Show Posts

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - topstep07

Pages: [1] 2 3 ... 8
1
เราหาจุด Sweet Spot ของเลนส์ได้อย่างไร: คำแนะนำการทำให้ภาพคมชัดสำหรับผู้เริ่มต้น

โพสโดย Dena Haines แปลโดย Topstep07

เว็ปไซต์ต้นฉบับเพื่อดูภาพประกอบคำบรรยาย
http://digital-photography-school.com/how-to-find-your-lens-sweet-spot-a-beginners-guide-to-sharper-images/

คุณรู้สึกเหนื่อยกับภาพที่มันเบลอไหม?
มันได้เวลาที่ต้องเรียนรู้ว่าทำอย่างไรในการถ่ายภาพให้คมชัดโดยการค้นหาจุด sweet spot (จุดที่กำลังดี) นี้คือสิ่งที่เชื่อถือได้ ประหยัดเวลาและช่วยให้คุณถ่ายภาพได้ดีขึ้นกว่าเดิม
ในบทความนี้คุณจะได้เรียนถึง
•   การค้นหาจุด sweet spot ของเลนส์อย่างไร  (สำหรับทำให้ภาพคมชัด)
•   ทำไมคุณควรถ่ายภาพในโหมด Aperture Priority (และใช้มันอย่างไร)
•   ทำอย่างไรในการทดสอบให้ได้ความคมชัดที่สุดของภาพในทุกๆ ครั้ง
•   มันสำคัญอย่างไรกับ sweet spot ในเลนส์ของคุณ? สังเกตความแตกต่าง
(ดูภาพประกอบคำบรรยายในเว็ปไซต์ต้นฉบับ...ในภาพนาฬิกาด้านบนนี้ ภาพทางด้านขวามือมีความคมชัดกว่า ลองดูตัวอักษรใกล้ที่อยู่บนตัวนาฬิกา ภาพที่ถ่ายด้วยรูรับแสง f/9 คมชัดกว่าเพราะว่ามันถ่ายที่จุด sweet spot ของเลนส์ ในขณะที่รูรับแสง f/3.5 มันไม่ใช่
สิ่งแรกให้ดูที่เลนส์ของคุณ
ในคำแนะนำสำหรับผู้เริ่มต้นใหม่ เราจะใช้เลนส์ในระดับเริ่มต้นที่เป็นเลนส์ซูมเป็นตัวอย่าง เลนส์คิทส่วนใหญ่ (เลนส์พื้นฐานที่มากับกล้อง DSLR) จะถ่ายภาพได้คมชัดที่สุดที่ค่ากึ่งกลาง ของการตั้งค่ารูรับแสง การที่จะเข้าใจเรื่อง ค่ากึ่งกลางของเลนส์ คุณต้องรู้ความกว้างสุด (หรือมากที่สุด)ของรูรับแสง มันแสดงอยู่ด้านข้างของเลนส์ หรือปลายเลนส์ซึ่งมีลักษณะแบบนี้ 1:3.5-5.6
สำหรับตัวอย่าง นี้คือเลนส์ซูม Canon 18-55mm ของฉัน (ดูภาพตัวอย่างประกอบคำบรรยายในเว็ปไซต์ต้นฉบับ)
มันหมายความว่า เมื่อเลนส์ของฉันซูมออกไป ความกว้างสุดของรูรับแสงคือ f/3.5 ขณะเมื่อเลนส์ซูมเข้ามาความกว้างสุดของรูรับแสงจะเท่ากับ f/5.6
กฎของการหาค่ากึ่งกลางที่เป็นจุด sweet spot คือ ให้นับเพิ่มไปอีก 2 f-stop (นับเต็ม) (ค่ารูรับแสงถูกเรียกว่า f-stop) จากค่ารูรับแสงที่กว้างสุด ในเลนส์ของฉัน ค่ารูรับแสงกว้างสุดคือ f/3.5 ถ้านับไปอีก 2 stop จากนี้มันจะได้ค่าจุดกึ่งกลางราวๆ f/7
(ดูภาพประกอบคำบรรยายในเว็ปไซต์ต้นฉบับ...ในตารางด้านล่างนี้การนับ f-stop) ภาพโดย  Robin Parmar
มันยังมีค่าแกว่งไปมาในช่วงกึ่งกลางด้วย ดังนั้นค่าที่ได้จะอยู่ประมาณ f/7 ถึง f/10 ที่จะทำให้ภาพคมชัด เมื่อคุณได้รู้ถึงค่ากึ่งกลางของเลนส์คุณแล้ว คุณสามารถลองทดสอบอย่างง่ายๆ เพื่อให้ได้ภาพคมชัดที่สุด การทดสอบคุณจะต้องถ่ายด้วยโหมด Aperture Priority
ควบคุมโหมด Aperture Priority
การถ่ายด้วย Aperture Priority จะทำให้คุณเลือกค่ารูรับแสงที่ต้องการ ซึ่งมันช่วยให้คุณควบคุมได้ดีกว่าการใช้โหมด Automatic โดยการควบคุมค่ารูรับแสง มันง่ายมากกว่าที่ทำให้ภาพคมชัดและเพราะว่ากล้องของคุณยังคงเลือกค่า ISO (ถ้าคุณตั้งค่าใช้ Auto ISO) และความเร็วชัตเตอร์แบบอัตโนมัติ มันง่ายในการใช้งานมาก
คุณคงเคยได้ยินค่ารูรับแสงที่ f/16 และ f/22 เป็นค่าที่ดีที่สุดเพื่อให้ทุกอย่างที่ถ่ายอยู่ในโฟกัส มันอาจเป็นความจริง การโฟกัสไม่ได้ทำทุกอย่างคมชัดเท่ากัน การเลือกค่ากึ่งกลางของรูรับแสงจะให้ความชัดกว่าของภาพทั้งหมด คุณสามารถพัฒนาสิ่งเหล่านี้ได้โดยการลดอาการสั่นของกล้องโดยใช้ขาตั้งกล้องและตัวรีโมทชัตเตอร์ (หรือใช้การตั้งเวลาถ่ายในกล้องของคุณ)
นี้คือตัวอย่างการถ่ายด้วยจุด sweet spot อย่างไรที่ทำให้ภาพของคุณคมชัด
(ดูภาพประกอบคำบรรยายในเว็ปไซต์ต้นฉบับ....ในสภาพด้านบนที่แบ่งออกเป็นสองภาพ ภาพที่ถ่ายด้วยรูรับแสง f/9 มีความคมชัดมากกว่า f/22  ปลายสนและเงาไม่นุ่มหรือเบลอเท่ากับค่ารูรับแสง f/22 ( ลองดูที่ความคมและประกายของหิมะด้วย)
เปลี่ยนจากโหมด Automatic มาเป็นโหมด Aperture Priority
เพื่อให้กล้องของเราไม่ใช้โหมด Automatic และให้ปรับมาเป็นโหมด Aperture Priority แทน เพียงแค่หมุนปุ่มโหมดมาที่ Aperture Priority นี้คือหน้าตาของปุ่มโหมดบนกล้อง Canon ของฉัน (บนกล้อง Nikon หรือยี่ห้ออื่นๆ จะใช้ ตัวอักษร A) (ดูภาพประกอบคำบรรยายในเว็ปไซต์ต้นฉบับ) ตัวโหมด Automatic จะมีเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีเขียว ส่วนโหมด Aperture Priority คือคำว่า Av (หรือ A บนกล้อง Nikon) เมื่อกล้องของคุณได้ถูกตั้งเป็น Aperture Priority โหมดแล้ว ให้หมุนปุ่มเล็กกว่า (ที่แสดงอยู่ด้านบนของกล้อง Canon) เพื่อปรับเลือกค่า f-stop ของคุณ ขณะที่คุณหมุน คุณจะเห็นค่า f-number เปลี่ยนบนหน้าจอแสดงในภาพถัดไป มันถูกตั้งค่าไว้ที่ f/9.5 (ดูภาพประกอบคำบรรยายในเว็ปไซต์ต้นฉบับ)
การทดสอบจุด Sweet Spot ของเลนส์
เมื่อกล้องของคุณได้ตั้งอยู่บนขาตั้งกล้องแล้วการทดสอบจุด sweet spot ของเลนส์ ก็ใช้เวลาไม่กี่นาที เริ่มต้นโดยการปรับกล้องของคุณไปใช้โหมด Aperture Priority จากนั้นก็จัดองค์ประกอบในกาถ่ายและลองถ่ายภาพด้วยค่ารูรับแสงที่ต่างกัน เริ่มจากค่ารูรับแสงที่กว้างที่สุดและถ่าย และหมุนปรับค่าไปเรื่อย (หมุนไปทางขวา) ทำไปเรื่อยๆ จนกระทั่งได้ภาพมาสักเจ็ดหรือแปดภาพ
โหลดภาพที่ได้ของคุณลงไปที่เครื่องคอมฯ แล้วซูมภาพพวกนั้นมาดู คุณจะเห็นได้อย่างรวดเร็วเลยว่าค่ารูรับแสงไหนที่คุณใช้มันทำให้ภาพคมชัดมากที่สุดจากภาพทั้งหมด
(ดูภาพประกอบคำบรรยายในเว็ปไซต์ต้นฉบับ....ภาพถ่ายถัดไปเป็นภาพลูกสาวของฉันที่ถ่ายโดยใช้แสงธรรมชาติ ถ่ายด้วยเลนส์ของฉันที่ใช้จุด sweet spot ที่ทำให้ภาพดูสวยงามคมชัด แม้ว่าจะมีสภาพแสงที่น้อยก็ตาม
เมื่อดึงภาพรูปแก้วชาเข้ามาใกล้ๆ แสดงให้เห็นข้อดีของการถ่ายภาพด้วยจุด sweet spot เมื่อไรก็ตามที่คุณต้องการให้แน่ใจว่าคุณได้ภาพที่คมชัดที่สุดที่เป็นไปได้ ให้ถ่ายที่ค่ากึ่งกลาง f/7, f/8, f/9 และ f/10
ถ่ายภาพให้คมชัดที่สุด ....เวลานี้คุณรู้เกี่ยวกับจุด sweet spot ในเลนส์ของคุณแล้ว ตอนนี้ก็ได้เวลาฝึกฝน ฉันหวังว่าคุณจะได้ในสิ่งที่คุณชอบจากผลลัพท์ที่ได้
ฉันรักที่จะได้ด้วยแสงธรรมชาติ และเรียนรู้ว่าจะเก็บภาพให้คมชัดอย่างไรในสภาพแสงน้อยที่ทำให้มีความสุขมากในภาพถ่ายของฉัน
คำแนะนำในการถ่ายภาพให้คมชัดที่สุด:
•   ถ่ายด้วยโหมด Aperture Priority
•   เลือกค่ากึ่งกลางของค่ารูรับแสง (ประมาณ f/7 to f/10)
•   ใช้ขาตั้งกล้องและสายลั่นชัตเตอร์ (หรือตั้งเวลาถ่ายภาพในกล้องของคุณ) เพื่อลดการสั่นของกล้อง
•   ถ่ายภาพมาหลายภาพกับค่ารูรับแสงตั้งแต่ f/7 ไปถึง f/10 เมื่อการถ่ายภาพที่ต้องการความคมชัดเป็นสิ่งสำคัญ
แต่อย่าหยุดแค่นั้น ลองเล่นกับการตั้งค่า Aperture Priority ไปเรื่อยๆ มันน่าทึงมากที่ได้ภาพที่คมชัดทั่วภาพ
เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับค่ารูรับแสงและค่าชัดตื้นชัดลึก
คุณมีคำแนะนำอื่นๆ เกี่ยวกับจุด sweet spot ของเลนส์ที่อยากจะแบ่งปันอีกไหม? ถ้ามีโปรดนำมาแบ่งปันในช่องแสดงความคิดเห็นด้านล่างนี้

2
คุณใช้ Teleconverter สำหรับการถ่ายภาพนกหรือเปล่า? มีอยู่ห้าข้อสำคัญที่คุณควรพิจารณา

โพสโดย Prathap แปลโดย Topstep07

เว็ปไซต์ต้นฉบับเพื่อดูภาพประกอบคำบรรยาย
http://www.naturephotographysimplified.com/bird-photography/use-teleconverters-bird-photography-5-key-factors-consider/

แน่นอนสำหรับคำถามในหัวข้อนี้ คุณอาจตอบว่าใช่ เพราะว่า การถ่ายภาพนกที่ใหญ่กว่าคือการเข้าใกล้ ไม่ว่าเลนส์ที่มีทางยาวโฟกัสอะไรก็ตามที่คุณมีอยู่ มันไม่เคยเพียงพอต่อความต้องการ จริงไหม?
Teleconverter ส่วนต่อขยายความยาวโฟกัสที่มีอยู่ในเลนส์ของคุณให้ขยายขึ้นไปถึง 1.4 เท่า , 1.7 เท่า หรือ 2.0 เท่า ซึ่งหมายความว่า ถ้าคุณใส่ตัว 1.4x Teleconverter กับตัวเลนส์ความยาว 300mm เลนส์ฟิกส์ กับกล้องเซนเซอร์ฟลูเฟรม คุณจะได้ความยาวโฟกัสที่ 300mm คูณ 1.4 เท่ากับความยาว 420mm ถ้าคุณใส่ตัว 1.7x Teleconverter เข้าไปแทน มันจะเป็น 300mm คูณ 1.7 เท่ากับ 510mm และถ้าใช้ 2.0x Teleconverter คุณจะได้ความยาวที่ 600mm (300mm x 2.0) ตามลำดับ มันช่างน่าทึ่ง ใช่ไหมครับ? และราคาของตัว Teleconverter ก็น้อยกว่าเลนส์
สิ่งสำคัญ ถ้าคุณซื้อเลนส์ Nikon 300 f/2.8 ที่ราคา 5,000 เหรียญสหรัฐ และซื้อตัว Nikon 2.0x III teleconverter ที่ราคา 500 เหรียญสหรัฐ คุณจะได้ค่าความยาวของเลนส์ตัวนี้เป็น 600mm ที่ f/5.6 (เราจะพูดเกี่ยวกับ f-stop ทีหลัง)  รวมทั้งหมดแล้วเท่ากับราคา 5,500 เหรียญสหรัฐ
มันมีราคาที่คุ้มค่าไม่ใช่หรือ? ในขณะที่เลนส์ Nikon 600mm f/4 (รุ่นใหม่สุด) อยู่ที่ราคาราวๆ 12,000 เหรียญสหรัฐ
ไม่จริง ถ้ามันมีค่าเท่ากับ 600mm  โรงงานผลิตเลนส์คงจะไม่ใช้เงินหลายล้านเหรียญสหรัฐในการสร้างเลนส์เหล่านี้  แล้วมันดูสมเหตุผลไหมที่ต้องซื้อในราคาแพงขนาดนั้น เมื่อช่างภาพสามารถใช้เลนส์ 300mm f/2.8 บวกกับตัว 2.0x teleconverter?

และนี้คือที่มาของข้อความข้างล่างนี้ สำหรับห้าข้อสำคัญเมื่อคุณกำลังใช้ตัว teleconverter ลองมาพิจารณากันว่ามีอะไรบ้าง

ห้าข้อหลักในการพิจารณาขณะที่ใช้ teleconverter
นี้คือสิ่งที่มองดูอย่างเร็วๆ ว่าอะไรคือตัวหลักที่มีผลกับความสามารถของเลนส์เมื่อคุณใช้ teleconverter
________________________________________
1. การสูญเสียแสง
คุณจะสูญเสียแสงที่ 1 stop, 1.5 stop และ 2 stop เมื่อคุณใช้ teleconverter 1.4x, 1.7x และ 2.0x ตามลำดับ สำหรับตัวอย่างคือ เลนส์ 300mm f/2.8 ของคุณกลายเป็น 420mm f/4, 510mm f/4.5 และ 600mm f/5.6 เมื่อคุณเลือกใช้ Teleconverter 1.4x, 1.7x และ 2.0x ตามลำดับ
ถ้าคุณไม่คุ้นเคยกับคำว่า stops หรือ f-stops ผมแนะนำให้คุรอ่านบทความ Photography Basic- Aperture http://www.naturephotographysimplified.com/tips-and-tutorials/understanding-aperture-f-stops-dslr-photography-basics/  ก่อนที่อ่านบทความนี้ต่อ
นี้คือการแปลความง่ายๆ ของการสูญเสียแสงเมื่อใช้ตัว Teleconverter
300mm f/2.8 + 1.4x teleconverter = 420  mm f/4 (1-stop loss)
300mm f/2.8 + 1.7x teleconverter = 510  mm f/4.5 (1.5-stop loss)*
300mm f/2.8 + 2.0x teleconverter = 600  mm f/5.6 (2-stop loss)
* เครื่องหมายดอกจันในข้อความที่สอง....ในทางทฤษฏีแล้ว 1.5 stops จาก f/2.8 ควรเป็น f/4.8 ไม่ใช่ f/4.5  แต่ขณะที่ผู้ผลิตเลนส์ใช้ 1/3 stope เป็นค่ากลางของ f-stops เบอร์ของ f-number เราจึงได้เป็น f/4.5 ถ้ามันเป็นความจริง เราจะสูญเสียแสง 1.33 stops ผมไม่เคยลองใช้ 1.7x teleconverter ดังนั้นผมไม่สามารถทดสอบมันได้ผมแค่สมมติฐานเท่านั้นในกรณีนี้
การสูญเสียแสงสามารถทำให้ความสามารถในการออโต้โฟกัสลดลงและมีผลทำให้ความเร็วชัตเตอร์ช้าลงด้วยซึ่งจะพูดต่อในหัวข้อถัดไป
2. ความสามารถ ออโต้โฟกัสลดลง
การสูญเสียแสงมีผลกับความสามารถของออโต้โฟกัสโดยตรง จำไว้ว่าออโต้โฟกันขึ้นอยู่กับแสงที่เข้ามาที่ตรวจจับความเปรียบต่าง และการตรวจจับตัวแบบและการเคลื่อนไหว ตามลำดับ
ขึ้นอยู่กับตัว Teleconverter ที่คุณใช้ คุณอาจมีประสบการณ์เมื่อออโต้โฟกัสเคลื่อนที่ช้า สิ่งนี้เกิดขึ้นโดยเฉพาะเมื่อคุณใช้ 2.0x teleconverter และเสียไป -2-stops
นี้คือปัญหาหนักขณะที่นกเคลื่อนที่รวดเร็วซึ่งหมายถึงว่าการประสบความสำเร็จในออโต้โฟกัสให้เร็วเท่าที่เป็นไปได้เพื่อเก็บภาพที่ดีที่สุด การสูญเสียในความสามารถของออโต้โฟกัสเป็นเรื่องที่แย่มาก
Teleconverter ที่เล็กกว่าจะมีผลถึงการด้อยประสิทธิภาพที่น้อยกว่าตามไปด้วย ตัวอย่างเช่น 1.4x teleconverter ไม่ทำให้ด้อยประสิทธิภาพเหมือนกับ 2.0x teleconverter ซึ่งง่ายในการสังเกตเห็น

3. ข้อจำกัดในจุดของออโต้โฟกัส หรือไม่มีเลย
กล้องระดับ entry level ส่วนใหญ่ไม่มีความสามารถในการออโต้โฟกัสที่เกินกว่า f/5.6 ซึ่งหมายถึง ถ้าคุณใช้ตัว 2.0x teleconverter กับเลนส์ 600mm f/4 คุณไม่สามารถใช้ออโต้โฟกัสได้เลย นั้นเป็นเพราะตัว 2.0x teleconverter มีค่าสูงสุดของรูรับแสงที่ 600mm f/4 แต่กลายเป็น f/8 สมมุติว่าคุณมีกล้องกึ่งโปร หรือโปรเหมือนเช่น Nikon D5, D4, D750, D800, D7200 Canon 1DX Mark II, 5D Mark III, 7D Mark II และอื่นๆ  คุณจะมีความสามารถในการใช้ออโต้โฟกัสได้ที่ f/8 เท่านั้น
เมื่อค่าสูงสุดของรูรับแสงของเลนส์อยู่ที่ f/8 (ขึ้นอยู่กับการใช้ตัว teleconverter) คุณสามารถใช้จุดโฟกัสที่จำกัดลง บางทีเพียงแค่จุดตรงกลางของออโต้โฟกัสเท่านั้นที่ใช้งานได้เมื่อเลนส์มีค่ารูรับแสงสูงสุดที่ f/8
หมายเหตุ....อย่าสับสนกับการตั้งค่ารูรับแสงของเลนส์ที่ f/8 เมื่อเทียบกับการใช้ teleconverter ไม่ว่าคุณทำการตั้งค่าเลนส์ให้ใช้รูรับแสงที่สูงสุด หรือ ค่าต่ำสุด คุณจะต้องใช้จุดออโต้โฟกัสทั้งหมด เพราะว่าเลนส์ของคุณมันทำงานที่ค่าสูงสูดของรูรับแสงจนกระทั่งคุณปรับค่าชัตเตอร์ลง ประหลาดใจใช่ไหมว่าเป็นไปได้อย่างไร เดี๋ยวเราไปคุยต่อทีหลัง
ให้ตรวจสอบความเจ้ากันได้ของเลนส์และขอจำกัดออโต้โฟกัสในแผนผังของกล้อง Nikon และCanon
Lens + Teleconverter Combination Autofocus Compatibility Chart for Nikon. https://www.nikonusa.com/Assets/Common-Assets/Images/Teleconverter-Compatibility/EN_Comp_chart.html
Lens + Teleconverter Combination Autofocus Compatibility Chart for Canon.
http://www.wexphotographic.com/blog/canon-teleconverter-compatibility-chart

4. ความเร็วชัตเตอร์ช้าลง หรือ มีน้อยส์มากขึ้น
เมื่อเราได้พูดถึงในจุดแรกการใช้ตัว teleconverter ทำให้สูญเสียแสง การสูญเสียแสงทำให้สูญเสียค่า f-stops การสูญเสียในค่ารูรับแสงนี้สามารถชดเชยได้โดยการลดความเร็วชัตเตอร์ให้ช้าลง หรือเพิ่มค่า ISO
ลองไปอ่านเกี่ยวกับ ความเข้าใจสามเหลี่ยมการตั้งค่าแสงที่มี รูรับแสง ความเร็วชัตเตอร์ และ ISO ที่ให้ได้ค่าแสงที่เหมาะสมตามเว็ปไซต์นี้
http://www.naturephotographysimplified.com/tips-and-tutorials/understanding-exposure-aperture-shutter-speed-and-iso-photography-basics/
ขณะที่ตัวความเร็วชัตเตอร์เล่นบทบาทที่เรื่องการหยุดความเคลื่อนไหว บ่อยครั้งที่คุณไม่สามารถทำให้มันช้าลงไปกว่านี้ ดังนั้นคุณเหลือเพียงหนทางเดียวคือการเพิ่มค่า ISO การเพิ่มค่า ISO อะไรก็ตามมีผลกับน้อยซ์ ถ้าคุณใช้กล้องที่ไม่ใช่ฟูลเฟรมเซนเซอร์ (APS-C หรือ DX) ดังนั้นค่าน้อยซ์สามารถเกิดขึ้นได้มากและทำให้ภาพใช้ไม่ได้ เรียนเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเลือกตัวกล้องที่ดีที่สุดสำหรับการถ่ายภาพนกจากเว็ปไซต์นี้  http://www.naturephotographysimplified.com/bird-photography/choosing-camera-body-bird-photography/

5. ภาพที่ดูนุ่มนวล
ตัว teleconverter ทำให้ภาพดูอ่อนนุ่มมากกว่าการใช้เลนส์โดยไม่มีตัว teleconverter เป็นเพราะเนื่องจากการสูญเสียแสงเมื่อใช้ตัว teleconverter การสูญเสียแสงนำไปถึงการสูญเสียค่าเปรียบต่างซึ่งมีผลของการสูญเสียความคมชัดซึ่งเป็นผลทำให้ภาพดูนุ่มนวล
ข้อเสียนี้มีผลกระทบเมื่อใช้เลนส์ที่ให้ภาพนุ่มนวล พูดได้ว่าเมื่อคุณกำลังใช้ตัว 1.4x teleconverter กับเลนส์ 80-400mm f/4.5-5.6G เทียบกับเลนส์ฟิกซ์ เลนส์นี้ไม่มีความคมชัดเมื่อเปิดค่ารูรับแสงกว้างสุดแล้วก็ตาม เมื่อคูณกับตัว 1.4x teleconverter มันทำให้แย่ลงไปอีก ในความเป็นจริง เลนส์ซูมส่วนใหญ่มีความด้อยในเรื่องของคุณภาพและความคมชัด
ภาพที่ดูนุ่มนวลสามารถเพิ่มความนุ่มนวลได้อีกเมื่อใช้ตัว 2.0x teleconverter นั้นเป็นเพราะมันสูญเสียแสงไป 2 stop มันเป็นเรื่องน่ารำคาญและรบกวนใจสำหรับช่างภาพหลายคนที่รู้สึกผิดหวัง มันยังคงเป็นอย่างนั้น
ผมเคยใช้เลนส์ 300mm f/2.8 กับตัว 2.0x teleconverter ที่ประสบความสำเร็จ ในความจริง คุณสามารถพบภาพมากมายในหนังสือ eBook ของการถ่ายภาพนกของผมที่ผมใช้เลนส์กับตัว teleconverter ตัวนี้ร่วมกัน และนี้คือสองภาพจากสิ่งที่ผมได้พูดไป (ดูภาพประกอบคำบรรยายในเว็ปไซต์ต้นฉบับ)
________________________________________
เอาละ...เมื่อพิจารณาถึงห้ากุญแจสำคัญข้างต้นก่อนที่เริ่มใช้ตัว teleconverter ที่ดูน่ากลัว แต่พวกมันก็มีข้อดีอยู่ นี้คือข้อดีของการใช้ Teleconverter

1. ทำให้เข้าไปใกล้มากขึ้น
แน่นอน นี้คือเหตุผลที่คุณซื้อตัว teleconverter ไม่ใช่หรือ?
ช่างภาพถ่ายนกมองหาสิ่งที่ทำให้เข้าไปใกล้ได้มากๆ ถ้ามีเลนส์ขนาดทางยาวโฟกัส 200mm  ช่างภาพถ่ายนกทุกคนหลงรักมัน การเข้าไปใกล้ เข้าไปใกล้ๆ เป็นสิ่งเดียวที่นักถ่ายภาพเริ่มต้นคิดถึง พวกเขาอาจพูดว่า “ถ้าคุณให้เลนส์ที่ทางยาวโฟกัสเพียงพอกับผม ผมจะถ่ายภาพนกได้ดีที่สุดแน่นอน”  จริงหรือ? คุณแน่ใจอย่างนั้นหรือ?
Teleconverter คือสิ่งสำคัญสำหรับช่างภาพถ่ายนกที่เอาจริงเอาจัง แต่มันไม่ควรพิจารณาถึงการแทนที่ แม้ว่า เลนส์ 400mm f/2.8 กับตัว 2.0x teleconverter (เทียบกับเลนส์ 800mm f/5.6) มันไม่เหมือนกันกับเลนส์ 800mm f/5.6 ทำไมหรือ? อ่านห้าข้อกุญแจสำคัญด้านบนที่ผมเขียนไว้
ถ้าคุณได้อ่านหนังสือ eBook ของผมเรื่อง Bird Photography Simplified – A Virtual Masterclass eBook  http://www.naturephotographysimplified.com/ebook-bird-photography-simplified-ultimate-practical-guide/  คุณจะรู้ว่ามีหนทางที่แตกต่างในการถ่ายภาพนก มันมีกุญแจสู่ความสำเร็จในการถ่ายภาพนก ในความเป็นจริง มันไม่มีช่วงความยาวของเลนส์ที่เพียงพอนั้นคือความสวยงามของภาพ มันเป็นสิ่งที่ท้าทายอย่างหนึ่ง
ส่วนใหญ่คุณใช้เลนส์จริงในการถ่ายภาพ แต่บางครั้งคุณอาจทำบางสิ่งให้เป็นไปได้แต่ยังคงต้องการการเข้าใกล้ให้มากที่สุด เมื่อคุณใช้ตัว teleconverter สถานการณ์เหล่านั้นจะเรียกกลับมาอีก
ความสวยงามคือ สิ่งที่คุณตัดสินใจว่าใช้ตัว 1.4x, 1.7x หรือ 2.0x teleconverter คุณมีทางเลือก มันสำคัญมากเมื่อคุณตัดสินใจว่าคุณต้องการลดความสามารถลงไปเท่าไรที่คุณสามารถรับได้ และตามที่ผมได้พูดไว้ก่อนหน้านี้ว่า 1.4x ดีกว่า 1.7x ซึ่งมันดีกว่า 2.0x teleconverter




