Author Topic: คำแนะนำในการถ่ายภาพมาโครสำหรับกล้องดิจิตอลแบบเล็งแล้วถ่าย  (Read 8173 times)

Offline topstep07

  • PS:C
  • Full Member
  • *
  • Posts: 108
    • View Profile
คำแนะนำในการถ่ายภาพมาโครสำหรับกล้องดิจิตอลแบบเล็งแล้วถ่าย

โพสโดย Darren Rowse แปลโดย Topstep07

เว็ปไซต์ต้นฉบับ เพื่อดูภาพประกอบคำบรรยาย
http://digital-photography-school.com/macro-photography-tips-for-compact-digital-camera-users/

มีบทความมากมายที่เขียนในหัวข้อการถ่ายภาพมาโครสำหรับช่างภาพที่มีมีอุปกรณ์ DSLR กับเลนส์มาโคร แต่ถ้าเกิดคุณมีกล้องคอมแพคที่เป็นแบบเล็งแล้วถ่ายละ? คุณสามารถที่จะได้ภาพมาโครที่ดีเยี่ยมได้ไหม?
ขณะที่ผลของความสำเร็จกับกล้องเล็งแล้วถ่ายในโหมดมาโครไม่สามารถจะเปรียบเทียบได้กับกล้อง DSLR ที่มีการสร้างเลนส์มาโครมาโดยเฉพาะ ผมยังคงเห็นข้อดีในการถ่ายภาพกับกล้องคอมแพค (ภาพถ่ายอย่างน้อยสามภาพในบทความนี้มาจากกล้องคอมแพค)และนี้คือคำแนะนำที่จะช่วยคุณ

การเลือโหมดมาโคร.....นี้คือก้าวแรกแต่ผมก็รู้สึกประหลาดใจว่ามีกี่คนที่เป็นเจ้าของกล้องดิจิตอลที่ไม่เคยสำรวจการถ่ายภาพในโหมดต่างๆที่กล้องพวกเขามีมาให้....มาโครโหมดจะมีสัญลักษณ์เป็นรูปดอกไม้เล็กๆและเมื่อคุณเลือกมัน มันจะบอกให้กล้องรับทราบว่าเราจะโฟกัสตัวแบบที่ใกล้ๆมากกว่าปกติ (ระยะที่น้อยสุดขึ้นอยู่กับกล้อง ลองดูในคู่มือการใช้กล้องของคุณ) โหมดมาโครจะบอกให้กล้องเลือกค่ารูรับแสงที่ใหญ่เพื่อว่าตัวแบบจะอยู่ในโฟกัสแต่ฉากหลังจะหลุดโฟกัส

การใช้ขาตั้งกล้อง.....ในการถ่ายภาพมาโครขาตั้งกล้องมีประโยชน์มาก แม้ว่าคุณจะถ่ายภาพด้วยกล้องคอมแพคก็ตาม พยายามให้กล้องของคุณอยู่นิ่งเพราะมันไม่เพียงแต่จะช่วยพัฒนาการถ่ายภาพแล้ว (ป้องกันปัญหากล้องสั่น) แต่มันยังช่วยคุณให้สามารถเล่นในการปรับแต่งแบบอื่นๆโดยปราศจากการเสียการวางองค์ประกอบภาพ

รูรับแสง......ในโหมดมาโครกล้องบางตัวจะไม่ยอมให้คุณปรับค่า แต่คุณสามารถปรับค่ารูรับแสงได้ซึ่งมันมีค่ามาก ขณะที่เราครอบคลุมการสอนเรื่องรูรับแสง สิ่งที่เป็นตัวหลักคือรูรับแสงมีผลกับชัดตื้นชัดลึกในการถ่ายภาพ เลือกรูรับแสงที่เล็ก (เลขมาก) ถ้าคุณต้องการชัดตื้นชัดลึกมากกับทุกๆสิ่งที่อยู่ในโฟกัส หรือรูรับแสงที่ใหญ่ (เลขน้อย) ถ้าคุณต้องการให้ตัวแบบหลักอยู่ในโฟกัส ในโหมดมาโคร

การโฟกัส....ผมพบว่าการถ่ายภาพมาโครมันจะมีประโยชน์มากถ้าเรามีการควบคุมการโฟกัสทั้งหมดเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคุณต้องการชัดตื้นซึ่งมันจะมีความสำคัญมากที่จะโฟกัสในสิ่งที่ต้องการในการถ่ายภาพ ถ้ากล้องของคุณยอมให้คุณปรับค่าโฟกัสเองได้ ก็ให้เลือกใช้มัน แล้วก็โฟกัสเองไปที่ตัวแบบซึ่งมีจุดเด่นที่น่าสนใจ
การวางองค์ประกอบภาพ......จำไว้กับกฎเบื้องต้นของการวางองค์ประกอบภาพคือ กฎสามส่วน ให้แน่ใจว่าภาพของคุณมีจุดหลักที่น่าสนใจและอยู่ในตำแหน่งที่โฟกัสในภาพของคุณเพื่อที่ว่ามันจะนำสายตาของผู้ชมภาพไปยังจุดนั้น ลองเลือกสิ่งที่ไม่ยุ่งเหยิงหรือมีฉากหลังที่เรียบง่ายสำหรับตัวแบบหลักซึ่งมันจะไม่แย่งไปกับตัวแบบ

