตอบง่ายๆคือ ยิ่งระยะทางยาวในการตั้งค่าระยะของเลนส์ก็จะได้ชัดตื้น ตัวอย่างเช่น ถ้าตัวแบบของคุณอยู่ที่ระยะ 10 เมตร (33 ฟุต) การใช้เลนส์ที่มีระยะทางยาว 50mm ที่ f/4 ค่าความชัดตื้นชัดลึกจะอยู่ในช่วง 7.5-14.7เมตร 24.6 – 48 ฟุต)สำหรับค่าชัดตื้นชัดลึกด้วยรวมคือ 7.2 เมตร (23.6 ฟุต) ถ้าคุณซูมเข้ามาที่ 100mm จากจุดเดียวกัน ชัดตื้นชัดลึกก็จะเปลี่ยนเป็น 9.2-10.9 เมตร (30.1 – 35.8 ฟุต) โดยมีค่าชัดตื้นชัดลึกรวมคือ 1.7เมตร (5.7 ฟุต) แต่ถ้าคุณเปลี่ยนระยะตัวแบบเป็น 20 เมตร (66 ฟุต)โดยใช้เลนส์ 100mm ค่าความชัดตื้นชัดลึกจะเหมือนกันกับที่ 10 เมตรโดยใช้เลนส์ 50mm
(ดูภาพประกอบคำบรรยายในเว็ปไซต์ต้นฉบับ)
ภาพนี้คือหงส์ที่ซ้อนอยู่ในพุ่มไม้สูงโดยถ่ายภาพจากระยะ 5 เมตร ( 16 ฟุต) กับเลนส์ช่วงระยะ 300mm การผสมผสานกันของระยะช่วงของเลนส์และระยะทางตัวแบบทำให้สร้างความชัดตื้นชัดลึกอยู่ที่ค่าประมาณ 5 เซ็นติเมตร ( 2 นิ้ว)

แล้วอะไรคือค่าที่ผมต้องตั้งกับกล้องเล็งแล้วถ่าย หรือไม่รู้ว่าจะต้องเปลี่ยนการตั้งค่าอย่างไร?

ไม่ว่าจะเป็นกล้องเล็งแล้วถ่าย มันก็มีทางในการควบคุมชัดตื้นชัดลึก ในโหมด Scene บนเมนู ลองค้นหาสัญญลักษณ์ที่เป็นรูปศีรษะคนซึ่งการตั้งค่าถ่ายภาพบุคคลนั่นเอง ตัวเลือกนี้จะให้ความชัดตื้น ในเมนูเดียวกันถ้ามีรูปสัญญลักษณ์ภูเขาซึ่งเป็นการตั้งค่าถ่ายพวกวิวทิวทัศน์มันจะให้ความชัดลึก
ถ้าคุณเป็นผู้เริ่มต้นกับกล้อง DSLR มันมีวิธีง่ายในการควบคุมชัดตื้นชัดลึกและยังคงใช้การถ่ายแบบโหมดอัตโนมัติด้วย โดยการเลือกโหมดรูรับแสง (โหมด A หรือ Av) ซึ่งทำให้คุณสามารถตั้งค่ารูรับแสงเองเพื่อให้ได้ชัดตื้นชัดลึกตามที่ต้องการ และกล้องจะตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์ให้เองโดยอัตโนมัติ

ผมสามารถตั้งค่าชัดตื้นชัดลึกที่แน่นอนสำหรับแต่ละสถานการณ์ได้ไหม?