2. คุณจะได้ค่าความยาวโฟกัสที่แตกต่าง
ไม่ใช่แค่ได้ค่าความยาวโฟกัสที่หลากหลายจากเลนส์ตัวเดียวกัน  โดยการใช้ตัว teleconverter คุณสามารถมีค่าความแตกต่างของความยาวโฟกัสถึง 2 หรือ 3 ชนิดกับเลนส์ตัวเดียว มันเยี่ยมมาก เช่นคุณมีเลนส์ 300mm f/2.8 ซึ่งเป็นเลนส์ที่ความคมน่าทึ่งมากและเป็นเลนส์ที่มีความสามารถรอบตัว และเมื่อคุณใช้ตัว teleconverter แบบ 1.4x, 1.7x และ 2.0x คุณสามารถเพิ่มความยาวของเลนส์ตัวนี้ได้มากขึ้นคือ 420mm, 510mm และ 600 ตามลำดับ ถ้าคุณระมัดระวังในห้ากุญแจสำคัญที่มีผลกับความสามารถของเลนส์และสามารถทำงานกับข้อจำกัดเหล่านี้ได้ ดังนั้นคุณมีการรวมตัวที่เยี่ยมยอดของเลนส์กับ teleconverter  กุญแจสำคัญของข้อนี้คือ ทำงานกับข้อจำกัด จำไว้ว่าคุณมีข้อจำกัดในการสูญเสียแสง การออโต้โฟกัสที่ต่ำลง ความเร็วชัตเตอร์ที่ช้าลง ภาพดูนุ่มเกิน และข้อจำกัดของจุดออโต้โฟกัส (ที่ f/8) กับกระบวนความคิดข้างต้นนี้ คุณมีความเชื่อที่มีผลต่อพฤติกรรมที่ดีกว่าในการไตร่ตรองหรือการสู้กับข้อดีและข้อเสียของตัว teleconverter ไม่เช่นนั้นมันก็เปล่าประโยชน์

3. การรวมกันของเลนส์และตัว teleconverter ให้น้ำหนักที่เบากว่า
สำหรับบางคน การทำงานร่วมกันต้องดีกว่าและมันต้องเบากว่า เลนส์ 300mm f/2.8 กับตัว 2.0x teleconverter สามารถถือด้วยมือได้ เมื่อเทียบกับเลนส์ 600mm เลนส์ 600mm มันทั้งหนักและเป็นไปไม่ได้ที่จะถือด้วยมือเปล่ามากกว่าหนึ่งนาทีในการถ่ายภาพ
ดังนั้นมันต้องตั้งอยู่บนขาตั้งกล้องที่มีหัวในการปรับมุมซึ่งเหมาะกับเลนส์ 600mm ซึ่งต้องแลกมาด้วยราคาที่แพงเป็นพิเศษและต้องแบบของที่หนักกว่า
ในบางกรณี คุณอาจต้องการตัดสินใจไปกับตัวที่เบากว่า แต่จำไว้ว่าข้อจำกัดก็ตามไปด้วย มีเหตุผลกับความคาดหวังของคุณ และสิ่งที่สำคัญมากที่สุด ขอให้มีความสุขไม่ว่าคุณเลือกสิ่งใดก็ตาม
4. ตัว teleconverter เป็นเพียงทางเลือกเท่านั้น
ในบางกรณี ตัว teleconverter เป็นเพียงแค่ทางเลือกเท่านั้น ในความจริงคุณไม่มีเลนส์ 1200mm ดังนั้นเลนส์ 600mm f/4 กับตัว 2.0x teleconverter ก็เป็นเพียงแค่ทางเลือกเท่านั้น แน่นอนของจริงย่อมดีกว่า คุณรู้แล้วนิว่าทำไม? เพราะว่าเราไม่รู้ถึงคุณภาพของเลนส์ 1200mm ดังนั้นอะไรที่คุณมีอยู่มันคือสิ่งที่ดีที่สุด คุณเห็นไหมละผมมองโลกในแง่ดี
ในความเป็นจริง ประสบการณ์ของช่างภาพหลายท่านดูเหมือนว่าใช้ตัว 1.4x teleconverter อยู่กับตัวเลนส์ 600mm f/4 ของพวกเขา มันแปลกแต่จริง เหมือนกันในความจริงที่เลนส์ 800mm f/5.6 กับ 1.4x teleconverter คุณได้ทางยาวโฟกัสเป็น 1200mm f/8 มันคือทางเลือกที่ดีทีเดียว
มันไม่ได้ทำให้คุณเจ็บปวดอะไรในการใช้ตัว teleconverter สิ่งที่จำเป็นสำหรับคุณคือเข้าใจว่าคุณต้องทำงานกับข้อจำกัด
โดยส่วนตัว ผมใช้ตัว teleconverter เพียงเมื่อสถานการณ์ที่มีความต้องการ ผมรู้สึกมีความความสุขกับคุณภาพของภาพถ่ายกับเลนส์ที่ใช้อยู่ที่ไม่ได้ต่อ teleconverter ผมเกลียดมันเมื่อมันทำให้สูญเสียการออโต้โฟกัส สำหรับผม มันเป็นคลื่นกระทบฝั่ง ลองไปดูว่าทำไมผมพูดว่าระบบออโต้โฟกัสเป็นสิ่งที่สำคัญในบทความของผมที่ชื่อว่า
Choosing the Camera Body for Bird Photography. http://www.naturephotographysimplified.com/bird-photography/choosing-camera-body-bird-photography/
ปัจจุบันนี้ ผมมีตัว Nikon 1.4x III teleconverter และ Nikon 2.0x III teleconverter ผมใช้มันทั้งสองตัวกับเลนส์ Nikon 600mm f/4 Prime Lens (ตัว version เก่า)
อย่างไรก็ดี ลองไปดูโอกาสทองในการร่วมทริปตามเว็ปไซต์นี้ รอบ Rajasthan ในประเทศอินเดีย คุณต้องไม่พลาดในการแนะนำกับโบนัสที่จะหมดอายุก่อนวันที่ 5 สิงหาคม 2016 http://www.naturephotographysimplified.com/massive-18-day-photography-trip-covering-iconic-locations-around-rajasthan/

โดยสรุป
มันเป็นบทความที่ยาว แต่ผมคิดว่ามันมีค่า ผมหวังว่าคุณได้อ่านมันตั้งแต่ต้นจนจบ ถ้าไม่ผมขอให้คุณอ่านมันอีกครั้ง
นี้คือสิ่งที่ผมได้สรุปอย่างเร็วๆถึงข้อดีข้อเสียของตัว teleconverter
ห้ากุญแจสำคัญในการพิจารณาเลือกใช้ตัว teleconverter:
1.   การสูญเสียแสง
2.   ความสามารถในการออโต้โฟกัสลดลง
3.   ข้อจำกัดของจุดโฟกัสในออโต้โฟกัสในบางกรณี
4.   ความเร็วของชัตเตอร์ช้าลง หรือ มีน้อยส์มากขึ้น
5.   สูญเสียความเปรียบต่างและความคมชัด มีผลทำให้ภาพดูนุ่มนวล
และนี้คือข้อดีของการใช้ตัว teleconverter
1.   คุณจะเข้าใกล้ได้มากขึ้น
2.   คุณจะมีค่าความยาวโฟกัสที่แตกต่าง
3.   การใช้ตัว teleconverter ร่วมกับเลนส์ทำให้มีน้ำหนักที่เบากว่า
4.   ตัว teleconverter เป็นเพียงทางเลือกเท่านั้น
สำหรับวันนี้คงพอแค่นี้ ผมหวังคุณมีความสุขกับการอ่านบทความนี้ หวังเป็นอย่างยิ่งว่ามันช่วยให้คุณเข้าใจในข้อดีข้อเสียของการใช้ teleconverter อย่างดีในตอนนี้
ผมยินดีที่จะได้ฟังประสบการณ์ของคุณกับการใช้ teleconverter เขียนข้อความกับการใช้ตัว teleconverter กับเลนส์ที่คุณใช้บ่อยๆ ในการถ่ายภาพนกให้เราฟังบ้าง  มีคำถามอื่นๆไหม แล้วค่อยมาคุยกันใหม่ครับ

3
เราหาจุด Sweet Spot ของเลนส์ได้อย่างไร: คำแนะนำการทำให้ภาพคมชัดสำหรับผู้เริ่มต้น

โพสโดย Dena Haines แปลโดย Topstep07

เว็ปไซต์ต้นฉบับเพื่อดูภาพประกอบคำบรรยาย
http://digital-photography-school.com/how-to-find-your-len…/

คุณรู้สึกเหนื่อยกับภาพที่มันเบลอไหม?
มันได้เวลาที่ต้องเรียนรู้ว่าทำอย่างไรในการถ่ายภาพให้คมชัดโดยการค้นหาจุด sweet spot (จุดที่กำลังดี) นี้คือสิ่งที่เชื่อถือได้ ประหยัดเวลาและช่วยให้คุณถ่ายภาพได้ดีขึ้นกว่าเดิม

ในบทความนี้คุณจะได้เรียนถึง
-การค้นหาจุด sweet spot ของเลนส์อย่างไร (สำหรับทำให้ภาพคมชัด)
-ทำไมคุณควรถ่ายภาพในโหมด Aperture Priority (และใช้มันอย่างไร)
-ทำอย่างไรในการทดสอบให้ได้ความคมชัดที่สุดของภาพในทุกๆ ครั้ง
-มันสำคัญอย่างไรกับ sweet spot ในเลนส์ของคุณ? สังเกตความแตกต่าง

(ดูภาพประกอบคำบรรยายในเว็ปไซต์ต้นฉบับ...ในภาพนาฬิกาด้านบนนี้ ภาพทางด้านขวามือมีความคมชัดกว่า ลองดูตัวอักษรใกล้ที่อยู่บนตัวนาฬิกา ภาพที่ถ่ายด้วยรูรับแสง f/9 คมชัดกว่าเพราะว่ามันถ่ายที่จุด sweet spot ของเลนส์ ในขณะที่รูรับแสง f/3.5 มันไม่ใช่

สิ่งแรกให้ดูที่เลนส์ของคุณ

ในคำแนะนำสำหรับผู้เริ่มต้นใหม่ เราจะใช้เลนส์ในระดับเริ่มต้นที่เป็นเลนส์ซูมเป็นตัวอย่าง เลนส์คิทส่วนใหญ่ (เลนส์พื้นฐานที่มากับกล้อง DSLR) จะถ่ายภาพได้คมชัดที่สุดที่ค่ากึ่งกลาง ของการตั้งค่ารูรับแสง การที่จะเข้าใจเรื่อง ค่ากึ่งกลางของเลนส์ คุณต้องรู้ความกว้างสุด (หรือมากที่สุด)ของรูรับแสง มันแสดงอยู่ด้านข้างของเลนส์ หรือปลายเลนส์ซึ่งมีลักษณะแบบนี้ 1:3.5-5.6
สำหรับตัวอย่าง นี้คือเลนส์ซูม Canon 18-55mm ของฉัน (ดูภาพตัวอย่างประกอบคำบรรยายในเว็ปไซต์ต้นฉบับ)
มันหมายความว่า เมื่อเลนส์ของฉันซูมออกไป ความกว้างสุดของรูรับแสงคือ f/3.5 ขณะเมื่อเลนส์ซูมเข้ามาความกว้างสุดของรูรับแสงจะเท่ากับ f/5.6
กฎของการหาค่ากึ่งกลางที่เป็นจุด sweet spot คือ ให้นับเพิ่มไปอีก 2 f-stop (นับเต็ม) (ค่ารูรับแสงถูกเรียกว่า f-stop) จากค่ารูรับแสงที่กว้างสุด ในเลนส์ของฉัน ค่ารูรับแสงกว้างสุดคือ f/3.5 ถ้านับไปอีก 2 stop จากนี้มันจะได้ค่าจุดกึ่งกลางราวๆ f/7
(ดูภาพประกอบคำบรรยายในเว็ปไซต์ต้นฉบับ...ในตารางด้านล่างนี้การนับ f-stop) ภาพโดย Robin Parmar
มันยังมีค่าแกว่งไปมาในช่วงกึ่งกลางด้วย ดังนั้นค่าที่ได้จะอยู่ประมาณ f/7 ถึง f/10 ที่จะทำให้ภาพคมชัด เมื่อคุณได้รู้ถึงค่ากึ่งกลางของเลนส์คุณแล้ว คุณสามารถลองทดสอบอย่างง่ายๆ เพื่อให้ได้ภาพคมชัดที่สุด การทดสอบคุณจะต้องถ่ายด้วยโหมด Aperture Priority

ควบคุมโหมด Aperture Priority

การถ่ายด้วย Aperture Priority จะทำให้คุณเลือกค่ารูรับแสงที่ต้องการ ซึ่งมันช่วยให้คุณควบคุมได้ดีกว่าการใช้โหมด Automatic โดยการควบคุมค่ารูรับแสง มันง่ายมากกว่าที่ทำให้ภาพคมชัดและเพราะว่ากล้องของคุณยังคงเลือกค่า ISO (ถ้าคุณตั้งค่าใช้ Auto ISO) และความเร็วชัตเตอร์แบบอัตโนมัติ มันง่ายในการใช้งานมาก
คุณคงเคยได้ยินค่ารูรับแสงที่ f/16 และ f/22 เป็นค่าที่ดีที่สุดเพื่อให้ทุกอย่างที่ถ่ายอยู่ในโฟกัส มันอาจเป็นความจริง การโฟกัสไม่ได้ทำทุกอย่างคมชัดเท่ากัน การเลือกค่ากึ่งกลางของรูรับแสงจะให้ความชัดกว่าของภาพทั้งหมด คุณสามารถพัฒนาสิ่งเหล่านี้ได้โดยการลดอาการสั่นของกล้องโดยใช้ขาตั้งกล้องและตัวรีโมทชัตเตอร์ (หรือใช้การตั้งเวลาถ่ายในกล้องของคุณ)
นี้คือตัวอย่างการถ่ายด้วยจุด sweet spot อย่างไรที่ทำให้ภาพของคุณคมชัด
(ดูภาพประกอบคำบรรยายในเว็ปไซต์ต้นฉบับ....ในสภาพด้านบนที่แบ่งออกเป็นสองภาพ ภาพที่ถ่ายด้วยรูรับแสง f/9 มีความคมชัดมากกว่า f/22 ปลายสนและเงาไม่นุ่มหรือเบลอเท่ากับค่ารูรับแสง f/22 ( ลองดูที่ความคมและประกายของหิมะด้วย)

เปลี่ยนจากโหมด Automatic มาเป็นโหมด Aperture Priority

เพื่อให้กล้องของเราไม่ใช้โหมด Automatic และให้ปรับมาเป็นโหมด Aperture Priority แทน เพียงแค่หมุนปุ่มโหมดมาที่ Aperture Priority นี้คือหน้าตาของปุ่มโหมดบนกล้อง Canon ของฉัน (บนกล้อง Nikon หรือยี่ห้ออื่นๆ จะใช้ ตัวอักษร A) (ดูภาพประกอบคำบรรยายในเว็ปไซต์ต้นฉบับ) ตัวโหมด Automatic จะมีเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีเขียว ส่วนโหมด Aperture Priority คือคำว่า Av (หรือ A บนกล้อง Nikon) เมื่อกล้องของคุณได้ถูกตั้งเป็น Aperture Priority โหมดแล้ว ให้หมุนปุ่มเล็กกว่า (ที่แสดงอยู่ด้านบนของกล้อง Canon) เพื่อปรับเลือกค่า f-stop ของคุณ ขณะที่คุณหมุน คุณจะเห็นค่า f-number เปลี่ยนบนหน้าจอแสดงในภาพถัดไป มันถูกตั้งค่าไว้ที่ f/9.5 (ดูภาพประกอบคำบรรยายในเว็ปไซต์ต้นฉบับ)

การทดสอบจุด Sweet Spot ของเลนส์

เมื่อกล้องของคุณได้ตั้งอยู่บนขาตั้งกล้องแล้วการทดสอบจุด sweet spot ของเลนส์ ก็ใช้เวลาไม่กี่นาที เริ่มต้นโดยการปรับกล้องของคุณไปใช้โหมด Aperture Priority จากนั้นก็จัดองค์ประกอบในกาถ่ายและลองถ่ายภาพด้วยค่ารูรับแสงที่ต่างกัน เริ่มจากค่ารูรับแสงที่กว้างที่สุดและถ่าย และหมุนปรับค่าไปเรื่อย (หมุนไปทางขวา) ทำไปเรื่อยๆ จนกระทั่งได้ภาพมาสักเจ็ดหรือแปดภาพ
โหลดภาพที่ได้ของคุณลงไปที่เครื่องคอมฯ แล้วซูมภาพพวกนั้นมาดู คุณจะเห็นได้อย่างรวดเร็วเลยว่าค่ารูรับแสงไหนที่คุณใช้มันทำให้ภาพคมชัดมากที่สุดจากภาพทั้งหมด
(ดูภาพประกอบคำบรรยายในเว็ปไซต์ต้นฉบับ....ภาพถ่ายถัดไปเป็นภาพลูกสาวของฉันที่ถ่ายโดยใช้แสงธรรมชาติ ถ่ายด้วยเลนส์ของฉันที่ใช้จุด sweet spot ที่ทำให้ภาพดูสวยงามคมชัด แม้ว่าจะมีสภาพแสงที่น้อยก็ตาม
เมื่อดึงภาพรูปแก้วชาเข้ามาใกล้ๆ แสดงให้เห็นข้อดีของการถ่ายภาพด้วยจุด sweet spot เมื่อไรก็ตามที่คุณต้องการให้แน่ใจว่าคุณได้ภาพที่คมชัดที่สุดที่เป็นไปได้ ให้ถ่ายที่ค่ากึ่งกลาง f/7, f/8, f/9 และ f/10
ถ่ายภาพให้คมชัดที่สุด ....เวลานี้คุณรู้เกี่ยวกับจุด sweet spot ในเลนส์ของคุณแล้ว ตอนนี้ก็ได้เวลาฝึกฝน ฉันหวังว่าคุณจะได้ในสิ่งที่คุณชอบจากผลลัพท์ที่ได้
ฉันรักที่จะได้ด้วยแสงธรรมชาติ และเรียนรู้ว่าจะเก็บภาพให้คมชัดอย่างไรในสภาพแสงน้อยที่ทำให้มีความสุขมากในภาพถ่ายของฉัน

คำแนะนำในการถ่ายภาพให้คมชัดที่สุด:

-ถ่ายด้วยโหมด Aperture Priority
-เลือกค่ากึ่งกลางของค่ารูรับแสง (ประมาณ f/7 to f/10)
-ใช้ขาตั้งกล้องและสายลั่นชัตเตอร์ (หรือตั้งเวลาถ่ายภาพในกล้องของคุณ) เพื่อลดการสั่นของกล้อง
-ถ่ายภาพมาหลายภาพกับค่ารูรับแสงตั้งแต่ f/7 ไปถึง f/10 เมื่อการถ่ายภาพที่ต้องการความคมชัดเป็นสิ่งสำคัญ

แต่อย่าหยุดแค่นั้น ลองเล่นกับการตั้งค่า Aperture Priority ไปเรื่อยๆ มันน่าทึงมากที่ได้ภาพที่คมชัดทั่วภาพ
เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับค่ารูรับแสงและค่าชัดตื้นชัดลึก
คุณมีคำแนะนำอื่นๆ เกี่ยวกับจุด sweet spot ของเลนส์ที่อยากจะแบ่งปันอีกไหม? ถ้ามีโปรดนำมาแบ่งปันในช่องแสดงความคิดเห็นด้านล่างนี้

4
ยี่สิบสิ่งที่ควรทำ และไม่ควรทำ สำหรับการถ่ายดวงจันทร์

โพสโดย Bruce Wunderlich แปลโดย Topstep07

เว็ปไซต์ต้นฉบับเพื่อดูภาพประกอบคำบรรยาย

http://digital-photography-school.com/20-dos-donts-shooting-moon/

(ดูภาพประกอบคำบรรยาย....The April moon called the “Pink Moon” rose over Marietta, Ohio. The setting sun lit the city in a warm glow)

ดวงจันทร์เป็นตัวแบบที่ได้รับความนิยมในการถ่ายภาพสำหรับช่างภาพในทุกระดับ แต่ถ้าคุณเคยลองถ่ายภาพดวงจันทร์ คุณได้ค้นพบว่ามันไม่ง่ายที่ทำให้สำเร็จ ในบทความนี้ลองดูบางสิ่งที่ควรทำ และไม่ควรทำเมื่อคุณถ่ายภาพดวงจันทร์แบบเก็บภาพธรรมดาไปถึงระดับงานศิลปะ
ก่อนจะเริ่ม สิ่งแรกและสิ่งสำคัญสำหรับสิ่งที่ไม่ควรทำคือ อย่าคิดว่าการถ่ายภาพดวงจันทร์มันเป็นของง่ายๆ

#1 ใช้ขาตั้งกล้อง

สิ่งสำคัญชิ้นแรกของอุปกรณ์สำหรับการถ่ายภาพที่มีแสงน้อยคือใช้ขาตั้งกล้องดีๆ เมื่อดวงจันทร์อยู่ห่างไกลมาก มันสำคัญมากที่จะต้องมั่นคงแม้การเคลื่อนไหวเพียงเล็กน้อยของกล้องจะมีผลทำให้ภาพเบลอได้ คุณอาจจะคิดว่าถ้าเราใช้ความเร็วชัตเตอร์เพียงพอในการถือกล้องถ่ายละ แต่คุณต้องตระหนักใด้ดีว่าดวงจันทร์นั้นอยู่ห่างจากโลก 238,900 ไมล์และเมื่อมีการเคลื่อนไหวเพียงนิดเดียวก็ไม่ดูพูดเกินความเป็นจริงใช่ไหมครับ

#2 อย่าใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ช้า

ดวงจันทร์มีการเคลื่อนไหวรอบโลกที่เร็วมากด้วยความเร็ว 2,288ไมล์ต่อชั่วโมง (3,683กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ดวงจันทร์อยู่ห่างไกล มันดูเหมือนเคลื่อนที่ไม่เร็วเมื่อมองด้วยตาเปล่า เนื่องจากความเร็วของดวงจันทร์และระยะความยาวโฟกัสจำเป็นในการจัดภาพของดวงจันทร์ คุณต้องการความเร็วชัตเตอร์ที่เร็วกว่าเท่าที่เป็นไปได้ กฎที่ดีของการถ่ายภาพดวงจันทร์ให้ชัดคือความเร็วชัตเตอร์ต้องไม่ช้ากว่า 1/125 วินาที

#3 ใช้เลนส์เทเลโฟโต้

เพื่อความสำเร็จในการถ่ายภาพดวงจันทร์ในทุกรายละเอียด คุณต้องการเลนส์เทเลฯ ที่มีความยาวอย่างน้อย 300mm สำหรับกล้อง full frame คุณต้องการเลนส์ประมาณ 800mm

#4 อย่าใช้ ฟิลเตอร์ใด

เอาฟิลเตอร์ทุกชนิดออกจากเลนส์ เพื่อป้องกันโอกาสการเบี้ยว อย่าใช้ฟิลเตอร์อะไรเลย ใช่แล้ว...แม้แต่ตัว UV ฟิลเตอร์ก็ต้องเอาออก ฟังดูแล้วน่ากลัวถ้าคุณไม่เคยเอา UV ฟิลเตอร์ออกจากเลนส์เลย แต่มันจะดีที่สุดถ้าคุณเอามันออกไปในกรณีนี้ บางครั้งมีการแนะนำให้ใช้ฟิลเตอร์ ND สำหรับการถ่ายภาพดวงจันทร์เพื่อไปตัดส่วนที่แสงสว่างของดวงจันทร์ แต่การทำแบบนี้จะทำให้คุณต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ต่ำลงและคุณต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่เร็วเท่าที่เป็นไปได้เพื่อให้ได้ภาพที่คมชัด

#5 พยายามใช้กฎ Looney 11

กฎ Looney 11 คือคล้ายกับกฎ Sunny 16 โดยการตั้งค่ารูรับแสงที่ f/11 แล้วให้จับคู่กับความเร็วชัตเตอร์กับค่า ISO ตัวอย่างเช่น ถ้าค่า ISO ของคุณคือ 100  ก็ให้ตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์เป็น 1/125 วินาที (นี้ไม่ใช่กฎทางวิทยาศาสตร์ที่แน่นอน แต่มันเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีเท่านั้น)

#6 อย่าจับกล้องในการเริ่ม

อย่ากดปุ่มชัตเตอร์ด้วยมือหรือแตะขาตั้งกล้องเมื่อเริ่มถ่ายภาพดวงจันทร์ จำไว้ว่าการจับเพียงเล็กน้อยก็เป็นการเพิ่มการสั่นไหวที่ทำให้ภาพเบลอได้ ให้ใช้สายลั่นชัตเตอร์ หรือตัวรีโมทแบบไร้สายเป็นหนทางที่ดีที่สุดในการเริ่มถ่ายภาพ ถ้าคุณไม่มีพวกมัน ใช้การตั้งเวลาถ่ายภาพบนตัวกล้องของคุณแทน

#7 ใช้การล๊อคกระจก Mirror Lock-up

ถ้ากล้องของคุณให้ตัวเลือกในการล๊อคกระจกได้ นี้คือสิ่งที่สามารถช่วยเพิ่มโอกาสที่คุณจะได้ภาพที่คมชัด แม้ว่าจะมีการสั่นเพียงนิดหน่อยที่ตัวกระจกก็ทำให้ภาพออกมาเบลอได้เช่นกัน ถ้ากล้องของคุณมีตัวเลือกแบบนี้ ใช้มันซะ...การล๊อคกระจกและคอยเพียงไม่กี่วินาทีจะยอมให้การสั่นไหวนิ่งอยู่ก่อนที่จะเริ่มถ่ายภาพ

#8 อย่าใช้ตัวระบบกันสั่น

กล้อง Canon คือ IS (Image Stabilization) หรือ Nikon คือ VR (Vibration Reduction) ต้องปิดสิ่งเหล่านี้ซะเมื่อคุณต้องกล้องอยู่บนขาตั้งกล้อง การเปิดระบบกันสั่นไหวกับกล้องของคุณที่ตั้งอยู่บนขาตั้งกล้องจะทำให้ภาพเบลอได้

#9 รู้จักวงจรของดวงจันทร์

ใช้โปรแกรม The Photographer’s Ephemeris เพื่อคาดการณ์ล่วงหน้าสำหรับตำแหน่งการขึ้นของดวงจันทร์ ใน29.5 วันระหว่างที่ดวงจันทร์เต็มดวง มีโปรแกรมออนไลน์มากมายและโปรแกรมบนโทรศัพท์มือถือที่ช่วยติดตามช่วงเวลาของดวงจันทร์ และยังแสดงตำแหน่งว่าที่ไหน เมื่อไรที่ดวงจันทร์จะปรากฎบนท้องฟ้า นี้คือสิ่งที่มีประโยชน์มากเมื่อวางแผนการถ่ายภาพดวงจันทร์ล่วงหน้า แต่การถ่ายภาพโดยรวมแล้วคือ ดวงจันทร์เต็มดวง ซึ่งมันสว่างไสวและยากที่จะได้ค่ารับแสงที่ถูกต้อง แสงด้านช้างของส่วนนูนจะให้เงาที่น่าสนใจซึ่งยอมให้คุณเก็บภาพปล่องภูเขาไฟ และภูเขา ช่วงดวงจันทร์เสี้ยว แน่นอนว่ามันเป็นช่วงที่มืดที่สุด แต่มันสร้างความน่าสนใจเมื่อเพิ่มภาพวิวทิวทัศน์ในตอนกลางคืนได้

#10 อย่าวางดวงจันทร์ไว้กลางภาพ

ขณะที่คุณสามารถใช้กฎของการวางองค์ประกอบภาพในการถ่ายภาพดวงจันทร์ อย่ากลัวที่จะแหกกฎถ้ามันใช่ อย่าวางดวงจันทร์ไว้กลางภาพโดยที่ไม่มีอะไรเลย มันเกิดขึ้นหลายล้านครั้งก่อนและไม่มีอะไรน่าตื่นเต้น ลองเอาตัวแบบอื่นๆ เข้ามาอยู่ในกรอบกับดวงจันทร์ด้วย
(ดูภาพประกอบคำบรรยาย อย่าวางดวงจันทร์ในท้องฟ้าที่ว่างเปล่า ให้รวมเอาตัวแบบฉากหน้าเพื่อให้ภาพดูมีชีวิตชีวา)

#11 เปลี่ยมาใช้การโฟกัสแบบแมนนวล

มีกระบวนที่แตกต่างกันหลายอย่างที่คุณสามารถโฟกัสไปที่ดวงจันทร์ อันดับแรก ลองให้กล้องของคุณใช้ออโต้โฟกัส และเมื่อคุณได้การโฟกัสที่พอใจแล้ว ปิดการออโต้โฟกัสและปรับเป็นโฟกัสแบบแมนนวล อีกทางเลือกหนึ่ง คุณสามารถตั้งให้กล้องโฟกัสแมนนวลกับตัว live view ที่เปิดใช้งาน ซูมเข้าไปที่ดวงจันทร์และหมุนวงแหวนโฟกัสจนกระทั่งดวงจันทร์คมชัด และไม่ต้องไปแตะที่วงแหวนอีก

