Show Posts

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - topstep07

Pages: 1 ... 4 5 [6] 7 8
76
เราเดินทางออกจากภูเขาลูกนี้...เพื่อไปหาข้าวเช้า...ที่ไม่ต้องพิเศษอะไรมากมายและมีร้านเซเว่นอยู่ด้วยซึ่งมันก็คงไม่พ้นปั้มน้ำมันแน่นอน 5555 เราทานข้าว เตรียมเสบียง พี่อัชก็เตรียมทำตัวให้เบาโดยการปลดปล่อยสิ่งที่อยู่ในร่างกายออก 5555 ;D เมื่อพร้อมแล้วมุ่งหน้าสู่ถ้ำเทวาพิทักษ์ที่เราใจจดจ่ออยู่กับความอลังการ...และสิ่งที่เราจะต้องไปพบเจอ...วันนี้อากาศดีมาก...ลมเย็นสบาย  เมื่อเดินทางมาถึงสำนักสงฆ์ถ้ำเอราวัณเราก็ลงมายืดเส้นยืดสายเดินไปรอบๆ จากนั้นเราก็นำของที่พี่กิ๊กเตรียมมาถวายวัดเอาไปให้พระ...แต่เราก็ผิดหวังนิดๆ เพราะว่าพระท่านออกไปข้างนอก...เหลือแต่แม่ชีท่านหนึ่งคอยต้อนรับ...เราได้สนทนากันพักใหญ่...ถึงเรื่องสถานที่ของสำนักสงฆ์และทางสำนักฯก็มีแผนการก่อสร้างเจดีย์โดยใช้เงินหลายล้านบาท แม่ชีท่านก็เชิญชวนให้ช่วยกลับมาทำบุญด้วยครับ....

เมื่อเสร็จการสนทนาเราก็เตรียมตัว จัดระเบียบตัวเองเพื่อเดินทางเข้าถ้ำเทวาพิทักษ์ซึ่งไม่ไกลจากสำนักสงฆ์ ประมาณสักกี่โลกว่าๆ ก็ถึงปากถ้ำ เดินขึ้นเขานิดหน่อยไม่สูงมากนัก..พอถึงปากถ้ำก็เก็บภาพหมู่กันด้วย....ทางเดินลงถ้ำก็เริ่มจะแคบๆ กระเป๋าที่สะพายหลังมาก็ต้องปลดออกเพื่อทยอยส่งกันเป็นทอดๆ เข้าไปในถ้ำ บางช่วงต้องคลาน ต้องมุดกัน ความมืดเริ่มปรากฎให้เห็น ไฟฉายทุกอันเริ่มทำงาน....เมื่อเราลงมาถึงทางเข้าแล้วก็เริ่มเดินขวาบ้าง ซ้ายบ้าง มุดบ้าง คลานบ้าง...สรุป หลงทาง...555 ตัองให้พี่กิ๊กข่วยคล้ำทางอีกครั้ง...จากประสบการณ์เก่าที่เคยมาก่อนหน้านี้....การเดินทางเริ่มสบายขึ้นเพราะเส้นทางเดินในถ้ำเริ่มกว้าง...ลมเย็นสบายๆ อากาศไม่ร้อน (แต่ตัวผมร้อนมาก เสื้อเปียกไปทั้งตัว) เรามาหยุดที่จุดแรก ตรงที่มีลำแสงส่องลงมาจากช่องของถ้ำ...สิ่งที่มองเห็นมันอลังการจริงๆ แสงที่ส่องมาสวยมาก..เหมือนใครเอาไฟไปติดตั้งไว้...เราไม่รีรอรีบจัดเตรียมกล้อง ตั้งค่าพร้อมถ่าย เพราะแสงที่เป็นลำส่องมาจะเคลื่อนตัวเปลี่ยนทิศไปเรื่อยๆ อย่างรวดเร็ว..แล้วก็จะหายไปในที่สุด....

ลำแสงที่เห็นจากในภาพด้านล่างนี้ มันจะเคลื่อนตัวจากทางซ้ายมาทางขวา เรารอจังหวะเพื่อให้ลำแสงนี้ตกกระทบที่ตัวแบบคือ ก้อนหินทางด้านขวาที่มียอดแหลมๆ นั่นแหละครับ

77
ได้เวลาอันสมควรเราก็ต้องลาจากสถานที่นี้แล้ว....เพื่อมุ่งหน้าไปทานข้าวเช้า ซื้อเสบียง (ตัวใครตัวมัน) เพื่อเข้าไปในถ้ำ.....สำหรับเสบียงของผมก็มีแค่ขนมปังที่มีไส้หวานๆ เพื่อเรียกน้ำตาล เพราะรู้ว่าเสียเหงื่อมาก...พร้อมกับ M sport สองขวดเลยครับ...ไว้ตอนเข้าไปแล้วเสียเหงื่อ กับตอนจะออกเพื่อเรียกแรง...5555 คน สว ก็ยังงี้แหละครับ

ในภาพนี้ผมพยายามตามพี่หนู...เพื่อขอเป็นตัวแบบให้กับเลนส์ตาปลาสักหน่อยเพราะมันได้เวิ้งน้ำที่ครบถ้วน...แต่พี่หนูก็เดินลงไปเรื่อยๆ เพื่อเก็บฉากหน้าก้อนหินที่อยู่ขวามือพี่หนู (ถ้าผมเดาไม่ผิดนะครับ)....ผมก็รีบกดๆๆ มาสักสองสามภาพเอามาเลือกอีกที....ขอบคุณพี่หนูครับ...ไม่มีพี่หนูผมว่าภาพมันไม่มีพลังแน่ๆ ครับ 5555


78
ถ้ามีเวลามากกว่านี้สงสัยคงได้มีการปีนป่ายภูเขาลูกนี้เพื่อขึ้นไปสำรวจแต่ดูแล้วก็ขึ้นไม่ง่ายเลย.....แต่ก็ยังไม่เข้าใจว่าทำไมไม่มีคนหรือสิ่งปลูกสร้างอะไรเลย....ใครเป็นเจ้าของ?

79
เรายังคงอยู่ตรงภูเขาลูกนี้สักพักใหญ่เก็บภาพสวยๆ ไปเรื่อยๆ เราแต่ละคนวาดฝันกันไปต่างๆ นานา พี่กิ๊กอยากได้มาทำเป็นที่สอนถ่ายภาพ เปิดเป็นร้านกาแฟไปด้วย 5555


80
จากนั้นเราขับรถออกหาตัวแบบที่น่าสนใจ...เพราะบริเวณนั้นเป็นโรงโม่หิน...เราพยายามหาทำเลเหมาะในการเก็บภาพจนกระทั่งเราเห็นโรงงานโม่หินและภูเขาที่อยู่ด้านหลังของโรงงานสวยมาก...ตัดสินใจหยุดรถถอยหลังเข้าไปในโรงงานแล้วก็ไปขออนุญาตถ่ายภาพ แต่ปรากฎว่าเราได้รับคำปฎิเสธว่าไม่ได้...ไม่เป็นไรเราเข้าใจ..เราก็ออกเดินทางเลาะไปเรื่อยๆ จนกระทั่งเราเห็นภูเขาลูกใหญ่ที่มีร่องรอยการถูกระเบิดหินไปแล้วซึ่งมีลวดลายสวยงามน่าถ่ายภาพ เราพยายามมองหามุมจากข้างถนนแต่ติดต้นไม้...และในที่สุดเราเห็นถนนเล็กๆ ที่เลี้ยวเข้าไปด้านซ้าย...เราทุกคนตัดสินใจว่า..."พี่กิ๊กเลี้ยวเข้าไปดูกัน"  เราก็เลี้ยวเข้าไป...มันเป็นการตัดสินใจที่ยิ่งใหญ่....เราได้ภูเขาลูกนั้นทั้งลูก...ไม่มีป้ายบอกความเป็นเจ้าของ ไม่มีผู้คนอาศัยอยู่....มีแต่พวกเรา 4 คนเท่านั้น...ภาพที่เห็นคือภูเขาลูกใหญ่ทั้งลูกอยู่ต่อหน้าเรา...มีแอ่งน้ำที่สะอาดปราศจากขยะใดๆ มีสายลมพัดกระทบภูเขาเสียงดัง...

ในภาพจะเห็นพี่อัช...ยืนอยู่ หากันเจอไหมครับ 555 เพื่อเทียบให้เห็นความใหญ่ของภูเขา

81
ทริปพิเศษ...ของ NXT เป็นทริปที่ต้องทำการคัดเลือกสมาชิกเข้าไปร่วมทำงานกับ บก NXT (คุณปิยะฉัตร แกหลง พี่กิ๊ก) และเป็นทริปที่เราออกไปทำงานกันอย่างจริงจัง...ใช้เวลาทั้งวันในการถ่ายภาพ หามุม คิดรูปแบบการถ่ายต่างๆ....สิ่งที่ประทับใจคือมิตรภาพที่ได้รับจากทริปนี้...เราแลกเปลี่ยน เราพูดคุย เราเล่าเรื่อง เราหัวเราะ เราแบ่งปัน....มันเป็นภาพที่ผมเก็บลง Memory Card ไม่ได้..แต่มันลงไปในหัวใจเลยทีเดียว....ผมเคยคิดเหมือนกันว่า อยากจะรู้ว่าพี่กิ๊กทำงานอย่างไรในแต่ละครั้งที่ต้องทำ e-mag มาให้เราได้อ่านได้ดูกัน....มันลำบากแค่ไหน....และก็ได้เห็นถึงมุมมองวิธีการคิดต่างๆ ที่เราะต้องฝึกฝนบ่อยๆ....เพื่อที่เราจะได้พัฒนาตัวเองให้ก้าวไปอีกขั้นหนึ่ง...ขอบคุณสำหรับพี่กิ๊ก พี่หนู พี่อัช ที่ได้ร่วมเดินทางไปด้วยกัน...ในทริปนี้ครับ...

