Author Topic: ยี่สิบสิ่งที่ควรทำ และไม่ควรทำ สำหรับการถ่ายดวงจันทร์  (Read 7241 times)

Offline topstep07

  • PS:C
  • Full Member
  • *
  • Posts: 108
    • View Profile
ยี่สิบสิ่งที่ควรทำ และไม่ควรทำ สำหรับการถ่ายดวงจันทร์

โพสโดย Bruce Wunderlich แปลโดย Topstep07

เว็ปไซต์ต้นฉบับเพื่อดูภาพประกอบคำบรรยาย

http://digital-photography-school.com/20-dos-donts-shooting-moon/

(ดูภาพประกอบคำบรรยาย....The April moon called the “Pink Moon” rose over Marietta, Ohio. The setting sun lit the city in a warm glow)

ดวงจันทร์เป็นตัวแบบที่ได้รับความนิยมในการถ่ายภาพสำหรับช่างภาพในทุกระดับ แต่ถ้าคุณเคยลองถ่ายภาพดวงจันทร์ คุณได้ค้นพบว่ามันไม่ง่ายที่ทำให้สำเร็จ ในบทความนี้ลองดูบางสิ่งที่ควรทำ และไม่ควรทำเมื่อคุณถ่ายภาพดวงจันทร์แบบเก็บภาพธรรมดาไปถึงระดับงานศิลปะ
ก่อนจะเริ่ม สิ่งแรกและสิ่งสำคัญสำหรับสิ่งที่ไม่ควรทำคือ อย่าคิดว่าการถ่ายภาพดวงจันทร์มันเป็นของง่ายๆ

#1 ใช้ขาตั้งกล้อง

สิ่งสำคัญชิ้นแรกของอุปกรณ์สำหรับการถ่ายภาพที่มีแสงน้อยคือใช้ขาตั้งกล้องดีๆ เมื่อดวงจันทร์อยู่ห่างไกลมาก มันสำคัญมากที่จะต้องมั่นคงแม้การเคลื่อนไหวเพียงเล็กน้อยของกล้องจะมีผลทำให้ภาพเบลอได้ คุณอาจจะคิดว่าถ้าเราใช้ความเร็วชัตเตอร์เพียงพอในการถือกล้องถ่ายละ แต่คุณต้องตระหนักใด้ดีว่าดวงจันทร์นั้นอยู่ห่างจากโลก 238,900 ไมล์และเมื่อมีการเคลื่อนไหวเพียงนิดเดียวก็ไม่ดูพูดเกินความเป็นจริงใช่ไหมครับ

#2 อย่าใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ช้า

ดวงจันทร์มีการเคลื่อนไหวรอบโลกที่เร็วมากด้วยความเร็ว 2,288ไมล์ต่อชั่วโมง (3,683กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ดวงจันทร์อยู่ห่างไกล มันดูเหมือนเคลื่อนที่ไม่เร็วเมื่อมองด้วยตาเปล่า เนื่องจากความเร็วของดวงจันทร์และระยะความยาวโฟกัสจำเป็นในการจัดภาพของดวงจันทร์ คุณต้องการความเร็วชัตเตอร์ที่เร็วกว่าเท่าที่เป็นไปได้ กฎที่ดีของการถ่ายภาพดวงจันทร์ให้ชัดคือความเร็วชัตเตอร์ต้องไม่ช้ากว่า 1/125 วินาที

#3 ใช้เลนส์เทเลโฟโต้

เพื่อความสำเร็จในการถ่ายภาพดวงจันทร์ในทุกรายละเอียด คุณต้องการเลนส์เทเลฯ ที่มีความยาวอย่างน้อย 300mm สำหรับกล้อง full frame คุณต้องการเลนส์ประมาณ 800mm

#4 อย่าใช้ ฟิลเตอร์ใด

เอาฟิลเตอร์ทุกชนิดออกจากเลนส์ เพื่อป้องกันโอกาสการเบี้ยว อย่าใช้ฟิลเตอร์อะไรเลย ใช่แล้ว...แม้แต่ตัว UV ฟิลเตอร์ก็ต้องเอาออก ฟังดูแล้วน่ากลัวถ้าคุณไม่เคยเอา UV ฟิลเตอร์ออกจากเลนส์เลย แต่มันจะดีที่สุดถ้าคุณเอามันออกไปในกรณีนี้ บางครั้งมีการแนะนำให้ใช้ฟิลเตอร์ ND สำหรับการถ่ายภาพดวงจันทร์เพื่อไปตัดส่วนที่แสงสว่างของดวงจันทร์ แต่การทำแบบนี้จะทำให้คุณต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ต่ำลงและคุณต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่เร็วเท่าที่เป็นไปได้เพื่อให้ได้ภาพที่คมชัด