#12 อย่าถ่ายดวงจันทร์ในตอนกลางคืน

เวลาที่ดีที่สุดสำหรับการถ่ายภาพดวงจันทร์คือหลังจากที่มันขึ้นหรือก่อนที่มันจะตกเมื่อมันอยู่ในระดับต่ำบนท้องฟ้า  เมื่อดวงจันทร์อยู่ใกล้เส้นแนวนอน มันจะอยู่ใกล้โลกที่สุดและจะทำให้ได้ภาพที่ใหญ่ ขณะที่ดวงจันทร์เต็มดวงขึ้นดวงอาทิตย์จะตกเช่นกัน และขณะที่ดวงจันทร์เต็มดวงตก ดวงอาทิตย์ก็จะขึ้น  นี้คือสิ่งที่ทำให้ได้แสงที่ดีเยี่ยมหรือฉากหน้าเด่น หรือตัวแบบของวิวทิวทัศน์โดดเด่นเช่นกัน การถ่ายภาพในช่วงวันจะทำให้มีโอกาสรวมเอาตัวแบบในฉากหน้าเข้าไปด้วย และคุณอาจจะเก็บภาพพื้นผิวของดวงจันทร์อีกด้วย
(ดูภาพประกอบคำบรรยาย....ภาพดวงจันทร์เต็มดวงในช่วงเดือนมิถุนายน เรียกว่า “Honey Moon” เก็บภาพขณะที่ตกและดวงอาทิตย์กำลังขึ้น)

#13 ใช้การคร่อมแสง (Bracket)

ครั้นเมื่อคุณพบว่าค่ารับแสงที่คุณถ่ายทำให้คุณรู้สึกมีความสุข มันจะดีที่สุดในการใช้การคร่อมแสง การดูภาพในที่มืดด้านหลังกล้องของคุณบ่อยครั้งจะหลอกตาคุณ ในที่มืด ภาพจะดูสว่างกว่าที่ควรจะเป็นบนจอภาพ LCD ของกล้องเมื่อคุณไปเปิดภาพบนคอมพิวเตอร์ หลังจากที่คุณพอใจกับค่ารับแสงที่คุณได้หมุนไว้ ให้ตั้งการคร่อมแสง under ไป 2 stops และให้ over ไปอีก 2 stops เพื่อให้แน่ใจว่าคุณได้ค่ารับแสงที่คุณพอใจ

#14 อย่าใช้ Auto White Balance

การใช้ auto white balance จะให้ค่าผลลัพท์ที่ไม่คงที่ อะไรคือแหล่งของแสงดวงจันทร์ ใช่แล้ว..มันคือดวงอาทิตย์ ดังนั้นพยายามใช้ daylight white balance แต่ถ้าคุณกำลังมองหาผลลัพท์ที่แตกต่างลองตั้งเป็น tungsten หรือไม่ก็ cloudy ดูครับ อย่ากลัวที่จะทดลองใช้ แต่จำไว้ว่าถ้าคุณถ่ายภาพแบบไฟล์ RAW คุณสามารถเปลี่ยนค่า white balance ในการปรับแต่งภาพทีหลังได้

#15 อย่ายึดติดกับค่าที่วัดได้จากกล้อง

ส่วนใหญ่ค่าแสงของกล้องจะดูเขลาๆโดยปริมาณของแสงที่ตกกระทบของดวงจันทร์ สิ่งที่สำคัญที่ต้องจดไว้คือ ขณะที่ดวงจันทร์ขึ้น ค่ารับแสงจะเปลี่ยนอย่างต่อเนื่อง มันจะสว่างขึ้นๆขณะที่มันกำลังขึ้น ดังนั้นคุณต้องปรับค่าความเร็วชัตเตอร์ตามไปด้วย

#16 ให้ถ่ายภาพเป็นแบบไฟล์ RAW

การถ่ายภาพแบบ RAW ไฟล์จะยอมให้คุณเก็บรายละเอียดของพื้นผิวดวงจันทร์ได้มากกว่า และยังให้ละติดจูดของการปรับแต่งภาพที่มากกว่าด้วย ดังนั้น ถ้าปราศจากการที่คุณไม่คุ้นเคยกับการใช้ซอฟท์แวร์ ที่ปรับแต่ง RAW ไฟล์ ให้ถ่ายภาพดวงจันทร์เป็นแบบ RAW ไฟล์ไว้ก่อน

#17 อย่ากลัวที่จะตัดกรอบภาพ

ถ้าปราศจากการถ่ายด้วยเลนส์เทเลโฟโต้ขนาดใหญ่ คุณจะตัดกรอบของภาพที่แสดงดวงจันทร์ให้มีขนาดที่เล็กลงได้ แต่จำไว้ว่ายิ่งคุณตัดกรอบภาพมากแค่ไหน ภาพสุดท้ายก็จะเล็กกว่าที่จะพิมพ์ในขนาดความละเอียดสูง

#18 ทำการดึงบิด และทำให้คมชัด

ภาพถ่ายดวงจันทร์ส่วนมากก็ต้องผ่านกระบวนการปรับแต่งในโปรแกรม Photoshop หรือโปรแกรมปรับแต่งภาพอื่นๆ การเพิ่ม Clarity และ Contrast จะช่วยดึงรายละเอียดขึ้นมาซึ่งจะเพิ่มพวกภูเขาไฟและภูเขาของดวงจันทร์ เหมือนที่ได้แนะนำไว้ข้างต้น ค่า white balance ค่ารับแสงจะช่วยดึงให้ภาพดูดี และทั้งสองแบบมันทำแบบเบ็ดเส็จสมบูรณ์ในกล้องไม่ได้
(ดูภาพประกอบคำบรรยาย.....สร้างสรรค์....สองภาพถูกรวมเข้าไว้ด้วยกันเพื่อสร้างภาพสุดท้ายดั่งที่เห็น)

#19 อย่ากลัวในการที่จะสร้างสรรค์

อย่ากลังในการคิดสร้างสรรค์กับภาพดวงจันทร์ของคุณ ภาพดวงจันทร์ที่เยี่ยมยอดมีการปรับให้เหมาะสมในขบวนการปรับแต่งภาพเนื่องจากมันยากที่จะเก็บภาพดวงจันทร์ที่ดีที่สุดในภาพเดียว HDR หรือการผสมค่ารับแสงเป็นกระบวนการที่ดีในการเพิ่มภาพซึ่งดูเป็นภาพดวงจันทร์ที่เป็นไปไม่ได้ กระบวนการที่ได้รับความนิยมของช่างภาพหลายๆท่านคือการรวมสองภาพที่มีค่ารับแสงที่ต่างกันเข้าด้วยกัน ภาพหนึ่งคือภาพที่มีฉากหน้าวิวทิวทัศน์ที่ดีที่สุด และภาพที่สองคือภาพดวงจันทร์ที่ดีที่สุด เมื่อรวมสองภาพเข้าด้วยกัน พยายามขยายภาพดวงจันทร์เล็กน้อยเพื่อให้ภาพที่ดูมีชีวิตชีวา แต่อย่าทำมากเกินไปที่ทำให้ดูไม่เหมือนจริง  มันต้องทำให้ดูน่าเชื่อถือถ้าปราศจากการทำเป็นแบบพวกแนวเรื่องนวนิยายวิทยาศาสตร์ (ซึ่งเป็นความคิดที่ไม่เลว พูดแบบเชิงสร้างสรรค์นะครับ)
(ดูภาพประกอบคำบรรยาย....ค่ารับแสงสองภาพที่นำมารวมกันเป็นภาพสุดท้าย ภาพหนึ่งคือค่าแสงสำหรับวิวทิวทัศน์และอีกภาพหนึ่งดวงจันทร์ ดวงจันทร์ถูกขยายให้ใหญ่ขึ้นเล็กน้อยเพื่อให้ดูมีชีวิตชีวา)

 #20 ฝึกฝน ฝึกฝน แล้วก็ฝึกฝน

เวลานี้ให้ออกไปและถ่ายภาพดวงจันทร์ จำไว้ว่ามันไม่ง่ายเหมือนที่เห็น ลองพยายามไปเรื่อยๆถ้าผลลัพท์ครั้งแรกไม่ได้ดั่งที่คาดหวังไว้
ถ้าคุณมีภาพดวงจันทร์หรือสิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำในการทำงานของคุณ นำมาแบ่งปันกันในช่องคำแนะนำด้านล่างนี้ได้ครับ

5
 การวางองค์ประกอบภาพขั้นพื้นฐาน. สิ่งที่คุณต้องเรียนรู้

โพสโดย Autumn Lockwood แปลโดย Topstep07

เว็ปไซต์ต้นฉบับเพื่อดูภาพประกอบคำบรรยาย
http://www.picturecorrect.com/…/photo-composition-basics-w…/

สิ่งหนึ่งที่สำคัญมากของช่างภาพที่สามารถพกติดตัวไว้ในกระเป๋าของพวกเขาคือการเข้าใจพื้นฐานการถ่ายภาพ ภาพไม่ใช่ชิ้นส่วนของรูปภาพกระดาษแต่เกิดจากผลของชิ้นส่วนเล็กๆ จำนวนหลายพันมารวมเข้าด้วยกัน การเข้าใจในความแตกต่างของชิ้นส่วนนั้น และการใช้มันอย่างไรเพื่อให้ภาพที่ดีกว่าคือจุดวิกฤตของความสำเร็จในการเป็นช่างภาพ หนึ่งของจุดวิกฤตของการถ่ายภาพคือ การจัดองค์ประกอบภาพ
(ดูภาพในเว็ปไซต์ต้นฉบับเพื่อประกอบคำบรรยาย....“A Break In The Clouds” captured by Dave Murray (Click image to see more from Murray.)

ความหมายของการวางองค์ประกอบภาพ

ทำให้ง่ายเข้าไว้...การวางองค์ประกอบภาพคือหนทางในการวางตัวแบบในภาพของคุณที่มีความสัมพันธ์กับอีกตัวแบบหนึ่ง คุณสามารถคิดถึงสิ่งนี้เป็นเรื่องแรกว่าที่ซึ่งแต่ละตัวแบบที่ปรากฎขึ้นในภาพ อย่างไรก็ตาม การวางองค์ประกอบภาพสามารถขยายความไปถึงเรื่องอื่น เช่น การโฟกัส ความชัดตื้นชัดลึก และการซูม
(ดูภาพในเว็ปไซต์ต้นฉบับเพื่อประกอบคำบรรยาย...“What?” captured by Jeff Tebbutt (Click image to see more from Tebbutt.)

สิ่งสำคัญ...ภาพถ่ายที่มีการวางองค์ประกอบภาพที่ดีเยี่ยมจะเล่าเรื่องราวได้ชัดเจน ขณะที่ภาพที่มีการวางองค์ประกอบภาพที่แย่คือการมองเห็นภาพที่น่าเบื่อหรือไม่มีสิ่งไหนน่าสนใจเลย
ส่วนประกอบของการวางองค์ประกอบภาพ
มีกฎของการวางองค์ประกอบภาพสองสามอย่างที่เป็นประโยชน์ หนึ่งคือ การเรียนรู้ สิ่งมหัศจรรย์ด้านบวกที่มีผลในธรรมชาติของการถ่ายภาพ ขณะที่กฎเหล่านี้ไม่มีความหมายในรูปธรรม และในการแหกกฎคือสิ่งที่น่าสนุกมากกว่าทำตามกฎเหล่านั้น พวกกฎเหล่านี้น่าจะช่วยในเรื่องของการเข้าใจพื้นฐานของการวางองค์ประกอบภาพที่มีผลกระทบในการถ่ายภาพของคุณ

กฎสามส่วน

กฎสามส่วนเป็นพื้นฐานของงานศิลปะซึ่งธรรมชาติของมนุษย์มีแนวโน้มในการมองไปที่จุดของภาพที่ตกอยู่ในช่วงสองส่วนสามจากบนลงล่าง ถ้ารูปภาพของคุณถูกแบ่งออกเป็นเก้าส่วนเท่าๆกัน คุณต้องให้ตัวแบบของคุณวางอยู่ใกล้เส้นหนึ่งที่ตัดกันเท่าที่เป็นไปได้ เมื่อไรก็ตามที่คุณถ่ายภาพ ให้จินตนาการเส้นที่ตัดไปมาในกรอบภาพและพยายามและวางเส้นที่จะถ่ายภาพตามที่ได้บอกไว้ (ภาพแนวนอนจะให้ผลดีที่สุด)
(ดูภาพในเว็ปไซต์ต้นฉบับเพื่อประกอบคำบรรยาย..“Daylight on Loch Earn” captured by Dave Murray (Click image to see more from Murray.)

ความสมดุลของภาพ

นี้ไม่ใช่กฎอย่างเป็นทางการ มันยังคงเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ที่เก็บไว้ในใจเมื่อกำลังถ่ายภาพ ตำแหน่งของตัวแบบของคุณไม่ได้อยู่กลางภาพและใช้กฎสามส่วน แต่ต้องระมัดระวังว่าต้องไม่เปิดพื้นที่โดยไม่ตั้งใจมากเกินไปรอบๆ ตัวแบบ พยายามทำให้สมดุลในส่วนที่สำคัญของภาพกับส่วนที่ไม่สำคัญเหมือนกับตัวแบบวิ่งไปยังจุดหมายปลายทางแทนที่จะเป็นเพียงภาพของตัวแบบ
(ดูภาพในเว็ปไซต์ต้นฉบับเพื่อประกอบคำบรรยาย..“Iceland 2014″ captured by Clifford Briggin (Click image to see more from Briggin.)

พลังของเส้น

มีบางสิ่งที่เป็นลวดลายของเส้นในธรรมชาติที่นำสายตาของเรา ในความคิดของเราตามธรรมชาติจะมองตามลวดลายของเส้น คุณสามารถใช้สิ่งนี้เป็นข้อดีในการถ่ายภาพของคุณ เมื่อคุณกำลังถ่ายภาพที่มีเส้นเป็นตัวนำลองค้นหาเส้นในภาพของคุณและถามตัวคุณเองว่า เส้นเหล่านี้จะนำไปถึงส่วนที่สำคัญของภาพหรือไม่ ถ้าเส้นไม่ได้นำไปในส่วนนั้นสายตาของผู้ชมภาพจะวิ่งตามเส้นไปถึงสิ่งที่ไม่พึงพอใจซึ่งเส้นนั้นไม่ได้นำไปไหนเลย
(ดูภาพในเว็ปไซต์ต้นฉบับเพื่อประกอบคำบรรยาย..“Arches” captured by Mark Duncan (Click image to see more from Duncan.)
พลังของการตัดส่วนภาพ
บางครั้งอะไรที่เราตัดออกจากภาพของเราก็มีความสำคัญเท่ากับสิ่งที่เราปล่อยมันเอาไว้ในภาพ คุณจะต้องตัดส่วนภาพในความคิดของคุณทุกๆ ครั้งที่คุณวางกล้องบนเส้นแบ่งสำหรับการถ่าย ให้กำจัดสิ่งที่พิเศษที่ดึงความสนใจออกจากตัวแบบและใส่สิ่งที่คุณต้องการให้อยู่ภาพแทน คุณสามารถแก้ไขการตัดส่วนภาพที่แย่ได้กับตัวซอฟท์แวร์ แต่ถ้าให้ดีกว่านั้นคุณควรจะพัฒนาการตัดส่วนภาพตั้งแต่ตอนคุณถ่ายภาพเลย

การวางองค์ประกอบภาพคือหนึ่งในองค์ประกอบการถ่ายภาพที่ใช้เวลาหลายปีที่จะเรียนรู้ การวางองค์ประกอบภาพคือการรวมเอาความแตกต่างขององค์ประกอบหลายอย่างเข้าด้วยกัน มันจะแสดงถึงความท้าทายที่มั่นคงกับความรู้ของช่างภาพส่วนใหญ่ การทำตามกฎพื้นฐานจนกระทั่งคุณเข้าใจว่าพวกมันทำงานอย่างไรดังนั้นมันทำให้คุณเองเริ่มที่จะแหกกฎ

6
 การเข้าใจในเรื่องชัดตื้นชัดลึกสำหรับมือใหม่

โพสโดย Bruce Wunderlich แปลโดย Topstep07

เว็ปไซต์ต้นฉบับเพื่อดูภาพประกอบคำบรรยาย

http://digital-photography-school.com/understanding-depth-…/

คุณอาจจะเคยได้ยินเกี่ยวกับการชัดตื้นชัดลึก (DoF)มาบ้าง แต่ถ้าคุณเพิ่งถ่ายรูปใหม่ๆ คุณอาจจะไม่ได้ใช้ข้อดีของชัดตื้นชัดลึกว่าช่วยเพิ่มให้ภาพของคุณดีขึ้นอย่างไร ความหมายพื้นฐานของชัดตื้นชัดลึกคือ บริเวณของส่วนที่มีความคมชัดในภาพที่อยู่ในโฟกัส ในทุกๆภาพถ่ายมันมีพื้นที่แน่นอนในภาพของคุณที่อยู่ด้านหน้า และด้านหลังของตัวแบบที่ปรากฎในการโฟกัส พื้นที่นี้จะผันแปลจากภาพสู่ภาพ บางภาพอาจจะมีพื้นที่เล็กของการโฟกัสซึ่งจะเรียกว่า ชัดตื้น อีกแบบหนึ่งคือมีพื้นที่กว้างในการโฟกัสซึ่งจะเรียกว่า ชัดลึก องค์ประกอบสามส่วนหลักๆที่จะมีผลในการควบคุมชัดตื้นชัดลึกในภาพของคุณคือ รูรับแสง (f-stop) ระยะทางจากตัวแบบถึงตัวกล้อง และระยะทางความยาวของเลนส์ที่อยู่กับกล้อง นี้คือคำอธิบายและคำตอบที่จะตอบคำถามทั่วๆไป เกี่ยวกับการชัดตื้นชัดลึก

รูรับแสงควบคุมการชัดตื้นชัดลึกอย่างไร?

รูรับแสงจะหมายถึงการยอมให้แสงผ่านจากเลนส์เข้าไปถึงตัวเซนเซอร์ของกล้อง ขนาดของรูรับแสงของคุณ (ช่องที่เกิดจากแผ่นเปิดรับแสงที่แสงผ่านเข้ามาในกล้อง) ควบคุมปริมาณของแสงที่วิ่งผ่านเลนส์เข้ามา การใช้รูรับแสง (f-stop) ของเลนส์คือทางที่ง่ายที่สุดในการควบคุมชัดตื้นชัดลึกของคุณในการถ่ายภาพ
รูรับแสงกว้าง เท่ากับ ค่าตัวเลข f น้อย เท่ากับ ชัดตื้น (พื้นที่คมชัดแคบ)
รูรับแสงแคบ เท่ากับ ค่าตัวเลข f มาก เท่ากับ ชัดลึก (พื้นที่คมชัดกว้าง)
มันจะมีวิธีที่ง่ายกว่าในการจำสิ่งเหล่านี้ ตัวเลขยิ่งน้อยของค่า f เท่ากับชัดตื้น ในอีกทางหนึ่ง ค่าตัวเลขมากของค่า f เท่ากับชัดลึกกว่า ตัวอย่างเช่น การใช้ f/2.8 จะให้ความชัดตื้นขณะที่ f/11 จะให้การชัดลึก
(ดูภาพประกอบคำบรรยายในเว็ปไซต์ต้นฉบับ)
ภาพทางด้านซ้ายถ่ายด้วยความเร็วชัตเตอร์ 250 ต่อวินาที ที่ค่า f/5.0 ซึ่งผลของมันคือชัดตื้น เนื่องจากว่าตัวฉากหลังไม่ได้อยู่ในโฟกัสจึงทำให้ตัวแบบโดดเด่นขึ้นมา ภาพทางด้านขวาถ่ายที่ความเร็ว 1/5 วินาที ที่ f/32 ซึ่งทำให้เกิดชัดลึก และฉากหลังก็ชัดด้วย

ระยะทางควบคุมการชัดตื้นชัดลึกอย่างไร?

ยิ่งใกล้ตัวแบบมากเท่าไร ชัดตื้นก็จะมีมากเท่านั้น ในทางกลับกันการออกห่างจากตัวแบบจะทำให้เกิดการชัดลึก

ระยะช่วงความยาวของเลนส์ควบคุมการชัดตื้นชัดลึกอย่างไร?

ระยะช่วงความยาวหมายถึง ความสามารถของเลนส์ที่จะขยายภาพตัวแบบ สิ่งนี้สามารถสร้างความสลับสับซ้อน แต่คำตอบง่ายๆคือ ยิ่งระยะทางยาวในการตั้งค่าระยะของเลนส์ก็จะได้ชัดตื้น ตัวอย่างเช่น ถ้าตัวแบบของคุณอยู่ที่ระยะ 10 เมตร (33 ฟุต) การใช้เลนส์ที่มีระยะทางยาว 50mm ที่ f/4 ค่าความชัดตื้นชัดลึกจะอยู่ในช่วง 7.5-14.7เมตร 24.6 – 48 ฟุต)สำหรับค่าชัดตื้นชัดลึกด้วยรวมคือ 7.2 เมตร (23.6 ฟุต) ถ้าคุณซูมเข้ามาที่ 100mm จากจุดเดียวกัน ชัดตื้นชัดลึกก็จะเปลี่ยนเป็น 9.2-10.9 เมตร (30.1 – 35.8 ฟุต) โดยมีค่าชัดตื้นชัดลึกรวมคือ 1.7เมตร (5.7 ฟุต) แต่ถ้าคุณเปลี่ยนระยะตัวแบบเป็น 20 เมตร (66 ฟุต)โดยใช้เลนส์ 100mm ค่าความชัดตื้นชัดลึกจะเหมือนกันกับที่ 10 เมตรโดยใช้เลนส์ 50mm
(ดูภาพประกอบคำบรรยายในเว็ปไซต์ต้นฉบับ)
ภาพนี้คือหงส์ที่ซ้อนอยู่ในพุ่มไม้สูงโดยถ่ายภาพจากระยะ 5 เมตร ( 16 ฟุต) กับเลนส์ช่วงระยะ 300mm การผสมผสานกันของระยะช่วงของเลนส์และระยะทางตัวแบบทำให้สร้างความชัดตื้นชัดลึกอยู่ที่ค่าประมาณ 5 เซ็นติเมตร ( 2 นิ้ว)

แล้วอะไรคือค่าที่ผมต้องตั้งกับกล้องเล็งแล้วถ่าย หรือไม่รู้ว่าจะต้องเปลี่ยนการตั้งค่าอย่างไร?

ไม่ว่าจะเป็นกล้องเล็งแล้วถ่าย มันก็มีทางในการควบคุมชัดตื้นชัดลึก ในโหมด Scene บนเมนู ลองค้นหาสัญญลักษณ์ที่เป็นรูปศีรษะคนซึ่งการตั้งค่าถ่ายภาพบุคคลนั่นเอง ตัวเลือกนี้จะให้ความชัดตื้น ในเมนูเดียวกันถ้ามีรูปสัญญลักษณ์ภูเขาซึ่งเป็นการตั้งค่าถ่ายพวกวิวทิวทัศน์มันจะให้ความชัดลึก
ถ้าคุณเป็นผู้เริ่มต้นกับกล้อง DSLR มันมีวิธีง่ายในการควบคุมชัดตื้นชัดลึกและยังคงใช้การถ่ายแบบโหมดอัตโนมัติด้วย โดยการเลือกโหมดรูรับแสง (โหมด A หรือ Av) ซึ่งทำให้คุณสามารถตั้งค่ารูรับแสงเองเพื่อให้ได้ชัดตื้นชัดลึกตามที่ต้องการ และกล้องจะตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์ให้เองโดยอัตโนมัติ

ผมสามารถตั้งค่าชัดตื้นชัดลึกที่แน่นอนสำหรับแต่ละสถานการณ์ได้ไหม?

ได้...แต่เพราะการเปลี่ยนค่ารูรับแสงมีผลกับความเร็วชัตเตอร์ ผลที่ได้อาจจะไม่ตอบตามความต้องการในภาพที่คุณอยากได้ สำหรับบางกรณี ถ้าคุณพยายามจะเพิ่มการชัดตื้นชัดลึกของคุณโดยการลดขนาดของรูรับแสงซึ่งมันต้องการค่าความเร็วชัตเตอร์ที่เพิ่มขึ้น (ช้าลง) โดยมีผลทำให้ภาพเบลอ การเข้าใจในการตั้งค่าใช้งานร่วมกันสามารถเพิ่มการควบคุมชัดตื้นชัดลึกได้

ชัดตื้นชัดลึกจะให้การขยายที่เท่ากันในด้านหน้าและด้านหลังของจุดโฟกัสหรือเปล่า

ไม่...มันมีค่าประมาณ 1 ใน 3 ของด้านหน้าและ 2 ใน 3 ด้านหลังในจุดโฟกัส แต่ถ้าระยะทางความยาวของจุดโฟกัสเพิ่มขึ้นมันจะทำให้เท่ากันได้

การเข้าใจเกี่ยวกับชัดตื้นชัดลึกอย่างไรที่พัฒนาภาพถ่ายของผมได้?

การจัดการชัดตื้นชัดลึกคือหนึ่งในเครื่องมือที่สำคัญ เพราะว่าการมีภาพที่คมชัดคือสิ่งที่สำคัญสิ่งหนึ่งในการได้ภาพถ่ายที่ดีเยี่ยม การรู้ว่าจะทำอย่างไรให้ส่วนของภาพที่คุณต้องการคมชัดและบางส่วนไม่อยู่ในโฟกัสคือเครื่องมือศิลปะชั้นดีในการสร้างที่ดีเยี่ยม การได้ชัดตื้นชัดลึกที่ถูกต้องสำหรับการถ่ายสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้

เมื่อไรที่ผมควรจะใช้การชัดตื้น?

การใช้ชัดตื้นคือหนทางที่ดีที่ทำให้ตัวแบบแยกออกจากฉากหลังและมันจะดีเยี่ยมสำหรับการถ่ายภาพบุคคล ชัดตื้นสามารถใช้ประโยชน์ได้กับการถ่ายภาพชีวิตสัตว์ป่าที่ซึ่งคุณต้องการให้ตัวแบบยืนโดดเด่นจากสิ่งที่อยู่แวดลอ้ม นี้คือประโยชน์สำหรับภาพชีวิตสัตว์ป่ามากมายที่อยู่ในสภาพแสงน้อย และการเพิ่มขนาดรูรับแสงจะให้ได้แสงมากขึ้น การชัดตื้นยังมีผลกับการถ่ายภาพกีฬาโดยที่หลายครั้งคุณต้องการแยกตัวนักกีฬาออกจากฉากหลังเพื่อดึงความสนใจของนักกีฬา ผลที่ได้ของสิ่งนี้ควรจะช่วยให้คุณมีความเร็วเพียงพอที่หยุดนิ่งท่าทางของนักกีฬา
(ดูภาพประกอบคำบรรยายในเว็ปไซต์ต้นฉบับ)
ภาพนี้ถ่ายด้วยเลนส์ช่วงระยะความยาว 300mm ที่ f/5.6 ทำให้ได้ภาพที่มีความชัดตื้นมาก เนื่องด้วยสิ่งนี้ มันมีความสำคัญที่จะตั้งจุดโฟกัสไปที่ดวงตาของแบบ สังเกตว่านกดูโดดเด่นจากฉากหลัง
เมื่อไรที่ผมควรใช้การชัดลึก?
ในการถ่ายภาพวิวทิวทัศน์ มันสำคัญในการที่จะได้ภาพวิวอยู่ในโฟกัสเท่าที่เป็นไปได้ โดยการใช้เลนส์มุมกว้างและใช้ค่ารูรับแสงแคบๆ เพื่อให้มันสามารถได้ค่าชัดลึกที่สุดและสิ่งที่อยู่ในภาพอยู่ในโฟกัส
(ดูภาพประกอบคำบรรยายในเว็ปไซต์ต้นฉบับ)
ภาพวิวทิวทัศน์นี้ถ่ายด้วยเลนส์ 50mm f/16 จุดโฟกัสที่ระยะ 8 เมตร ซึ่งทำให้ทุกๆ สิ่งที่อยู่ในระยะ 4 เมตรจนถึงจุดอินฟินิตี้อยู่ในโฟกัส
คุณสามารถกำหนดชัดตื้นชัดลึกได้อย่างไร?
มีหลายเว็ปไซต์ที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับผังชัดตื้นชัดลึกสำหรับกล้องและเลนส์ของคุณ ยังมีโปรแกรมอีกหลายตัวสำหรับเครื่องมือถือของผู้ใช้งานในการใช้คำนวณค่าชัดตื้นชัดลึกขณะที่คุณออกไปถ่ายภาพอีกด้วย กล้องส่วนใหญ่มี ปุ่ม DoF ให้ดูก่อนซึ่งคุณจะมองเห็นโดยผ่านช่องมองภาพ (นี้คือขั้นตอนที่ง่ายที่สุด) การใช้ปุ่มนี้อาจทำให้ภาพที่คุณมองเห็นมืดๆเมื่อคุณมองผ่านช่องมองภาพ แต่ไม่ต้องกังวลภาพถ่ายของคุณจะมีการตั้งค่ารับแสงไว้นานเท่ากับสิ่งที่คุณตั้งไว้อย่างถูกต้อง
เราสามารถปรับค่าชัดตื้นชัดลึกเพื่อให้ทุกๆสิ่งอยู่ในโฟกัสได้ไหม?
ได้...ใช้สิ่งที่เรียกว่า ระยะทางของ Hyperfocal เมื่อคุณโฟกัสไปที่จุด Hyperfocal การชัดตื้นชัดลึกของคุณจะขยายจากครึ่งของระยะทางที่จุดโฟกัสไปยังจุดอินฟินิตี้ ใช้ตัวคำนวณ DOF เพื่อหาระยะทาง hyperfocal ของคุณ ถ้าคุณไม่มีเครื่องคำนวณ DoF ให้ใช้กฎทั่วไปคือการโฟกัสหนึ่งในสามของภาพ ใช้ค่ารูรับแสงที่ f/11 หรือสูงกว่ากับเลนส์มุมกว้างเพื่อจะได้ค่าชัดตื้นชัดลึกมากที่สุด

อะไรคือชัดตื้นชัดลึกในการถ่ายภาพมาโคร?