ภาพที่ได้มาอาจจะไม่สวยเท่าที่ควร ไม่ถูกใจทุกๆคน...ต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วยครับ...ติชม แบ่งปัน ได้เสมอนะครับ...ผมยินดีรับฟังและนำไปปรับปรุง

เริ่มต้น...จากการเดินทางแต่เช้าตรู่ พบกันตี 5 ที่หน้าสถานีรถไฟฟ้า หมอชิต ฝั่งที่จอดรถ...ทุกๆ คนมาตรงเวลา และก็นอนแทบไม่หลับเพราะกลัวนาฬิกาไม่ปลุก..ก็ถือว่าเราทุกคนมีความตั้งใจที่ดีตั้งแต่เริ่มต้นกันเลย เพราะไม่อยากเสียโอกาสโดยเฉพาะพี่อัช ที่มีงานยุ่งมากมายแต่ก็คิดแล้วคิดอีกว่า คงต้องมาให้ได้...ตามความฝัน....เราเดินทางมาถึงสระบุรีซึ่งยังเช้าอยู่มาก..ระหว่างทางพี่กิ๊กพยายามมองหาแสงแรกของวัน..ว่าวันนี้จะปรากฎที่ไหนและก็วิ่งไปเก็บภาพที่พี่กิ๊กตั้งใจไว้ว่าจะให้พวกเราได้เก็บภาพนั้นด้วยเช่นกัน แต่แล้ว แสงแรกโดนเมฆบังเป็นส่วนใหญ่ เหมือนจะมีฝนแต่ก็ไม่มี.....เราก็ขับรถเข้าซอยเล็กๆ จากถนนใหญ่ที่มุ่งหน้าเข้าสระบุรี....เราพบกับท้องทุ่งนาที่เวิ้งว่าง เพราะพืชผลได้ถูกเก็บไปหมดเหลือแต่พื้นที่ดินโล่งๆ ที่พร้อมจะปลูกใหม่ต่อไป....เราพยายามรออยู่นาน..เพื่อให้ได้แสงที่ตกกระทบภูเขาด้านหน้าของเรา...แต่ก็ไม่มี..ดวงอาทิตย์เริ่มขึ้นสูงขึ้นเรื่อยๆ....เราเลยต้องเปลี่ยนใจเดินทางต่อไป....เพื่อหาทำเลอื่นๆ

ภาพที่เห็นกับสภาพจริงๆ จะแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ภาพสองภาพด้านล่างนี้ตกแต่งเพื่อให้ดูน่าสนใจขึ้นครับ...5555

82
ลองมาคุยเกี่ยวกับเรื่องแสง....สามแบบของสภาพแสงและการใช้พวกมัน...

โพสโดย Daniela Beddall แปลโดย Topstep07   

เว็ปไซต์ต้นฉบับ สำหรับดูภาพประกอบคำบรรยาย
http://digital-photography-school.com/lets-talk-light-3-types-of-lighting-conditions-use/

อะไรทั้งหมดนี้เราจะพูดเกี่ยวกับเรื่อง แสง
เมื่อฉันเริ่มเส้นทางการถ่ายภาพของฉัน ฉันจำได้ว่าทุกๆบทความ (หรือบทความที่เหมือนกัน) บล๊อก หรือ หนังสือ ที่ฉันอ่านจะพูดเกี่ยวกับเรื่อง แสง  “ค้นหาแสง”  “ดูแสง” “มันเกี่ยวกับแสง” “ติดตามแสง” อะไรทั้งหมดนี้พูดเกี่ยวกับเรื่องแสง   ฟังดูคุ้นๆ ไหม
ในไม่ช้าฉันกลายเป็นคนที่ถูกครอบงำเรื่องแสง ฉันจ้องมองผู้คนที่กำลังพูดคุยกับฉัน เพ้อฝัน มองดูว่าแสงที่ตกกระทบลงบนใบหน้าพวกเขา เมื่อฉันเริ่มเดินฉันก็มองดูทิศทางของแสงและเส้นทางที่มันเปลี่ยนในแต่ละช่วงเวลาของวัน มันดูเหมือนว่ามันยากที่จะค้นหาแสง ยิ่งฉันสามารถเห็นมันน้อยมากเท่าไร ฉันคิดว่าฉันไม่เคยได้เห็นแสงเลย ดังนั้นบางสิ่งเกิดขึ้น ฉันไม่สามารถบอกได้แน่ชัดว่าเมื่อไรแต่หลังจากเดือนแห่งการครอบงำเกี่ยวกับแสง ในที่สุดฉันเห็นมัน มันช่างสวยงาม นุ่มนวล ให้ความกระจ่างในเรื่องคุณภาพ และความสามารถในการเปลี่ยนอารมณ์และรูปแบบของภาพ
แสงมีส่วนสำคัญในรูปแบบและความนุ่มนวล โรแมนติกในภาพถ่ายของฉันที่ฉันสร้างขึ้น มีสิ่งต่างๆ มากมายที่ฉันสามารถเขียนหนังสือทั้งเล่มที่เกี่ยวกับเรื่องแสงเพียงอย่างเดียว แต่ตอนนี้ฉันจะโฟกัสไปที่สภาพแสงสามแบบ และข้อดีในการใช้พวกมัน

เปิดร่มเงา

การเปิดร่มเงา คือจุดที่อยู่ระหว่าง ดวงอาทิตย์ และร่มเงา ร่มเงาเกิดขึ้นได้จากตัวตึก ต้นไม้ กำแพง ฯลฯ เมื่อใช้การเปิดร่มเงามันมีสิ่งที่สำคัญที่ต้องมั่นใจว่าคุณมีแสงเพียงพอที่จะสะท้อนเข้ามาในพื้นที่ที่เป็นร่มเงา การเลือกพื้นที่ที่มีสีขาว หรือ แสงจางๆ ของกำแพงหรือพื้นจะช่วยเพิ่มความนุ่มนวล ให้ความสว่างโดยการสะท้อนแสงลงบนพื้นผิวพวกมัน การสะท้อนแสงจะสะท้อนไปทั่วตัวแบบของคุณซึ่งทำให้ตัวแบบดูนุ่มนวล ชวนฝัน และเจิดจรัส
ภาพด้านบนนี้ (ดูภาพประกอบในเว็ปไซต์ต้นฉบับ) ถ่ายแบบเปิดร่มเงา คุณสามารถเห็นเส้นที่อยู่ตรงมุมล่างด้านซ้ายของภาพซึ่งแบ่งส่วนที่เป็นแสงสว่างและพื้นที่ร่มเงา ฉันได้วางนางแบบที่อยู่ในร่มเงาดังนั้นแสงจะสะท้อนเข้าไปที่ตัวของนางแบบ กำแพงหินปูนจะทำหน้าที่เป็นส่วนสะท้อนแสงกลับไปยังตัวแบบของฉัน
สิ่งถัดไปที่ต้องคำนึงเมื่อใช้วิธีการเปิดร่มเงาคือทิศทางที่ตัวแบบต้องเผชิญหน้า ถ้าการหันหน้าของตัวแบบผิดทิศทางการเปิดร่มเงาสามารถทำให้ภาพของคุณดูแบนๆ ดังนั้นในแน่ใจว่าแสงมาจากทางไหนและมันสะท้อนเข้าหาตัวแบบหรือไม่ การใช้พื้นผิวที่สะท้อนแสง หรือแผ่นสะท้อนแสงเพื่อให้ทิศทางของแสงหันกลับไปหาตัวแบบ ในการทำแบบนี้แสงจะยังคงส่องไปที่ใบหน้าของตัวแบบ และคุณยังได้แสงของแววตาที่สวยงามของตัวแบบอีกด้วย การเปิดร่มเงาสามารถใช้ถ่ายแบบได้ตลอดเวลา มันเป็นเครื่องมือที่ดีในการถ่ายภาพตอนช่วงเที่ยงวัน เมื่อดวงอาทิตย์อยู่กลางท้องฟ้าและสร้างเงาที่แข็งกระด้วงบนตัวแบบ

วันที่มีเมฆมาก

วันที่มีเมฆมากคือวันที่ฉันชื่นชอบในการถ่ายภาพ มันเหมือนกับการถ่ายแบบเปิดร่มเงา แต่มันเหมือนการเปิดร่มเงาไปทุกๆ ที่ สิ่งสำคัญในขณะที่มองหาว่าแสงมาจากทางไหน วันที่มีเมฆมากจะไม่จำกัดในพื้นที่ร่มเงา เมฆจะทำหน้าที่เป็นตัวกรองแสงขนาดใหญ่ หรือ ซอฟท์บ๊อก ซึ่งทำให้แสงนุ่มนวล เมื่อถ่ายภาพในวันที่มีเมฆมาก บ่อยครั้งฉันจะมองไปทางที่ดวงอาทิตย์อยู่ แม้ว่าฉันจะไม่สามารถมองเห็นมันหลังก้อนเมฆ ฉันก็แน่ใจว่ามันอยู่ตรงนั้นถ้าไม่มีเมฆมาบัง มี Application บนมือถือมากมายที่จะบอกตำแหน่งของดวงอาทิตย์ในแต่ละช่วงเวลา พวก Application เหล่านี้จะบอกถึงตำแหน่งดวงอาทิตย์ขึ้นและและตก ซึ่งมันเป็นสิ่งที่ดีมากที่จะช่วยคุณในการวางแผนการถ่ายภาพได้ก่อนล่วงหน้า
ภาพถ่ายด้านล่างนี้ (ดูภาพประกอบในเว็ปไซต์ต้นฉบับ) ถูกถ่ายในวันที่มีฝนเล็กน้อย ฟ้าสีเทา และมีเมฆมาก ฉันยังคงต้องการให้แน่ใจว่าใบหน้าของตัวแบบของฉันได้รับการส่องสว่างจากแสง จากภาพนี้ฉันแน่ใจว่าดวงอาทิตย์อยู่ด้านหลังของฉัน แม้ว่าฉันจะมองไม่เห็นดวงอาทิตย์ผ่านก้อนเมฆก็ตาม  ฉันยังคงสามารถมองเห็นความสว่างของแสงที่อยู่ในก้อนเมฆนั้น ดังนั้นตัวแบบของฉันจะหันตรงไปที่ดวงอาทิตย์โดยที่เขาจะไม่หรี่ตาและไม่มีเงาแข็งๆปรากฎขึ้นมา ก้อนเมฆจะทำหน้าที่เหมือนซอฟท์บ๊อกให้ฉันได้มีแสงที่สวยงาม....
เมื่อเริ่มมีเมฆมาก ช่างภาพหลายคนก็หยุดถ่ายภาพในช่วงที่มีเมฆมาก บนใบหน้าแสงจะปรากฎเป็นแบบทื่อๆมัวๆ แต่ลองมองให้ลึกลงไปคุณจะเห็นการส่องแสงที่มีคุณภาพอย่างน่าประหลาด ภาพที่น่าประทับใจของฉันจะถูกถ่ายในช่วงเวลาแบบนี้แหละ