ได้...แต่เพราะการเปลี่ยนค่ารูรับแสงมีผลกับความเร็วชัตเตอร์ ผลที่ได้อาจจะไม่ตอบตามความต้องการในภาพที่คุณอยากได้ สำหรับบางกรณี ถ้าคุณพยายามจะเพิ่มการชัดตื้นชัดลึกของคุณโดยการลดขนาดของรูรับแสงซึ่งมันต้องการค่าความเร็วชัตเตอร์ที่เพิ่มขึ้น (ช้าลง) โดยมีผลทำให้ภาพเบลอ การเข้าใจในการตั้งค่าใช้งานร่วมกันสามารถเพิ่มการควบคุมชัดตื้นชัดลึกได้

ชัดตื้นชัดลึกจะให้การขยายที่เท่ากันในด้านหน้าและด้านหลังของจุดโฟกัสหรือเปล่า

ไม่...มันมีค่าประมาณ 1 ใน 3 ของด้านหน้าและ 2 ใน 3 ด้านหลังในจุดโฟกัส แต่ถ้าระยะทางความยาวของจุดโฟกัสเพิ่มขึ้นมันจะทำให้เท่ากันได้

การเข้าใจเกี่ยวกับชัดตื้นชัดลึกอย่างไรที่พัฒนาภาพถ่ายของผมได้?

การจัดการชัดตื้นชัดลึกคือหนึ่งในเครื่องมือที่สำคัญ เพราะว่าการมีภาพที่คมชัดคือสิ่งที่สำคัญสิ่งหนึ่งในการได้ภาพถ่ายที่ดีเยี่ยม การรู้ว่าจะทำอย่างไรให้ส่วนของภาพที่คุณต้องการคมชัดและบางส่วนไม่อยู่ในโฟกัสคือเครื่องมือศิลปะชั้นดีในการสร้างที่ดีเยี่ยม การได้ชัดตื้นชัดลึกที่ถูกต้องสำหรับการถ่ายสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้

เมื่อไรที่ผมควรจะใช้การชัดตื้น?

การใช้ชัดตื้นคือหนทางที่ดีที่ทำให้ตัวแบบแยกออกจากฉากหลังและมันจะดีเยี่ยมสำหรับการถ่ายภาพบุคคล ชัดตื้นสามารถใช้ประโยชน์ได้กับการถ่ายภาพชีวิตสัตว์ป่าที่ซึ่งคุณต้องการให้ตัวแบบยืนโดดเด่นจากสิ่งที่อยู่แวดลอ้ม นี้คือประโยชน์สำหรับภาพชีวิตสัตว์ป่ามากมายที่อยู่ในสภาพแสงน้อย และการเพิ่มขนาดรูรับแสงจะให้ได้แสงมากขึ้น การชัดตื้นยังมีผลกับการถ่ายภาพกีฬาโดยที่หลายครั้งคุณต้องการแยกตัวนักกีฬาออกจากฉากหลังเพื่อดึงความสนใจของนักกีฬา ผลที่ได้ของสิ่งนี้ควรจะช่วยให้คุณมีความเร็วเพียงพอที่หยุดนิ่งท่าทางของนักกีฬา
(ดูภาพประกอบคำบรรยายในเว็ปไซต์ต้นฉบับ)
ภาพนี้ถ่ายด้วยเลนส์ช่วงระยะความยาว 300mm ที่ f/5.6 ทำให้ได้ภาพที่มีความชัดตื้นมาก เนื่องด้วยสิ่งนี้ มันมีความสำคัญที่จะตั้งจุดโฟกัสไปที่ดวงตาของแบบ สังเกตว่านกดูโดดเด่นจากฉากหลัง
เมื่อไรที่ผมควรใช้การชัดลึก?
ในการถ่ายภาพวิวทิวทัศน์ มันสำคัญในการที่จะได้ภาพวิวอยู่ในโฟกัสเท่าที่เป็นไปได้ โดยการใช้เลนส์มุมกว้างและใช้ค่ารูรับแสงแคบๆ เพื่อให้มันสามารถได้ค่าชัดลึกที่สุดและสิ่งที่อยู่ในภาพอยู่ในโฟกัส
(ดูภาพประกอบคำบรรยายในเว็ปไซต์ต้นฉบับ)
ภาพวิวทิวทัศน์นี้ถ่ายด้วยเลนส์ 50mm f/16 จุดโฟกัสที่ระยะ 8 เมตร ซึ่งทำให้ทุกๆ สิ่งที่อยู่ในระยะ 4 เมตรจนถึงจุดอินฟินิตี้อยู่ในโฟกัส
คุณสามารถกำหนดชัดตื้นชัดลึกได้อย่างไร?
มีหลายเว็ปไซต์ที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับผังชัดตื้นชัดลึกสำหรับกล้องและเลนส์ของคุณ ยังมีโปรแกรมอีกหลายตัวสำหรับเครื่องมือถือของผู้ใช้งานในการใช้คำนวณค่าชัดตื้นชัดลึกขณะที่คุณออกไปถ่ายภาพอีกด้วย กล้องส่วนใหญ่มี ปุ่ม DoF ให้ดูก่อนซึ่งคุณจะมองเห็นโดยผ่านช่องมองภาพ (นี้คือขั้นตอนที่ง่ายที่สุด) การใช้ปุ่มนี้อาจทำให้ภาพที่คุณมองเห็นมืดๆเมื่อคุณมองผ่านช่องมองภาพ แต่ไม่ต้องกังวลภาพถ่ายของคุณจะมีการตั้งค่ารับแสงไว้นานเท่ากับสิ่งที่คุณตั้งไว้อย่างถูกต้อง
เราสามารถปรับค่าชัดตื้นชัดลึกเพื่อให้ทุกๆสิ่งอยู่ในโฟกัสได้ไหม?
ได้...ใช้สิ่งที่เรียกว่า ระยะทางของ Hyperfocal เมื่อคุณโฟกัสไปที่จุด Hyperfocal การชัดตื้นชัดลึกของคุณจะขยายจากครึ่งของระยะทางที่จุดโฟกัสไปยังจุดอินฟินิตี้ ใช้ตัวคำนวณ DOF เพื่อหาระยะทาง hyperfocal ของคุณ ถ้าคุณไม่มีเครื่องคำนวณ DoF ให้ใช้กฎทั่วไปคือการโฟกัสหนึ่งในสามของภาพ ใช้ค่ารูรับแสงที่ f/11 หรือสูงกว่ากับเลนส์มุมกว้างเพื่อจะได้ค่าชัดตื้นชัดลึกมากที่สุด