เพราะว่าภาพมาโครส่วนใหญ่จะถ่ายในสภาพแสงน้อยกับความยาวโฟกัสที่ยาวกว่า ค่าชัดตื้นชัดลึกจึงตื้นกว่า ปรับเลนส์ของคุณให้ใช้ค่ารูรับแสงที่เล็กกว่าเพื่อให้แสงเข้ามามาก มันอาจจะจำเป็นที่ต้องเพิ่มค่า ISO ของคุณเพื่อให้ได้ค่ารับแสงที่ถูกต้องของภาพและมีค่าชัดตื้นชัดลึกที่มากสุด แน่นอน ภาพถ่ายมาโครมากมาย ค่าชัดตื้นชัดลึกของคุณอาจจะปรับทุกๆ นาที กับการโฟกัสที่แคบมันจึงมีความจำเป็นต้องใช้ขาตั้งกล้อง เพราะถ้ามันเคลื่อนที่เพียงเล็กน้อยของกล้องจะทำให้ตัวแบบมาโครของคุณหลุดออกจากชัดตื้นชัดลึกทันที
(ดูภาพประกอบคำบรรยายในเว็ปไซต์ต้นฉบับ....ภาพมาโครนี้ใช้ 120mm ที่ f/8 ซึ่งให้ความชัดตื้นมาก)

อะไรคือโบเก้?

โบเก้ มาจากคำภาษาญี่ปุ่นหมายถึง เบลอ ผลของมันเกิดจากสิ่งที่ไม่ได้อยู่ในโฟกัสในภาพของคุณซึ่งเกินกว่าค่าชัดตื้นชัดลึก โบเก้โดยทั่วไปยังอ้างถึง รูปทรงกลมเนื่องจากรูปทรงของรูรับแสงของเลนส์ โดยส่วนมากการสร้างโบเก้เมื่อมีการถ่ายกับการเปิดรูรับแสงที่กว้าง เช่น f/2.8 โบเก้ยังสามารถสร้างได้กับรูรับแสงที่เล็กกว่าถ้าระยะของฉากหลังห่างเพียงพอ
(ดูภาพประกอบคำบรรยายในเว็ปไซต์ต้นฉบับ....โบเก้ในภาพนี้สามารถสร้างโดยใช้ระยะทางของตัวแบบกับฉากหลังซึ่งตกเกินระยะชัดตื้นชัดลึกที่ดี)

สรุปการควบคุมชัดตื้นชัดลึก

การเพิ่มชัดตื้นชัดลึกใช้รูรับแสงที่แคบ (เลข f ที่ใหญ่กว่า)อยู่ให้ห่างจากตัวแบบระยะโฟกัสที่สั้นการลดชัดตื้นชัดลึกใช้ค่ารูรับแสงที่กว้าง (เลข f ที่น้อยกว่า)อยู่ให้ใกล้ตัวแบบระยะโฟกัสที่ยาว
การควบคุมชัดตื้นชัดลึกของคุณโดยการเข้าใจว่าการปรับการควบคุมมันอย่างไรของคุณที่ทำให้ภาพถ่ายของคุณพัฒนาขึ้น คำถามอะไรก็ตามเกี่ยวกับชัดตื้นชัดลึกที่คุณมีอยู่ โปรดแบ่งปันภาพของคุณและข้อแนะนำเข้ามาได้

7
เจ็ดคำแนะนำสำหรับผู้เริ่มต้นกับภาพที่คมชัด
โพสโดย Wayne Turner แปลโดย Topstep07
เว็ปไซต์ต้นฉบับเพื่อดูภาพประกอบคำบรรยาย
http://www.picturecorrect.com/tips/tips-for-sharper-photos/
Scott Kelby ผู้เขียนหนังสือเกี่ยวกับการถ่ายภาพดิจิตอลมากมายได้พูดไว้ว่า “ถ้าภาพของคุณไม่คมชัดส่วนที่เหลือก็ไม่น่าสนใจ” กุญแจสำคัญของทุกๆภาพคือความคมชัด และเพื่อที่จะได้ภาพเหล่านั้นที่มีความคมชัดคุณต้องการคำแนะนำขั้นตอนพื้นฐาน
(ดูภาพตัวอย่าง....“BURN” captured by Michael Moody (Click Image to Find Photographer)
ไม่มีอะไรจะแย่ไปกว่าการได้มองภาพถ่ายบุคคลและเห็นว่าดวงตาไม่ได้อยู่ในโฟกัสกับความคมของจมูกที่สมบูรณ์แบบ  ดวงตาคือหน้าต่างของดวงใจและความคมชัดของดวงตาเป็นจุดที่ดูดีที่สุดในภาพ บางครั้งเมื่อคุณต้องการให้ภาพหลุดโฟกัส หรือบางส่วนของภาพหลุดโฟกัสแต่ส่วนใหญ่แล้วเราต้องการความชัดเจนของภาพ นี้คือขั้นตอนสำหรับภาพที่คมชัด
1. จุดเริ่มต้นของความคมชัดกับขาตั้งกล้อง
ช่างภาพมืออาชีพทุกๆ คน และผู้เริ่มต้นใหม่หลายๆ คน จะบอกคุณว่าขาตั้งเป็นส่วนสำคัญของอุปกรณ์ถ้าคุณต้องการให้ภาพคมชัด แน่นอนมันเป็นไปไม่ได้ที่จะใช้มันตลอด แต่เมื่อคุณมีโอกาสใช้มันซะ มันทำให้กล้องของคุณมั่นคงและหยุดการสั่นไหวจากมือที่ไม่นิ่ง ขาตั้งกล้องที่ดีก็ต้องแลกมาด้วยราคาที่แพงแต่มันคือส่วนหนึ่งของขั้นพื้นฐานที่ทำให้ภาพคมชัด ช่างภาพหลายคนเลือกใช้ขาตั้งเล็กที่คล่องตัวสามารถเก็บและทำงานได้ง่ายในสถานการณ์ต่างๆ
2. สายลั่นชัตเตอร์หรือตัวรีโมทชัตเตอร์


อย่ากดปุ่มชัตเตอร์ ใช้สายลั่นชัตเตอร์แทน...สายลั่นชัตเตอร์คือสายที่เชื่อมต่อกับตัวกล้อง การกดปุ่มจากสายลั่นชัตเตอร์ทำให้ขยับจากมือของคุณบนกล้องไม่เกิดขึ้น ในทำนองเดียวกันกับการลั่นชัตเตอร์แบบไร้สาย
3. การตั้งเวลาถ่ายภาพ
ถ้าคุณลืมเอาสายลั่นชัตเตอร์หรือตัวกล้องคอมแพคของคุณไม่สามารถใช้สายลั่นได้ ใช้การตั้งเวลาถ่ายภาพ ทุกๆกล้อง รวมถึงกล้องคอมแพคจะมีฟังก์ชั่นการตั้งเวลาถ่ายภาพ แม้ว่าคุณยังคงต้องกดปุ่มชัตเตอร์แต่เป็นช่วงเวลาหน่วง 2 ถึง 10 วินาทีซึ่งเพียงพอที่ทำให้การสั่นของกล้องลดลงก่อนที่จะเริ่มกดชัตเตอร์ ดังนั้นคุณควรจะกดปุ่มชัตเตอร์ด้วยความนุ่มนวลเพื่อขจัดการสั่นไหวของกล้อง
(ดูภาพต้นฉบับประกอบคำบรรยาย....“Surfers Paradise, Gold Coast” captured by Drew Hopper (Click Image to Find Photographer)
4.  การใช้ Mirror lock up
จุดเด่นนี้จะมีเพียงคนที่เป็นเจ้าของกล้อง DSLR เมื่อปุ่มชัตเตอร์ถูกกดลง ตัวกระจก mirror ซึ่งอยู่ระหว่างตัวเซนเซอร์กล้องและช่องมองภาพจะยกขึ้นเพื่อยอมให้แสงผ่านและตกไปบนเซนเซอร์ การเคลื่อนไหวเพียงเสี้ยววินาทีก็มีผลกับภาพสุดท้ายของคุณดังนั้นผู้ผลิตจึงได้เพิ่มตัว mirror lock up มันจะล๊อคตัว mirror ในตำแหน่งซึ่งคุณสามารถจัดองค์ประกอบภาพได้ แม้ว่าคุณไม่สามารถมองเห็นภาพผ่านช่องมองภาพได้มันป้องกันการสั่นไหวที่มีผลกับภาพของคุณ ใช้มันถ้าคุณคลั่งไคล้ในความคมชัด
5. ใช้ความคมที่สุดของเลนส์จากค่ารูรับแสงที่ดีที่สุด
ทุกๆ เลนส์จะมีจุด sweet spot พวกมันจะคมที่สุดที่ค่ารูรับแสงนี้ สองสต๊อปที่ต่ำกว่าการเปิดกว้างสุด แย่นิดหนึ่งที่วิธีการนี้ใช้ได้เฉพาะกล้อง DSLR คุณสามารถที่จะบอกได้โดยการมองดูที่รูปถ่ายของคุณและค้นหาว่าภาพไหนมีความคมชัดที่สุด ลองตรวจสอบข้อมูลใน EXIF โดยคลิ๊กขวาที่ภาพของคุณบนเครื่องคอมพิวเตอร์และดูว่าค่ารูรับแสงอะไรที่ได้ใช้ถ่ายภาพนั้น ดังนั้นให้ถ่ายที่ค่ารูรับแสงนั้นเมื่อไรก็ตามที่คุณสามารถใช้มันได้
6. ISO
หลีกเลี่ยงการเพิ่มค่า ISO ซึ่งเหตุผลนี้จะทำให้ความคมชัดของภาพถูกลดลง ให้ใช้ขาตั้งกล้องซะ การถ่ายภาพโดยการใช้ค่า ISO สูงๆ จะเพิ่มน้อยส์ในภาพซึ่งเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ภาพขาดความคมชัด
(ดูภาพต้นฉบับประกอบคำบรรยาย.Photo captured by Lisa Jayne Roe (Click Image to Find Photographer)
7.  ปิดระบบกันสั่น
ถ้าคุณมีเลนส์หรือกล้องที่มีระบบกันสั่น หรือลดการสั่นไหว ให้ปิดมันซะ ในเลนส์จะมีมอเตอร์เล็กเพื่อทำให้ภาพคงที่แต่มันก็ทำให้ภาพขาดความคมชัดจากตัวกันสั่นด้วยเช่นกัน พวกมันจะใช้ได้ดีในสภาพแสงน้อยในสถานการณ์ที่ต้องถือกล้องถ่ายภาพเช่น งานแต่งงาน แต่เมื่อคุณใช้ขาตั้งกล้องก็ให้ปิดมันซะ
นี้เป็นเพียงแค่บางส่วนของคำแนะนำที่ทำให้ภาพคมชัด ไม่มีอันหนึ่งอันใดเพียงอันเดียวที่จะทำให้ภาพของคุณคมชัด แต่มันต้องใช้หลายๆ อย่างรวมกันที่จะช่วยพัฒนาความคมชัดของภาพคุณได้
เกี่ยวกับผู้โพสบทความนี้....Wayne Turner สอนเรื่องการถ่ายภาพมา 25 ปีและเขียนหนังสือเกี่ยวกับถ่ายภาพ 3 เล่ม เขาได้ทำเรื่องเกี่ยวกับ 21 ขั้นตอนของการถ่ายภาพที่สมบูรณ์แบบ ซึ่งเป็นโปรแกรมของการฝึกอบรมโดยการใช้เป็นตัวพื้นฐานของการศึกษา

8
หกหนทางในการสร้างภาพที่ต้องร้อง “ว้าว” ในเวลาน้อยกว่าหนึ่งชั่วโมง

โพสโดย Alex  Morrison แปลโดย Topstep07

เว็ปไซต์ต้นฉบับ เพื่อดูภาพประกอบคำบรรยาย
http://digital-photography-school.com/6-ways-to-take-wow-photos-in-less-than-an-hour/

ถ้าคุณเป็นเหมือนช่างภาพคนอื่นๆ ไม่มีสิ่งใดจะน่าตื่นเต้นมากกว่าคำแนะนำหรือกลเม็ดใหม่ๆ ที่ช่วยให้คุณถ่ายภาพที่น่าจับใจ ปัญหาคือการทำงานและวิธีการเหล่านี้ต้องใช้เวลาในการเรียนรู้และทำให้ถูกต้อง คุณได้ตระหนักอย่างรวดเร็วว่ามันต้องใช้เวลาของคุณมากมายในการพยายามกับเทคนิคใหม่เพื่อให้กลายเป็นช่างภาพที่ดีกว่าเดิม
(ดูภาพตัวอย่างประกอบในเว็ปไซต์ต้นฉบับ....เสาไฟในที่จอดรถสามารถกลายเป็นสิ่งที่น่าอัศจรรย์ได้)
คุณยังยุ่งกับการถ่ายภาพมากกว่าในการดูแลและใครละที่จะไม่ชื่นชมกับภาพธรรมดาซึ่งเป็นผลลัพท์ออกมาอย่างรวดเร็ว
ให้เราลืมเรื่องค่ารูรับแสง และความเร็วชัตเตอร์ ความยาวโฟกัส ค่า ISO และเทคนิคต่างๆ ไปก่อนตอนนี้ ถ้าคุณใช้เทคนิคในบทความนี้ แบบลำพัง หรือจะผสมผสานแบบลงตัว ผมรับรองได้ว่าคุณจะเรียนรู้ว่าการถ่ายภาพที่ต้องร้อง ว้าว ใช้เวลาน้อยกว่าหนึ่งชั่วโมง ผมใช้การ snapshot ในการสร้างภาพที่ต้องร้อง ว้าว กับชั้นเรียนถ่ายภาพของผม จากเด็กเกรดหนึ่งที่ไม่เคยเห็นกล้องมาก่อนเลยถึงระดับมืออาชีพผู้ซึ่งต้องการฉีดยาในการแก้ไขปัญหาอย่างรวดเร็วเพื่อเป็นคลังความรู้ของการถ่ายภาพ มันใช้ได้ผลกับทุกๆคน ผมรับรอง ลองดูซิ

วีธีที่หนึ่ง...มุมมองแบบนก

ในการใช้ชีวิตของเราแต่ละวันเรามองเห็นโลกจากที่สูงเพียงแค่ 5-6 ฟุต ถ้าต้องการสร้างภาพ “ว้าว” คุณต้องมีมุมภาพที่แตกต่าง แสดงให้ผู้ชมได้เห็นจุดมองที่ไม่ใช่การมองแบบปกติ ไม่ว่าตัวแบบจะเป็นอะไรก็สามารถแปลงให้เป็นภาพที่ต้องร้อง “ว้าว” ได้ ถ้าคุณถ่ายมันจากจุดบนแล้วก้มลงมา สิ่งนี้คือสิ่งที่ผมเรียกมันว่า มุมมองแบบนก...

วิธีที่สอง..มุมมองแบบหนอน

เหมือนกัน...เราไม่ค่อยได้มีเวลาที่จะอยู่ในระดับต่ำเท่ากับพื้นดิน ดังนั้นลองถ่ายภาพในมุมต่ำและเงยกล้องของคุณขึ้น หรือเหมือนกับการสำรวจโลกจากมุมมองของตัวหนอน (ให้ท้องคุณแตะพื้น) และมองสิ่งที่อยู่ในโลกนี้เป็นสิ่งที่น่าสนใจ มันจะทำให้ภาพที่ได้ต้องร้อง “ว้าว” จากมุมมองแบบตัวหนอน
การถ่ายภาพในลักษณะนี้จะเพิ่มประโยชน์ที่ช่วยกำจัดสิ่งที่รบกวนของฉากหลัง เช่น ตึก ต้นไม้ หรือ วัสดุอื่นๆ ที่คุณไม่ต้องการให้อยู่ในภาพ...มันเป็นโบนัสเลยละ....

วิธีที่สาม....การถ่ายแบบทำมุม

เพียงแค่ความสูง 5 ฟุตของเราจะได้ค่าเฉลี่ยในมุมมองที่แน่นอน มันจะทำให้เราได้เส้นแนวนอนและแนวตั้งที่ทำมุมกัน เราจะเห็นภาพในโลกแบบนี้ 90 % ตลอดเวลา และมันไม่ใช่สิ่งจะทำให้ภาพต้องร้อง “ว้าว” ถ้าคุณถ่ายภาพแบบนี้ แต่ให้คุณลองมุมกล้องทำมุม 45 องศาซึ่งสามารถเพิ่มความมีชีวิตชีวาได้ ให้แน่ใจว่ามันมีการทำมุมที่ใหญ่เพียงพอและชัดเจนในการทำแบบมีวัตถุประสงค์ไม่ใช่ความผิดพลาด
ไม่ว่าจะเป็นตึก ต้นไม้ หรือวัตถุใหญ่ๆ หรือแม้แต่คนจะดูดีกับการหมุนมุมเพียงนิดหน่อยเมื่อคุณต้องการให้มันเป็นแบบนั้นหรือเพิ่มอิทธิพลที่ผลกระทบกับภาพ

วิธีการที่สี...ให้ดวงอาทิตย์อยู่หลังตัวแบบของคุณ

มีสิ่งที่น่าเหลือเชื่อหลายแบบในรายละเอียดของเทคนิคสำหรับการถ่ายภาพเงาดำ แสงริมไลท์ และหรือแสงจากด้านหลัง แต่แท้จริงสิ่งที่คุณต้องการสร้างภาพที่ต้องร้อง “ว้าว” คือการวางตัวแบบของคุณ เพื่อว่า ดวงอาทิตย์ หรือแหล่งกำเนิดแสงอยู่ตรงด้านหลังพวกเขา ไม่ว่าจะเป็นส่วนศีรษะหรือร่างกายที่บังจุดหลักของแสงที่สองมา ให้ถ่ายภาพในโหมด Manual และให้แน่ใจว่าได้ปิด flash แล้ว เล็งและวัดค่าแสงไปที่ดวงอาทิตย์ และจัดองค์ประกอบภาพกับดวงอาทิตย์ที่อยู่ด้านหลังตัวแบบ ไม่ว่ามันจะเป็นสัตว์ หรือคน หรือวัตถุ ให้ใช้มันเป็นตัวบังดวงอาทิตย์และคุณจะเป็นผู้ชนะ....

วิธีการที่ห้า....ใช้เงา

ไม่มีสิ่งใดที่จะเล่าเรื่องได้ดีไปกว่าเงา พวกมันไม่มีตัวตน ไม่ถาวร และลึกลับ การรวมเอาเงาเข้าไว้ในภาพถ่าย หรือจะถ่ายเพียงแต่เงา พวกมันจะเล่าเรื่องได้น่าสนใจ และสร้างภาพที่น่าประทับใจ

การถ่ายภาพที่ต้องร้อง “ว้าว” แบบสุดยอด

การถ่ายภาพที่ต้องร้อง “ว้าว” แบบสุดยอดคือภาพที่ถูกสร้างเมื่อคุณใช้หนึ่งในเทคนิคหรือทั้งหมดข้างต้น โดยรวมกันของ เรื่องแบบ มุม และจุดสนใจ
ลองนำไปใช้กับสิ่งที่คุณได้เรียนมาแล้ว
โดยสรุปแล้ว ห้าวิธีการจะให้ผลของภาพที่น่าตื่นเต้นเร้าใจ และถ้าคุณเชี่ยวชาญกับกล้องและความรู้เกี่ยวกับการวางองค์ประกอบภาพ ทฤษฎีสี และแสง คุณจะถ่ายได้เหมือนกับช่างภาพอาชีพซึ่งใช้เวลาเพียงไม่ถึงชั่วโมง รวมถึงเวลาที่ได้อ่านบทความนี้ด้วย ถ้าคุณมีความชำนาญในการถ่ายภาพ ลองสิ่งเหล่านี้และมันจะช่วยให้ภาพถ่ายมีชีวิตอย่างง่ายๆ ขณะที่เพิ่มกลเม็ดเด็ดให้กับผลงานของคุณด้วย

ลองแสดงภาพที่ต้องร้อง “ว้าว” ให้ผมได้เห็น ผมชอบที่จะเห็นว่าคุณได้นำมันไปใช้อย่างไร แบ่งปันภาพของคุณในช่องความเห็นด้านล่างนะครับ

9
 เทคนิคและคำแนะนำในการถ่ายภาพน้ำตก

โพสโดย Ron Bigelow แปลโดย Topstep07

เว็ปไซต์ต้นฉบับเพื่อดูภาพประกอบคำบรรยาย

http://www.picturecorrect.com/…/waterfall-photography-tips…/

น้ำตกดูเหมือนจะเป็นสิ่งที่จับอยู่ในจิตใจของผู้คน ลองไปในสถานที่สักหนึ่งที่ที่มีน้ำตกมากกว่าหนึ่งแห่งและรับรองได้เลยว่ามันจะดึงดูดคุณ ถ้ามันไม่ใช่การดึงดูดหลักของพื้นที่นั้น อย่างไรก็ตามความสวยของน้ำตกมันไม่ง่ายที่จะเก็บภาพสวยๆด้วยกล้อง มันง่ายในการถ่ายภาพน้ำตก มันไม่ง่ายในการถ่ายภาพให้มีพลัง
(ดูภาพในเว็ปไซต์ต้นฉบับเพื่อประกอบคำบรรยาย “Dead Leaves And The Dirty Ground” captured by Mark Broughton (Click Image to See More From Mark Broughton)
การถ่ายภาพน้ำตกจะมีปัญหาที่เป็นเอกลักษณ์ซึ่งต้องใช้การแก้ไขที่มีเอกลักษณ์เช่นกัน ในบทความนี้พูดถึงปัญหาที่เป็นเอกลัษณ์เฉพาะและแนวทางแก้ไขซึ่งยอมให้ช่างภาพผลิตภาพที่สื่อถึงความมีพลังและความสวยงามของน้ำตกที่มีอยู่นานแล้ว

สภาพอากาศ

สภาพอากาศจะเล่นเป็นบทหลักใหญ่ๆในการผลิตภาพน้ำตกที่ยอดเยี่ยม ดูเหมือนง่าย การถ่ายภาพน้ำตกจะไม่สวยตอนสภาพอากาศที่แดงเปรี้ยง เวลาที่ดีที่สุดของการถ่ายภาพน้ำตกคือช่วงที่สภาพอากาศมีเมฆมาก..
น้ำตกบางที่จะถ่ายภาพดีที่สุดในช่วงแสงที่มีเมฆมาก แสงแบบนี้จะผลิตแสงที่นุ่มนวลแต่ยังคงมีพลังที่เพียงพอที่จะดึงเอาสีเข้ามาในภาพด้วย น้ำตกบางแห่งก็ถ่ายภาพสวยในช่วงมืดครึ้มมาก สภาพแบบนี้สามารถสร้างอารมณ์ของภาพกับพลังที่ถ่ายทอดไปสู่ความรู้สึกของอารมณ์ในภาพ แท้จริงแล้วภาพน้ำตกที่มีพลังสามารถถูกสร้างในช่วงหน้าฝน (ระหว่างที่ฝนหยุดตก)
(ดูภาพในเว็ปไซต์ต้นฉบับเพื่อประกอบคำบรรยาย “Skogafoss” captured by AEvar Guomundsson (Click Image to See More From AEvar Guomundsson)

ตัวฟิลเตอร์เก่า

สิ่งสำคัญที่ท้าทายของการถ่ายภาพน้ำตกคือน้ำที่กระเซ็นเข้ามาที่เลนส์ ( หรือฟิลเตอร์ที่อยู่ด้านหน้าเลนส์) น้ำตกที่มีพลังจะมีปริมาณน้ำที่มากที่จะสร้างละอองน้ำ อีกทางหนึ่ง สภาพอากาศอาจจะสร้างหมอก ฝนตกปรอยๆ หรือฝนที่เข้ามาในเลนส์ ทั้งหมดนี้สามารถทำให้แย่ลงไปอีกโดยลม (ซึ่งมันจะพัดตรงไปที่เลนส์ของผม) ทางแก้ไขอีกทางหนึ่งคือใช้ฟิลเตอร์เก่าใสไว้ด้านหน้าเลนส์ขณะที่อุปกรณ์กำลังติดตั้ง ขณะที่ช่างภาพพร้อมที่จะออกไป ช่างภาพจะเอาตัวฟิลเตอร์ออกจากเลนส์เพื่อทำการถ่ายภาพ

ขาตั้งกล้อง

อย่าคิดว่าการถ่ายภาพน้ำตกนั้นไม่ต้องใช้ขาตั้งกล้อง ส่วนที่ใหญ่สุดของน้ำตกธรรมชาติคือการเคลื่อนไหวของน้ำ การเคลื่อนไหวแบบนี้การเก็บภาพจะต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ช้าเพียงพอที่จะให้ภาพชัดซึ่งไม่สามารถถ่ายภาพด้วยการถือกล้องมือเปล่าได้
(ดูภาพในเว็ปไซต์ต้นฉบับเพื่อประกอบคำบรรยาย “Fiery Autumn Waterfall” captured by Forest Wander (Click Image to See More From Forest Wander)

ไวท์บาลานซ์

แสงที่มีผลกับการถ่ายภาพน้ำตกสามารถหลอกได้ ในช่วงฟ้าครึ้มหรือฝนตก แสงจะให้โทนไปทางสีฟ้าจางๆ ถ้าน้ำตกที่อยู่ในป่า แสงจะสะท้อนจากต้นไม้และให้แสงสีเขียวจางๆ ไม่ว่าจะเป็นการตั้ง ออโต้ไวท์บาลานซ์หรือตัว พรีเซ็ทไวท์บาลานซ์ในตัวกล้องจะไม่ยืนยันว่าไวท์บาลานซ์นั้นแน่นอน ทางแก้ไขที่ดีที่สุดคือใช้การตั้งไวท์บาลานซ์แบบ manual (คู่มือกล้องของคุณจะอธิบายว่าการตั้งค่านั้นทำอย่างไร)

โพลาไรซ์เซอร์

ตัวแบบที่เปียกน้ำจะสร้างแสงสะท้อน แสงนี้ถูกแบ่งเป็นส่วนๆ นี้คือปัญหาทั่วไปกับการถ่ายภาพน้ำตกเพราะว่าหินและพืชพรรณต่างๆ ที่อยู่ใกล้น้ำตกจะเปียกและจะปริมาณของการสะท้อนแสง ตัวโพลาไรซ์เซอร์จะเอาแสงสะท้อนนี้ออกได้ สิ่งเพิ่มเติม โพลาไรซ์เซอร์เป็นผลลำดับรองโดยการเอาแสงสะท้อนออก ความอิ่มตัวของสีจะถูกเพิ่มขึ้นด้วย

ตัววัดระดับ

เป็นที่น่าเศร้าใจว่าสายตาของมนุษย์ไม่ดีพอที่ตัดสินว่ากล้องอยู่ในระนาบที่ตั้งตรง โชคดี ตัววัดระดับถูกออกแบบอย่างเฉพาะเจาะจงสำหรับการวัดระดับของตัวกล้องถ่ายภาพ ตัววัดระดับมีราคาไม่แพง เล็ก ง่ายในการใช้งานที่เสียบอยู่บนช่องใส่แฟลชที่อยู่บนหัวกล้องและช่างภาพสามารถปรับตัวกล้องให้ตรงกับตัววัดระดับ มันทำงานเหมือนกับตัววัดระดับน้ำของช่างไม้ ง่ายๆ เพียงให้ตัวฟองอากาศข้างในอยู่ระหว่างเส้นตรงกลางและกล้องก็จะถูกปรับระดับให้ตรงตามนั้น
(ดูภาพในเว็ปไซต์ต้นฉบับเพื่อประกอบคำบรรยาย “Waterfall” captured by Derrick Smith (Click Image to See More From Derrick Smith)

องค์ประกอบภาพ

การระบุและการเก็บภาพที่มีองค์ประกอบภาพที่ทรงพลังคือสิ่งที่สำคัญส่วนของการสร้างภาพน้ำตกที่มีพลัง ขณะที่วัตถุประสงค์ของบทความนี้ไม่ได้พูดถึงเรื่องขององค์ประกอบภาพ มุมมองขององค์ประกอบภาพ เส้นโค้งและสภาพแวดล้อมก็ยังคงรวมอยู่ด้วย
เส้นโค้งสามารถสร้างหรือหยุดภาพน้ำตกได้ มีเส้นโค้งสองแบบที่สำคัญ แบบแรกของเส้นโค้งคือรูปทรงของน้ำ น้ำตกส่วนใหญ่จะมีการไหลของน้ำหรือตกลงมาในทิศทางรูปแบบเส้นโค้งซึ่งสร้างความน่าสนใจมากกว่าน้ำตกที่มีน้ำตกลงมาแบบตรงๆ สาระสำคัญคือ เส้นโค้งที่อ่อนช้อยจะเพิ่มความงดงามให้น้ำตกได้มากที่เดียว รูปแบบที่สองของเส้นโค้งคือ ความโค้งของตัวแบบที่ชี้ไปยังน้ำตก ความโค้งแบบนี้จะชี้ตรงไปที่น้ำตกและทำให้เป็นจุดกึงกลางของความน่าสนใจ
ส่วนประกอบที่สองของการวางองค์ประกอบภาพน้ำตกที่ครอบคลุมในบทความนี้คือ สภาพแวดล้อมที่อยู่ล้อมรอบน้ำตก นี้คือสิ่งที่สำคัญสำหรับการถ่ายภาพน้ำตก โดยตัวของมันเองการตกของน้ำดูไม่น่าสนใจ ยิ่งกว่านั้นมันยังแวดล้อมไปด้วยธรรมชาติที่ทำให้น้ำตกมีลักษณะเฉพาะตัว ดังนั้นทำไมไม่รวมเอาสภาพแวดล้อมธรรมชาติเข้าไปอยู่ในภาพของคุณด้วย การล้อมรอบของก้อนหิน ต้นไม้ และพืชสามารถทำให้ภาพน้ำตกที่มีชีวิตได้