#5 พยายามใช้กฎ Looney 11

กฎ Looney 11 คือคล้ายกับกฎ Sunny 16 โดยการตั้งค่ารูรับแสงที่ f/11 แล้วให้จับคู่กับความเร็วชัตเตอร์กับค่า ISO ตัวอย่างเช่น ถ้าค่า ISO ของคุณคือ 100  ก็ให้ตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์เป็น 1/125 วินาที (นี้ไม่ใช่กฎทางวิทยาศาสตร์ที่แน่นอน แต่มันเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีเท่านั้น)

#6 อย่าจับกล้องในการเริ่ม

อย่ากดปุ่มชัตเตอร์ด้วยมือหรือแตะขาตั้งกล้องเมื่อเริ่มถ่ายภาพดวงจันทร์ จำไว้ว่าการจับเพียงเล็กน้อยก็เป็นการเพิ่มการสั่นไหวที่ทำให้ภาพเบลอได้ ให้ใช้สายลั่นชัตเตอร์ หรือตัวรีโมทแบบไร้สายเป็นหนทางที่ดีที่สุดในการเริ่มถ่ายภาพ ถ้าคุณไม่มีพวกมัน ใช้การตั้งเวลาถ่ายภาพบนตัวกล้องของคุณแทน

#7 ใช้การล๊อคกระจก Mirror Lock-up

ถ้ากล้องของคุณให้ตัวเลือกในการล๊อคกระจกได้ นี้คือสิ่งที่สามารถช่วยเพิ่มโอกาสที่คุณจะได้ภาพที่คมชัด แม้ว่าจะมีการสั่นเพียงนิดหน่อยที่ตัวกระจกก็ทำให้ภาพออกมาเบลอได้เช่นกัน ถ้ากล้องของคุณมีตัวเลือกแบบนี้ ใช้มันซะ...การล๊อคกระจกและคอยเพียงไม่กี่วินาทีจะยอมให้การสั่นไหวนิ่งอยู่ก่อนที่จะเริ่มถ่ายภาพ

#8 อย่าใช้ตัวระบบกันสั่น

กล้อง Canon คือ IS (Image Stabilization) หรือ Nikon คือ VR (Vibration Reduction) ต้องปิดสิ่งเหล่านี้ซะเมื่อคุณต้องกล้องอยู่บนขาตั้งกล้อง การเปิดระบบกันสั่นไหวกับกล้องของคุณที่ตั้งอยู่บนขาตั้งกล้องจะทำให้ภาพเบลอได้

#9 รู้จักวงจรของดวงจันทร์

ใช้โปรแกรม The Photographer’s Ephemeris เพื่อคาดการณ์ล่วงหน้าสำหรับตำแหน่งการขึ้นของดวงจันทร์ ใน29.5 วันระหว่างที่ดวงจันทร์เต็มดวง มีโปรแกรมออนไลน์มากมายและโปรแกรมบนโทรศัพท์มือถือที่ช่วยติดตามช่วงเวลาของดวงจันทร์ และยังแสดงตำแหน่งว่าที่ไหน เมื่อไรที่ดวงจันทร์จะปรากฎบนท้องฟ้า นี้คือสิ่งที่มีประโยชน์มากเมื่อวางแผนการถ่ายภาพดวงจันทร์ล่วงหน้า แต่การถ่ายภาพโดยรวมแล้วคือ ดวงจันทร์เต็มดวง ซึ่งมันสว่างไสวและยากที่จะได้ค่ารับแสงที่ถูกต้อง แสงด้านช้างของส่วนนูนจะให้เงาที่น่าสนใจซึ่งยอมให้คุณเก็บภาพปล่องภูเขาไฟ และภูเขา ช่วงดวงจันทร์เสี้ยว แน่นอนว่ามันเป็นช่วงที่มืดที่สุด แต่มันสร้างความน่าสนใจเมื่อเพิ่มภาพวิวทิวทัศน์ในตอนกลางคืนได้

#10 อย่าวางดวงจันทร์ไว้กลางภาพ

ขณะที่คุณสามารถใช้กฎของการวางองค์ประกอบภาพในการถ่ายภาพดวงจันทร์ อย่ากลัวที่จะแหกกฎถ้ามันใช่ อย่าวางดวงจันทร์ไว้กลางภาพโดยที่ไม่มีอะไรเลย มันเกิดขึ้นหลายล้านครั้งก่อนและไม่มีอะไรน่าตื่นเต้น ลองเอาตัวแบบอื่นๆ เข้ามาอยู่ในกรอบกับดวงจันทร์ด้วย
(ดูภาพประกอบคำบรรยาย อย่าวางดวงจันทร์ในท้องฟ้าที่ว่างเปล่า ให้รวมเอาตัวแบบฉากหน้าเพื่อให้ภาพดูมีชีวิตชีวา)