แสงจากด้านหลัง

แสงจากด้านหลัง ถ้าเราทำถูกวิธีมันสามารถสร้างบรรยากาศและความมีชีวิตชีวาของภาพได้อย่างสวยงาม มันต้องได้รับการฝึกฝนอย่างมากแต่ฉันคิดว่ามันมีค่ามาก มีหลายหนทางที่แตกต่างในการวางตำแหน่งดวงอาทิตย์บนภาพของคุณ  คุณสามารถให้ดวงอาทิตย์อยู่หลังตัวแบบของคุณโดยตรง หรืออยู่ด้านนอกของภาพ หรือ อยู่ในภาพ ในแต่ละแบบจะสร้างผลกระทบที่แตกต่างและจะมีอิทธิพลถึงแสงแฟรและความแข็งกระด้างของแสงที่มากน้อยในภาพของคุณ
สำหรับแสงจากด้านหลังนี้ การวัดค่าแสงจะเป็นส่วนที่สำคัญในการประสบความสำเร็จในการถ่ายภาพ การถ่ายภาพด้วยโหมด Manual จะช่วยให้มั่นใจว่าจะได้การถ่ายที่สมบูรณ์ เมื่อถ่ายภาพที่หันเข้าหาดวงอาทิตย์โดยตรง ฉันจะวัดค่าแสงบนใบหน้าของตัวแบบซึ่งจะอยู่ใต้ตา ฉันรู้ว่ามันจะทำให้รายละเอียดหายไปของไฮไลท์ในฉากหลัง หรือพื้นที่รอบๆ ตัวแบบ แต่ฉันชอบเพิ่มประกายแสงเข้าไป
กล้องถ่ายภาพจะไม่ฉลาดพอในการถ่ายดวงอาทิตย์โดยตรง นี้คือสิ่งที่ทำไมต้องมีเลนส์ฮูด ถึงอย่างไรก็ตามมันก็ไม่เพียงพอ คุณจะได้ยินเสียงหึ่งๆบนตัวเลนส์ของคุณขณะที่โฟกัสบนสิ่งที่คุณกำลังโฟกัส เมื่อสิ่งนี้เกิดขึ้นลองสร้างจุดเล็กบนร่มเงาสำหรับกล้องโดยการยกมือซ้ายเหนือเลนส์ที่จะบังแสง ดูเหมือนมันเป็นเคล็ดลับแต่มันไม่ใช่ อีกทางหนึ่งคือการโฟกัสแบบ manual

อาหารทางความคิด....

สิ่งหนึ่งที่ดีที่สุดของการแนะนำที่ฉันเคยได้รับเมื่อฉันเริ่มถ่ายภาพคือการมองหาแสงก่อนเป็นอันดับแรกและฉากหลังเป็นอันดับสอง มันง่ายในการวางตัวแบบของคุณอยู่ด้านหน้าบางสิ่งที่ดูสวยงามหรือน่าสนใจ  แต่ถ้าแสงอยู่ในตำแหน่งที่แย่คุณจะลงเอยด้วยภาพที่ไม่มีชีวิตชีวาเลย หรือไม่ก็ตัวแบบของคุณจะหรี่ตาและมีเงาแข็งๆ บนใบหน้าของเธอ 
ฉันอยากรู้ว่าคุณค้นหาแสงอย่างไร โปรดแบ่งปันความคิดเห็นหรือข้อแนะนำและรูปของคุณให้เราดูกันบ้างนะคะ...

83
แปดคำแนะนำง่ายๆสำหรับการจับภาพดวงอาทิตย์ขึ้นและตกที่น่าประทับใจ

โพสโดย Tim Gilbreath แปลโดย Topstep07

เว็ปไซต์ต้นฉบับ เพื่อดูภาพประกอบคำบรรยาย
http://digital-photography-school.com/8-simple-guidelines-capturing-spectacular-sunrise-sunset-images/

เมื่อเราจะถามถึงตัวแบบที่ได้รับความนิยมในการถ่ายภาพวิวทิวทัศน์ ภาพของดวงอาทิตย์ตกที่สวยงามจะผุดขึ้นมาในความคิดทันที อะไรคือภาพถ่ายกลางแจ้งที่มีค่าของเขาและเธอ มีสักภาพสองภาพของดวงอาทิตย์ที่กำลังลับขอบฟ้า ในความคิดของคนทั่วไป มันเป็นสิ่งที่ง่ายในการเก็บภาพกับปฎิกิริยาเล็กน้อยจากช่างภาพ
แต่นี้คือสิ่งที่เกิดขึ้นจริงหรือ?
โชคไม่ดี มันไม่ใช่ ถ้าปราศจากคุณพึ่งพาเพียงโชคช่วยอย่างเดียว คุณต้องการความรู้เพื่อที่จะเริ่มเก็บภาพดวงอาทติย์ขึ้นและตก คำแนะนำเหล่านี้ไม่ได้ยากที่จะเข้าใจและสามารถพัฒนาโอกาสของการเก็บภาพที่เป็นหนึ่งในเทพของธรรมชาติที่เหลือเชื่อ

1. ตรวจสอบสถานที่

สิ่งที่ยั่วยวนใจคือการพบสถานที่สบายๆและเริ่มที่จะถ่ายภาพ แต่มันจะดีมากสำหรับโอกาสที่จะประสบความสำเร็จโดยการวางแผนการถ่ายภาพไว้ก่อนล่วงหน้า สิ่งแรกที่คุณต้องคิดถึงคือ สถานที่ที่ดีที่สุดที่คุณต้องการถ่ายภาพ
ให้เลือกสถานที่ที่ออกจากถนนหรือทางเท้าที่ซึ่งคุณจะไม่ถูกรบกวนง่ายๆ  ไปยังสถานที่นั้นในช่วงที่มีแสงก่อนที่จะถ่ายและให้แน่ใจว่าภาพที่อยู่ด้านหน้าคุณจะไม่ถูกกีดขวางและไม่มีอันตรายอะไร
สิ่งที่เป็นปัจจัยสำคัญหลังจากที่พบสถานที่แล้วคือช่วงเวลาของวัน ที่แน่นอนมันขึ้นอยู่กับสิ่งที่คุณกำลังจะถ่ายภาพดวงอาทิตย์ขึ้นหรือตก มีพายุหรือไม่? ถ้าคุณกำลังถ่ายภาพในช่วงเวลาที่เกิดขึ้นพร้อมกันระหว่างพายุกำลังมาหรือพายุสงบแล้ว ผลของมันสามารถทำให้คุณลังเลได้ ฝนและเมฆพายุสามารถเพิ่มมิติของภาพได้
สิ่งสุดท้าย คุณสามารรถหาช่วงเวลาที่เหมาะสมโดยใช้เครื่องมือออนไลน์ หรือ แอพพลิเคชั่นบนมือถือ เพื่อที่จะได้ข้อมูลที่ถูกต้องสำหรับการขึ้นและตกของดวงอาทติย์ แอพพลิเคชั่นพวกนี้ราคาไม่แพง( และบางครั้งก็ ฟรี) เช่น SunSeeker, Daylight Free และที่เยี่ยมสุดๆ คือ Photographers Ephemeris

2. ดวงอาทิตย์ ขึ้น หรือ ตก?