ความเร็วชัตเตอร์

ค่าความเร็วชัตเตอร์อะไรที่ควรใช้ในการเบลอน้ำตก? ดูเหมือนว่าคือคำถามแรกของคนที่ต้องการถ่ายภาพน้ำตก อย่างไรก็ตาม ไม่มีสิ่งใดเป็นค่าความเร็วชัตเตอร์ที่ถูกต้องสำหรับการถ่ายน้ำตก ค่าความเร็วชัตเตอร์ที่เหมาะสมคือห้าปัจจัยดังนี้
(ดูภาพตัวอย่างประกอบคำบรรยายในเว็ปไซต์ต้นฉบับ...“Play Misty for Me” captured by Debra Vanderlaan (Click Image to See More From Debra Vanderlaan)
• The amount of blur desired
• ปริมาณของน้ำ
• ความเร็วของน้ำ
• ระยะห่างระหว่างกล้องและน้ำ
• ทิศทางการไหลของน้ำกับเลนส์ที่ใช้
ค่าความเร็วชัตเตอร์ที่ดีที่สุดจะผันแปรจากน้ำตกแห่งหนึ่งไปยังอีกแห่งหนึ่ง ในตอนแรก ฟังดูแล้วน่ากังวลใจเล็กน้อย “ผมจะปรับค่าความเร็วชัตเตอร์อย่างไรให้ดีที่สุด มันเปลี่ยนจากน้ำตกที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง” แท้จริงแล้วกับกล้องดิจิตอลมันง่ายมากที่จะหาค่าความเร็วชัตเตอร์ที่ดีที่สุด คุณสามารถทดสอบถ่ายภาพในค่าความเร็วชัตเตอร์ที่แตกต่างกันและทดสอบดูผลที่ได้ผ่านจอแสดงภาพ ซูมภาพเข้าไปดูในจอจะช่วยให้คุณเห็นรายละเอียดของน้ำว่าฟุ้งแค่ไหน
สำหรับน้ำตกขนาดใหญ่กับปริมาณน้ำที่มากมายที่ซึ่งมันเป็นที่ชื่นชอบของการเก็บภาพความรุ่นแรงของธรรมชาติของน้ำตก ค่า 1/100 วินาทีคือค่าความเร็วชัตเตอร์ที่เริ่มต้น สำหรับน้ำตกขนาดเล็กกว่า น้ำตกที่มีน้ำน้อย หรือน้ำตกที่ซึ่งเราชอบถ่ายให้เหมือนภาพความฝัน ความเร็วชัตเตอร์จะอยู่ที่ 1/2 วินาที ถึง 2 วินาที

ค่าการรับแสง

การได้ค่ารับแสงที่ถูกต้องเป็นสิ่งที่ท้าทายเมื่อทำการถ่ายภาพน้ำตก แน่นอน...ปัญหาใหญ่ที่สุดสิ่งหนึ่งคือมันง่ายที่จะเกิดไฮทไลท์ที่น้ำ มันหมายถึงว่า รายละเอียดในน้ำจะหายไป และน้ำจะกลายเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ที่มีแต่แสงสีขาวล้วนๆ เมื่อมันเกิดขึ้น น้ำจะดูไม่สมจริง แนวทางแก้ไขของปัญหาคือ ลองถ่ายภาพน้ำตกและตรวจสอบค่าฮิสโตแกรมในจอแสดงภาพในกล้องของคุณ ถ้าค่าฮิสโตแกรมมันตัดส่วนด้านขวาออกไป ค่าไฮทไลท์ก็จะหายไปด้วย ถ้ามันเป็นแบบนี้ ค่ารับแสงต้องการค่าที่ลดลง
(ดูภาพตัวอย่างประกอบคำบรรยายในเว็ปไซต์ต้นฉบับ..“Guadalupe River on Roar” captured by Rob Zabroky (Click Image to See More From Rob Zabroky)

บทสรุป
คำแนะนำเหล่านี้ คุณควรจะได้วิธีของคุณเองในการเก็บภาพน้ำตกที่ยอดเยี่ยมอย่างแน่นอน

10
 ขั้นตอนการปรับแต่งภาพดิจิตอล- ภาพที่ดีกว่าเริ่มจาก การถ่ายภาพจนถึงผลลัพท์สุดท้ายที่ได้

โพสโดย Nat Coalson แปลโดย Topstep07

เว็ปไซต์ต้นฉบับเพื่อดูภาพประกอบคำบรรยาย
http://digital-photography-school.com/digital-photo-editin…/

ภาพที่ดีกว่าจากการถ่ายภาพสู่ผลลัพท์สุดท้าย
การมองที่ครอบคลุมถึงความสำคัญของขั้นตอนและหลักการที่มีผลกับการปรับแต่งภาพโดยเน้นที่เครื่องมือหลัก
คุณเคยลองหาภาพที่คุณรู้ว่าคุณเคยใช้มันมาก่อน แต่จำไม่ได้ว่าเก็บมันไว้ที่ไหน หรือเรียกมันว่าอะไร? คุณพบว่าตัวคุณเองได้ปรับแต่งภาพที่เคยปรับมาแล้วก่อนหน้านี้? หรือคุณติดขัดที่จะเริ่มที่คุณรู้ว่าสามารถทำได้ดีกว่า แต่ไม่แน่ใจว่าปรับอย่างไร หรือไม่รู้จะเริ่มตรงไหน?
เราอยู่ที่นี้แล้ว จำนวนภาพหลายร้อยภาพที่จัดเรีรยง ไฟล์ที่กระจัดกระจายทั่วไปในฮาร์ดิสก์ ภาพที่หายไป หรือภาพที่ซ้ำซ้อนที่ไม่จำเป็น ภาพที่ถูกซุกซ่อนไว้ในที่ลึกลับกับชื่อที่สับสน หรือการพิมพ์ภาพจองแล็ปที่ดูดี หรือไร้ประโยชน์ ในขณะที่รู้ว่าคุณมีภาพที่มีค่าอยู่เพียงแต่รอการค้นหาและนำมันกลับขึ้นมามีชีวิตอีกครั้ง
(ดูภาพผังขั้นตอน ในเว็ปไซต์ต้นฉบับ)
ถ้าคุณมีความรู้สึกเกี่ยวกับภาพถ่ายดิจิตอลแบบนี้อยู่ มันไม่ได้เกิดขึ้นกับคุณคนเดียว การเก็บภาพดิจิตอลกลายเป็นสิ่งที่ง่ายในช่วงเวลาไม่นานมานี้และมันก็ง่ายที่ทำให้ปวดหัวเช่นกัน เพียงเพราะว่าจำนวนของภาพที่คุณสร้างมันขึ้นมาก
สำหรับช่างภาพที่เอาจริงเอาจัง การถ่ายภาพคือเพียงจุดเริ่มต้นที่มีกระบวนการสลับซับซ้อนที่เต็มไปด้วยหลุมพราง ดังนั้นคุณจัดการกับสภาพยุ่งเหยิง รกรุงรังนี้อย่างไร? กุญแจที่จะนำภาพดิจิตอลของคุณให้ดูน่าสนุกและสร้างสรรค์คือการรับเอามาและปรับเปลี่ยน อย่างมีประสิทธิผล และมีขั้นตอนที่สอดคล้องกัน

ทำไมต้องมีขั้นตอนด้วย

ความคิดดูเป็นเรื่องธรรมดา ขั้นตอนจัดการภาพถ่ายของคุณคือลำดับของขั้นตอนและการปรับแต่งภาพของคุณที่ทำให้เกิดผลลัพท์ที่เสร็จสมบูรณ์และแบ่งปันพวกมันไปยังโลกภายนอก การปรับแต่งภาพก็เหมือนกับการอบขนมเค้กหรือการประกอบเฟอร์นิเจอร์ คุณเริ่มจากส่วนประกอบที่เป็นวัตถุดิบหรือชิ้นส่วนต่างๆ และทำตามขั้นตอนในการที่จะประกอบมันเข้าด้วยกัน ในกระบวนการขั้นตอนของภาพถ่ายที่ดีคือผลลัพท์สุดท้ายที่เป็นภาพสมบูรณ์แบบ เก็บไว้อย่างปลอดภัยสำหรับการนำมาใช้อีกในอนาคต ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่เป็นไปได้
ความมีประสิทธิภาพคือสิ่งสำคัญ ถ้าปราศจากขั้นตอนที่ดีแล้วอย่างน้อยสุดก็คือคุณเสียเวลา แย่สุด คุณอยู่กับความเสี่ยงที่จะสูญเสียภาพที่มีค่าไป ในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมา ผมรู้จักช่างภาพงานแต่งงานคนหนึ่งซึ่งกลายเป็นช่างภาพระดับอาชีพผู้ซึ่งได้สูญเสียภาพถ่ายในงานแต่งงานทั้งหมดเนื่องจากความผิดพลาดง่ายๆ ในขั้นตอนการทำงานของเธอเอง (สั้นๆ คือ ความผิดพลาดที่เกิดจากความสับสนในกระบวนการย้ายไฟล์เข้าและรวมถึงไม่มีการสำรองข้อมูลที่เพียงพอ)
คุณอาจจะถ่ายภาพเพื่อความสนุกอย่างเดียวก็ได้ใช่ไหม? ถ้าคุณกำลังวางแผนในการถ่ายภาพอย่างต่อเนื่อง คุณก็ยังคงต้องใช้กระบวนทำงานที่มีประสิทธิภาพอยู่ดี ถ้าไม่การเก็บภาพของคุณจะกลายเป็นเหมือนสัตว์เดรัจฉาน ดุร้าย และยากที่จะทำให้เชืองได้ และภาพของคุณก็จะดูไม่ดีเท่ากับสิ่งที่พวกมันควรจะเป็น ไม่สนุกเลย...
เมื่อคุณได้เริ่มการถ่ายภาพดิจิตอล คุณต้องการการพัฒนานิสัยที่ดีตั้งแต่เริ่มต้นแม้ว่าคุณถ่ายมันมาหลายปีแล้วก็ตาม มันไม่สายเกินไปที่จะพัฒนา

กระบวนของคุณ

ตอนนี้ มันเป็นเรื่องส่วนบุคคล
คุณสามารถสร้างกระบวนการทำงานของภาพถ่ายดิจิตอลที่เหมาะสมกับสถานการณ์และความพึงพอใจของคุณเองได้ แต่ทุกๆกระบวนการขั้นตอนที่มีประสิทธิภาพมีส่วนของงานร่วมกันอยู่ ต้นตอของเทคนิค และการปฎิบัติที่เป็นเลิศ นี้คือกระบวนการที่ถูกสร้างและพัฒนาในโลกของความเป็นจริงโดยใช้ภาพถ่ายหลายประเภท พวกเขานำมาใช้อย่างเท่าๆ กันกับผู้เริ่มต้นที่มีความกระตือรือร้นและระดับมืออาชีพ
ครั้งแรกที่ผมเริ่มปรับแต่งภาพในช่วงก่อน ค.ศ. 1990 โดยทำงานในสำนักพิมพ์นิตยสาร ภายใต้ความกดดันของวันครบกำหนดและต้องจัดการภาพดิจิตอลเป็นพันๆ ภาพ กระบวนการขั้นตอนที่ดีเป็นสิ่งสำคัญมาก ขณะที่ทำงานเป็นช่างภาพ ผมจะปรับแต่งกระบวนการขั้นตอนของผมเองมาเป็นเวลาสิบปีและผมยังคงปรับแต่งมันเล็กน้อยตั้งแต่ตอนนั้นจนถึงเวลานี้
การที่ยังคงค้นหาแนวทางอย่างต่อเนื่องเพื่อจะได้ไขน๊อตให้แน่นที่จะช่วยกำจัดความเสี่ยงของความเสียหายขณะที่ยังคงฝึกฝนการถ่ายภาพให้มีความสนุกและเป็นรางวัลไปด้วย คุณสามารถมีกระบวนการขั้นตอนของคุณเองได้เช่นกัน เริ่มต้นคุณเพียงแต่ต้องการความเข้าใจปัญหาทั่วๆไปและงานที่คุณต้องเจอ ดังนั้นเรียนรู้เครื่องมือที่ดีที่สุดและเทคนิคในการจัดการพวกมัน สิ่งที่ดีสำหรับกระบวนการจัดการภาพถ่ายคือ
• ใช้ขั้นตอนที่ไม่มากเท่าที่เป็นไปได้
• การทดลองที่ไม่ทำลายผลงาน และยอมให้คุณเปลี่ยนใจ หรือทำอีกครั้งโดยปราศจากการเสียคุณภาพของภาพถ่าย
• ป้องกันภาพของคุณเวลานี้และสำหรับอนาคต
• ลองมองหาภาพที่ดีที่สุด
ตอนนี้เรามาดูส่วนที่สำคัญของกระบวนการขั้นตอนการปรับแต่งภาพถ่ายกัน
(ดูผังขั้นตอนการทำงาน ในเว็ปไซต์ต้นฉบับ)

ขั้นที่ 1 การถ่ายภาพ

อะไรก็ตามที่เป็นผลลัพท์สุดท้ายในสิ่งที่คุณกำลังมองเห็น ภาพถ่ายดิจิตอลที่ดีเยี่ยมเริ่มต้นกับข้อมูลที่ดี คุณจะพยายามทำการถ่ายภาพที่ดีที่สุดที่คุณสามารถทำได้ และโดยส่วนใหญ่ พยายามจบจากในกล้องให้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ทำงานอย่างระมัดระวังในการได้ค่ารับแสงที่แน่นอนกับระดับความคมชัดของฉากหรือตัวแบบโดยไม่ได้คำนึงถึงรูปแบบของภาพที่ถ่าย คุณควรทำงานกับเทคนิคของกล้องอย่างมืออาชีพ

ขั้นที่ 2 การนำเข้า

การก๊อปปี้ไฟล์จากอุปรกรณ์จัดเก็บเคลื่อนที่ไปยังที่เก็บถาวรเป็นสิ่งที่ถูกเรียกว่า การดาวน์โหลด การนำเข้าสู่ การโอน ฯลฯ แต่ผลที่ได้มันเหมือนกัน หลังจากที่ถ่ายภาพมาเสร็จแล้วให้ทำการก๊อปปี้ภาพถ่ายของคุณจากการ์ดความจำไปยังโฟลเดอร์จัดเก็บใหม่ที่อยู่บนฮาร์ทดิสก์ และทำการสำรองข้อมูลทุกๆสิ่งเอาไว้
Backup. Backup. Back Up!
ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทุกคนรู้ถึงความสำคัญของการสำรองข้อมูลดี แต่หลายคนก็ไม่เคยทำมัน หรือไม่ได้ทำอย่างเพียงพอ นี้ไม่ใช่ขั้นตอนเดียวในกระบวนการ มันคือบางสิ่งที่คุณควรทำบ่อยๆในการกระบวน คุณควรมีภาพที่ถูกเก็บไว้อย่างน้อยสามที่ที่แยกแหล่งเก็บจากกัน
1. ที่เก็บต้นฉบับหลักในการทำงาน
2. ตัวสำรองปัจจุบันของต้นฉบับหลัก
3. ตัวสำรองที่เก็บตั้งแต่ในอดีต โดยจัดเก็บแยกจากต้นฉบับและที่สำรองไว้ออกไปไว้ในสถานที่อื่น
(หัวข้อของเรื่องที่จัดเก็บภาพดิจิตอลและการสำรองข้อมูลเป็นสิ่งที่สำคัญที่เราจะต้องย้อนกลับมาดูอีกในอนาคต)

ขั้นที่ 3 การจัดระเบียบ

หลังจากที่รูปภาพของคุณถูกทำสำเนาลงในพื้นที่จัดเก็บข้อมูลในการทำงาน (และการสำรองข้อมูล)แล้ว ให้จัดเรียงรูปภาพแยกภาพที่คุณชื่นชอบออกจากทั้งหมด สิ่งที่ดีที่สุดในการทำสิ่งนี้คือการให้คะแนน (เช่น การใส่จำนวนดาว) หรือการจัดเรียงโดยใช้ (สี, ธงสัญลักษณ์ และอื่นๆ)
ระบบชนิดไหนก็ตามที่คุณชอบใช้ ให้เก็บภาพทั้งหมดจากการถ่ายเพียงครั้งเดียวในหนึ่งโฟลเดอร์และใช้การให้คะแนนด้วยคำอธิบายในสิ่งที่คุณได้เลือกไว้ ในขั้นตอนนี้คุณควรประยุกต์ใช้และเพิ่มตัวนิยามของข้อมูลรวมกับไฟล์ของคุณด้วย คำหลัก(keywords), ลิขสิทธิ์ และข้อมูลการติตต่อ คือข้อมูลอีกประเภทหนึ่งที่คุณสามารถเพิ่มไว้กับภาพถ่ายดิจิตอล

หลีกเลี่ยงโฟลเดอร์นรก

ก่อนหน้านี้ในยุดสื่อดิจิตอล มันเป็นการปฎิบัติทั่วไปในการย้ายไฟล์จากโฟลเดอร์หนึ่งไปยังอีกโฟลเดอร์หนึ่งขณะที่ทำการปรับกระบวนขั้นตอนการทำงาน ตัวอย่างเช่น ภาพต้นฉบับที่แสกนมาจากฟิลม์ควรจะเก็บไว้ในหนึ่งโฟลเดอร์เป็นอันดับแรก ขณะที่ภาพส่วนตัวถูกเลือก มาปรับแต่งและได้ผลลัพท์ออกมา ไฟล์จะถูกทำสำเนาอีกครั้ง (หรือเคลื่อนย้าย)ไปยังอีกโฟลเดอร์หนึ่งเพื่อไปยังขั้นตอนของการทำงาน อย่าทำแบบนี้ มันสร้างโครงสร้างของไฟล์และโฟลเดอร์ที่จัดการได้ยากและทำให้เกิดการจัดระเบียบที่ดีเป็นไปไม่ได้เลย
ซอฟท์แวร์การจัดเก็บภาพสมัยใหม่และพวกที่เฉพาะเจาะจง ตัวนิยามของข้อมูล (metadata) ยอมให้คุณจัดระเบียบไฟล์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าโดยการใช้ขบวนการเสมือนจริง (เช่น Lightroom’s Collections และการสำเนาข้อมูลเสมือน (virtual copies) โดยปราศจากความต้องการในการทำสำเนาหรือเคลื่อนย้ายภาพถ่ายต้นฉบับบนตัวฮาร์ทดิสก์ กระบวนการขั้นตอนการทำงานที่มีประสิทธิภาพไม่ต้องการที่จะต้องแยกโฟลเดอร์สำหรับชนิดของไฟล์ที่แตกต่างกัน

ขั้นที่ 4 การพัฒนาปรับแต่ง

นี้คือที่ซึ่งคุณใช้กระบวนการดิจิตอลที่ทำให้แต่ละภาพออกมาดูดีที่มันสามารถเพิ่มเติมเข้าไปได้ในความคิดสร้างสรรค์ของคุณสำหรับภาพ เหมือนกับขั้นตอนที่ 2 การนำเข้า ขั้นตอนนี้มีชื่อที่แตกต่างขึ้นอยู่กับว่าคุณกำลังคุยกับใคร การพัฒนาปรับแต่ง คือ สิ่งที่ถูกใช้โดย ผู้ใช้งาน Lightroom การเพิ่ม การปรับ การแต่งภาพ และปรับแก้ไขอยู่ในการอธิบายของขั้นตอนนี้ซึ่งตัวมันเองประกอบไปด้วยหลายๆ ขั้นตอน
คำสั่งของการจัดการในการพัฒนาปรับแต่งภาพขึ้นอยู่กับลักษณะของภาพต้นฉบับ บางภาพต้องการการเพิ่มเติมมากกว่าภาพอื่นๆ ซึ่งมันเป็นไปได้ในการจัดลำดับของขั้นตอนตามข้างล่างนี้
คำแนะนำ ทำจากสิ่งที่ใหญ่ไปหาเล็ก
ทำการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ใหญ่ที่สุดก่อน และค่อยทำงานในรายละเอียด ในการปรับแต่งภาพถ่ายมันหมายถึงการทำงานปรับแต่งในภาพรวมก่อน (ซึ่งหมายถึงการนำไปใช้กับภาพทั้งหมด) ก่อนที่เริ่มทำงานในแต่ละภาพ และในก่อนหน้านี้ของกระบวนการทำงาน การนำไปใช้ในการเปลี่ยนของภาพในขั้นตอนรวมก่อนที่จะย้ายไปทำแต่ละภาพ
ขั้นตอนการพัฒนาปรับแต่ง
1. การ Crop และ straighten ซึ่งมันเป็นการเปลี่ยนการจัดองค์ประกอบภาพ การตัดส่วนของภาพสามารถเปลี่ยนภาพของคุณที่สำคัญ มันดีที่สุดที่จะทำมันก่อนการปรับแต่งแต่คุณต้องการใช้ขั้นตอนที่ยอมให้คุณกลับไปแก้ไขการตัดส่วนของภาพที่หลังได้ถ้าคุณเกิดเปลี่ยนใจ

2. แก้ไขการบิดเบี้ยว เลนส์ส่วนใหญ่จะมีค่าของการบิดเบี้ยวอยู่บนภาพ บางเลนส์ก็มาก การแก้ไขการบิดเบี้ยวคือสิ่งแรก เป็นขั้นตอนทั่วๆ ไป
3. การปรับค่ารับแสงและโทน ช่วงของโทนในภาพอ้างถึงระดับของความสว่างในแต่ละค่าพิกเซล จากขาวบริสุทธิ์ไปจนถึงดำสนิท โทนจะแยกออกจากสี ง่ายๆ เพียงตั้งค่าจุดสีขาวและดำสามารถสร้างผลกระทบได้ทั่วทั้งภาพ ดังนั้นคุณควรทำสิ่งนี้ก่อนจะไปปรับสีต่างๆ โทนของความเปรียบต่างควรจะทำในขั้นตอนนี้ ค่าความต่างระหว่างโทนสว่างและมืดควรจะพิจารณาว่ามันมีผลกระทบมากแค่ไหนในภาพ บางภาพก็ดูดีที่สุดเมื่อมีค่าความเปรียบต่างที่ต่ำๆ
4. การปรับค่าไวท์บาลานซ์ และสี ค่าไวท์บาลานซ์ จะมีบทบาทที่ใหญ่ที่สุดในสีของภาพ ถ้าภาพมีค่าสีที่แข็ง ตัวอย่างเช่น ภาพถ่ายในอาคารโดยใช้ค่าไวท์บาลานซ์นอกอาคาร คุณควรจะแก้ไขมันก่อนทำเรื่องโทน แต่สำหรับภาพที่มีค่าไวท์บาลานซ์ที่ดูเหมือนแน่นอนแล้ว ตั้งค่าโทนก่อนที่จะทำค่าไวท์บาลานซ์ให้ดีขึ้น หลังจากปรับค่าไวท์บาลานซ์ค่อยมาพิจารณาเกี่ยวกับการปรับค่าสี
5. การปรับแต่งภาพต่างๆ...นี้คือการปรับแต่งกับภาพส่วนเล็กของภาพ ตัวอย่างการใช้ dodging และ burning (ปรับสว่างและมืด ตามลำดับ) และการเลือกปรับสีต่างๆ โดยทั่วไปคุณควรจะลองปรับภาพแต่ละภาพหลังจากการปรับภาพรวมทั้งหมดเสร็จแล้ว
6. การปรับลดค่าน้อยส์ น้อยส์ปรากฎในภาพดิจิตอลเหมือนหยดสีนุ่มๆ หรือเม็ดจุดด่างๆ ภาพส่วนใหญ่สามารถถูกพัฒนาในการลดค่าน้อยส์ได้หลากหลายวิธี การถ่ายภาพด้วยค่า ISO ที่สูง ถ่ายในตอนกลางคืน หรือถ่ายแบบ underexposed ซึ่งต้องการปรับลดค่าน้อยส์อย่างมาก โดยปกติคุณต้องการลดค่าน้อยส์หลังจากคุณปรับโทนและสี เพราะว่าการปรับแต่งในภาพรวมจะมีผลกับน้อยส์ที่ปรากฎขึ้นด้วย ให้ซูมภาพขึ้นมาใหญ่ๆเพื่อปรับลดน้อยส์และทำภาพให้คมชัด
7. ทำให้คมชัด ความคมชัดคือความเปรียบต่าง ความคมชัดที่ปรากฎในภาพดิจิตอลเป็นรากฐานของการเกี่ยวโยง ความสว่างหรือความมืดของพิกเซ็ลรอบขอบของเส้นภายในภาพ ยิ่งมีความเปรียบต่างมากตามขอบเท่ากับยิ่งมีความคมชัดมากด้วย คุณไม่ควรจะพยายามปรับระดับความคมชัดจนกระทั่งคุณได้ปรับโทนในภาพรวมแล้ว เพราะว่าความเปรียบต่างในภาพทั้งหมดจะมีผลกระทบหลักในความคมชัด คุณทำภาพให้คมชัดขึ้นไปสักนิดหรือไม่ในกระบวนการปรับแต่งภาพ
8. การปรับแต่งภาพ ภาพหลายๆภาพจะประกอบไปด้วยหลายส่วนที่คุณต้องจะเอามันออกไปด้วยกัน ในบางกรณีมันคือการประดิษฐ์ เพราะผลของภาพที่ปรับแต่งไม่พึ่งพอใจ หรือจากคุณสมบัติของกล้องที่รวมถึง น้อยส์, ภาพขอบม่วง, มุมมืด และฝุ่นจากตัวเซนเซอร์ บางทีบางสิ่งที่น่าเกลียดอยู่ในภาพ เช่นเสาโทรศัพท์โผล่ขึ้นมาบนศีรษะของแม่ยายคุณ การปรับแต่งภาพโดยใช้ ตัวเครื่องมือ Lightroom’s Spot Removal หรือตัว Photoshop’s Clone Stamp และ Healing Brush การปรับแต่งวิธีอื่นสามารถลดหรือกำจัดสิ่งที่ต้องการปรับแต่งได้ ดังนั้นมันจะทำให้เสียเวลาและแรงงานในการปรับแต่งภาพก่อนหน้านี้ในกระบวนการทำงาน ตัวอย่าง คุณสามารถใช้เวลา 20 นาทีในการเอาฝุ่นออกรอบๆ ขอบของภาพและตัดสินใจที่ตัดขอบภาพออก คุณทำการปรับแต่งภาพแบบนี้จนจบกระบวนการทำงานไหม
9. ใส่ special effects การปรับแต่งภาพในขั้นตอนก่อนหน้านี้จะเป็นการนำไปใช้กับภาพส่วนใหญ่ หลังจากที่คุณแก้ไขปัญหาทางด้านเทคนิคและปรับภาพให้อยู่ในคุณภาพมาตรฐานที่ยอมรับได้แล้ว ลองพิจารณาการปรับแต่งที่พิเศษและการใส่สิ่งที่พิเศษลงไป
ขั้นที่ 5 ผลลัพท์ที่ได้ออกมา
หลังจากที่ได้ทำการปรับแต่งภาพในระดับที่สมบูรณ์แบบที่คุณพอใจแล้ว ลองคิดถึงการแบ่งปันและการนำไปผลิตใหม่อีกครั้ง ในโลกของดิจิตอล ผลลัพท์ที่ได้ออกมาโดยทั่วไปหมายถึง หนทางมากมายที่คุณสามารถนำภาพของคุณไปสู่โลกแห่งความเป็นจริง การทำแบบนี้ หลังจากที่คุณเสร็จสิ้นการปรับแต่งภาพการส่งออกของไฟล์ภาพที่ไม่ใช่ต้นฉบับไปสู่เป้าหมายที่ตั้งใจไว้
การแบ่งปันในโลกออนไลน์เป็นการเริ่มต้นที่ดีเยี่ยม เว็ปไซต์ส่วนใหญ่จะมีค่าพารามิเตอร์ที่สำคัญที่คุณต้องรู้ว่าภาพของคุณจะดูดีที่สุดในแบบใด (และค่าคุณสมบัติของเว็ปไซต์ทั้งหลายก็ไม่เหมือนกัน) ใช้เวลาในการค้นหาว่าการ อัพโหลดไฟล์ไปไว้บนเว็ปแบบไหนดีที่สุด
การพิมพ์ภาพที่มีคุณภาพสูง หนังสือรูปภาพ การ์ด ปฎิทิน ภาพพิมพ์ fine art และอื่นๆ ทั้งหมดนี้ก็ต้องทำตามค่าพารามิเตอร์ที่เฉพาะเจาะจงสำหรับการนำภาพออกไปใช้จากการปรับแต่งภาพด้วยซอฟท์แวร์
คำแนะนำ....เกี่ยวกับปรับขนาดของภาพ
เมื่อคุณกำลังปรับแต่งภาพ คุณควรจะปรับแต่งภาพต้นฉบับกับค่าความละเอียดเดิมๆ พูดในแง่หนึ่งคือ ค่าพิกเซ็ลอะไรก็ตามของภาพที่ออกมาจากกล้องโดยตรงก็ให้ปรับแต่งขนาดจากค่านั้น การปรับขนาดควรจะทำทุกๆครั้งที่จบกระบวนการและเป็นเพียงการ copy ไฟล์ต้นฉบับในการนำออกไปใช้กับรูปแบบผลลัพท์ที่เฉพาะเจาะจงที่อยู่ปลายทาง อย่าปรับขนาดกับไฟล์ต้นฉบับ ( Lightroom จะทำได้ง่ายในขั้นตอนนี้ ซึ่งมันจะไม่ควบคุมการปรับขนาดระหว่างปรับแต่งภาพ คุณสามารถทำมันได้เพียงระหว่างการนำภาพออกไปใช้)