#11 เปลี่ยมาใช้การโฟกัสแบบแมนนวล

มีกระบวนที่แตกต่างกันหลายอย่างที่คุณสามารถโฟกัสไปที่ดวงจันทร์ อันดับแรก ลองให้กล้องของคุณใช้ออโต้โฟกัส และเมื่อคุณได้การโฟกัสที่พอใจแล้ว ปิดการออโต้โฟกัสและปรับเป็นโฟกัสแบบแมนนวล อีกทางเลือกหนึ่ง คุณสามารถตั้งให้กล้องโฟกัสแมนนวลกับตัว live view ที่เปิดใช้งาน ซูมเข้าไปที่ดวงจันทร์และหมุนวงแหวนโฟกัสจนกระทั่งดวงจันทร์คมชัด และไม่ต้องไปแตะที่วงแหวนอีก

#12 อย่าถ่ายดวงจันทร์ในตอนกลางคืน

เวลาที่ดีที่สุดสำหรับการถ่ายภาพดวงจันทร์คือหลังจากที่มันขึ้นหรือก่อนที่มันจะตกเมื่อมันอยู่ในระดับต่ำบนท้องฟ้า  เมื่อดวงจันทร์อยู่ใกล้เส้นแนวนอน มันจะอยู่ใกล้โลกที่สุดและจะทำให้ได้ภาพที่ใหญ่ ขณะที่ดวงจันทร์เต็มดวงขึ้นดวงอาทิตย์จะตกเช่นกัน และขณะที่ดวงจันทร์เต็มดวงตก ดวงอาทิตย์ก็จะขึ้น  นี้คือสิ่งที่ทำให้ได้แสงที่ดีเยี่ยมหรือฉากหน้าเด่น หรือตัวแบบของวิวทิวทัศน์โดดเด่นเช่นกัน การถ่ายภาพในช่วงวันจะทำให้มีโอกาสรวมเอาตัวแบบในฉากหน้าเข้าไปด้วย และคุณอาจจะเก็บภาพพื้นผิวของดวงจันทร์อีกด้วย
(ดูภาพประกอบคำบรรยาย....ภาพดวงจันทร์เต็มดวงในช่วงเดือนมิถุนายน เรียกว่า “Honey Moon” เก็บภาพขณะที่ตกและดวงอาทิตย์กำลังขึ้น)

#13 ใช้การคร่อมแสง (Bracket)

ครั้นเมื่อคุณพบว่าค่ารับแสงที่คุณถ่ายทำให้คุณรู้สึกมีความสุข มันจะดีที่สุดในการใช้การคร่อมแสง การดูภาพในที่มืดด้านหลังกล้องของคุณบ่อยครั้งจะหลอกตาคุณ ในที่มืด ภาพจะดูสว่างกว่าที่ควรจะเป็นบนจอภาพ LCD ของกล้องเมื่อคุณไปเปิดภาพบนคอมพิวเตอร์ หลังจากที่คุณพอใจกับค่ารับแสงที่คุณได้หมุนไว้ ให้ตั้งการคร่อมแสง under ไป 2 stops และให้ over ไปอีก 2 stops เพื่อให้แน่ใจว่าคุณได้ค่ารับแสงที่คุณพอใจ

#14 อย่าใช้ Auto White Balance

การใช้ auto white balance จะให้ค่าผลลัพท์ที่ไม่คงที่ อะไรคือแหล่งของแสงดวงจันทร์ ใช่แล้ว..มันคือดวงอาทิตย์ ดังนั้นพยายามใช้ daylight white balance แต่ถ้าคุณกำลังมองหาผลลัพท์ที่แตกต่างลองตั้งเป็น tungsten หรือไม่ก็ cloudy ดูครับ อย่ากลัวที่จะทดลองใช้ แต่จำไว้ว่าถ้าคุณถ่ายภาพแบบไฟล์ RAW คุณสามารถเปลี่ยนค่า white balance ในการปรับแต่งภาพทีหลังได้

#15 อย่ายึดติดกับค่าที่วัดได้จากกล้อง

ส่วนใหญ่ค่าแสงของกล้องจะดูเขลาๆโดยปริมาณของแสงที่ตกกระทบของดวงจันทร์ สิ่งที่สำคัญที่ต้องจดไว้คือ ขณะที่ดวงจันทร์ขึ้น ค่ารับแสงจะเปลี่ยนอย่างต่อเนื่อง มันจะสว่างขึ้นๆขณะที่มันกำลังขึ้น ดังนั้นคุณต้องปรับค่าความเร็วชัตเตอร์ตามไปด้วย