อะไรคือชัดตื้นชัดลึกในการถ่ายภาพมาโคร?

เพราะว่าภาพมาโครส่วนใหญ่จะถ่ายในสภาพแสงน้อยกับความยาวโฟกัสที่ยาวกว่า ค่าชัดตื้นชัดลึกจึงตื้นกว่า ปรับเลนส์ของคุณให้ใช้ค่ารูรับแสงที่เล็กกว่าเพื่อให้แสงเข้ามามาก มันอาจจะจำเป็นที่ต้องเพิ่มค่า ISO ของคุณเพื่อให้ได้ค่ารับแสงที่ถูกต้องของภาพและมีค่าชัดตื้นชัดลึกที่มากสุด แน่นอน ภาพถ่ายมาโครมากมาย ค่าชัดตื้นชัดลึกของคุณอาจจะปรับทุกๆ นาที กับการโฟกัสที่แคบมันจึงมีความจำเป็นต้องใช้ขาตั้งกล้อง เพราะถ้ามันเคลื่อนที่เพียงเล็กน้อยของกล้องจะทำให้ตัวแบบมาโครของคุณหลุดออกจากชัดตื้นชัดลึกทันที
(ดูภาพประกอบคำบรรยายในเว็ปไซต์ต้นฉบับ....ภาพมาโครนี้ใช้ 120mm ที่ f/8 ซึ่งให้ความชัดตื้นมาก)

อะไรคือโบเก้?