แฟลช.....ในการถ่ายภาพมาโครเราจะใช้แสงเทียมซึ่งเป็นสิ่งสำคัญ ความท้าทายของกล้องคอมแพคคือข้อจำกัดในการควบคุมแฟลช  ขณะที่ผลของการเลือกวันที่ดีที่มีแสงเพียงพอในการถ่ายภาพนั่นคือสิ่งที่ดีที่สุดของคุณ  ถ้าคุณต้องการแสงที่มากให้ลองตรวจสอบว่าถ้ากล้องคุณยอมให้ดึงกลับในระดับที่แฟลชจะยิงแสงออกไป ทางเลือกอีกอย่างคือคุณอาจจะกรองแสงมันกับบางอย่าง (กระดาษทิชชู หรือเทปขุ่นบนตัวแฟลช) อีกทางเลือกหนึ่งคือใช้แหล่งกำเนิดแสงเทียม หรือลงทุนตัวแผ่นสะท้อนแสงที่ช่วยให้คุณได้แสง ทดลองกับวิธีการที่แตกต่างของแสงกับตัวแบบของคุณดู

การถ่ายภาพ.....เมื่อคุณพร้อมในการถ่ายและอยู่ในโฟกัสแล้วก็ลองถ่ายภาพ ให้แน่ใจว่าคุณสามารถดูภาพในจอ LCD และลองซูมเข้าไปดูว่าการโฟกัสมันคมชัด ลองถ่ายภาพกับค่ารูรับแสงที่แตกต่าง กับการวางองค์ประกอบภาพที่แตกต่างด้วยและโฟกัสไปในจุดที่ต่างกันบนตัวแบบเพื่อดูว่าอะไรให้ผลที่ดีที่สุด

การใส่เลนส์มาโคร....กล้องคอมแพคบางรุ่นจะมีอุปกรณ์เสริมที่ช่วยในการถ่ายภาพระยะใกล้หรือภาพมาโคร นี้คือสิ่งที่ช่วยให้ตัวแบบของคุณดูใหญ่ขึ้นและลดระยะโฟกัสในต่ำลง มันเป็นลงทุนที่คุ้มค่าถ้าคุณตั้งใจในการที่จะถ่ายภาพมาโคร

การตั้งเวลาในการถ่ายภาพ....(นี้คือผลจากการแนะนำที่เพิ่มเข้ามาของทีมงาน ขอบคุณมาก) เมื่อผมใช้กล้อง DSLR สำหรับการถ่ายภาพมาโคร ผมตั้งใจใช้ตัวสายลั่นชัตเตอร์และขาตั้งกล้องเพื่อให้แน่ใจว่าการถ่ายภาพมันนิ่ง (เพื่อลดการสั่นไหวของกล้องให้น้อยที่สุดจากกการกดปุ่มชัตเตอร์) กล้องคอมแพคส่วนใหญ่ไม่มีสายลั่นชัตเตอร์แต่วิธีง่ายๆในการทำแบบนี้คือใช้การตั้งเวลาถ่ายภาพในช่วงเวลาที่สั้นที่สุดซึ่งมีความหมายเหมือนกันคือกล้องของคุณไม่ขยับเมื่อทำการถ่ายภาพ (ถ้าคุณสังเกตเรื่องการใช้ขาตั้งกล้องในคำแนะนำด้านบน)

ปล. ผมใช้ประโยคที่ว่า การถ่ายภาพมาโครไม่ได้เคร่งครัดมาก ในทางเทคนิค “การถ่ายภาพมาโคร” คือคุณต้องการจะได้ภาพซึ่งตัวแบบของคุณจะมีขนาดเท่ากับเซนเซอร์ (หรือใหญ่กว่า) ในสัดส่วน 1:1

ในหลายๆกล้องคอมแพคจะไม่ค่อยประสบความสำเร็จและในความเป็นจริง การถ่ายภาพระยะใกล้น่าจะเป็นคำอธิบายที่ดีกว่า อย่างไรกตามผู้ผลิตหลายรายก็เรียกโหมดระยะใกล้ของพวกเขาว่าเป็น “โหมดมาโคร” ผมได้ใช้คำนี้สำหรับจุดประสงค์ของบทความนี้

Offline EndThetwo

  • Newbie
  • *
  • Posts: 2
    • View Profile
ได้เทคนิคการถ่ายรูปมาเพิ่มอีก ดีเลย