ถ้าคุณคุ้นเคยกับเรื่องอุณหภูมิสี คุณจะรู้ว่ามันมีความแตกต่างเล็กน้อยมากในแสงที่ปรากฎระหว่างดวงอาทิตย์ตก และสิ่งที่คุณเห็นในยามดวงอาทิตย์ขึ้น  ในยามเช้าแสงจะออกแนวโทนเย็น (สีฟ้าๆ) มากกว่าแสงในช่วงสายๆของตอนเย็น ซึ่งจะออกไปทางโทนสีอุ่นๆซึ่งประกอบไปด้วย สีส้มและสีแดง
ดังนั้นเมื่อเรารู้ถึงความแตกต่างของอุณหภูมิสี คุณอาจจะต้องปรับแต่งมันขึ้นอยู่กับความรู้สึกของคุณในขณะนั้น ไม่ว่าจะใช้ตัวฟิวเตอร์โทนอุ่นหรือโทนเย็น หรือจะไปปรับแต่งภาพที่หลังเพื่อเพิ่ม หรือลดค่าอุณหภูมิสีในภาพสุดท้ายที่ต้องการ ระวังเรื่องการใช้ฟิวเตอร์กับกล้องของคุณเพราะมันจะทำให้คุณภาพของภาพตกลงได้ เพราะว่ามันเป็นการเพิ่มสิ่งกีดขวางแสงที่วิ่งผ่านระหว่างตัวแบบของคุณและเซนเซอร์ของกล้อง

3. วางแผนการถ่ายภาพ

ขั้นตอนที่สำคัญอีกสิ่งหนึ่งที่จะประสบความเร็จก่อนที่จะมุ่งหน้าออกไปถ่ายภาพ คือ การวางแผนว่าอะไรคือความคาดหวังในการได้ภาพที่ต้องการ อะไรที่คุณต้องการ? แสงตกกระทบตัวแบบยังไง? หรือดวงอาทิตย์ตกจะเป็นพระเอกของภาพนี้?
นี้คือช่วงเวลาที่ดีในการพิจารณาในสิ่งอื่นๆที่พิเศษ เช่น ความเป็นไปได้ในการถ่ายภาพ HDR (High Dynamic Range) ถ้ามันทำได้ คุณต้องเตรียมกล้องในการถ่ายภาพหลายครั้งเพื่อเก็บช่วงของโทนสีต่างๆ  ซึ่งภาพเหล่านี้จะประกอบไปด้วยจุดที่สว่างและส่วนที่เป็นเงา ซึ่งมันเป็นหนทางที่เยี่ยมมากในการทำภาพให้มีชีวิตชีวาเหมือนจริง...

4. รวบรวมอุปกรณ์ที่เหมาะสม

เป็นที่ชัดเจนว่า คุณไม่สามารถเก็บภาพที่ดีได้โดยปราศจากอุปกรณ์ที่ถูกต้อง ดังนั้นให้มั่นใจว่าคุณมีอุปกรณ์พร้อมใช้ก่อนจะออกไป สิ่งแรกคือ คุณจะต้องเอาขาตั้งกล้องไปด้วย ไม่ว่าจะดวงอาทิตย์ขึ้นหรือตกมันจะอยู่ในสภาวะที่มีแสงน้อย (ขึ้นอยู่กับรูปแบบการเก็บภาพดวงอาทิตย์ตกที่คุณพยายามเก็บภาพ) ดังนั้นคุณต้องการสิ่งที่มั่นคงสำหรับกล้องของคุณ  สิ่งที่สอง คุณจะต้องพิจารณาเรื่องเลนส์ที่ใช้ถ่ายภาพ ภาพวิวทิวทัศน์ที่สวยงามมักจะถูกเก็บภาพโดยการใช้เลนส์ระยะความยาว 35mm หรือ 50mm (สำหรับพวกครอปเซนเซอร์ 1.6 จะได้ขนาด 56 ถึง 80mm บนระบบ full frame) เลนส์มุมกว้างเป็นสิ่งที่อยากจะแนะนำ รวมถึงพวกเลนส์ซูมซึ่งเก็บภาพในระยะทางยาว 25mm หรือต่ำกว่า (40mm บนตัว full frame) ถ้าคุณมีเลนส์ในแบบความยาวที่กล่าวมา คุณมีโอกาสที่ดีกว่าในการได้ภาพที่คมชัด การใช้เลนส์มุมกว้างจะช่วยให้คุณได้ภาพที่กว้างและครอบคลุมพื้นที่มากกว่า
คุณเป็นเจ้าของและใช้พวกฟิวเตอร์แบบเกลียวที่หมุนเข้าหน้าเลนส์สำหรับกล้องของคุณหรือเปล่า?
แม้ว่าการใช้ฟิวเตอร์สามารถลดคุณภาพของภาพถ่าย เนื่องจากเป็นการเพิ่มสิ่งกีดขวางสำหรับแสงที่จะวิ่งผ่านระหว่างตัวแบบกับเซนเซอร์ของกล้อง แต่พวกมันก็มีประโยชน์ เช่น ฟิวเตอร์ GND (Graduated Neutral Density) ที่ช่วยให้ส่วนบนของท้องฟ้าให้มืดลง หรือพวก ฟิวเตอร์ UV  (Ultraviolet) หรือ โพลาไลซ์ (Polarizing) ที่ช่วยกั้น ควรจะหลีกเลี่ยงฟิวเตอร์พวกนี้เพราะมันจะลดปริมาณของแสงที่จะเข้ามาในเซนเซอร์ เพื่อเพิ่มค่า exposure ซึ่งไม่ใช่ความคิดที่ดีนักถ้าคุณพยายามจะหยุดความเคลื่อนไหวในการถ่ายภาพ

5. การตั้งค่าที่ถูกต้อง

สิ่งถัดไปคือการตั้งค่ากล้องของคุณก่อนที่คุณจะไปออกไปถ่ายภาพ
เมื่อคุณถ่ายภาพวิวทิวทัศน์ คุณต้องใช้รูรับแสงเล็กๆ เช่น f/8, f/11 หรือสูงกว่านี้เพื่อให้ได้ค่าชัดตื้นชัดลึกที่มากสุดและให้ภาพที่คมชัด ถ้าคุณใช้ขาตั้งกล้อง นั่นไม่เป็นปัญหา แม้ว่าการถ่ายภาพด้วยโหมด Manual ซึ่งสามารถปรับค่าชดเชยแสงได้ ผมก็ยังอยากให้คุณถ่ายด้วยโหมด A/AV (โหมดปรับรูรับแสงเอง) ซึ่งผมสามารถกำหนดค่ารูรับแสงเองและปล่อยให้กล้องเลือกความเร็ว shutter ถ้าในสถานการณ์แสงน้อยซึ่งกล้องมันจะสับสนและคุณจะอยู่ในความเสี่ยงที่มี ค่าแสงที่โอเวอร์ คุณจะต้องใช้การชดเชยแสงเพื่อปรับแต่งค่ารับแสงให้ต่ำลง
ค่า ISO ที่ควรใช้ควรอยู่ในช่วง 100 หรือ 200 เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีนอยส์ในภาพถ่าย อีกครั้งหนึ่งถ้ามีขาตั้งกล้องมันก็จะไม่มีปัญหาเหล่านี้ แต่ถ้าคุณถือกล้องด้วยมือเปล่าในการถ่ายภาพ คุณจะต้องเพิ่มค่า ISO ให้สูงขึ้นเพื่อให้ได้ค่าความเร็วของ Shutter ที่เร็วเพียงพอเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาภาพไม่คมชัดและเบลอ
ยังมีคำแนะนำอีกอย่างหนึ่งที่มีประโยชน์ในการเพิ่มความอุ่นของภาพถ่ายนั้นคือการตั้งค่า WB (White Balance) เป็น “Sunny” หรือ “cloudy” แทนที่จะตั้งค่าเป็น Auto แม้ว่าคุณจะเพิ่มความอุ่นของภาพได้ในภาพหลังการถ่าย แต่ภาพถ่ายที่ได้รับการตั้งค่าจากกล้องจะให้ความอุ่นมากกว่าการไปปรับแต่งที่หลัง แน่นอน...ขอให้ถ่ายภาพที่เป็น RAW เสมอ.... เพื่อคุณจะได้ปรับแต่ง shadows และ highlights ที่มันหายไปกลับคืนมาได้ในระหว่างการแต่งภาพ

6. วางองค์ประกอบที่น่าสนใจ

แน่นอน...การเตรียมตัวได้จบลง เวลานี้คุณจะได้พบกับส่วนที่น่าสนุก เมื่อคุณได้ไปถึงสถานที่ที่ต้องการถ่ายภาพและพร้อมที่จะถ่ายภาพ คุณจะต้องพิจารณาถึงเรื่ององค์ประกอบภาพ ข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นง่ายๆในการถ่ายภาพดวงอาทิตย์ขึ้นและตกคือการวางองค์ประกอบในแนวนอนที่อยู่ตรงกลางภาพ มันได้ผลในบางกรณีแต่มันก็เป็นการแบ่งมาตรส่วนที่ชัดเจนเกินไปและมันทำให้ภาพดูไม่น่าสนใจ ลองใช้เวลาสักครู่ในการมองภาพดูว่า อะไรคือสิ่งที่น่าตื่นเต้น มีส่วนไหนที่ดูแล้วไม่น่าสนใจในการโฟกัส  เมื่อคุณได้พิจารณาแล้วคุณก็แค่วางองค์ประกอบในการถ่ายที่รวมเอาสิ่งที่น่าสนใจเข้าไปในภาพด้วย ถ้าคุณรู้สึกแย่ ในวันที่มีเมฆมากซึ่งดูเด่นในวันที่มีอาทิตย์ส่องแสงลองปล่อยให้ตำแหน่งของภาพอยู่สูงกว่า 2 ส่วน 3 ถ้าคุณมีสิ่งที่น่าสนใจในฉากหน้า หรือวิวทิวทัศน์ใต้ดวงอาทิตย์ และมีท้องฟ้าที่ไม่น่าสนใจ ก็ปล่อยให้ตำแหน่งอยู่ต่ำกว่า 2 ใน 3 ของภาพ คุณต้องวาดภาพตามแนวนอนให้ผู้ชมได้เห็นภาพด้วยตาของพวกเขาในส่วนที่น่าสนใจของภาพมากที่สุด

7. คอยจนกว่าจะได้ภาพที่ใช่...