โบเก้ มาจากคำภาษาญี่ปุ่นหมายถึง เบลอ ผลของมันเกิดจากสิ่งที่ไม่ได้อยู่ในโฟกัสในภาพของคุณซึ่งเกินกว่าค่าชัดตื้นชัดลึก โบเก้โดยทั่วไปยังอ้างถึง รูปทรงกลมเนื่องจากรูปทรงของรูรับแสงของเลนส์ โดยส่วนมากการสร้างโบเก้เมื่อมีการถ่ายกับการเปิดรูรับแสงที่กว้าง เช่น f/2.8 โบเก้ยังสามารถสร้างได้กับรูรับแสงที่เล็กกว่าถ้าระยะของฉากหลังห่างเพียงพอ
(ดูภาพประกอบคำบรรยายในเว็ปไซต์ต้นฉบับ....โบเก้ในภาพนี้สามารถสร้างโดยใช้ระยะทางของตัวแบบกับฉากหลังซึ่งตกเกินระยะชัดตื้นชัดลึกที่ดี)

สรุปการควบคุมชัดตื้นชัดลึก

การเพิ่มชัดตื้นชัดลึกใช้รูรับแสงที่แคบ (เลข f ที่ใหญ่กว่า)อยู่ให้ห่างจากตัวแบบระยะโฟกัสที่สั้นการลดชัดตื้นชัดลึกใช้ค่ารูรับแสงที่กว้าง (เลข f ที่น้อยกว่า)อยู่ให้ใกล้ตัวแบบระยะโฟกัสที่ยาว
การควบคุมชัดตื้นชัดลึกของคุณโดยการเข้าใจว่าการปรับการควบคุมมันอย่างไรของคุณที่ทำให้ภาพถ่ายของคุณพัฒนาขึ้น คำถามอะไรก็ตามเกี่ยวกับชัดตื้นชัดลึกที่คุณมีอยู่ โปรดแบ่งปันภาพของคุณและข้อแนะนำเข้ามาได้
76
เจ็ดคำแนะนำสำหรับผู้เริ่มต้นกับภาพที่คมชัด
โพสโดย Wayne Turner แปลโดย Topstep07
เว็ปไซต์ต้นฉบับเพื่อดูภาพประกอบคำบรรยาย
http://www.picturecorrect.com/tips/tips-for-sharper-photos/
Scott Kelby ผู้เขียนหนังสือเกี่ยวกับการถ่ายภาพดิจิตอลมากมายได้พูดไว้ว่า “ถ้าภาพของคุณไม่คมชัดส่วนที่เหลือก็ไม่น่าสนใจ” กุญแจสำคัญของทุกๆภาพคือความคมชัด และเพื่อที่จะได้ภาพเหล่านั้นที่มีความคมชัดคุณต้องการคำแนะนำขั้นตอนพื้นฐาน
(ดูภาพตัวอย่าง....“BURN” captured by Michael Moody (Click Image to Find Photographer)
ไม่มีอะไรจะแย่ไปกว่าการได้มองภาพถ่ายบุคคลและเห็นว่าดวงตาไม่ได้อยู่ในโฟกัสกับความคมของจมูกที่สมบูรณ์แบบ  ดวงตาคือหน้าต่างของดวงใจและความคมชัดของดวงตาเป็นจุดที่ดูดีที่สุดในภาพ บางครั้งเมื่อคุณต้องการให้ภาพหลุดโฟกัส หรือบางส่วนของภาพหลุดโฟกัสแต่ส่วนใหญ่แล้วเราต้องการความชัดเจนของภาพ นี้คือขั้นตอนสำหรับภาพที่คมชัด
1. จุดเริ่มต้นของความคมชัดกับขาตั้งกล้อง
ช่างภาพมืออาชีพทุกๆ คน และผู้เริ่มต้นใหม่หลายๆ คน จะบอกคุณว่าขาตั้งเป็นส่วนสำคัญของอุปกรณ์ถ้าคุณต้องการให้ภาพคมชัด แน่นอนมันเป็นไปไม่ได้ที่จะใช้มันตลอด แต่เมื่อคุณมีโอกาสใช้มันซะ มันทำให้กล้องของคุณมั่นคงและหยุดการสั่นไหวจากมือที่ไม่นิ่ง ขาตั้งกล้องที่ดีก็ต้องแลกมาด้วยราคาที่แพงแต่มันคือส่วนหนึ่งของขั้นพื้นฐานที่ทำให้ภาพคมชัด ช่างภาพหลายคนเลือกใช้ขาตั้งเล็กที่คล่องตัวสามารถเก็บและทำงานได้ง่ายในสถานการณ์ต่างๆ
2. สายลั่นชัตเตอร์หรือตัวรีโมทชัตเตอร์