#16 ให้ถ่ายภาพเป็นแบบไฟล์ RAW

การถ่ายภาพแบบ RAW ไฟล์จะยอมให้คุณเก็บรายละเอียดของพื้นผิวดวงจันทร์ได้มากกว่า และยังให้ละติดจูดของการปรับแต่งภาพที่มากกว่าด้วย ดังนั้น ถ้าปราศจากการที่คุณไม่คุ้นเคยกับการใช้ซอฟท์แวร์ ที่ปรับแต่ง RAW ไฟล์ ให้ถ่ายภาพดวงจันทร์เป็นแบบ RAW ไฟล์ไว้ก่อน

#17 อย่ากลัวที่จะตัดกรอบภาพ

ถ้าปราศจากการถ่ายด้วยเลนส์เทเลโฟโต้ขนาดใหญ่ คุณจะตัดกรอบของภาพที่แสดงดวงจันทร์ให้มีขนาดที่เล็กลงได้ แต่จำไว้ว่ายิ่งคุณตัดกรอบภาพมากแค่ไหน ภาพสุดท้ายก็จะเล็กกว่าที่จะพิมพ์ในขนาดความละเอียดสูง

#18 ทำการดึงบิด และทำให้คมชัด

ภาพถ่ายดวงจันทร์ส่วนมากก็ต้องผ่านกระบวนการปรับแต่งในโปรแกรม Photoshop หรือโปรแกรมปรับแต่งภาพอื่นๆ การเพิ่ม Clarity และ Contrast จะช่วยดึงรายละเอียดขึ้นมาซึ่งจะเพิ่มพวกภูเขาไฟและภูเขาของดวงจันทร์ เหมือนที่ได้แนะนำไว้ข้างต้น ค่า white balance ค่ารับแสงจะช่วยดึงให้ภาพดูดี และทั้งสองแบบมันทำแบบเบ็ดเส็จสมบูรณ์ในกล้องไม่ได้
(ดูภาพประกอบคำบรรยาย.....สร้างสรรค์....สองภาพถูกรวมเข้าไว้ด้วยกันเพื่อสร้างภาพสุดท้ายดั่งที่เห็น)

#19 อย่ากลัวในการที่จะสร้างสรรค์

อย่ากลังในการคิดสร้างสรรค์กับภาพดวงจันทร์ของคุณ ภาพดวงจันทร์ที่เยี่ยมยอดมีการปรับให้เหมาะสมในขบวนการปรับแต่งภาพเนื่องจากมันยากที่จะเก็บภาพดวงจันทร์ที่ดีที่สุดในภาพเดียว HDR หรือการผสมค่ารับแสงเป็นกระบวนการที่ดีในการเพิ่มภาพซึ่งดูเป็นภาพดวงจันทร์ที่เป็นไปไม่ได้ กระบวนการที่ได้รับความนิยมของช่างภาพหลายๆท่านคือการรวมสองภาพที่มีค่ารับแสงที่ต่างกันเข้าด้วยกัน ภาพหนึ่งคือภาพที่มีฉากหน้าวิวทิวทัศน์ที่ดีที่สุด และภาพที่สองคือภาพดวงจันทร์ที่ดีที่สุด เมื่อรวมสองภาพเข้าด้วยกัน พยายามขยายภาพดวงจันทร์เล็กน้อยเพื่อให้ภาพที่ดูมีชีวิตชีวา แต่อย่าทำมากเกินไปที่ทำให้ดูไม่เหมือนจริง  มันต้องทำให้ดูน่าเชื่อถือถ้าปราศจากการทำเป็นแบบพวกแนวเรื่องนวนิยายวิทยาศาสตร์ (ซึ่งเป็นความคิดที่ไม่เลว พูดแบบเชิงสร้างสรรค์นะครับ)
(ดูภาพประกอบคำบรรยาย....ค่ารับแสงสองภาพที่นำมารวมกันเป็นภาพสุดท้าย ภาพหนึ่งคือค่าแสงสำหรับวิวทิวทัศน์และอีกภาพหนึ่งดวงจันทร์ ดวงจันทร์ถูกขยายให้ใหญ่ขึ้นเล็กน้อยเพื่อให้ดูมีชีวิตชีวา)

 #20 ฝึกฝน ฝึกฝน แล้วก็ฝึกฝน

เวลานี้ให้ออกไปและถ่ายภาพดวงจันทร์ จำไว้ว่ามันไม่ง่ายเหมือนที่เห็น ลองพยายามไปเรื่อยๆถ้าผลลัพท์ครั้งแรกไม่ได้ดั่งที่คาดหวังไว้
ถ้าคุณมีภาพดวงจันทร์หรือสิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำในการทำงานของคุณ นำมาแบ่งปันกันในช่องคำแนะนำด้านล่างนี้ได้ครับ