ถ้าคุณเคยมีประสบการณ์ในการถ่ายภาพวิวทิวทัศน์ คุณรู้ว่าการคอยเป็นเกมส์แบบหนึ่ง เนื่องจากว่าแสงธรรมชาติที่น่าสนใจ สามารถเปลี่ยนได้ภายในหนึ่งชั่วโมง หรือบางครั้งก็ภายในหนึ่งนาที  ดังนั้นเวลา คือการสร้างสรรค์ ลองใช้การปรับแต่งค่ารับแสงที่แตกต่าง ลองเล่นกับค่าชดเชยแสงโดยปรับแต่งในโทนสีที่แตกต่าง ปล่อยให้เมฆและดวงอาทิตย์เปลี่ยนตำแหน่งและลองถ่ายใหม่ หรือลองเปลี่ยนมุมภาพที่แตกต่าง บางทีการปล่อยให้วัตถุที่แตกต่างเข้ามาหรือออกจากเฟรมของภาพ และถ่ายพวกมันเป็นฉากหน้าที่ขัดแย้งกับดวงอาทิตย์ขึ้นและตก ยิ่งคุณอยู่ในสถานที่ถ่ายภาพนั้นนานเท่าไร คุณจะได้ภาพถ่ายที่มากมายเท่านั้น

8. อย่าออกจากที่นั่นเร็วเกินไป

สิ่งสุดท้าย สิ่งหนึ่งที่ถือว่าเป็นเรื่องปกติที่คุณได้ยินเกี่ยวกับการถ่ายภาพดวงอาทิตย์ตก นั่นก็คือให้คุณยังอยู่ที่นั่นหลังจากที่ดวงอาทิตย์ตกลับขอบฟ้าไปแล้ว นี้คือความจริง ความน่าสนใจทั้งหมดของภาพจะเปลี่ยนไปในจุดนี้  โทนสี สี และความเข้มในท้องฟ้ากลายเป็นความอิ่มตัวและน่าสนใจ คุณจะต้องยอมเสียส่วนที่เป็นแสงหลัก แต่สิ่งที่ยากจะปฎิเสธคือ ความสวยงามของภาพถ่ายจะเกิดขึ้นหลังจากที่ดวงอาทิตย์ตกลับขอบฟ้าไปแล้ว

84
อีกสักภาพ สองภาพ นะครับ ไม่ได้เก็บภาพมาเยอะ...เพราะรอบนี้ เมาส์มันส์...อย่างเดียว...ครับ

85
สำหรับทริปนี้ เป็นอีกหนึ่งทริป...ที่มีแต่รอยยิ้ม เสียงหัวเราะ....ความเป็นกันเอง...ไม่ว่าคุณจะมาจากไหน เป็นใคร เก่า หรือ ใหม่. ใช้กล้องอะไร...เรามีความเหมือนกันคือ รักการถ่ายภาพ....ขอบคุณสำหรับคุณปิยะฉัตร แกหลง ที่ได้สละเวลา แรงกาย แรงใจ...จัดทริปแรก ตั้งแต่เริ่มต้น จนจบ....ทุกอย่างผ่านพ้นไปด้วยดี....ขอบคุณพี่ๆ น้องๆ น้าๆ เพื่อนๆ ทุกคนที่ได้มาร่วมทริปนี้ และมีโอกาสรู้จักกันเป็นครั้งแรก หรือหลายครั้งแล้วก็ตาม......โอกาสหน้าคงได้พบกันอีกนะครับ...

86
เราจะได้ภาพวิวทิวทัศน์ที่คมชัดมากๆ ได้อย่างไร

โพสโดย Gavin Hardcastle แปลโดย Topstep07

เว็ปไซต์ต้นฉบับ เพื่อดูภาพประกอบคำบรรยาย
http://digital-photography-school.com/how-to-get-super-sharp-landscape-photography-images/

คำถามทั่วไปที่ส่วนใหญ่ชอบถามผมจากนักเรียนของผม คือ เราจะได้ภาพที่คมชัดอย่างไร? มันเป็นเรื่องที่ง่ายจริงๆ ในขั้นเริ่มต้น หลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหวต่างๆขณะที่ชัตเตอร์ถูกเปิด การโฟกัสอย่างดีและเลือกค่ารูรับแสงที่ถูกต้องสำหรับมุมมองที่สร้างสรรค์ ส่วนใหญ่แล้วมันเป็นความรู้สึกแบบเก่ากับเทคนิคไม่กี่อย่างในการที่จะทำมัน ดังนั้นถ้าคุณต้องการเรียนรู้ว่า ทำอย่างไรถึงจะได้ภาพวิวทิวทัศน์ที่คมชัดมากๆ ลองดูความแนะนะของผมด้านล่างนี้
คำแนะนำสำหรับการถ่ายภาพวิวทิวทัศน์ที่คมชัด

1. ใช้ขาตั้งกล้องที่ดีกับหัวบอลที่มั่นคงและให้แน่ใจว่าทุกสิ่งแน่นหนา
ช่วงเวลาแล้วเวลาเล่าอีกครั้งหนึ่งที่ผมเห็นนักเรียนของผมใข้ขาตั้งกล้องที่เหมาะและพวกเขาไม่มีบางสิ่งที่จะจับได้อย่างแน่นหนา ตัวอย่างเช่น ตัวติดจะต้องขันสกรูที่ยึดใต้กล้องของคุณอย่างแน่นไม่เช่นนั้นมันจะหลุด ให้แน่ใจว่าหัวบอลได้ทำการล๊อคอย่างสมบูรณ์ในขณะที่คุณได้จัดองค์ประกอบการถ่ายไว้เรียบร้อยแล้ว

2. ขณะกำลังถ่ายภาพ อย่าวางมือของคุณลงบนตัวขาตั้งกล้อง
การสั่นของมือคุณจะทำให้ได้ภาพที่ไม่คมชัดเมื่อขณะที่ชัตเตอร์เปิด มือของคุณควรอยู่ในที่ที่ไม่ควรใกล้กับกล้อง

3. ใช้การตั้งเวลา 2 วินาที หรือใช้รีโมทการกดปุ่มชัตเตอร์
สิ่งนี้ทำให้แน่ใจว่าชัตเตอร์จะไม่เปิดจนกระทั่งมือของคุณว่างไม่จับสิ่งใดของกล้อง

4. เลนส์ราคาถูกจะหลุดโฟกัสขณะที่คุณกำลังหมุนตัววงล้อโพลาไรซ์
นี้ก็เป็นเหตุผลหนึ่งแต่ดูเหมือนว่ามันเกิดขึ้นบ่อย พูดง่ายๆ คือคุณได้โฟกัสอย่างดีแล้วในการจัดองค์ประกอบภาพวิวทิวทัศน์และเวลานี้เองที่คุณต้องไปหมุนวงล้อของตัวโพราไลซ์ซึ่งติดอยู่เลนส์ที่ได้ตั้งโฟกัสไว้แล้วอย่างสมบูรณ์ ลองทายซิว่าเกิดอะไรขึ้น ขณะที่หมุนวงล้อของตัวฟิวเตอร์ เลนส์จะเสียการโฟกัสเนื่องจากการเคลื่อนไหวและแรงกดของคุณที่ทำการหมุนฟิวเตอร์นั้น สิ่งนี้จะเกิดขึ้นยากกับเลนส์ระดับมืออาชีพ แต่มันจะเกิดขึ้นบ่อยกับเลนส์คิทราคาถูกที่มีการออกแบบไม่ค่อยดี เมื่อสิ่งนี้เกิดขึ้น ง่ายๆ ที่ต้องจดจำคือ ทำการโฟกัสใหม่ก่อนที่จะกดปุ่มชัตเตอร์

5. เปิดตัว ล๊อคกระจก ถ้ากล้อง DSLR ของคุณมีฟังก์ชั่นนี้
การใช้ตัวล๊อคกระจกต้องแน่ใจว่า เครื่องกลต่างๆเป็นกระบวนการที่เกิดจากตัวระบบ mirror ที่น้อยในช่วงเวลาที่เปิดชัตเตอร์

6. เอาสายคล้องคอออกจากตัวกล้อง
ในช่วงที่มีลมแรงมันจะเป็นเหมือนใบเรือและสั่นไหวด้วยตัวมันเอง

7. เพิ่มน้ำหนักให้กับแกนกลางของขาตั้งกล้อง
ถ้าสถานการณ์มีลมแรง มันจะช่วยลดการสั่นไหวได้

8. วางถุงทรายเล็กๆ แต่หนักบนตัวกล้องหรือเลนส์
ทำสิ่งนี้ก่อนที่จะถ่ายภาพเพื่อเป็นการลดการเคลื่อนไหวจากการสั่นของตัวชัตเตอร์

9. เลือกช่วงระยะกลางเพื่อใช้รูรับแสงที่แคบ
เรื่องนี้ควรจะเป็นอีกหนึ่งบทความแต่เวลานี้มันเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องเข้าใจ ถ้าคุณต้องการให้ภาพคมชัดจากขอบภาพด้านหนึ่งไปถึงอีกด้านหนึ่งในภาพถ่ายวิวทิวทัศน์ คุณต้องเลือกค่ารูรับแสงที่ให้ความชัดลึกที่กว้าง  การใช้ค่ารูรับแสง f/2.8 จะไม่ได้ประโยชน์อะไร ดังนั้นให้เลือกค่ารูที่มีค่า f/11 หรือ f/16 ขึ้นอยู่กับว่าคุณอยู่ใกล้กับฉากหน้าแค่ไหน ระวังการมีใช้รูรับแสงที่แคบ (เหมือนกับเบอร์ f/22) ความคมชัดของภาพจะน้อยเมื่อมีการกระจายออกของแสงที่อยู่ในเลนส์ ลองหาดูว่าจุดที่คมชัดที่สุดของเลนส์อยู่ที่ค่าชัดลึกเท่าไร
ข้อสังเกต: ชัดตื้นในภาพวิวทิวทัศน์สามารถทำให้สวยได้โดยคุณต้องการค่าการเปิดรูรับแสงที่กว้าง f/2.8  และเลนส์ที่สร้างโบเก้สวยๆ ส่วนใหญ่แล้วพวกเลนส์มุมกว้างมากๆ จะทำโบเก้สวยๆ ไม่ได้