อย่ากดปุ่มชัตเตอร์ ใช้สายลั่นชัตเตอร์แทน...สายลั่นชัตเตอร์คือสายที่เชื่อมต่อกับตัวกล้อง การกดปุ่มจากสายลั่นชัตเตอร์ทำให้ขยับจากมือของคุณบนกล้องไม่เกิดขึ้น ในทำนองเดียวกันกับการลั่นชัตเตอร์แบบไร้สาย
3. การตั้งเวลาถ่ายภาพ
ถ้าคุณลืมเอาสายลั่นชัตเตอร์หรือตัวกล้องคอมแพคของคุณไม่สามารถใช้สายลั่นได้ ใช้การตั้งเวลาถ่ายภาพ ทุกๆกล้อง รวมถึงกล้องคอมแพคจะมีฟังก์ชั่นการตั้งเวลาถ่ายภาพ แม้ว่าคุณยังคงต้องกดปุ่มชัตเตอร์แต่เป็นช่วงเวลาหน่วง 2 ถึง 10 วินาทีซึ่งเพียงพอที่ทำให้การสั่นของกล้องลดลงก่อนที่จะเริ่มกดชัตเตอร์ ดังนั้นคุณควรจะกดปุ่มชัตเตอร์ด้วยความนุ่มนวลเพื่อขจัดการสั่นไหวของกล้อง
(ดูภาพต้นฉบับประกอบคำบรรยาย....“Surfers Paradise, Gold Coast” captured by Drew Hopper (Click Image to Find Photographer)
4.  การใช้ Mirror lock up
จุดเด่นนี้จะมีเพียงคนที่เป็นเจ้าของกล้อง DSLR เมื่อปุ่มชัตเตอร์ถูกกดลง ตัวกระจก mirror ซึ่งอยู่ระหว่างตัวเซนเซอร์กล้องและช่องมองภาพจะยกขึ้นเพื่อยอมให้แสงผ่านและตกไปบนเซนเซอร์ การเคลื่อนไหวเพียงเสี้ยววินาทีก็มีผลกับภาพสุดท้ายของคุณดังนั้นผู้ผลิตจึงได้เพิ่มตัว mirror lock up มันจะล๊อคตัว mirror ในตำแหน่งซึ่งคุณสามารถจัดองค์ประกอบภาพได้ แม้ว่าคุณไม่สามารถมองเห็นภาพผ่านช่องมองภาพได้มันป้องกันการสั่นไหวที่มีผลกับภาพของคุณ ใช้มันถ้าคุณคลั่งไคล้ในความคมชัด
5. ใช้ความคมที่สุดของเลนส์จากค่ารูรับแสงที่ดีที่สุด
ทุกๆ เลนส์จะมีจุด sweet spot พวกมันจะคมที่สุดที่ค่ารูรับแสงนี้ สองสต๊อปที่ต่ำกว่าการเปิดกว้างสุด แย่นิดหนึ่งที่วิธีการนี้ใช้ได้เฉพาะกล้อง DSLR คุณสามารถที่จะบอกได้โดยการมองดูที่รูปถ่ายของคุณและค้นหาว่าภาพไหนมีความคมชัดที่สุด ลองตรวจสอบข้อมูลใน EXIF โดยคลิ๊กขวาที่ภาพของคุณบนเครื่องคอมพิวเตอร์และดูว่าค่ารูรับแสงอะไรที่ได้ใช้ถ่ายภาพนั้น ดังนั้นให้ถ่ายที่ค่ารูรับแสงนั้นเมื่อไรก็ตามที่คุณสามารถใช้มันได้