การเอาชนะกระบวนปรับแต่งภาพของคุณ

เมื่อคุณไม่ได้ทำตามระบบที่ดี ภาพดิจิตอลของคุณสามารถกลายเป็นสิ่งที่ทำให้คุณปวดเศียรเวียนเกล้าได้ ภาพสูญหาย การทำขั้นตอนซ้ำๆ และไม่ได้คุณภาพของสิ่งที่คุณคาดหวังกับผลกระทบที่ได้จากกระบวนการทำงานที่ไม่มีประสิทธิภาพ ใครต้องการสิ่งเหล่านี้ละ?
จำไว้ว่า ทุกๆคนที่มีกระบวนการทำงานภาพถ่ายของตัวเองย่อมต้องมีจุดเริ่มต้นสักที่ คุณอาจจะมีแล้วในบางส่วนของการปรับแต่งภาพ เวลานี้ ลองดูว่าอะไรเป็นคอขวดและกุญแจสำคัญในการพัฒนากระบวนการทำงานปรับแต่งภาพของคุณ ลองเลือกมาหนึ่งอันที่ไม่คุ้นเคยหรือท้าทายและเริ่มจากจุดนั้น
การประดิษฐ์กระบวนการทำงานของคุณไม่ได้เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวหรือไม่ได้ราบรื่นตรงไปตรงมา มันมีหลายขั้นตอนและมีหลุมพรางที่อาจเกิดขึ้นได้ คุณต้องศึกษและฝึกฝนในแต่ละขั้นตอนที่แตกต่างที่ไม่ขึ้นตรงต่อกัน แล้วนำมันมาผูกรวมกันให้เป็นกระบวนการทำงานที่อยู่ด้วยกัน

คำแนะนำ

เหตุผลหลักที่ Adobe Photoshop Lightroom ถึงได้ถูกพิจารณาว่าเป็นซอฟท์แวร์การปรับแต่งภาพที่ดีที่สุดอย่างกว้างขวาง คือ มันให้ความสามารถที่คุณต้องการรับมือกับกระบวนการทำงานกับภาพของคุณตามที่ผมได้อธิบายไว้ข้างต้น
เมื่อคุณตามกระบวนที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการทำงานกับภาพและการพัฒนาความเข้าใจในหลักการอย่างท่องแท้ที่อยู่ภายใต้การตัดสินใจของคุณ คุณจะมีการทำงานที่สนุกมากกับสิ่งที่คุณชื่นชอบ มากกว่าไปติดอยู่กับงานที่น่าเบื่อ
ฝึกฝนกับกระบวนการเทคนิคการทำงานที่ดีจะช่วยคุณให้ได้ภาพที่ดีเยี่ยม....อย่างง่ายๆ

11
สามวิธีง่ายๆในการถ่ายภาพที่ดีกว่าในการท่องเที่ยวของคุณในครั้งต่อไป

โพสโดย Anne McKinnell

เว็ปไซต์ต้นฉบับเพื่อดูภาพประกอบคำบรรยาย
http://digital-photography-school.com/3-simple-ways-to-get-better-photos-on-your-next-trip/

ฉันรักการเดินทาง สำหรับฉันไม่มีสิ่งใดจะมาเทียบกับการได้อยู่บนท้องถนนและตื่นขึ้นมากับสถานที่ใหม่ทุกวัน การถ่ายภาพที่แตกต่างทั้งหมดที่ฉันได้ทำระหว่างการเดินทางมันคือรางวัลส่วนใหญ่ที่ได้จากพวกมัน
การถ่ายภาพขณะเดินทางท่องเที่ยวหรือพักร้อนเป็นสิ่งที่มีคุณภาพพิเศษเพราะว่าคุณกำลังเห็นตัวแบบเป็นครั้งแรก การเดินทางได้แสดงให้เห็นถึงความท้าทายที่เป็นเอกลักษณ์ ความไม่คุ้นเคยกับวิวทิวทัศน์ สภาพอากาศ และวัฒนธรรมสามารถสลัดคุณออกได้ง่ายๆ อย่างไรก็ดี มันมีหลายสิ่งที่สามารถทำให้มันดูสวยงาม สิ่งหนึ่งในนั้นก็คือ รูปภาพ
(ดูภาพประกอบคำบรรยาย...Bay of Fundy, New Brunswick)
เมื่อเดินทางไปยังสถานที่ใหม่ๆ คุณต้องการสร้างภาพถ่ายที่เด่นชัดของสิ่งที่คุณรู้สึกเกี่ยวกับสถานที่นั้น คุณต้องการสร้างภาพที่มีเอกลักษณ์ไม่เหมือนของคนอื่น ความรู้สึกของความน่าอัศจรรย์ที่คุณรู้สึกเมื่อเห็นสถานที่สวยงามในครั้งแรกสามารถถ่ายทอดลงไปในรูปภาพที่คุณถ่ายกับสามคำแนะนำที่ช่วยให้คุณถ่ายภาพได้ดีกว่าเดิม

1. วางแผน วางแผน วางแผน

เมื่อคุณตัดสินใจได้แล้วว่ากำลังจะไปที่ไหน ให้อ่านข้อมูลในพื้นที่นั้นและศึกษาด้วยตัวคุณเองเกี่ยวกับสถานที่ที่จะไปและดูว่าสภาพแวดล้อมเป็นอย่างไรในการคาดการณ์ของคุณ อากาศเป็นอย่างไร มีเหตุการณ์พิเศษอะไรที่จะเกิดขึ้นบ้างในที่นั้น ดอกไม้จะบานไหม ถ้าคุณกำลังเดินทางไปต่างประเทศ ภาษาเป็นอุปสรรคไหม ถ้าใช่ พยายามเรียนรู้จักคำหลักๆและนำเอาสมุดเกี่ยวกับภาษาไปกับคุณด้วย ไม่ว่าคุณไปที่ไหนก็ตามในโลกนี้ คนท้องถิ่นจะช่วยคุณได้มากเมื่อคุณสามารถพูดภาษาของพวกเขาได้ แม้ว่าจะเป็นเพียงบางคำก็ตาม
ค้นหาสิ่งอื่นที่อยู่รอบๆซึ่งคุณสามารถมองเห็นระหว่างที่คุณไปถึง ถ้าคุณกำลังถ่ายภาพธรรมชาติ คุณสามารถค้นหาสถานที่ที่ดีเยี่ยมได้โดยการศึกษาจากแผนที่ เว็ปไซต์การถ่ายภาพและการสนทนาซึ่งมีคำแนะนำมากมายและตัวอย่างของสถานที่น่าสนใจในการถ่ายภาพ การเรียนรู้ประวัติของสถานที่และวัฒนธรรมจะช่วยให้คุณได้ตัวแบบที่ไม่เหมือนใครและน่าสนใจ
(ดูภาพประกอบคำบรรยาย...Sanibel Island, Florida )
ค้นหาให้มากเท่าที่คุณสามารถทำได้เกี่ยวกับสถานที่และตัวแบบที่คุณกำลังจะถ่ายภาพ ดังนั้นคุณสามารถเตรียมตัวของคุณสำหรับพวกมันได้อย่างดี สำหรับตัวอย่าง ถ้าคุณกำลังถ่ายในทะเลทราย ใกล้มหาสมุทร หรือในที่อากาศหนาวเย็น เปียก หรือมีสภาพชื้น คุณจะรู้ว่าต้องนำสิ่งใดไปป้องกันห่อหุ้มตัวกล้องจากการทำลายโดยความชื้น ความเค็ม และทราย ถ้าคุณคาดว่าอุณหภูมิจะต่ำกว่า 10 องศา C หรือสูงกว่า 40 องศา C แบตเตอรี่สำรองจะถูกต้องการขณะที่พวกมันจะสูญเสียพลังงานไปอย่างรวดเร็วในสภาพอากาศที่แย่แบบนั้น คุณอาจจะพิจารณาถึงการเช่าเลนส์ชนิดพิเศษซึ่งเหมาะกับตัวแบบอย่างเช่น เลนส์ ซุปเปอร์เทเล หรือ เลนส์ tilt-shift คุณจำเป็นต้องรู้ว่าควรสวมใส่ชุดอะไรสำหรับแต่ละสภาพอากาศ
(ดูภาพประกอบคำบรรยาย...Big Bend National Park, Texas)

2. อย่าปล่อยให้อุปกรณ์ของคุณทำให้คุณอ่อนใจ

ไม่ว่าที่ไหนที่คุณจะมุ่งหน้าไป ที่นั้นมีบางสิ่งที่คุณต้องการไม่ว่าอะไรก็ตาม เมื่อคุณเก็บอุปกรณ์ของคุณเข้ากระเป๋าให้ทำรายการสิ่งของเพื่อให้แน่ใจว่าคุณไม่ลืมสิ่งใดที่สำคัญ มันควรจะรวมถึง
1.   กล้องหลัก
2.   กล้องสำรอง
3.   เลนส์ช่วงธรรมดา (ประมาณ 50mm)
4.   เลนส์ช่วงยาว (ประมาณ 100mm หรือมากกว่า)
5.   เลนส์มุมกว้าง (ประมาณ 35mm หรือน้อยกว่า)
6.   เลนส์ที่คุณชอบใช้บ่อยๆ
7.   ตัวฟิลเตอร์
8.   ที่ชาร์จแบตเตอรี่
9.   แบตเตอรี่ สำรอง และการ์ดความจำ และที่เก็บสำรองข้อมูลภาพ (คอมพิวเตอร์, external drive, cloud)
10.   ผ้าเช็ดเลนส์ หรือ ตัวเป่าฝุ่นที่ทำให้อุปกรณ์กล้องสะอาด
11.   กระเป๋าใส่กล้องที่สะดวกสบาย  (แนะนำว่าเป็นกระเป๋าที่ไม่โชว์โดดเด่นว่าเป็นกระเป๋ากล้องเพื่อหลีกเลี่ยงเป็นเป้าหมายของหัวขโมย)
12.   ขาตั้งกล้องที่แข็งแรง เบา และดี มีหลายยี่ห้อเช่น Manfrotto, Giottos และ Benro สำหรับการเดินทางที่พิเศษ ขาตั้งกล้องต้องแข็งแรง เป็นคาร์บอนไฟเบอร์ที่เบา และมีขนาดเล็กเมื่อพับเก็บเหมาะกับการพกพา
(ดูภาพประกอบคำบรรยาย...Strathcona Provincial Park, British Columbia)
การเลือกในการเก็บสิ่งของต่างๆ อย่านำสิ่งที่คุณไม่ได้ใช้ไปด้วยเพราะว่ากระเป๋ากล้องจะหนักมาก และเร็วมาก ใช้กระเป๋าเดินทางที่เบาและไม่ต้องผ่านการตรวจกระเป๋ากล้องของคุณ เมื่อมีการตรวจกระเป๋าสามารถทำให้เกิดการผิดพลาดหรือสูญหายได้ ถ้าคุณต้องเดินทางด้วยเครื่องบิน ตรวจสอบข้อจำกัดของขนาดและน้ำหนักกระเป๋าที่ถือขึ้นเครื่องเพื่อคุณจะไม่พบกับการไม่ต้อนรับแบบสร้างความประหลาดใจที่สนามบิน ถ้าคุณต้องเดินทางออกนอกประเทศ ให้ซื้อประกันสำหรับการเดินทางซึ่งจะครอบคลุมอุปกรณ์ที่มีค่าจากการสูญหาย ถูกทำลาย หรือถูกขโมยขณะเดินทาง

3. ค้นหาความเป็นเอกลักษณ์

เมื่อเดินทางท่องเที่ยว พยายามหลีกเลี่ยงสถานที่ที่ทัวร์จะพานักท่องเที่ยวไปชม และสถานที่ดึงดูดที่มีคนจำนวนมาก ไม่เพียงแต่จะมีคนเป็นจำนวนมากที่จะขวางมุมถ่ายภาพของคุณ แต่ยังมีคนอีกมากมายที่จะถ่ายภาพในมุมเดียวกับคุณด้วย ดังนั้นต้องแทนด้วยการค้นหาสถานที่ที่สวยงามที่คนอื่นมองข้าม คุณสามารถหาข้อมูลได้ในโลกออนไลน์ แต่ทางที่ดีที่สุดคือการได้พูดคุยสนทนากับผู้คนที่อาศัยอยู่ที่นั้นๆ เริ่มจากพนักงานของโรงแรมที่เป็นมิตร และถามสถานที่ท้องถิ่นที่สวยงามที่คนส่วนใหญ่ไม่เคยเห็น
(ดูภาพประกอบคำบรรยาย....Goblin Valley State Park, Utah)

สิ่งนี้สามารถเริ่มต้นได้จากการจองที่พักของคุณ แทนที่จะพักในโรงแรมทั่วๆ ไป ลองค้นหาสถานที่ที่มีลักษณะพิเศษเช่น เป็นตู้ วิลล่า หรือ ที่พักแบบมีอาหารเช้าง่ายๆ  ถ้าคุณเหมือนกับผม คุณสามารถพบกับไซต์ RV ซึ่งมีความสวยงามส่วนกลางที่เรียกว่าเป็น บ้านเกิด ยิ่งคุณใช้เวลากับสถานที่นั้นมากเท่าไรคุณยิ่งสามารถแสดงถึงโอกาสการถ่ายภาพที่เป็นตัวเองมากเท่านั้น
จำไว้ว่าให้คุณใช้เวลาของตัวคุณเองในการมีประสบการณ์กับสถานที่นั้นก่อนที่คุณจะเริ่มลงมือถ่ายภาพ ลองให้โอกาสตัวคุณเองในการมองหาอะไรที่พิเศษของสถานที่ก่อนสิ่งอื่นใด และพยายามที่ถ่ายทอดไปถึงภาพของคุณ ถ้าคุณกำลังถ่ายภาพบางสิ่งที่ธรรมดาเหมือนกับอนุเสาวรีย์ที่มีชื่อเสียงหรือสวนสาธารณะแห่งชาติ พยายามมองหาในมุมใหม่ๆ ไม่ซ้ำใคร

(ดูภาพประกอบคำบรรยาย....Joshua Tree National Park, California)
มันง่ายที่กลายเป็นผู้ชนะของสถานที่ใหม่ๆ ที่มีธรรมชาติไม่เหมือนบ้านตัวเอง แต่จงจำไว้เสมอว่า แสงที่ดีเป็นเพื่อนที่ดีที่สุดของช่างภาพ สถานที่ใหม่ๆ จะดูน่าสนใจสำหรับคุณในช่วงตอนกลางวัน แต่มันจะดูวิเศษมากในช่วงที่มีแสงที่ดี...

12
วงจรแสงธรรมชาติสำหรับช่างภาพ

โพสโดย Jim Hamel แปลโดย Topstep07

เว็ปไซต์ต้นฉบับเพื่อดูภาพประกอบคำบรรยาย
http://digital-photography-school.com/natural-light-cycle-photographers/
 
แสงธรรมชาติคือ ภาพถ่ายวิวทิวทัศน์ที่ถูกสร้างขึ้น บางรูปแบบของภาพก็ขึ้นอยู่กับแสงแฟลช แต่ภาพถ่ายวิวทิวทัศน์ส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับลำแสงของดวงอาทิตย์ที่เป็นแหล่งกำเนิดแสงของพวกเขาแสงธรรมชาติจากดวงอาทิตย์ที่มีการเปลี่ยนแปลงทุกวินาทีของวัน ภาพที่ถ่ายตอนเก้าโมงเช้าจะดูมีความแตกต่างจากภาพที่ถ่ายตอนเจ็ดโมงเช้า แม้ว่ามันจะเป็นที่มีตัวแบบเหมือนกัน จากมุมภาพเดียวกัน ใช้การตั้งค่ากล้องเหมือนกันและความยาวโฟกัส การเข้าใจการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตลอดวันนี้เป็นสิ่งจำเป็นในการพัฒนาการถ่ายภาพแนววิวทิวทัศน์ โดยการเข้าใจสภาพแสงที่แตกต่าง คุณจะรู้ว่าอย่างไรและเมื่อไรที่จะต้องตั้งค่าและพร้อมในการถ่ายภาพวิวทิวทัศน์
การเปลี่ยนแปลงในแสงธรรมชาติจะไม่มีผลกระทบในแสงโดยรวมและระดับค่าการรับแสงในภาพของคุณ และยังรวมถึงพวกสีและความเปรียบต่างด้วย แสงที่แตกต่างจะสนับสนุนตัวมันเองให้มีผลความแตกต่างกับกล้อง ในบทความนี้เราจะเข้าไปดูช่วงเวลาของวันสำหรับช่างภาพวิวทิวทัศน์ เราจะมุ่งเน้นไปที่ข้อดีเป็นหลักและความท้าทายของแต่ละหัวข้อ

ตอนเช้า

เริ่มจากตอนเช้า ชั่วโมงของดวงอาทิตย์ขึ้นแต่ละครั้งเป็นขุมทรัพย์สำหรับช่างภาพ โชคไม่ดีสำหรับช่วงเวลานอนหลับของคุณ ช่างภาพจะไม่เริ่มเมื่อรุ่งอรุณ แต่จะเริ่มก่อนหน้านั้น บางครั้งโอกาสที่ดีที่สุดของการถ่ายภาพคือก่อนดวงอาทิตย์จะขึ้น ในช่วงเวลานี้ ฟ้ากำลังเริ่มสว่างขึ้น แต่ดวงอาทิตย์ยังไม่ลอยพ้นขอบฟ้า  คุณต้องพบกับระดับแสงที่น้อย หมายถึงคุณต้องการขาตั้งกล้อง และสายลั่นชัตเตอร์
แต่การเอาชนะอุปสรรค มีข้อดีที่แตกต่างอย่างชัดเจนคือการถ่ายภาพก่อนดวงอาทิตย์จะชึ้น  คุณจะไม่เผชิญหน้ากับความเปรียบต่างๆที่แข็งกระด้างมากเกิน หรือปัญหาของ dynamic range ขณะที่ทุกๆสิ่งในภาพของคุณยังคงมืดอยู่ ยิ่งกว่านั้น เนื่องจากมุมรังสีของแสงอาทิตย์ที่ไม่ตรงไปตรงมา คุณจะต้องรักษาสีในท้องฟ้าซึ่งคุณจะไม่เห็นในระหว่างวัน
รังสีของแสงอาทิตย์ที่ไม่ตรงไปตรงมาในช่วงดวงอาทิตย์ขึ้นและก่อนสามารถทำให้ท้องฟ้าเต็มไปด้วยสีที่น่าสนใจสำหรับคุณได้

ช่วงสนธยา

ช่วงเวลานี้คือก่อนที่ดวงอาทิตย์จะขึ้นซึ่งหมายถึงช่วงสนธยา คุณจะต้องทำความรู้จักมันให้ดีถ้าคุณเล็งเป้าหมายในการพัฒนาการถ่ายภาพของคุณ  ช่วงสนธยามีข้อกำหนดกว้างๆที่สามารถรวมเข้าไว้ในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน ดังนั้นมันได้ถูกแบ่งออกเป็นสามประเภท ความหมายของข้อกำหนดที่ระบุไว้ด้านล่างไม่ได้มีส่วนสำคัญสำหรับการถ่ายภาพของคุณ แต่มันสำคัญที่คุณต้องเข้าใจว่ามันจะเกิดอะไรขึ้นต่อจากนั้นซึ่งคุณกำลังจะถ่ายภาพ
•   Astronomical twilight: ช่วงเวลานี้ มันยังคงมืดอยู่แต่แสงของดวงอาทิตย์ที่ไม่มีทิศทางเริ่มที่ส่องสว่างบนท้องฟ้า ดวงอาทิตย์จะอยู่ที่ 12 และ 18 องศาใต้เส้นขอบฟ้า ดาวยังคงมองเห็นอย่างชัดเจนและท้องฟ้ายังคงมืดทั้งหมด สำหรับเราส่วนใหญ่มันไม่ต่างจากช่วงกลางคืน ดังนั้นการถ่ายภาพในช่วงเวลานี้คุณต้องการขาตั้งกล้องและตัวรีโมทชัตเตอร์
•   Nautical twilight: ในช่วงเวลานี้ เมื่อทุกสิ่งยังคงมืดอยู่ แต่มันก็สว่างพอที่ทำให้คุณสามารถเห็นเส้นขอบฟ้า ดวงอาทิตย์อยู่ในตำแหน่ง 6 ถึง  12 องศาต่ำกว่าเส้นขอบฟ้า คุณยังคงมองเห็นดวงดาว สังเกตเห็นท้องฟ้าเริ่มสว่างขึ้น โดยเฉพาะใกล้เส้นขอบฟ้า  นี้คือสิ่งที่คุณเห็นสีฟ้าเล็กน้อย คุณยังคงต้องการขาตั้งกล้องแต่คุณสามารถเก็บรายละเอียดของฉากหน้าได้ดีเท่ากับดาวที่อยู่บนท้องฟ้า
•   Civil twilight: ในช่วงเวลานี้ก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น (หรือเป็นช่วงก่อนดวงอาทิตย์ตกในตอนเย็น) ดวงอาทิตย์จะอยู่ในตำแหน่ง 0 ถึง 6 องศาใต้เส้นขอบฟ้า จุดนี้สำหรับช่างภาพก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น แต่ทุกๆสิ่งรอบๆตัวคุณจะสว่าง คุณสามารถเห็นทุกสิ่งและคุณอาจจะไม่จำเป็นต้องใช้ขาตั้งกล้อง (อย่างไรก็ดี ผมแนะนำว่าให้คุณใช้มัน)
(ดูภาพประกอบคำบรรยายในเว็ปไซต์ต้นฉบับ)
เวลาและช่วงเวลาของสนธยาจะขึ้นอยู่กับสถานที่ของคุณและเวลาของปี มี Application มากมายที่จะช่วยคุณระบุเวลาที่แน่นอนได้

ชั่วโมงของสีฟ้า

มันคือช่วงเวลาสนธยา (น่าจะอยู่ในช่วงของ nautical twilight) เป็นปรากฎการณ์ที่เรียกว่า ชั่วโมงของสีฟ้า ในเวลานี้เองดวงอาทิตยังอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าเส้นขอบฟ้า  รังสีสีแดงของดวงอาทิตย์จะยิงขึ้นไปยังท้องฟ้า แต่มันมีเปอร์เซนต์ของรังสี สีฟ้าที่สูง ที่เข้ามาในชั้นบรรยากาศของโลก แสงที่ไม่มีทิศทางทำให้สีฟ้ามีอิทธิพลมากกว่า นี้เป็นช่วง 30-40 นาทีสุดท้ายและจบลงในช่วง 15 นาทีก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น นี้เป็นเวลาของขุมทรัพย์สำหรับช่างภาพแนววิวทิวทัศน์ ดังนั้นให้แน่ใจว่าคุณอยู่ตำแหน่งที่อย่างน้อยครึ่งชั่วโมงก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น
(ดูภาพในเว็ปไซต์ต้นฉบับเพื่อประกอบคำบรรยาย)
ในช่วงเวลาสนธยา ยังมีแสงพอที่เห็นฉากหน้าแต่คุณสามารถเห็นดวงดาวและดวงจันทร์ได้ด้วย

ดวงอาทิตย์ขึ้น

หลังจากช่วงเวลาสนธยาก็จะเป็นช่วงอาทิตย์ขึ้นซึ่งไม่มีคำแนะนำ วิวทิวทัศน์จะสว่างในช่วงเวลานี้ แต่รังสีของแสงอาทิตย์ซึ่งมีอุณหภูมิโดยดวงอาทิตย์ยังคงอยู่ด้านหลังของเส้นขอบฟ้า และรังสียังคงส่องผ่านชั้นบรรยากาศของโลกก่อนที่มันจะมาถึงคุณ ท้องฟ้าจะมีสีที่อุ่น
ทำอะไรได้อีกในช่วงนี้ คุณสามารถใส่ดวงอาทิตย์เข้าไปในภาพของคุณ คุณสามารถทำให้รับสีของแสงอาทิตย์มีความชัดและการเพิ่มแสงแฉกของดวงอาทิตย์โดยการลดรูรับแสงลง ให้แน่ใจว่ารูรับแสงของคุณอย่างน้อยต้อง f/16 และบางทีก็ถึง f/22 (ซึ่งก็เสี่ยงเรื่องของการกระจายลำแสง)

หลังจากดวงอาทิตย์ขึ้น

ชั่วโมงหรือหลังจากอาทิตย์ขึ้นยังคงเป็นเวลาที่ดีในการถ่ายภาพ ในช่วงเวลานี้ ดวงอาทิตย์ยังคงต่ำในระดับเส้นขอบฟ้า ดังนั้น รังสีของแสงอาทิตย์จะวิ่งผ่านชั้นบรรยากาศของโลกมากมายซึ่งกรองรังสีและตัดส่วนแสงที่แข็งกระด้าง ดังนั้นแม้ดวงอาทิตย์จะอยู่ในท้องฟ้าแล้ว มันยังคงเป็นช่วงเวลาดีสำหรับการถ่ายภาพ
(ดูภาพในเว็ปไซต์ต้นฉบับเพื่อประกอบคำบรรยาย) หลังจากที่ดวงอาทิตย์ขึ้นสูงในท้องฟ้าและคุณจะพบกับปัญหาของการถ่ายภาพตอนกลางวัน

ช่วงบ่าย

ช่วงสายๆตอนเช้าและช่วงบ่ายได้ถูกพิจารณาว่าเป็นช่วงเวลาที่แย่สำหรับการถ่ายภาพ ช่างภาพหลายคนก็เก็บกล้องของพวกเขาในช่วงเวลานี้ มันเป็นเวลาของแสงที่แข็งกระด้าง และมีเงาดำ แต่คุณไม่จำเป็นต้องเลิกความตั้งใจในช่วงเวลาแบบนี้ มีบางสิ่งที่คุณสามารถพัฒนาการถ่ายภาพของคุณได้
สิ่งแรกคุณสามารถใช้ตัวฟิลเตอร์โพราไลซ์ โพลาไรเวอร์จะทำงานโดยการกรองแสงรังสีที่จะวิ่งเข้ามาในกล้องที่มีมุมแตกต่างกัน  แสงที่วิ่งเข้ามาในกล้องของคุณจะมีการกระจายและมีสีมากมาย การใช้ที่ดีที่สุดสำหรับวัตถุประสงค์ของเราคือการทำให้ท้องฟ้าดูสวย เป็นสีฟ้าเข้ม (แม้ว่าโพราไลซ์จะรับมือในการตัดแสงสะท้อนลงไป) โพลาไลซ์ฟิลเตอร์จะทำได้ดีที่สุดในช่วงตอนกลางวันเมื่อดวงอาทิตย์อยู่เหนือศีรษะ ให้แน่ใจว่าหมุนตัวฟิลเตอร์เพื่อให้ผลลัพท์ในค่าสูงสุด (หรือตามที่ต้องการ)
(ดูภาพในเว็ปไซต์ต้นฉบับเพื่อประกอบคำบรรยาย) การถ่ายภาพในช่วงตอนเที่ยงสามารถใช้ประโยชน์จากการใช้ฟิลเตอร์โพราไลซ์
อีกสิ่งหนึ่งที่คุณสามารถสู้กับดวงอาทิตย์ช่วงบ่ายคือ การเปลี่ยนภาพของคุณเป็นขาวดำ ตามที่ได้กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ ปัญหาหลักสำคัญกับการถ่ายภาพช่วงตอนกลางวันคือความเปรียบต่างสูงและมีเงาที่แข็งกระด้าง อย่างไรก็ตาม ความเปรียบต่างที่สูงเป็นผลดีในการถ่ายภาพขาวดำ ดังนั้นแสงที่แข็งกระด้างของช่วงตอนกลางวันสามารถทำให้เป็นข้อดีในการทำงานของคุณได้
(ดูภาพในเว็ปไซต์ต้นฉบับเพื่อประกอบคำบรรยาย)  ภาพถ่ายที่ถ่ายในช่วงตอนกลางวันมีประโยชน์เมื่อนำมาเปลี่ยนเป็นขาว ดำ
ถ้าคุณต้องถ่ายภาพในช่วงตอนกลางวัน ช่วงวันที่มีเมฆจะทำให้คุณทำงานได้ดีที่สุด เมฆจะตัดเงาที่แข็งลง พวกมันยังสร้างลวดลายบนท้องฟ้าให้ด้วย ลองดูกับการถ่ายภาพของคุณ