10. โฟกัสให้อยู่ในระยะ
อย่าโฟกัสตัวแบบที่อยู่ใกล้ตัวคุณ พยายามเลือกตัวแบบที่อยู่กึ่งกลางซึ่งเห็นชัดเจนและโฟกัสไปที่นั้น คุณสามารถที่จะโฟกัสไปที่จุดอินฟินิตี้ได้แต่ต้องระวังเรื่องเลนส์มุมกว้างที่ผมใช้โฟกัสจะเกินค่าจุดอินฟินิตี้ ดังนั้นผมต้องโฟกัสที่จุดอินฟินิตี้ฟืกและระมัดระวังการหมุนวงแหวนโฟกัสกลับเพื่อที่ว่ามันจะไม่ไปถึงก่อนจุดอินฟินิตี้

11. ใส่แว่นตา
ถ้าคุณต้องการแว่นตาเพื่อที่จะเห็นภาพได้ชัดเจนและใช้ในการโฟกัสบางสิ่ง มันก็ควรจะทำโดยปราศจากการพูดว่าคุณต้องการใส่แว่นตาที่ดูมีสไตล์และราคาแพงเพื่อจะได้โฟกัสภาพได้ชัดเจน ยกเว้นว่า ทุกๆคนรู้ว่าการใส่แว่นตาทำให้คุณดูดีและฉลาดขึ้น ดังนั้นทำไมไม่ใส่มันละ

12. ใช้จอ Live View หรือ ตัวขยายภาพ EVF
ถ้าคุณมีกล้อง DSLR ที่มีจอมองภาพ ผมแนะนำว่าคุณควรใช้ Live View และก็ขยายภาพมาดูในสิ่งที่คุณสนใจและใช้การปรับโฟกัสแบบ manual เพื่อปรับวงแหวนโฟกัสเพื่อให้ภาพชัด ถ้ากล้องของคุณมีตัว EVF(Electronic View Finder) คุณก็ทำสิ่งเดียวกับที่ผมกล่าวข้างต้นได้ในขณะที่คุณมองผ่าน EVF ผมนำเสนอสิ่งนี้เพราะว่าคุณจะไม่มีสิ่งกวนใจโดยการจ้องไปที่ LCD หรือแหล่งกำเนิดแสงภายนอก อีกทางหนึ่งที่ควรจำไว้คือการไม่ใช่ออโต้โฟกัส ถ้าคุณเลือกที่จะโฟกัสด้วย manual กับ Live View แล้ว

ผมใช้ทุกๆ เทคนิคแต่ละอันในการถ่ายภาพเกาะ Vancouver ในการสัมนาเชิงปฎิบัติการ และผมสอนนักเรียนของผม ถ้าคุณทำตามคำแนะนำเหล่านี้ทุกครั้งที่คุณถ่ายภาพวิวทิวทัศน์ คุณจะได้ภาพที่คมชัดมาก ถ้าคุณมีวิธีการของคุณเอง หรือคำแนะนำที่ทำให้ได้ภาพคมชัดช่วยแนะนำและแบ่งปันความรู้ของคุณให้เราฟังบ้าง...

87
น่าอัศจรรย์ของแสงธรรมชาติ: แสงอาทิตย์ลับขอบฟ้า....

โพสโดย Andrew S. Gibson แปลโดย Topstep07

เว็ปไซต์ต้นฉบับ เพื่อดูภาพประกอบคำบรรยาย
http://digital-photography-school.com/the-magic-of-natural-light-twilight/

สิ่งหนึ่งที่ผมชอบคือการถ่ายภาพในช่วงแสงอาทิตย์ลับขอบฟ้า โดยเฉพาะช่วงฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อน ในฤดูเหล่านี้แสงจะน่าอัศจรรย์ในช่วงเวลาตอนเย็น
บ่อยครั้งที่ผมชอบความคิดในการถ่ายภาพที่เยี่ยมที่เกิดขึ้นบนขอบฟ้า ช่วงอาทิตย์ลับขอบฟ้าจะเป็นช่วงเปลี่ยนถ่ายระหว่างกลางคืนและวันบนเส้นขอบฟ้า ขณะที่ระดับแสงต่ำลงมันทำให้เกิดความท้าทายด้านเทคนิค ส่วนคุณภาพของแสงมันมีค่ามาก ผมคิดว่านั่นคือ ชั่วโมงที่น่าอัศจรรย์ คุณอาจจะเห็นว่าเป็น ชั่วโมงของสีฟ้าซึ่งอ้างถึงสีของธรรมชาติที่เกิดขึ้นในตอนกลางคืน

แสงอาทิตย์ลับขอบฟ้า คืออะไร

ช่วงแสงอาทิตย์ลับขอบฟ้า คือ ช่วงเวลาเปลี่ยนถ่ายจากวันเป็นคืน มันเริ่มหลังจากที่ดวงอาทิตย์ตกและต่อเนื่องจนกระทั่งกลางคืนเข้ามาครอบคลุมจนทั่ว คุณภาพของแสงในช่วงอาทิตย์ลับขอบฟ้านั้นสวยงาม โดยเฉพาะหลังจากวันที่ฟ้าแจ่มใสแสงแดดแรงกล้า ช่วงเวลาจะขึ้นอยู่กับระยะทางของคุณจากเส้นศูนย์สูตร ในโซนเขตร้อนของโลก กลางคืนจะเร็วและอาทิตย์ลับขอบฟ้าจะสั้น ถ้าไปไกลจนถึงทิศเหนือ หรือ ใต้ในช่วงฤดูร้อนและมันจะอยู่เป็นชั่วโมง

การถ่ายภาพวิวทิวทัศน์ช่วงเวลาอาทิตย์ลับขอบฟ้า

ตัวแบบที่เห็นชัดเจนมากสิ่งหนึ่งที่ได้ประโยชน์จากคุณภาพแสงของอาทิตย์ลับขอบฟ้าคือ การถ่ายภาพวิวทิวทัศน์ เวลานี้ ผมแน่ใจว่าช่างภาพจะระมัดระวังช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการถ่ายภาพวิวทิวทัศน์คือ ชั่วโมงทอง  ชั่วโมงก่อนที่ดวงอาทิตย์จะตก ดวงอาทิตย์จะอยู่ต่ำในท้องฟ้าและมีความอุ่น การเสาะหาแสงแบบนี้สามารถนำไปสู่สถานที่ที่สวยงามที่สุด  เมื่อไรก็ตามที่ผมอยู่ที่นั้นและมองหาช่างภาพคนอื่น ผมจะประหลาดใจว่าทำไมพวกเขารีบออกจากสถานที่นั้น เพียงแค่ไม่กี่นาทีที่คอยจนกระทั่งดวงอาทิตย์ตกสิ่งที่เป็นรางวัลคือความสวยงามที่เกิดขึ้น แสงสีทองที่อ่อนนุ่มซึ่งเกลี่ยสีในช่วงกลางคืน แสงแบบนี้แหละเป็นแสงที่สวยงาม ถ้าคุณอยู่ชายทะเล หรือทะเลสาบคุณจะได้การสะท้อนแสงของน้ำ ภาพเปิดเป็นตัวอย่างที่ดี
มีข้อแนะนำอยู่สองสิ่งในการถ่ายภาพวิวทิวทัศน์ในช่วงแสงน้อย หนึ่งคือการใช้ ISO ที่สูง และถือกล้องด้วยมือเปล่าในการถ่ายภาพ ผมถ่ายภาพโดยใช้ค่า ISO 1600 หลังจากดวงอาทิตย์ตกไปแล้ว เพื่อให้ได้ข้อดีอย่างเต็มที่ของแสงที่สวยงามในช่วงอาทิตย์ลับขอบฟ้าดังนั้นคุณควรจะใช้ค่า ISO ที่ต่ำ (เพื่อให้ได้คุณภาพที่ดีกว่าของภาพถ่าย) และใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ช้า คุณจำเป็นต้องใช้ขาตั้งกล้องในการวางกล้องและใช้สายลั่นชัตเตอร์ หรือ รีโมทชัตเตอร์โดยปราศจากการจับตัวกล้อง (การตั้งเวลาถ่ายภาพจะถูกใช้ในช่วงคับขัน) ข้อดีของการแนะนำข้อนี้คือสามารถที่จะใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ช้าเพื่อสร้างความเบลอ วิธีนี้จะดีเมื่อมีน้ำอยู่ในภาพด้วย เหมือนภาพด้านบน (ดูภาพประกอบจากเว็ปไซต์ต้นฉบับ)