6. ISO
หลีกเลี่ยงการเพิ่มค่า ISO ซึ่งเหตุผลนี้จะทำให้ความคมชัดของภาพถูกลดลง ให้ใช้ขาตั้งกล้องซะ การถ่ายภาพโดยการใช้ค่า ISO สูงๆ จะเพิ่มน้อยส์ในภาพซึ่งเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ภาพขาดความคมชัด
(ดูภาพต้นฉบับประกอบคำบรรยาย.Photo captured by Lisa Jayne Roe (Click Image to Find Photographer)
7.  ปิดระบบกันสั่น
ถ้าคุณมีเลนส์หรือกล้องที่มีระบบกันสั่น หรือลดการสั่นไหว ให้ปิดมันซะ ในเลนส์จะมีมอเตอร์เล็กเพื่อทำให้ภาพคงที่แต่มันก็ทำให้ภาพขาดความคมชัดจากตัวกันสั่นด้วยเช่นกัน พวกมันจะใช้ได้ดีในสภาพแสงน้อยในสถานการณ์ที่ต้องถือกล้องถ่ายภาพเช่น งานแต่งงาน แต่เมื่อคุณใช้ขาตั้งกล้องก็ให้ปิดมันซะ
นี้เป็นเพียงแค่บางส่วนของคำแนะนำที่ทำให้ภาพคมชัด ไม่มีอันหนึ่งอันใดเพียงอันเดียวที่จะทำให้ภาพของคุณคมชัด แต่มันต้องใช้หลายๆ อย่างรวมกันที่จะช่วยพัฒนาความคมชัดของภาพคุณได้
เกี่ยวกับผู้โพสบทความนี้....Wayne Turner สอนเรื่องการถ่ายภาพมา 25 ปีและเขียนหนังสือเกี่ยวกับถ่ายภาพ 3 เล่ม เขาได้ทำเรื่องเกี่ยวกับ 21 ขั้นตอนของการถ่ายภาพที่สมบูรณ์แบบ ซึ่งเป็นโปรแกรมของการฝึกอบรมโดยการใช้เป็นตัวพื้นฐานของการศึกษา
77
ผมไม่ค่อยถนัดเรื่องนี้สักเท่าไหร่แต่อยากช่วยอยู่นะเดี๋ยวผมจะลองไปถามผู้รู้มาให้นะครับ
78
ผมว่าเรื่องพื้นฐานนี่แหล่ะครับที่เป็นเรื่องที่สำคัญและจำเป็นมากๆ ของการถ่ายภาพที่ดีครับ
79
Activity / Re: NXT: LS6 "ล่าพลุเมืองเพชร"
« Last post by Nextopia on January 07, 2016, 02:39:23 PM »
ลงภาพเอาไว้หน่อยครับ  :)
80
Activity / NXT: LS6 "ล่าพลุเมืองเพชร"
« Last post by Nextopia on January 06, 2016, 05:15:48 PM »
คุณเคยสัมผัสประสบการณ์ใช้เวลากว่าหกชั่วโมงเพื่อถ่ายภาพเพียงสิบนาทีไหม?