ช่วงตอนเย็น

ในช่วงตอนเย็นคุณจะได้พบกับบางสภาพที่ดีเยี่ยมสำหรับการถ่ายภาพ มันมีความสำคัญพอๆกับช่วงเวลาเช้าตอนดวงอาทิตย์ขึ้น แต่มันแค่กลับกัน มันเริ่มจากดวงอาทิตย์ตกลงไปในเส้นขอบฟ้าซึ่งทำให้เกิดความน่าสนใจในการเปลี่ยนคุณภาพของแสง
แสงในช่วงตอนบ่ายคล้อยจะเริ่มให้แสงสีเหลืองหรือแดง

ชั่วโมงทอง

ขณะที่ดวงอาทิตย์เริ่มตก แสงที่คุณได้รับจะมีการเดินทางผ่านชั้นบรรยากาศมากมายของโลกกว่าจะมาถึงคุณ มันได้ถูกกรองแสงในช่วงเวลาที่แสงมาถึงคุณ แสงจะออกโทนอุ่นๆ มีสภาพแสงสีทอง
จุดสูงสุดคือก่อนดวงอาทิตย์ตกซึ่งถูกเรียกว่า ชั่วโมงทอง แท้ที่จริงมันไม่ได้เกิดขึ้นเป็นชั่วโมง แต่มันจะเกิดขึ้นเพียง 30 ถึง 40 นาที (ความยาวของเวลาขึ้นอยู่กับสถานที่ที่คุณอยู่ในเส้นศูนย์สูตร มันเริ่มก่อนที่ดวงอาทิตย์ตกและจบสิ้นเพียงแค่ 20 นาทีหลังจากดวงอาทิตย์ได้ตกไปแล้ว การถ่ายภาพในช่วงนี้จะได้ปรโยชน์จากแสงที่มีมากมาย แต่มันจะถูกกรองและนุ่มมากเพื่อหลีกเลี่ยงเงาที่แข็งกระด้าง เหมือนกับที่แนะนำไว้ แสงจะมีโทนอุ่นสามารถทำให้ภาพดูน่าทึ่งได้

ดวงอาทิตย์ตก

เวลาช่วงดวงอาทิตย์ตก เป็นสัญชาตญาณของช่างภาพที่ต้องการภาพถ่าย สภาพแวดล้อมเป็นที่รู้จักดีสำหรับทุกๆคน ดังนั้นผมต้องการโฟกัสเพียงบางสิ่งที่คุณสามารถถ่ายภาพดวงอาทิตย์ตกที่ดูดีกว่าได้
สิ่งแรก คุณสามารถทำให้ภาพของคุณ underexpose ลงเล็กน้อย ถ้าคุณไม่ใช้ขาตั้งกล้อง คุณจะสูญเสียแสงอย่างรวดเร็วในช่วงเวลานี้  Underexpose จะทำให้คุณใช้เวลาที่สั้นลงสำหรับความเร็วชัตเตอร์และหลีกเลี่ยงการสั่นของกล้อง (หวังว่า) และจะทำให้สีในท้องฟ้ามีชีวิตชีวา
ในช่วงดวงอาทิตย์ตก มุมของรังสีดวงอาทิตย์จะไม่ใช่แสงที่ส่องตรงลงบนฉากหน้า  ซึ่งทำให้ทุกๆสิ่งเป็นสีดำ คุณจะต้องพบกับหนึ่งในสองทางซึ่งต้องยอมรับ หรือชดเชยสำหรับมัน
•   คุณสามารถยอมรับสีดำของฉากหน้าโดยสร้างเป็นภาพเงาดำ (silhouettes). สิ่งนี้ถูกทำกับภาพคนโดยทั่วไป แต่มันสามารถทำงานได้กับตัวแบบอื่นๆได้เช่นกัน การทำสิ่งนี้เพียงวันค่าแสงจากท้องฟ้า ท้องฟ้าที่สว่างกว่าจะทำให้ค่าแสงและฉากหน้ากลายเป็นสีดำ
•   คุณสามารถชดเชยสำหรับแสงที่ขาดไป บนฉากหน้าโดยการใช้แผ่นฟิลเตอร์ Graduated Neutral density ฟิลเตอร์แบบนี้จะทำให้ท้องฟ้ามืดโดยปราศจากผลกระทบกับฉากหน้า คุณจะต้องชดเชยโดยการเพิ่มค่าแสงทั้งภาพอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ (ขณะเมื่อฟิลเตอร์ทำให้ท้องฟ้ามืดและฉากหน้าก็มืดด้วย) ผลสรุปคือฟิลเตอร์จะให้ท้องฟ้ามีโทนที่ลดลงและเป็นเหตุให้ฉากหน้าสว่างขึ้น

หลังจากดวงอาทิตย์ตก

มันคือความผิดพลาดที่ใหญ่มาก ซึ่งผมเห็นช่างภาพหลายๆท่านได้ทำคือการเก็บของและกลับบ้านเมื่อดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าไปแล้ว หลังจากดวงอาทิตย์ตก คุณยังคงจัดกัดกับสภาพแสงที่เป็นที่นิยม และในความจริง บางสภาพแวดล้อมที่ดีที่สุดจะต้องคอยติดตาม สิ่งนี้จะเป็นเหมือนที่ได้กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ข้างต้นถึงเรื่องช่วงสนธยา  คุณจะทำเหมือนกับในช่วงเวลาชั่วโมงสีฟ้า เมื่อดวงอาทิตย์ยังอยู่เหนือเส้นขอบฟ้าและอิทธิพลของการถูกกรองแสงสีฟ้า
ในช่วงระยะเวลาสุดท้ายของช่วงสนธยา ภาพจะดูเหมือนการถ่ายภาพตอนกลางคืน

ตอนกลางคืน

สุดท้ายนี้ อย่าลืมเกี่ยวกับการถ่ายภาพตอนกลางคืน มันคือครึ่งหนึ่งของวัน ภาพที่ดูน่าทึงส่วนใหญ่สามารถถ่ายได้ในช่วงนี้ ยิ่งกว่านั้นคุณไม่ต้องไปกังวลเกี่ยวกับการเปลี่ยนสภาพของแสง ทำให้เวลานี้เป็นช่วงเวลาผ่อนคล้ายในการถ่ายภาพให้มากที่สุด
ถ้าคุณต้องการถ่ายภาพดวงดาว หรือในช่วงเวลากลางคืนที่แท้จริง ให้แน่ใจว่าคุณได้คอยสักสองชั่วโมงหลังจากดวงอาทิตย์ตกแล้ว มันจะใช้เวลาสำหรับรังสีของดวงอาทิตย์ที่จะหายไปอย่างสิ้นเชิงจากสภาพบรรยากาศ

บทสรุป

การถ่ายภาพคือการรอคอยอย่างคาดหวัง มันคือการนำตัวคุณเข้าไปอยู่ในตำแหน่งที่ดีที่สุดที่เป็นไปได้ในการได้ถ่ายภาพที่ดีสุด เมื่อมันเป็นการถ่ายภาพวิวทิวทัศน์ การรอคอยอย่างคาดหวังซึ่งต้องทำไปพร้อมกับการเปลี่ยนของแสง การเปลี่ยนแปลงนี้จะเกิดขึ้นรวรดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงอาทิตยึ้นและตก โดยทำความเข้าใจกับการเปลี่ยนสภาพที่ได้พูดไว้ในที่นี้ คุณจะสามารถมีการรอคอยแสงที่ดีกว่าและนำตัวคุณเข้าไปในตำแหน่งที่ดีที่สุดเพื่อจะได้ภาพที่เยี่ยมที่สุด ผมหวังว่าบทความนี้จะช่วยคุณให้ได้ภาพที่สวยงามนะครับ

13
ถ่ายภาพทางช้างเผือกอย่างไร กับการแนะนำที่ครอบคลุม

โพสโดย Gavin Hardcastle แปลโดย Topstep07

เว็ปไซต์ต้นฉบับเพื่อดูภาพประกอบคำบรรยาย
http://digital-photography-school.com/how-to-do-milky-way-…/

คุณกำลังหมุนผ่านระบบสุริยะจักรงาลบนลูกหินอ่อนสีฟ้าขนาดใหญ่(โลก)ซึ่งนำเสนอวิวสภาพแวดล้อมอวกาศที่เราเรียกว่า ทางช้างเผือก คอยจนกระทั่งลูกหินอ่อนของเราตั้งตรงในทิศทางที่ถูกต้อง คุณจะได้มีโอกาสสร้างภาพที่สมบูรณ์โดยควบคุมโคมไฟระย้าของกาแลคซี่ที่ห้อยอยู่เหนือศีรษะของเรา
 นักเรียนของผมมีความปลื้มที่ได้เรียนการเก็บภาพทางช้างเผือกแบบง่ายๆ คุณรู้เพียงเคล็ดลับสำคัญไม่กี่ข้อ การวางแผนว่าเมื่อไร และที่ไหนที่เราจะไปถ่าย การถ่ายภาพทางช้างเผือกมีความสำคัญเท่ากับเทคนิคและอปกรณ์ที่คุณกำลังใช้มันด้วย
 ถ้าคุณต้องได้ภาพทางช้างเผือกที่น่าเกรงขามยิ่งใหญ่ คุณต้องพิจารณาถึงสถานที่และเวลา ผมจะรับมือกับสิ่งแรก ก่อนที่ผมจะพูดเรื่องเทคนิคการถ่ายภาพในเรื่องต่อไป

1 – ที่ไหน และเมื่อไรที่จะเห็นแกนของกาแลคซี่

แกนของกาแลคซี่แบบเต็มเราสามารถเห็นได้ในเดือนที่แน่นอน กับสถานที่ที่แน่นอน คุณสามารถเห็นทางช้างเผือกทั้งหมดได้ตลอดปี แต่ในความจริงผลจากสิ่งที่เห็นด้วยตามันคือแกนของกาแลคซี่ที่คุณกำลังตามล่า ลองมาพิจารณาดูเวลาที่ดีที่สุดของปีที่จะเห็นสิ่งเหล่านี้ทั้งหมด
 ซึกโลกเหนือ
 ส่วนหนึ่งของเส้นทางช้างเผือกสามารถเห็นได้ทั้งปีแต่แกนของกาแลคซี่ซึ่งแสดงให้เห็นจากกลางค่อนปลายเดือนเมษายนถึงกลางค่อนปลายเดือนกรกฎาคม และสามารถเห็นในทิศตะวันออกเฉียงใต้ กับตะวันตกเฉียงใต้บนท้องฟ้า ซึ่งเมื่อคุณมองเห็นอะไรก็ตามที่ผมเรียกมันว่า BIG C (ดูภาพในเว็ปไซต์ต้นฉบับประกอบคำบรรยาย) ในช่วงฤดูร้อน คุณจะเห็นแกนเคลื่อนไปทางตะวันตกเมื่อจบฤดูร้อนมันจะปรากฎสูงขึ้นในทิศตะวันตกเฉียงใต้บนท้องฟ้า คุณไม่มีโอกาสที่จะมองเห็นแกนของกาแลคซี่ในช่วงฤดูหนาว
 ซึกโลกใต้
 ช่างภาพที่อาศัยอยู่ในเขตซีกโลกใต้โชคดีเพราะว่าพวกเขาเห็นแกนของกาแลคซี่จากเดือนกุมภาพันธ์ไปจนถึงเดือนตุลาคมเลย ซึ่งการเห็นที่มากสุดคือเดือนมิถุนายนและกรกฎาคม ผมนี้อิจฉามากๆ
 อย่าลืมเรื่องช่วงเวลาของดวงจันทร์
 สำหรับภาพทางช้างเผือกที่ชัดเจนมากๆคุณต้องการแสงที่มารบกวนให้น้อยที่สุดซึ่งหมายถึงคุณจะต้องหลีกเลี่ยงในช่วงที่ดวงจันทร์สว่างเต็มดวง อย่างไรก็ตาม ผมได้ถ่ายภาพดีๆของทางช้างเผือกแม้ว่ามันจะเป็นช่วงต้นของการปรากฎของดวงจันทร์ในท้องฟ้า (ดังนั้นอย่าไปรู้สึกว่ามันไม่มีค่าอะไรถ้าถ่ายเมื่อมีดวงจันทร์ปรากฎอยู่ด้วย) แต่อย่างไรก็ดีช่วงดวงจันทร์เต็มดวงควรจะหลีกเลี่ยง
 อีกสิ่งหนึ่งที่ต้องพิจารณาคือ ตำแหน่งของดวงจันทร์ที่สัมพันธ์กับทางช้างเผือก ตัวอย่างเช่น ช่วงต้นของการปรากฎดวงจันทร์ไม่มีปัญหาถ้ามันขึ้นในทางทิศตะวันตกขณะที่ทางช้างเผือกปรากฎในทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ แต่ถ้าดวงจันทร์อยู่ในตำแหน่งเส้นตรงกลางของทางช้างเผือก มันจะทำให้สว่างมากซึ่งคุณไม่ต้องการมัน
 คุณรู้ได้อย่างไรว่าทางช้างเผือกกำลังจะปรากฎขึ้นที่ไหน?
มีโปรแกรมบนโทรศัพท์หรือเครื่องคอมฯ มากมายที่สามารถช่วยคุณวางแผนการถ่ายภาพทางช้างเผือก แต่โปรแกรมที่ผมชื่นชอบคือพวกโปรแกรมฟรีที่เรียกว่า Stellarium มันมีให้ทั้งบนโทรศัพท์และบนเครื่องคอมฯ ซึ่งผมใช้มันในการวางแผนถ่ายภาพ
 คุณสามารถใส่สถานที่และเวลาที่คุณมองเห็นว่าเมื่อไรและที่ไหนที่คุณกำลังจัดการ คุณมองเห็นที่ซึ่งแกนของกาแลคซี่จะปรากฎระหว่างช่วงที่มืดที่สุดของดวงจันทร์ Stellarium จะแสดงภาพของทางช้างเผือก และตำแหน่งของมัน และเวลาที่แน่นอน คุณสามารถเห็นว่าที่ไหนและความสว่างของดวงจันทร์ที่จะปรากฎด้วย
 ลองดูโปแกรมยอดนิยมอื่นๆ ด้วยเช่น The Photograhers Ephemeris และ Starwalk

2 – มองหาสถานที่ที่มืดสนิท

ความพิถีพิถันจะพูดกับคุณว่า คุณต้องหาท้องฟ้าที่มืดสนิทและแน่นอนมันจะทำให้การถ่ายภาพที่ชัดเจนมาก แต่อย่าให้แสงรบกวนเพียงเล็กน้อยที่อยู่ห่างไกลมาหยุดการถ่ายภาพทางช้างเผือกของคุณ ถ้าคุณเห็นมัน คุณยังถ่ายได้อยู่ ภาพที่อยู่ด้านล่างใน Death Valley ได้แสดงให้เห็นแสงรบกวนจากเมืองใหญ่สองเมืองและผมคิดว่ามันช่วยเพิ่มความต่างของภาพได้ ซึ่งแสงในแนวนอนแบบนี้ช่วยเพิ่มการแยกแยะของโลกและท้องฟ้าได้ดีทีเดียว (ดูภาพตัวอย่างประกอบในเว็ปไซต์ต้นฉบับ)
ถ้าคุณต้องการค้นหาสถานที่ที่มีท้องฟ้ามืดสนิท ลองเข้าไปดูที่เว็ปไซต์ International Dark Sky Places ดูครับมันเป็นแหล่งข้อมูลที่เยี่ยมมาก http://www.darksky.org/night-sky-conservati…/dark-sky-places

3 – คอยจนกว่าสภาพอากาศเปิดโล่ง

ช่างภาพวิวทิวทัศน์ส่วนใหญ่ชอบเมฆและเกลียดท้องฟ้าที่เป็นสีฟ้าอย่างเดียว ครั้นเมื่อคุณถ่ายภาพในตอนกลางคืนคุณจะมีความคิดที่ตรงกันข้ามทีเดียว
(ดูภาพประกอบในเว็ปไซต์ต้นฉบับ) ในภาพถ่ายของ Mono Lake มีเมฆเล็กน้อยเพิ่มความน่าสนใจเข้ามา โดยปราศจากการบดบังที่มากมายในแกนกาแลคซี่
 ช่วงที่เมฆปกคลุมคือข่าวร้ายถ้าคุณต้องการให้การถ่ายภาพทางช้างเผือกที่โล่ง แต่อย่าเพิ่งถอดใจกับสถานที่ที่มีเมฆปกคลุมเล็กน้อย บางครั้งเมฆบางส่วนสามารถเพิ่มเรื่องราวและกรอบให้กับการถ่ายภาพทางช้างเผือกได้ ถ้าเมฆไม่ได้ปกคลุมไปทั่วท้องฟ้า

4 – ทางช้างเผือกคือครึ่งทางของการถ่ายภาพ

สำหรับผมแล้ว ภาพทางช้างเผือกที่น่าประทับใจมากคือการได้แสดงถึงแกนของกาแลคซี่ที่เชื่อมกับสถานที่บนโลกและตัวแบบอื่นๆ บางสิ่งที่เท่ากับคนธรรมดานั่งบนเก้าอี้แคมป์สามารถทำให้ภาพดูมีเรื่องราวเมื่อรวมเข้าไปกับปรากฎการณ์ของทางช้างเผือก (ดูภาพในเว็ปไซต์ต้นฉบับเพื่อประกอบคำบรรยาย)
คิดให้เยอะเกี่ยวกับว่าอะไรที่คุณชอบที่อยากให้รวมอยู่ในฉากหน้าของการถ่ายภาพทางช้างเผือก ถ้าคุณได้สภาพแวดล้อมที่สมบูรณ์แบบและมีเทคนิคที่สมบูรณ์คุณก็ยังคงได้ภาพที่ดูน่าเบื่อถ้าคุณไม่ได้ใส่บางสิ่งในภาพให้คนดูภาพได้เห็น เลือกฉากหน้าที่น่าสนใจและลองใช้เทคนิค ระบายภาพด้วยแสง (light painting) ที่ทำให้ภาพทางช้างเผือกของคุณดูน่าอัศจรรย์
 สิ่งที่น่าสนใจเหล่านั้นเริ่มได้จาก รูปทรงของก้อนหินที่น่าสนใจเหมือน หินในทะเลที่ซ้อนกันหรือหินรูปโค้ง เรื่อยไปจนถึง สิ่งที่ถูกทิ้งร้าง หรือต้นไม้ที่น่าสนใจ คิดถึงสถานที่ที่มีจุดน่าสนใจและพิจารณาดูว่ามันเป็นที่ที่สามารถเป็นเส้นนำสายตาไปถึงกลุ่มดาวทางช้างเผือกหรือไม่

5 – ใช้อุปกรณ์ที่ถูกต้องเหมาะสม

เลือกเลนส์ ที่นำมาถ่ายภาพ
 มีบางสิ่งที่อยากจะพูดสำหรับการใช้อุปกรณ์ที่คุณมีอยู่แล้ว การถ่ายภาพตอนกลางคืนคือสิ่งที่ท้าทายเพราะว่ามันมีแสงที่น้อย คุณต้องการเลนส์ที่เร็วและมีรูรับแสงต่ำสุดคือ f/2.8 หรือกว้างกว่านั้นคือ f/1.4 เลนส์มุมกว้างมากๆคือสิ่งที่ดีในการถ่ายภาพวิวกลางคืนเพราะว่าพวกมันจะไม่สร้างโบเก้มาก ผมหมายถึงว่าเมื่อเราเปิดรูรับแสงกว้างสุดที่ f/1.4 คุณจะยังคงได้ภาพของคุณอยู่ในโฟกัส ถ้าคุณโฟกัสถูกต้อง สิ่งสุดท้ายคือคุณต้องการความคมชัดในการโฟกัสทางช้างเผือกกับฉากหน้าที่เบลอเล็กน้อย มีโบเก้หน่อยๆ ดังนั้นลองใช้เลนส์ Sigma 85mm f/1.4
อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญคือการใช้เลนส์มุมกว้างมากๆ ทำให้คุณสามารถถ่ายภาพทางช้างเผือกทั้งหมดอยู่ในกรอบภาพได้ มันจะมีการขยายภาพเล็กน้อยซึ่งยอมให้คุณเปิดค่าความเร็วชัตเตอร์ได้ยาวขึ้นก่อนที่ดวงดาวจะเริ่มหมุนขณะที่คุณถ่ายภาพ
 มันไม่ใช่จุดจบของโลกนี้ถ้าคุณมีเพียงเลนส์พื้นฐาน ใช้ได้เอนกประสงค์ แลพวกเลนส์คิทซึ่งมันไม่เร็วมาก คงยังคงถ่ายภาพทางช้างเผือกได้เพราะคุณเปิดค่ารับแสงที่ยาวและใช้ค่า ISO ที่สูงที่กล้องคุณรับได้
(ดูภาพในเว็ปไซต์ต้นฉบับเพื่อประกอบคำบรรยายา.....ทางด้านซ้ายคือเลนส์ Rokinon/Samyang 24mm f/1.4 ในราคา 549 เหรียญสหรัฐ ซึ่งราคาเป็นแค่หนึ่งในสามของเลนส์ Canon 24mm f/1.4 ที่มีราคา 1,549 เหรียญสหรัฐ)
ถ้าคุณเป็นคนที่ถ่ายภาพวิวตอนกลางคืน คุณจะรู้สึกยินดีที่ได้เรียนรู้ว่าเลนส์มุมกว้างยอดนิยมสำหรับการถ่ายภาพกลางคืนนั้นหาได้ไม่ยาก
 เลนส์ Rokinon (AKA Samyang/Bower) ได้นำเสนอเลนส์สองแบบสำหรับคนสองกลุ่มที่ถ่ายภาพตอนกลางคืนคือ เลนส์ 14mm f/2.8 และเลนส์ 24mm f/1.4 คุณภาพการผลิดดูมันแย่มาก แต่ถ้าคุณใช้มันอย่างระมัดระวัง ทะนุถนอม พวกมันก็ให้คุณภาพที่ดีทีเดียว
 พวกมันเป็นเลนส์ยอดนิยมเพราะว่าพวกมันให้ความคมชัด ความเร็ว และมุมที่กว้าง และมีความพร่าของแสงน้อยกว่าเลนส์ที่มีราคาแพง โคม่า คือ ปริมาณของความเบี่ยงเบนของวงรีรอบๆ ดวงดาวในมุมของภาพ เลนส์แพงๆ บางตัวเหมือนกับ Canon 16-35mm f/2.8 จะมีโคม่าที่แย่มากบนดวงดาวในมุมของภาพซึ่งมันก็ไม่ได้ใช้จุดจบแต่มันก็ไม่ได้ดีที่สุด

6 – การเลือกกล้อง

การถ่ายภาพตอนกลางคืน คุณจะต้องเปิดค่า ISO ที่สูงระหว่างการเปิดค่ารับแสงที่ยาวนาน ดังนั้น สิ่งสำคัญกล้องคุณจะต้องสามารถเปิดค่า ISO ได้ถึง 3200 หรือสูงกว่า แต่ที่สำคัญมากคือมันยังคงให้ผลลัพท์ภาพที่มีคุณภาพที่ดีด้วย ไม่ว่าคุณจะใช้กล้องอะไรก็ตาม คุณภาพของภาพเป็นสิ่งสำคัญลำดับต้นๆเมื่อคุณเริ่มที่จะหมุน ISO เพิ่มขึ้น ซึ่งมันหลีกเลี่ยงไม่ได้
 ตัวเซนเซอร์กล้องก็มีการพัฒนามาอย่างยาวนานในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา ดังนั้นถ้ากล้องของคุณไม่ได้อยู่ในอันดับต้นของกล้องคุณภาพสูง คุณอาจจะพบกับสิ่งประหลาดใจในคุณภาพของภาพถ่ายเมื่อคุณใช้ค่า ISO ที่สูง
 กล้อง Sony A7S กลายเป็นสิ่งที่ช่างภาพดวงดาวเลือกใช้ แต่มันไม่ถูกเลย
 กล้องที่มีประสิทธิภาพสูงในช่วงสองสามปีที่ผ่านมาก็มีกล้อง Sony A7R, Nikon D810 และแน่นอนกล้อง Sony A7S ซึ่งรู้จักกันดีสำหรับการถ่ายภาพที่มีความสามารถที่น่าอัศจรรย์ ในการถ่ายภาพสภาพแสงน้อย ทั้งหมดนี้เป็นกล้อง Full Frame และมันจะให้คุณภาพของภาพที่ดีที่สุดซึ่งมีค่านอยส์ดีกว่า แต่ถ้าคุณถ่ายภาพด้วยกล้อง MFT (Micro Four Thirds) หรือ APS-C sensor อย่าหยุดที่จะออกไปและเก็บภาพทางช้างเผือก
 อย่าให้คุณรู้สึกว่าต้องมีกล้องราคาแพงๆ ทำงานกับสิ่งที่คุณต้องทำและทำการ upgrade เมื่อคุณกลายเป็นคนเสพติดในการถ่ายภาพ และไม่สามารถต่อต้านความพยายามที่อยากจะอวดรวย
 สิ่งหนึ่งที่คุณต้องการสำหรับกล้องของคุณคือมีจอ Live view หรือ EVF (Electronic Viewfinder) คุณจะใช้ในการโฟกัสและจัดองค์ประกอบในภารถ่ายภาพ

7 – คุณต้องการขาตั้งกล้อง

เมื่อมันมืด คุณก็ต้องเปิดค่ารับแสงนาน และนั้นหมายถึงคุณต้องใช้ขาตั้งกล้อง ให้อ่านในบทความเหตุผลว่าทำไมต้องมีขาตั้งกล้องที่ดีเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการถ่ายภาพนอกสถานที่ การถ่ายภาพกลางคืนขาตั้งกล้องเป็นสิ่งที่ควรปฎิบัติเป็นหลัก
 เทคนิคการถ่ายภาพ
 โอเค คุณได้วางแผนทุกอย่างไว้แล้ว ทางช้างเผือกก็กำลังลอยอยู่เหนือหัวคุณ และคุณก็จัดองค์ประกอบภาพ กับฉากหน้าที่ดูน่าสนใจ มันเป็นเวลาที่คุณจะต้องตั้งค่ากล้องสำหรับการถ่ายทางช้างเผือก นี้คือสิ่งที่ผมเริ่ม
 คำเตือน....ในเวลานี้คุณจะต้องปิดระบบในกล้องของคุณ สำหรับ noise reduction ซึ่งถ้าคุณไม่ปิดมันจะทำให้คุณช้าในการ process ภาพเมื่อคุณเริ่มทดลองถ่าย

8 – ถ่ายในโหมด M (Milky Way Mode)และถ่ายเป็นภาพไฟล์ RAW

คุณต้องการควบคุมกล้องเองทั้งหมดโดยให้ตั้งค่ากล้องไปที่โหมด Manual สิ่งนี้จะยอมให้คุณควบคุมค่า ISO ความเร็วชัตเตอร์ ค่ารูรับแสงและค่าไวท์บาลานซ์ และให้ถ่ายภาพเป็นไฟล์ RAW เสมอ

9 – ใช้Use Live View หรือ the EVF (ถ้ากล้องของคุณมี)

นี้คือหนทางที่คุณจะตั้งโฟกัส ให้แน่ใจว่าสวิทช์ auto-focus ถูกปิดขณะที่คุณกำลังโฟกัส ก่อนที่คุณจะทำสิ่งนี้คุณต้องปรับค่า ISO ให้สูงขึ้นเช่นปรับไปที่ค่า 5000 เพื่อให้เซนเซอร์ของกล้องไวต่อการรับแสง

10 – โฟกัสไปที่ดวงดาว

ตั้งค่ารูรับแสงให้กว้างที่สุด เร็วสุดมันจะทำให้สามารถสำเร็จได้ (ค่าตัวเลขที่เล็กที่สุด เช่น f/2.8) ค่ารูรับแสงที่กว้างจะเปิดให้เซนเซอร์รับแสงในปริมาณที่มากสุด
 ใช้ตัว Live View หรือ EVF ของกล้อง เล็งไปที่ดวงดาวที่สว่างที่สุดที่คุณสามารถเห็นได้จนกระทั่งจุดเล็กของแสงปรากฎในกึ่งกลางของภาพที่เห็น ซูมเข้าไป (ขายภาพใน Live View ไม่ใช่การซูมที่เลนส์นะครับ) ดังนั้นคุณเห็นจุดเล็กๆที่ใหญ่ขึ้นเท่าที่เป็นไปได้ เวลานี้ก็ให้หมุนวงล้อโฟกัสที่เลนส์จนกระทั่งดวงดาวจุดเล็กๆ ชัดขึ้น ลองหมุนโฟกัสให้ผ่านจุดนี้จนกระทั่งภาพดวงดาวเบลออีกครั้ง และคุณจะเลยมันไปจนกระทั่งกลับมาเห็นภาพดวงดาวชัดอีกครั้งและเล็กเท่าที่เป็นไปได้ อย่ารีบใช้เวลาและทำให้มันถูกต้อง
 ถ้ากล้องของคุณมีตัวที่เรียกว่า Focus Peaking หรือ Focus Assist ซึ่งบางครั้งมันช่วยคุณให้โฟกัสดวงดาวได้สมบูรณ์แบบ ถ้าคุณใช้การคำนวณระยะ Hyperfocal คุณสามารถทำได้เช่นกัน แต่ผมเสนอว่าใช้วิธีนี้
 ไม่ว่าอะไรที่คุณได้ทำ อย่าตั้งค่าโฟกัสไปที่ค่า infinity โดยการหมุนวงล้อโฟกัสจนกระทั่งมันเป็น infinity คุณจะจบด้วยการได้ภาพที่ไม่คมชัดเลย