การถ่ายภาพบุคคล

ผมชอบแสงอาทิตย์ลับขอบฟ้าในการถ่ายภาพบุคคล มันไม่เพียงแต่เป็นความท้าทาย แต่ถ้าคุณสามารถเอาชนะมันได้ คุณจะได้รางวัลของความสวยงามในการถ่ายภาพบุคคลในสภาพแสงที่ไม่ธรรมดาซึ่งช่างภาพหลายคนจะไม่ชอบถ่ายภาพแบบนี้
ทางที่ดีที่สุดในการได้ประโยชน์ของแสงอาทิตย์ลับขอบฟ้าในการถ่ายภาพบุคคลคือคุณและนายแบบหรือนางแบบต้องไปถึงก่อนที่อาทิตย์จะตกและได้ประโยชน์ในช่วงแสงที่คล้อยบ่ายแก่ๆ อธิบายให้นายแบบหรือนางแบบเข้าใจว่าแสงในช่วงเวลานี้คือแสงที่ดีที่สุดของวัน และพวกเขาจะได้ภาพที่สวยกลับไปเป็นรางวัล เมื่อพูดถึงการถ่ายภาพวิวทิวทัศน์ คุณสามารถที่จะถ่ายภาพต่อไปได้หลังจากดวงอาทิตย์ตกไปแล้วจนกระทั่งแสงเริ่มเปลี่ยนหรือช่วงเวลาอัศจรรย์ได้เลือนหายไป สิ่งที่ไม่เหมือนกับการถ่ายภาพวิวทิวทัศน์คือการไม่ใช้ขาตั้งกล้องดังนั้นคุณต้องการตั้งค่า ISO ที่สูงและใช้ความกว้างของค่ารูรับแสงบนตัวเลนส์ของคุณ
เลนส์ที่ดีที่สุดคือสามารถเปิดค่ารูรับแสงได้มากสุดเพื่อให้คุณถ่ายภาพที่ยาวกว่า ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณมีเลนส์คิท ค่าสูงสุดของรูรับแสงที่ปลายสุดของการซูม (ความยาวประมาณ 55mm) จะอยู่ที่ f/5.6 ถ้าคุณมีเลนส์ 50mm ค่าสูงสุดของรูรับแสงจะมีแค่เพียง f/1.8 ซึ่งมีความต่างถึง 3 สต๊อป
คุณจะต้องตั้งค่า ISO ที่สูง มันเป็นความคิดที่ดีในการทดสอบกล้องก่อนที่จะใช้ค่าที่แตกต่างของ ISO ที่สูงๆ และเพื่อที่จะดูว่าจะตั้งค่าได้สูงแค่ไหนก่อนที่คุณของภาพถ่ายจะเริ่มเสื่อมลง ที่มากพอที่คุณจะรับได้กับมัน กล้องของผม EOS 5D Mark II เป็นตัวอย่าง ผมมีความสุขในการถ่ายภาพที่ ISO 3200 หรือบางทีก็ 6400 ไม่ใช่แค่นั้นถ้าผมสามารถเปิดไปจนได้คุณภาพของภาพถ่ายที่ดีที่สุด ถ้าคุณมีกล้องรุ่นใหม่ๆ เช่นพวกกล้อง full-frame คุณสามารถดัน ISO ได้สูงกว่านี้อีก ถ้ากล้องของคุณเป็นรุ่นเก่าที่มีข้อจำกัดมันก็จะได้ค่าที่ต่ำกว่า มันเป็นการตัดสินใจส่วนบุคคลที่คุณสามารถจะทำมัน
ภาพด้านบนนี้ (ดูภาพประกอบในเว็ปไซต์ต้นฉบับ) ผมใช้ ISO 6400 และใช้ค่ารูรับแสง f/1.4 มันเกือบจะมืด มันดูมืดมากเมื่อมองไปที่ภาพถ่าย แสงที่อยู่ด้านล่างนางแบบเป็นสิ่งที่ชี้วัดได้ดี

ข้อแนะนำอีกอย่างคือการใช้ขาตั้งกล้องเพื่อรองรับตัวกล้องและแฟลชที่ใช้กับตัวแบบ ถ้าตัวแบบของคุณต้องอยู่นิ่งๆระหว่างที่เปิดค่ารับแสงนาน มันจะได้ภาพที่เบลอเล็กน้อย ภาพถ่ายบุคคลนี้ใช้ความเร็วชัตเตอร์ประมาณ 2 วินาที เทคนิคนี้จะช่วยให้คุณถ่ายภาพในระหว่างอาทิตย์ลับขอบฟ้าเมื่อมีแสงน้อย

88
เรื่องราวการถ่ายภาพงานแต่งงานครั้งแรกและน่าจะเป็นครั้งสุดท้ายของผม

โพสโดย John Davenport แปลโดย Topstep07

เว็ปไซต์ต้นฉบับ เพื่อดูภาพประกอบคำบรรยาย
http://digital-photography-school.com/the-story-of-photographing-my-first-wedding-and-likely-my-last/

ไม่มีคำถามกับการถ่ายภาพงานแต่งงานเป็นหนึ่งรูปแบบที่ได้รับความนิยมของช่างภาพอาชีพ และถ้าคุณเป็นเจ้าของกล้อง DSLR ในเร็วๆ นี้ หรืออนาคตอันใกล้ บางคนที่คุณรู้จักอาจจะขอให้คุณถ่ายภาพงานแต่งงานให้กับพวกเขา สิ่งนี้อาจจะเย้ายวนใจ ผมต้องการให้คุณคิดยาวๆ และคิดเยอะๆ ก่อนที่จะตอบตกลง เพราะว่าการถ่ายภาพงานแต่งงานมีอะไรมากกว่าการยกกล้องเล็งแล้วก็ถ่าย และจับภาพในขณะนั้น  เพื่อช่วยคุณในเรื่องนี้ผมมีบางสิ่งที่จะเล่าให้ฟังครับ
เรื่องของผมคือว่า การถ่ายภาพงานแต่งงานเป็นประสบการณ์ที่ดีมากในการถ่ายภาพในชีวิตของผม ผมก็ไม่คิดว่าผมจะรับงานถ่ายภาพงานแต่งงานในเร็วๆ นี้อีก ผมไม่ต้องการให้คุณคิดว่า ที่ผมพูดอยู่นี้เป็นความคิดที่ไม่ดีในการถ่ายภาพงานแต่งงาน หรือบอกว่าประสบการณ์แรกของผมในการถ่ายภาพงานแต่งงานเป็นประสบการณ์ที่แย่ หรือไม่ใช่ทั้งสองอย่างข้างต้น จริงๆ ผมสนุกกับการถ่ายภาพงานแต่งงาน แต่มีบางสิ่งที่ผมได้เรียนรู้ด้วยตัวผมเองซึ่งทำให้ผมลังเลใจถ้ามีคนมาขอให้ผมทำมันอีกครั้ง

เบื้องหลังของผม

เหมือนกับช่างภาพมือใหม่ทุกวันนี้ ผมสร้างเว็ปไซต์ Facebook และเริ่มที่จะแบ่งปันภาพถ่ายของผมในแต่ละวัน เมื่อเวลาผ่านไปผมสังเกตว่าหน้าเพจมันโตขึ้นเรื่อยๆ ไม่ใช่แค่เพื่อนที่เข้ามาใหม่แต่เป็นเพื่อของเพื่อนและคนอื่นๆ ที่ผมไม่รู้จัก ผมเดาว่าคุณอาจพูดว่าผมเริ่มดึงดูดให้คุณติดตาม หลังจากนั้นหลายปีผ่านไปการแบ่งปันภาพวิวทิวทัศน์และภาพชีวิตสัตว์ป่าจากทั่วใน New England หนึ่งในเพื่อนของน้องสาวผมก็เข้ามาพบผมและขอให้ผมถ่ายภาพงานแต่งงานของเธอ สัญชาตญาณของผมก็ตอบไปว่า “ผมไม่ใช่ช่างภาพงานแต่งงานครับ ทำไมคุณถึงขอให้ผมถ่ายให้ละครับ” ดังนั้นผมก็ทำเป็นเหมือนไม่สนใจ แต่เธอยืนยันว่าเธอชอบสไตล์ของผมและต้องการทำงานกับบางคนที่เธอรู้จักและไว้ใจได้ ถ้านี้คือการให้เครดิตผม ผมคงต้องทำงานหนักละคราวนี้ นี้คือสิ่งที่ผมต้องกลายเป้นช่างภาพงานแต่งงาน คุณจะไม่รู้สึกประหลาดใจที่ได้ยินแบบนี้ที่ในที่สุดผมรับงานนี้

เดือนแห่งการเตรียมตัว

ผมหมายถึง “เป็นเดือน”  เจ้าสาวมีการเตรียมและวางแผน ทุกๆอย่างถูกจองล่วงหน้าเป็นเดือน จริงๆ แล้วช่างภาพเป็นงานสุดท้ายของเธอที่จะจัดเตรียม หลังจากผมรับงานนี้ผมใช้เวลาเกือบจะทั้งปี ผมพยายามเรียนรู้เท่าที่ผมจะทำได้ในการถ่ายภาพงานแต่งงานนี้คือ บทเรียนสามตอนที่ผมได้เรียนรู้มากจาก dps  Wedding Photography 101 (Part 1), Wedding Photography 101 (Part 2), Wedding Photography 101 (Part 3) มันเป็นสิ่งที่ช่างภาพงานแต่งงานควรได้อ่านมัน แต่ถ้าค้นหาอย่างรวดเร็วสำหรับค่ำว่า “การถ่ายภาพงานแต่งงาน” ใน dps จะมีออกมาเป็นโลๆกับบทความที่น่าอ่าน อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ผมอ่านทั้งหมดกับสิ่งที่ผมกำลังทำมันไม่ได้ช่วยให้ผมเตรียมตัวกับสิ่งที่เกิดขึ้นจริงๆเลย อารมณ์ ความกดดัน เวลาที่เร่งรีบ ปัญหาที่ควบคุมไม่ได้ และสิ่งอื่นๆที่คุณจะต้องรวบไว้ในเพียง 10 ชั่วโมง คุณไม่สามารถอ่านมันได้ทั้งหมดดังนั้นผมให้มืออาชีพส่วนตัวช่วยผม ผมออกไปหาช่างภาพในระแวกใกล้บ้านผู้ซึ่งทำงานใกล้ชิดกับเพื่อนของผม และเขาก็ให้ผมเป็นช่างภาพสำรองของเขาในสองสามงาน
ประสบการณ์นี้ช่วยให้ผมมั่นใจมากขึ้นในการออกไปพบกับเหตุการณ์จริง ผมอยากจะแนะนำว่าให้คุณไปพับกับช่างภาพงานแต่งงานในระแวกใกล้บ้านคุณเพื่อที่จะถ่ายภาพงานแต่งงานครั้งแรกด้วยตัวคุณเอง ประสบการณ์นี้ไม่มีค่าใช้จ่าย สุดท้ายของการเตรียมตัวคือ อุปกรณ์ ผมได้เสียเงินสำหรับการถ่ายภาพงานแต่งงานซึ่งเหมือนกับภาพวิวทิวทัศน์ ภาพชีวิตสัตว์ป่า กับเลนส์มุมกว้าง และเลนส์เทเลไม่เคยคิดว่าจะเป็นเลนส์ที่ผมจะต้องใช้ ดังนั้นผมใช้เงินเล็กน้อยเพื่อเช่ากล้องตัวที่สองสำหรับการถ่ายภาพงานแต่งงาน (คุณไม่ต้องเตรียมก็ได้) และเลนส์ 24-70mm f/2.8 เพื่อช่วยถ่ายภาพในตอนกลางคืน