พลุน่ะใครๆ ก็ไปถ่ายได้ แต่จะไปถ่ายโดยที่มีผมคอยแนะนำช่วยเหลืออยู่ข้างๆ ก็มีแต่รอบนี้เท่านั้นแหละครับ

พลุแห่งงาน "พระนครคีรี ของดีเมืองเพชร" นั้นว่ากันว่าเป็นพลุปราบเซียนเพราะมีลูกล่อลูกชนเยอะแยะมากมายในห้วงเวลาสั้นๆ งานนี้ผมจะไปกำกับและเผยเทคนิคที่ใช้ในการถ่ายภาพพลุงานนี้ให้มันตระการตา ต้องใช้อะไร ยังไง ทำแบบไหน ฯลฯ ผมจะบอกคุณให้หมดเท่าที่คุณจะรับไหว ซึ่งมันก็จะกลายเป็นวิชาและประสบการณ์ที่ติดตัวคุณไปเลยทีเดียว  :)

ต้องเตรียมตัวยังไง? ต้องใช้อุปกรณ์อย่างไร? ต้องไปตรงไหน? ต้องพิจารณาอะไรบ้าง? วิธีถ่ายภาพทำยังไง? ฯลฯ รับรองว่าบอกหมดครับ ทั้งก่อนงานและหน้างาน หลังจากที่สมัครเข้ามาเรียบร้อยแล้วผมจะพาคุณเข้ากลุ่มใน Facebook เพื่อการเตรียมตัวสำหรับงานนี้โดยเฉพาะ เราจะไปคุยกันตรงนั้นครับ

ไปถ่ายเองกับไปกับผมนี่ขอบอกว่าประสบการณ์มันจะต่างกันมากครับ ไม่ได้ขี้คุย แต่คุณต้องได้ภาพแจ๋วๆ กลับมา ...ยืนยัน!

...ประสบการณ์และความรู้ที่ได้รับรองว่าคุ้มค่าแน่นอน ผมจะเทรนคุณตั้งแต่ก่อนไปเลยด้วยซ้ำ เพราะผมอยากให้คุณได้ทั้งความรู้และภาพดีๆ ไม่ให้เสียชื่อทริป "NXT:LS" (Learning by Shooting) ของเราแน่

ครั้งนี้มีสองรอบครับ :

- รอบที่หนึ่ง เสาร์ที่ 20 กพ. 2559
- รอบที่สอง อาทิตย์ที่ 21 กพ. 2559

เราจะออกเดินทางจาก กทม. กันในเวลา 12:00
กินข้าวรอบบ่ายประมาณ 15:00
จากนั้นเราจะเข้าจองตำแหน่งถ่ายภาพกันเลย
ถ่ายพลุประมาณ 21:00
กลับถึง กทม. ประมาณ 23:00

ขอบอกเอาไว้เลยครับว่าไปกับผมนี่คุณต้องลุยหน่อย อึดหน่อย ถ้าอยากได้ภาพดีๆ เพราะที่สบายๆ น่ะคนเค้าไปถ่ายภาพกันหมดแล้ว จริงไหมล่ะ?
คุณต้องอดทนรอคอยได้ นั่งกลางดินกินกลางทรายได้ ไม่ได้เข้าห้องน้ำเลย 5-6 ชั่วโมงเพื่อวัตถุประสงค์แห่งการรอคอยถ่ายภาพเด็ด คุณต้องทำได้

เดินขึ้นเขานิดหน่อยเพื่อมุมภาพเด็ด คุณก็ต้องทำได้...นี่ไม่ใช่การไปเที่ยวนะครับ มันคือการไปเรียนรู้เรื่องถ่ายภาพแบบ "เอาจริง" ...อย่าลืม

อัพเดท! ไม่มีการเดินขึ้นเขาให้เหนื่อยแล้วครับ เราจะถ่ายภาพกันบนพื้นราบที่ไม่ต้องเดินไกลแล้วนะ

อย่างไรก็ตาม...ผมก็ขู่ไปงั้นแหละ  ;D  ครั้งนี้ก็ไม่ได้ลำบากลำบนมากมายครับ เกณฑ์มาตรฐานทั่วไปพอได้กับบรรยากาศการถ่ายภาพแบบมืออาชีพจริงๆ เค้าทำงานกัน

• สิ่งที่ต้องเตรียมไป

- กล้อง
- เลนส์ ผมแนะนำเป็นช่วงสัก 100mm - 150mm ครับ จะกำลังดีสำหรับกล้อง FF ส่วนตัวคูณก็ประมาณเดียวกัน
- ขาตั้งกล้อง
- สายลั่นชัตเตอร์ ถ้าไม่มีก็ไม่เป็นไร แต่มีก็จะดีมากถึงมากที่สุด


ชำระค่าทริป :