11 – การจัดองค์ประกอบในการถ่ายภาพ

เวลานี้คุณได้โฟกัสเลนส์ของคุณไปที่ดวงดาวที่สว่างไสวแล้วมันเป็นช่วงเวลาที่จัดองค์ประกอบภาพ ใช้ไฟฉายคาดหัวเพื่อแสดงถึงฉากเพื่อให้คุณสามารถเห็นอะไรก็ตามที่คุณกำลังมองใน Live View ของคุณ ถ้ากล้องของคุณมีตัววัดระดับระนาบแนวนอนให้ตรงขอให้ใช้มัน ถ้าไม่มีคุณอาจจะลงทุนซื้อตัววัดระดับน้ำติดไว้ที่หัวกล้องของคุณ
 ตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์ไปที่ 10 วินาที (ที่ ISO 5000 ถ้าคุณตั้งได้) และลองถ่ายภาพดู ในจุดนี้ทั้งหมดที่คุณกำลังทำเป็นเพียงการทดสอบคราวๆ ในการถ่ายกับการวางองค์ประกอบภาพ ดังนั้นไม่ควรตั้งการถ่ายที่ 30 วินาที และต้องการสิ่งรอบๆ ขณะที่คุณถ่ายภาพทดสอบหลายภาพ
 ครั้นเมื่อคุณเสร็จจากการทดสอบถ่ายภาพแล้วและปรับแต่งตำแหน่งขาตั้งกล้องสุดท้ายสำหรับองค์ประกอบที่สมบูรณ์แล้ว มันเป็นเวลาที่คุณต้องปรับหมุนตั้งค่ากล้อง

13 – ค่า White Balance

ในการถ่ายภาพทางช้างเผือกผมเสนอให้คุณถ่ายภาพกับค่าไวท์บาลานซ์ของผม คือ ตั้งเป็น Incandescnet (aka Tungsten) ซึ่งผมเชื่อถือกับ Tungsten ของกล้อง Sony ผมชอบสีฟ้าที่อิ่มตัวและมันแสดงถึงค่าเปรียบต่างในตัว EVF ของกล้อง เพื่อว่าคุณสามารถเห็นทางช้างเผือกได้อย่างชัดเจน เมื่อคุณปรับแต่งภาพทีหลังคุณสามารถปรับเปลี่ยนค่าไวท์บาลานซ์ไปเป็น Auto (AWB) ได้ เพื่อให้ได้ค่าที่มีอุณหภูมิสีที่เป็นธรรมชาติมากที่สุด
(ดูภาพในเว็ปไซต์ต้นฉบบับเพื่อประกอบคำบรรยาย)
ในไฟล์ RAW การถ่ายโดยใช้ค่าไวท์บาลานซ์เป็น Incandescent คุณสามารถเห็นว่ามันดูต่างอย่างไรในตัว Adobe Camera RAW เมื่อเปลี่ยนเป็นค่า Auto
ผมแนะนำคุณให้ทดลองกับค่าไวท์บาลานซ์ที่ต่างกันในการตั้งค่าเพื่อให้ได้อุณหภูมิสีที่คุณชอบที่สุด การถ่ายโดยใช้ค่า Incandescent/Tungsten จะให้ผลลัพท์ที่ดี เป็นธรรมชาติซึ่งคุณสามารถเปลี่ยนมันที่หลังได้ในโปรแกรม Ligthroom หรือ Adobe Camera RAW

14 – ตั้งค่า ISO ของคุณ

คุณใช้ค่า ISO 5000 สำหรับการทดสอบการถ่ายภาพ ดังนั้นคุณสามารถปรับแต่งองค์ประกอบการถ่ายได้อย่างรวดเร็ว แต่สำหรับการถ่ายภาพทางช้างเผือกจริงๆ คุณต้องใช้ค่า ISO ที่ต่ำกว่านั้นโดยการปรับหมุนมันลงไปที่ค่า ISO 2000 และดูผลลัพท์ว่ามันให้ผลที่ดีหรือเปล่า ถ้าคุณสามารถเพิ่มได้ก็ให้เพิ่มเป็นค่า ISO 3200 หลังจากได้ทดสอบการถ่ายมาแล้ว โดยส่วนตัวผมจะไม่ตั้งไว้สูงกว่า 3200 ซึ่งภาพไฟล์ RAW มันจะเริ่มลดคุณภาพจากจุดนี้

15 – ความเร็วชัตเตอร์ กับ ค่า ISO

จากจุดนี้คุณได้ตบตาค่าความเร็วชัตเตอร์และค่า ISO เพื่อให้ความไวในการรับแสงดีที่สุด ขณะที่ความเร็วชัตเตอร์เร็วพอที่หลีกเลี่ยงการหมุนของดวงดาว การหมุนของดวงดาวเป็นผลกระทบที่กำลังเกิดกับภาพของคุณ (อ่านในบทความการถ่ายภาพดวงดาวของผมในเว็ปไซต์ที่นี้ http://digital-photography-school.com/how-to-shoot-a-star-…/ )แม้แต่ดาวดวงเล็กๆมีการหมุนก็ทำให้ผลของภาพทางช้างเผือกขาดความชัดเจน มันอาจจะดูโอเคสำหรับภาพในเว็ปไซต์ แต่สำหรับงานพิมพ์แล้วคุณจะต้องทำให้มันคมชัดกว่านี้ ลองพยายามจำกัดค่าความเร็วชัตเตอร์เป็น 15 วินาทีเพื่อว่าคุณสามารถทำให้ดวงดาวคมและปราศจากการหมุน

(ดูภาพตัวอย่างในเว็ปไซต์ต้นฉบับเพื่อประกอบคำบรรยาย....ขณะที่คุณสามารถเห็นในช่วงเวลา 30 วินาทีของการเปิดรับแสงทางด้านซ้ายในภาพจะเห็นการเคลื่อนที่ของดวงดาวแต่ละดวง ถ้า 15 วินาทีในการเปิดรับแสงทางด้านขวา ดวงดาวจะคมชัด แม้ว่ามันจะมืดสนิท)
การความเร็วชัตเตอร์ 15 วินาทีให้ดูการวัดแสงที่กล้องที่คุณอ่านได้ ถ้ามันบอกคุณว่าภาพจะโอเวอร์ คุณอาจจะหมุดลดค่า ISO ลงเล็กน้อย หรือให้ความเร็วชัตเตอร์ช้าลงเป็น 10 วินาที
 บางครั้งผมชอบแบบโอเวอร์ในภาพและละเลยกับค่าแสงที่ผมอ่านได้ เมื่อการถ่ายทางช้างเผือก ผมจะแนะนำจากสิ่งที่ผมเห็นในการทดสอบของผมมากกว่าการวัดแสงที่มันบอกผม กับกล้อง Sony ของผม ผมใช้โหมด Multi metering หลังที่คุณได้ถ่ายภาพเสร็จแล้ว และให้คุณตรวจสอบภาพให้แน่ใจโดยการซูมเข้าไปดูรายละเอียดว่าเป็นอย่างไร

16 – ลองใช้ค่าการเปิดรับแสงที่ 30 วินาที

ผมรู้ผมเพิ่งได้พูดว่าให้คุณใช้ค่าความเร็วชัตเตอร์ที่ 15 วินาทีสูงสุด แต่ผมชอบที่จะเพิ่มการถ่ายภาพด้วยค่าเปิดรับแสงที่ 30 วินาทีเพื่อเก็บภาพความสว่างไสวของทางช้างเผือก ผมทำสิ่งนี้ถ้าผมวางแผนว่าผมจะนำภาพไปแชร์บนเว็ปไซต์เท่านั้น (ภาพที่มีความละเอียดต่ำ) เพราะว่า การเคลื่อนตัวของดาวเพียงเล็กน้อยเนื่องจากการเปิดค่ารับแสงที่นาน จะไม่ปรากฎชัดเจนในภาพที่มีความละเอียดต่ำบนเว็ปไซต์ ดวงดาวต่างๆ ยังคงมองเห็นความคมชัด แต่มันจะสว่างกว่าภาพที่เปิดค่ารับแสงที่ 15 วินาที สำหรับงานพิมพ์ ผมจะใช้ค่ารับแสงที่ 15 วินาทีสำหรับความคมชัดที่พิเศษขึ้นมาหน่อย
 ตัวลดค่าน้อยส์ภายในกล้อง
 กล้องบางตัวทำงานในการปรับแก้ไขภาพและลดค่าน้อยส์ได้ดีเยี่ยม แต่นี้คือเวลาที่เพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวในการถ่ายภาพหนึ่งครั้ง ดังนั้นเป็นความคิดที่ดีที่จะปิดระบบนี้ลง อย่างน้อยก็เพียงชั่วคราว ถ้าคุณต้องการลดค่าน้อยส์ลงในกล้องคุณก็เพียงแค่เปิดการใช้งานกลับมาอีกครั้ง เมื่อคุณเสร็จจากการทดสอบการถ่ายภาพ
 โดยส่วนตัวของผม ผมชอบที่จะทำการลดค่าน้อยส์เองในโปรแกรม Adobe Camera Raw และตัวโปรแกรม Photoshop ก็ให้ผมควบคุมได้มากและยอมให้ผมถ่ายภาพได้เร็วขึ้นเมื่อผมอยู่ในที่ที่กำลังถ่ายภาพ
 เวลานี้...เป็นช่วงเวลาของคุณแล้ว

 โอเค เวลานี้คุณรู้ว่าจะถ่ายภาพทางช้างเผือกให้คมชัดเจนได้อย่างไรแล้ว ผมหวังว่าคุณจะได้ผลลัพท์ออกมาที่เยี่ยมยอดและสนุกกับมันเหมือนกับผมเมื่อกำลังถ่ายภาพในสิ่งที่มองเห็นอย่างน่าอัศจรรย์ ถ้าคุณอยากเรียนรู้ว่าผมปรับแต่งภาพทางช้างเผือกอย่างไร โปรดเขียนสิ่งที่คุณต้องการลงในช่องแสดงความคิดเห็นและถ้ามีคนสนใจมากๆ ผมยินดีที่จะแบ่งปันเทคนิคของผมให้พวกคุณทราบ

14
การเพิ่มแฟลชนอก (แฟลชที่ไม่ได้อยู่บนหัวกล้อง) เพื่อสร้างภาพที่ชนะเลิศ

โพสโดย Bruce Wuderlich แปลโดย Topstep07

เว็ปไซต์ต้นฉบับเพื่อดูภาพประกอบคำบรรยาย
http://digital-photography-school.com/adding-off-camera-flash-create-winning-image/

(ดูภาพตัวอย่างประกอบคำบรรยาย)...ภาพที่อยู่ข้างบนนี้ ชื่อภาพว่า “Star Gazers” ได้รับรางวัลชนะเลิศในปี 2015 ถ่ายที่เนินขา อยู่ในเขต Hocking Hills ใกล้ Logan มลรัฐ Ohio การแข่งขันนี้จะเริ่มในอาทิตย์ที่สามของทุกๆเดือนเมษายน ช่างภาพ 160 คนจากมลรัฐต่างๆ มากมายร่วมแข่งขันในปีนี้
เริ่มต้นโดยการวางไอเดียสำหรับการถ่ายนี้มาก่อนหนึ่งปีล่วงหน้า แต่การพยายามครั้งแรกของผมมันล้มเหลว (ลองดูภาพด้านล่าง  ดูภาพในเว็ปไซต์ต้นฉบับเพื่อประกอบการบรรยาย)

อะไรคือข้อผิดพลาดที่ผมได้ทำลงไป

(ดูภาพกราฟ ประกอบคำบรรยายในเว็ปไซต์ต้นฉบับ)
ถ้าผมตรวจสอบฮิสโตแกรม ผมจะสังเกตว่าภาพมันติดอันเดอร์ซึ่งข้อมูลจะเอียงไปทางด้านซ้ายของตัวกราฟ
1.   ภาพมันมืดติดอันเดอร์ เพราะผมไม่ได้ตรวจสอบฮิสโตแกรม ในช่วงกลางคืนภาพมองแล้วดูดีในจอ LCD ที่อยู่ด้านหลังกล้อง
2.   การการเปิดค่ารับแสงนาน (30 วินาที) ไม่มีทางสำหรับตัวแบบในภาพที่ยังคงนิ่งอยู่เพียงพอที่จะหลีกเลี่ยงการเบลอของภาพ

แนวทางแก้ไข
1.   การแก้ไขสำหรับการเปิดรับแสงเป็นเรื่องง่าย ขั้นแรกผมจะเปิดให้จอ LCD ของกล้องสว่างขึ้น ดังนั้นผมจะใช้ตัวฮิสโตแกรมในการพิจารณาค่าเปิดรับแสงของผม
2.   ช่วงเวลาการเปิดรับแสงเป็นตัวปัญหาหลัก ผมใช้ความพยายามแรกในการเก็บภาพที่ผมวางแผนเอาไว้ มันเป็นไปไม่ได้ที่จะให้ตัวแบบที่มีชีวิตยืนนิ่งๆในช่วงเวลา 30 วินาทีเพื่อป้องกันการภาพสั่นไหว  และแฟลชนอกได้ถูกเพิ่มเข้ามาด้านหลังของตัวแบบเพื่อสร้างริมไลท์ แสงตามขอบรอบตัวแบบ เพื่อที่จะหยุดการเคลื่อนไหวของตัวแบบ การเพิ่มแฟลชในลักษณะนี้เป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงหลักจากสิ่งที่ผมพยายามในครั้งแรก

ปัจจัยอื่นที่ควรพิจารณา

บางครั้งมันต้องลองผิดลองถูกเพื่อให้ประสบความสำเร็จกับผลลัพท์ที่คุณกำลังค้นหา การแก้ไขปัญหาเดี๋ยวนั้นอาจจะต้องทำเมื่อปัญหาที่ไม่เคยพบมาก่อนเกิดขึ้นที่ต้องเปลี่ยนสภาพการถ่ายภาพ มีหลายปัจจัยที่ต้องการนำมารวมกันเพื่อสิ่งที่เป็นไปได้ในการสร้างภาพเหมือนกับภาพนี้ หลังจากค่อยจนกระทั่งตีสองเพื่อให้ฟ้าไม่มีเมฆ มันเป็นช่วงเวลาสุดท้ายในการเก็บภาพที่ผมได้เห็นมาก่อนเกือบเป็นปี เพราะว่าเมฆได้ปกคลุมใกล้กับเส้นขอบฟ้า มันจำเป็นต้องเปลี่ยนมุมภาพให้สูงขึ้น ท้องฟ้าที่โล่งโปร่ง การปรับเปลี่ยนทำให้จำเป็นต้องเปลี่ยนระยะจาก 18mm ที่ผมวางแผนไว้เป็น 50mm หนึ่งในกฎของการถ่ายภาพเนินเขาคือทุกภาพต้องส่งภาพตรงจากกล้อง ดังนั้นทุกๆ สิ่งจะต้องถูกต้องตั้งแต่อยู่ในกล้องเลย นี้คือปัจจัยอื่นๆ ที่เพิ่มเข้ามาในการเก็บภาพแบบนี้

สภาพอากาศ

•   วันที่ท้องฟ้าสดใส– ปัจจัยอย่างเดียวที่สำคัญในการสร้างภาพคือวันที่คืนท้องฟ้าสดใสเต็มไปด้วยดวงดาว
•   ท้องฟ้ามืด – มองหาท้องฟ้าที่มืดสนิท หลีกหนีจากแสงต่างๆ ของเมือง มีแผนที่ที่ช่วยบอกว่าตรงไหนที่จะมีท้องฟ้ามืดสนิทในอินเตอร์เน็ท
•   คืนที่ไม่มีดวงจันทร์ (หรือหลังจากที่ดวงจันทร์ลับขอบฟ้าไปแล้ว) – แสงของดวงจันทร์จะมีผลทำให้ดาวนั้นมีแสงไม่สว่างสุกใส

การเปิดรับแสง

(ดูภาพประกอบคำบรรยายในเว็ปไซต์ต้นฉบับ) ค่าฮิสโตแกรมของภาพที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ สังเกตว่าค่าฮิสโตแกรมของภาพได้กระจายไปทางโทนกลาง กับข้อมูลด้านหลังที่มีไฮทไลท์เล็กน้อยซึ่งมันก็คือแสงดวงดาวและไฟริมไลท์
ผมต้องการรักษาค่าความเร็วชัตเตอร์ไว้ที่ 30 วินาทีโดยมีเหตุผลสองประการ หนึ่งการเปิดชัตเตอร์นานกว่าโดยปราศจากการเปิดโหมด B (Bulb) และการปรับแต่งค่าเวลาของการเปิดรับแสง สอง ผมไม่ต้องการให้ดวงดาวเบลอ การใช้ฮิสโตแกรมทำให้ผมได้ตระหนักว่าค่ารับแสงกับเลนส์ระยะ 50mm ต้องตั้งค่ารูรับแสงเท่ากับ f/5 และค่า ISO 2000 ซึ่งผมได้พิจารณาไว้ก่อนคือค่า ISO ที่สูงสุดที่ผมสามารถใช้ได้ และยังคงรักษาค่าระดับต่ำของปริมาณน้อยส์ที่เกิดขึ้น เหมือนอย่างที่ได้พูดไว้ก่อนหน้านี้ อย่าไปเชื่อในจอภาพของกล้องเพื่อพิจารณาค่ารับแสง ในความจริง ในช่วงกลางคืนภาพจากจอ LED จะดูสว่างเมื่อภาพจริงๆที่เกิดขึ้นมันมืดมาก เพื่อจะแก้ไขปัญหานี้ คือปรับค่าความสว่างของจอภาพลง ถ้ามันมีให้ปรับได้ แต่ใช้ตัวฮิสโตแกรมในการได้ค่ารับแสงที่ดีที่สุดในการติดตั้ง  ถ้าค่าของฮิสโตแกรมเอียงไปทางด้านซ้าย ภาพนั้นมันก็จะมืดไป

การใช้ตัวรีโมทในการสั่งยิงแฟลช

เมื่อผมมีตัวแบบเดียวในภาพ ผมใช้ตัวรีโมทตัวเดียวในการลั่นชัตเตอร์ และอีกตัวในการสั่งยิงแฟลชไปที่ตัวแบบ

ค่า White Balance

หลังจากที่ได้ทดลองการตั้งค่า preset ของ White balance มาหลายครั้ง ผมตัดสินใจที่จะตั้งค่า White balance เอง โดยให้เป็นค่า 2560 เควิน เพื่อให้ภาพมีสีฟ้าของท้องฟ้า

การโฟกัส

การโฟกัสในเวลากลางคืนเป็นสิ่งที่ท้าทายที่สุดในส่วนของการถ่ายภาพกลางคืนภายใต้ดวงดาว นี้คือคำแนะนำในการโฟกัสในช่วงเวลากลางคืน
•   ตั้งค่าโฟกัสก่อนที่จะมืด นี้คือวิธีที่ง่ายที่สุดในการโฟกัสการถ่ายภาพกลางคืน และหลังจากที่โฟกัสตั้งแล้วก็ให้ปิดการโฟกัสแบบอัตโนมัติเพื่อไม่ให้มันเปลี่ยนแปลง
•   ฉายไฟฉายไปที่ตัวแบบเพื่อให้กล้องสามารถโฟกัสได้ และหลังจากโฟกัสแล้วก็ดำเนินการเหมือนข้อแรกคือปิดตัวโฟกัสอัตโนมัติ
•   ใช้ตัว live view สำหรับการโฟกัสแบบ manual เมื่อมันสว่าง
•   ใช้ปุ่มด้านหลังกล้องในการโฟกัส
สำหรับภาพนี้ผมใช้ปุ่มด้านหลังกล้องในการโฟกัสและใช้ไฟฉายในการตั้งค่าโฟกัส

การส่งกำลัง

การถ่ายภาพนี้คือตัวแบบอยู่บนยอดเนินเขา ตัวกล้องตั้งอยู่บนขาตั้งกล้องด้านล่าง และเล็งขึ้นไปที่ตัวแบบที่อยู่ด้านบนและมีดวงดาวเป็นฉากหลัง แฟลชนอกถูกติดตั้งบนขาตั้งที่อยู่อีกฝากของเนินเขาและเล็งขึ้นมาที่ตัวแบบ ตัวแฟลชและขาตั้งจะต้องว่างในตำแหน่งที่ต่ำเพียงพอของอีกด้านหนึ่งของเนินเขาเพื่อว่าแฟลชจะไม่ปรากฎเข้ามาอยู่ในภาพ (ดูรูปภาพประกอบในเว็ปไซต์ต้นฉบับ)

บทสรุป

เฮ็นรี่ ฟอร์ดได้พูดไว้ว่า “ความล้มเหลวคือโอกาสในการเริ่มต้นอีกครั้งที่ชาญฉลาดมากขึ้น” ถ้าภาพในความคิดมันล้มเหลว ลองตรวจดูว่ามันผิดพลาดอะไรและมองหาแนวทางแก้ไขเพื่อพัฒนามัน ลองกลับไปดูตัวอย่างและพยายมมันอีกครั้ง จากความล้มเหลวครั้งแรกของผมในการพยายามเก็บภาพ คนชมดาว ความต้องการที่จะให้ตัวแบบอยู่นิ่งและป้องกันการเบลอ มันนำผมผมไปสู่การพยายามใช้เทคนิคการแยกแฟลชออก แสง Back light และประสบการณ์หลายปีในการทำงานทำให้เกิดความแตกต่างระหว่างความล้มเหลงและผู้ชนะเลิศ

15
คำแนะนำง่ายๆ สำหรับการถ่ายภาพน้ำตก

โพสโดย Kav Dadfar แปลโดย Topstep07

เว็ปไซต์ต้นฉบับเพื่อดูภาพประกอบคำบรรยาย
http://digital-photography-school.com/simple-tips-improve-travel-photography-photographing-waterfalls/

ความเรียบของน้ำเป็นสิ่งที่ยาก ความคมชัดของขอบก้อนหิน หรือความเขียวสดที่อยู่ล้อมรอบสามารถสร้างได้กับการวางองค์ประกอบภาพ แต่ก็เหมือนกับการถ่ายภาพวิวทิวทัศน์อื่นๆ การถ่ายภาพน้ำตกก็เป็นแบบหนึ่งที่ท้าทาย
ลองดูคำแนะนำง่ายๆ และคุณจะมั่นใจได้ว่าคุณจะได้ภาพที่ดีเยี่ยม

ค้นหาช่วงฤดูที่เหมาะ

ช่วงเวลาที่ดีที่สุดของการถ่ายภาพน้ำตกคือ หลังจากฝนตกขณะที่น้ำจะมีมากและฝนช่วยให้สีเขียวในพื้นป่า หรือมอสที่เกาะอยู่บนก้อนหินสีโดดเด่นขึ้น ซึ่งจะทำให้เราได้สีเขียวที่สวยงามชัดเจน หลีกเลี่ยงช่วงฤดูแล้งซึ่งคุณพบว่าน้ำตกไม่มีน้ำไหลมาก การถ่ายภาพน้ำตกที่ดีที่สุดคือช่วง ฟ้าหม่น หรือวันที่เมฆมาก ซึ่งแสงสามารถชดเชยสำหรับความเปรียบต่างที่แรงระหว่างน้ำกับหินหรือพืชต่างๆ

ไปแต่เช้าหรือไปก่อน

ถ้าปราศจากน้ำตกที่คุณกำลังถ่ายต้องการแรงพลักดันเพื่อไปหามัน มันจะเป็นที่ดึงดูดผู้คนอยู่แล้ว ทางที่ดีที่สุดทางหนึ่งในการหลีกเลี่ยงผู้คนคือการไปถึงแต่เช้าของวัน แต่ถ้าคุณพบว่ามันเต็มไปด้วยผู้คน คอยจนกระทั่งมีช่องว่าง หรือเข้าไปใกล้และตัดส่วนที่มีผู้คนในภาพออกไป จำไว้ว่าคุณสามารถรวมเอาผู้คนเข้าไปอยู่ในภาพได้ซึ่งทำให้ภาพน้ำตกอันเดียวกันมีเรื่องราวที่แตกต่างออกไป
(ดูภาพประกอบคำบรรยาย....น้ำตกนี้จะเต็มไปด้วยนักท่องเที่ยวในแต่ละวันเมื่อผมไปเยือนเป็นครั้งแรก ดังนั้นผมกลับไปใหม่ในวันถัดไปในช่วง หกโมงเข้า และผมมีเวลากับสถานที่นี้โดยไม่มีผู้คนอย่างน้อยสองชั่วโมง)

คิดถึงความเร็วชัตเตอร์

ไม่มีอะไรถูกหรือผิดในการถ่ายภาพน้ำที่เคลื่อนไหว บางคนชอบในการถ่ายภาพน้ำที่เก็บรายละเอียด และบางคนก็ชอบภาพให้น้ำดูนุ่มนวลเหมือนใยไหม ความเร็วชัตเตอร์เป็นกุญแจสำคัญในการกำหนดว่าจะให้การเคลื่อนไหวของน้ำมากน้อยแค่ไหนตามที่คุณต้องการ 1ต่อ 15 วินาที น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีสำหรับภาพเบลอของน้ำ (ให้ช้าลงไปอีกถ้าคุณต้องการความเบลอมากๆ) และ 1 ต่อ 250 วินาที หรือสูงกว่าเป็นจุดเริ่มของการหยุดของน้ำ ถ้าคุณกำลังถ่ายภาพโดยการใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ช้า จำไว้ว่าต้องใช้ขาตั้งกล้องเพื่อให้แน่ในว่าได้ภาพที่คมชัด ตัวฟิลเตอร์โพราไลซ์ก็เป็นอีกหนึ่งอย่างถ้าคุณต้องการลดปริมาณแสงที่สะท้อนในน้ำหรือบนก้อนหิน  ทดลองใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่แตกต่างเพื่อให้ได้ภาพการไหลของน้ำตามที่ต้องการ

อย่าไปโฟกัสที่น้ำตก

มันฟังดูเหมือนเป็นสิ่งแปลกๆในการพูด เพราะว่าน้ำตกมันคือพระเอกของการถ่ายภาพ แต่ถ้าคุณต้องการให้ภาพน้ำตกมีความน่าสนใจมาก บางครั้งคุณต้องให้มันเป็นสิ่งที่สองในการวางองค์ประกอบภาพจะดีกว่า โดยการเพิ่มบางสิ่งในฉากหน้าซึ่งทำให้ผู้ชมสนใจ และคุณสามารถนำสายตาของพวกเขาไปยังน้ำตกได้ สิ่งเหล่านี้สามารถเป็นพวกก้อนหิน ต้นไม้ที่ล้ม ใบไม้ หรือแม้แต่หลุมบนพื้น ไม่เพียงแต่จะทำให้ภาพของคุณดูน่าสนใจกว่า แต่มันยังช่วยสร้างความรู้สึกของการเคลื่อนไหวของน้ำ ดังนั้นอย่าจดจ่ออยู่กับมุมแรกสุดที่คุณเห็น  ลองมองไปรอบๆเพื่อหาสิ่งที่น่าสนใจซึ่งสามารถช่วยสร้างองค์ประกอบภาพได้ กุญแจสำคัญคือใช้เวลาของคุณมากกว่าที่จะรีบๆ แล้วไปที่อื่นต่อไป
(ดูภาพประกอบคำบรรยาย...โดยการเพิ่มฉากหน้าของน้ำตกที่ทำให้น้ำตกกลายเป็นส่วนสำคัญที่สองของภาพ แต่สายตาของผู้ชมภาพจะยังคงถูกนำไปถึงน้ำตกได้จากฉากหน้า)

มองหาผู้คน

หนทางหนึ่งที่ดีที่สุดในการให้ภาพของคุณดูเป็นต้นแบบและให้ภาพเหล่านั้นมีเรื่องราวคือการเพิ่มคนเข้าไปในภาพ ไม่เพียงแต่การเพิ่มคนเข้าไปในภาพเป็นการบ่งบอกถึงขนาด แต่มันยังช่วยทำให้ภาพของคุณน่าสนใจมากขึ้นด้วย และมีการเล่าเรื่องราว อย่ากลัวที่จะเพิ่มคนเข้าไปในภาพ แต่ให้คุณแน่ในว่าคุณใช้ความเร็วชัตเตอร์เพียงพอในการถือกล้องถ่ายด้วยมือเปล่าหรือคุณกำลังใช้ขาตั้งกล้อง
ถ้าต้องการหลีกเลี่ยงผู้คนก็ไปแต่เช้า หรือไม่คุณก็ให้คนรวมอยู่ในภาพของคุณเลย

น้ำตกทำให้เกิดภาพที่น่าอัศจรรย์ได้ แต่การถ่ายภาพเกี่ยวกับวิวทิวทัศน์ทั้งหมด คุณต้องพยายามและคิดเกินกว่าที่เห็น น้ำตกเป็นสิ่งที่ดีในการถ่ายภาพและการทำให้ภาพาของคุณโดดเด่นคุณต้องมีการเตรียมอุทิศเวลาและพลังงานในการเก็บภาพพวกมันอย่างดีที่สุด
เวลานี้เป็นเวลาของคุณแล้ว แบ่งปันภาพของคุณ แนวคิดและคำแนะนำด้านล่างนี้นะครับ

Pages: [1] 2 3 ... 8