ความสำเร็จของงานแต่งงาน

การเตรียมการและการให้สัญญากับตัวเองที่จะถ่ายภาพให้ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ผมเรียกมันว่า “ความสำเร็จของงานแต่งงาน” เจ้าบ่าวเจ้าสาวได้ภาพที่พวกเขามีความสุข ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของพวกเขา และผมเรียนรู้ว่า มันเป็นช่วงเวลาที่สั้นมาก
ในวันแต่งงาน ผมได้รวบรวมสติปัญญาของผมทั้งหมดซึ่งวิ่งอยู่ในสารกระตุ้นอะดีนาลีน ผมมีรายการเขียนไว้ว่า “อะไรที่ต้องถ่าย” ซึ่งผมสามารถตรวจสอบได้ตลอดวัน มันยากที่จะจินตนาการเหตุการณ์ มันผ่านไปอย่างรวดเร็วแทบจะไม่ได้พักทานอาหารหรือดื่มน้ำเลย ผมได้ออกจากงานหลังจากงานเต้นรำ ซึ่งผมมีความมั่นใจว่าผมทำงานนี้ได้อย่างดีเท่าที่ผมสามารถทำได้ แต่ทำไมผมไม่อยากทำแบบนี้อีก?

ทำไมผมจึงไม่รับถ่ายภาพงานแต่งงานอีก?

ไม่มีคำถามสำหรับประสบการณ์ที่มีคุณค่านี้ ผมเรียนรู้มากมายด้วยตัวผมเองถึงการเป็นช่างภาพงานแต่งงาน มากพอๆ กับที่ผมถ่ายภาพวิวทิวทัศน์มาเกือบ 3 ปีแล้ว แต่ผมเรียนรู้ว่ามันไม่เหมาะสำหรับผม ผมชอบความสงบของธรรมชาติ และสามารถกลับไปที่นั่นได้อีก เพื่อปรับวิธีการถ่ายในช่วงเวลาต่างๆ และสภาพของแสง งานแต่งงานถ่ายได้ครั้งเดียว คุณได้สภาพแสงอย่างที่เห็น ได้สภาพอากาศอย่างที่เป็น และคุณก็ต้องถ่ายมันกับสภาพที่เกิดขึ้น
คุณต้องเป็นคนของทุกคน บางทีผมไม่ใช่ การเดินไปรอบงานกับผู้คนมากมายที่คุณไม่รู้จักเพื่อจะถ่ายภาพมันเป็นสิ่งที่ยากพอๆ กับคนที่ผมรู้จักเพียงหยิบมือ (เช่น เพื่อนของน้องสาว) ผมไม่คิดว่าผมทำมันได้ด้วยตัวเอง ถ้าปราศจากการช่วยเหลือและปราศจากการฝึกฝน ดังนั้นผมจะกระตุ้นให้ผู้คนได้คิดถึงการถ่ายภาพในงานแต่งงานไม่ใช่แค่การถ่ายภาพ มันเป็นวันสำคัญของหลายคน ไม่ใช่แค่เจ้าบ่าว และเจ้าสาว แต่ครอบครัวของพวกเขา ญาติๆ และเพื่อนๆ ต้องการจดจำวันนี้เท่ากับสิ่งที่คุณต้องทำมันอย่างถูกต้อง
สิ่งสอนใจของเรื่องนี้ คือ การถ่ายภาพงานแต่งงานสามารถเป็นรางวัลของประสบการณ์ แต่คุณต้องลงมือทำมัน ถ้าคุณกำลัง  คิดว่ามันเป็นงานที่ง่าย คิดอีกทีให้ดีครับ โปรดอย่าทำมันแบบฟรีๆ  การจ่ายเงินเพื่อการถ่ายภาพงานแต่งงานเป็นสิ่งที่กระตุ้นให้ผมต้องหาผู้ช่วย เช่าอุปกรณ์ ขับรถไปยังสถานที่แต่งงานและการทำภาพที่มีจำนวนหลายร้อยภาพ ประสบการณ์เป็นเพียงโบนัส

ดูค่าสถิติจากการถ่ายภาพงานแต่งงาน
•   ชั่วโมงที่ใช้ในการถ่ายภาพ ตั้งแต่เริ่มต้นจนจบงาน  ใช้เวลา 10 ชั่วโมง
•   จำนวนภาพถ่ายทั้งหมด  1500 ภาพ
•   จำนวนภาพถ่ายที่ให้กับคู่บ่าวสาว 500 ภาพ
•   การใช้วเลาในการปรับแต่งภาพ ประมาณ 5-6 ชั่วโมง
•   จำนวนชั่วโมงโดยประมาณที่เสียไปกับการเตรียมตัว เวลาที่ใช้ไปกับช่างภาพคนอื่นๆ ฯลฯ   หลายชั่วโมงสำหรับเวลาเตรียมตัวระหว่างอ่านบทความและใช้เวลากับช่างภาพที่ให้คำแนะนำ ผมพูดได้เลยว่า 50 ชั่วโมงหรือมากกว่าในการเตรียมตัว

อุปกรณ์ที่ใช้ในการถ่ายภาพ
•   ตัวกล้อง  เช่ากล้อง Nikon D600 และกล้องของผมเอง D7000 เป็นตัวสำรอง
•   เลนส์  เช่าเลนส์ 24-70mm f/2.8 (ใช้เลนส์ตัวนี้เป็นส่วนใหญ่ตลอดงาน) และเลนส์ของผมเอง Nikon 55-300mm, Tokina 11-16mm และเลนส์ 50mm บนกล้อง D7000
•   แฟลช ใช้ Nikon SB700
•   อุปกรณ์ไฟ  เช่น ร่มหรือตัวสะท้อน   ผมไม่ได้ใช้
•   ขาตั้งกล้อง  Manfrotto 190XBPRO แต่แทบจะไม่ได้ใช้
•   อื่นๆ  ไม่มี แต่ Jim (ผู้ให้คำแนะนำของผม) บอกผมว่าเป็นความคิดที่ดีถ้าคุณมีสิ่งของเช่น เข็มเย็บผ้า ด้าย เทป ยาแก้ปวด ยาแอสไพริน ไทรินอล กรรไกรและอื่นๆ มันไม่ได้มีไว้สำหรับตัวคุณแต่มันทำให้คุณเป็นพระเอกของงานแต่งงานถ้าคุณได้เอาบางสิ่งข้างต้นจากกระเป๋าวิเศษของคุณมาให้เจ้าสาวในเวลาที่เขาต้องการ

89
สวัสดีครับ พี่ๆ น้องๆ ชาว XT วันนี้ผมได้นำเอาเทคนิค ง่ายๆ แบบกันเองมาบอกกล่าวให้ฟังครับ เนื่องจากภาพที่ผมไปถ่ายมาแล้วรู้สึกว่ามันคาใจกับสิ่งที่เห็นบนภาพที่ถ่ายมา แต่พยายามหาวิธีแก้ไข ก็ได้ คุณปิยฉัตร แกหลง อาจารย์ใหญ่ แห่ง XT นี้แหละครับ ที่ชี้ทางสว่างแบบง่าย เหมือนเอาไม้ท่อนใหญ่ออกจากตา เห็นภาพกันเลยครับ

ปัญหามันก็มีอยู่ว่า เวลาเราไปถ่ายภาพดวงอาทิตย์ขึ้น หรือตก ในช่วงที่เป็น "ไข่แดง" แสงจะไม่แรง ไม่อ่อนพอให้เราได้เก็บภาพงามๆ แต่พอนำภาพมาดูบนหน้าจอคอมพิวเตอร์...กลับมีเส้นขอบสีแดงรอบดวงอาทิตย์ มันคืออะไรกันละเนี้ย...แล้วจะแก้ยังไง....สิ่งที่เกิดขึ้นเราอาจจะเรียกว่ามันเป็น CA (Chromatic Aberration) ดังนั้นการแก้ไขก็ต้องหาวิธีที่เนียน เหมือนว่าหลอกสายตาคนดูได้เป็นอย่างดี....5555 ลองไปดูรายละเอียดขั้นตอน ตามภาพที่แนบมานะครับ (ภาพด้านล่างสุดคือ ตัวปัญหาที่ผม Crop มาให้ดูว่า เส้นขอบแดงรอบดวงอาทิตย์หน้าตาเป็นอย่างไรครับ)

ภาพนี้ถ่ายด้วยกล้อง Nikon D4 เลนส์ 70-200mm f/2.8 Nano VRII อยู่บนขาตั้งกล้องครับ สำหรับค่า Exposure ต่างๆ เดี๋ยวเอามาลงเพิ่มเติมให้ครับ

ขอบคุณมากครับที่แวะเข้ามาเก็บเกล็ดเล็กๆ น้อยๆ ครับ...ขอบคุณ คุณปิยฉัตร แกหลง (พี่กิ๊ก) ที่ให้คำแนะนำครับ....

90
ไปด้วยคนครับ...

Pages: 1 ... 4 5 [6] 7 8