ราคารอบละ 2,000 บาท/ที่นั่ง

คุณอาจจะรู้สึกว่าแพงสำหรับการไปถ่ายพลุ แต่นี่คือ "คอร์ส" เรียนถ่ายภาพครับ ไม่ใช่พาไปปล่อยแล้วต่างคนต่างถ่ายตัวใครตัวมัน มันคือค่าวิชานั่นแหละครับ และอีกอย่างหนึ่งคุณก็จะได้สนับสนุนให้ผมได้มีแรงเดินต่อไปในเส้นทางสายเผยแพร่ความรู้ในกรอบสี่เหลี่ยมนี้ด้วย ...ได้บุญนะขอบอก  ;)

สำหรับท่านที่จะนำรถไปเอง "ไม่มีส่วนลด" นะครับ เพราะผมต้องเหมารถตู้ตามจำนวนที่นั่ง ไม่ได้ซื้อตั๋วเป็นใบๆ ถึงอย่างไรก็ต้องจ่ายค่ารถเค้าเท่าเดิมอยู่ดี เห็นใจผมด้วยนะครับ  :)

โอนเงินมาที่:

ปิยะฉัตร แกหลง
ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด สาขาถนนเชิดวุฒากาศ (ดอนเมือง)
เลขที่บัญชี : 105-272835-9


โอนแล้วส่งสลิปหลักฐานมาที่ nxt@xtemag.com เขียนชื่อ-นามสกุลพร้อมเบอร์โทรศัพท์ลงในสลิป
ระบุในเมล์ว่า "NXT/LS6" เพื่อเป็นหลักฐานยืนยันในการจองที่นั่ง

และสำคัญมากครับ กรุณาระบุรอบที่ต้องการไปด้วย แค่บอกผมว่า "รอบ 1" หรือ "รอบ 2" เท่านั้น

หรือจะส่งข้อความพร้อมสลิปมาที่ Inbox ใน FB ของผมก็ได้ครับ

รับสมัครเพียง 19 ที่นั่งต่อรอบเท่านั้น

******* ไม่รับจองด้วยวาจานะครับ โอนเงินเพื่อจองที่นั่งเท่านั้น *********

จากสถิติการจัดทริปที่ผ่านมา ปรากฏว่าที่นั่งเต็มเร็วมากครับ อย่าได้ชะล่าใจเด็ดขาด

และขอย้ำว่าให้ตัดสินใจให้ดีนะครับ อย่ากลับไปกลับมา ไม่อย่างนั้นผมจะมีปัญหาแน่ๆ โอนแล้วโอนเลยครับ พิจารณาให้ดีก่อนนะ นี่พูดกันตรงๆ ครับ :)

ผมจะลงชื่อท่านที่โอนเงินเข้ามาพร้อมส่งเมลหลักฐานยืนยันเรียบร้อยแล้วในโพสต์นี้ครับ  :)

ท่านใดใจถึงไปสองรอบนี่เดี๋ยวผมมีของพิเศษให้ครับ ;)

-----------------------------------------------------------------------------------

รอบที่ 1 : เสาร์ที่ 20 กพ. 2559 : จำนวนที่นั่งคงเหลือ : 7

1. พี่อาร์ต
2. น้องวุ้น
3. พี่ตั้ม
4. พี่อาร์ม
5. น้องทัศน์
6. พี่วี
7. พี่หมี
8. พี่เจ่า
9. พี่บี
10. พี่จัก
11. พี่ชาญ
12. พี่เอส

-----------------------------------------------------------------------------------

รอบที่ 2 : อาทิตย์ที่ 21 กพ. 2559 : จำนวนที่นั่งคงเหลือ : 1

1. พี่รัตน์
2. พี่กรม
3. พี่ฮุย
4. พี่ซาร่า
5. น้องเอ้
6. พี่เล็ก อนุสรณ์
7. พี่เป๊ก
8. พี่เปิ้ล
9. พี่นาท
10. พี่ขิง
11. น้องจ๋อมแจ๋ม
12. พี่ต้น
13. พี่มานพ
14. พี่อู๋
15. พี่บอย
16. มี่มี๊
17. พี่อ้วน
18. พี่กอล์ฟ

-----------------------------------------------------------------------------------



Pages: 1 ... 6 7 [8] 9 10